(Update 2-12-53) แก้ไขกำหนดงานปฏิบัติธุดงค์ ปี ๒๕๕๓
kittinaja - 16/9/10 at 08:46

ระเบียบการรับสมัคร

ผู้อุปสมบท (หมู่) และบวชพราหมณ์ เพื่อปฏิบัติธุดงค์


ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓

ทางวัดขอประกาศระเบียบการรับสมัคร "บวชธุดงค์" ในปีนี้ แต่ก่อนอื่นขอแจ้งให้ทราบว่า เมื่อปีที่แล้วมีผู้สมัครบวชกันหลายคน แต่พอถึงเวลาที่ปิดรับสมัคร มีบางคนส่งใบสมัครแล้ว แต่ไม่เดินทางมาบวชตามเวลานัด จึงขอย้ำเตือนผู้สมัครบวชทั้งหลายว่า

หากส่งใบสมัครบวชเรียบร้อยแล้ว ถ้าขัดข้องไม่สามารถจะบวชได้ ขอให้ติดต่อกับพระเจ้าหน้ารับสมัคร จะแจ้งทางโทรศัพท์ก็ได้ ก่อนวันกำหนดบวชประมาณ ๗ วัน ส่วนการฝึก มโนมยิทธิ จะต้องมาฝึกที่วัดเท่านั้น คือผู้ที่เคยบวชธุดงค์มาแล้วติดต่อกัน ๒ ครั้งล่าสุด จะต้องมาฝึกมโนมยิทธิ ๒ ครั้ง แต่ผู้ที่ยังไม่เคยบวชธุดงค์มาก่อนหรือเคยบวชธุดงค์มาแล้ว แต่เว้นไปเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะต้องมาฝึกมโนมยิทธิถึง ๓ ครั้ง จึงจะได้รับการพิจารณา เพื่อการอุปสมบทต่อไป

แล้วก็มีอีกประเภทหนึ่งที่เคยมีปัญหามาแล้ว นั่นก็คือผู้อุปสมบทมักจะไม่รู้ระเบียบการบวชของวัด เนื่องจากได้รับการติดต่อจากเจ้าภาพให้มาบวช แต่คนที่ดีก็มีนะ ที่ไม่รู้เรื่องเลยก็มีเยอะ จึงขอร้องให้เจ้าภาพกรุณาคัดเลือกผู้ที่จะมาบวชสักหน่อย ยิ่งถ้าคนบวชเขามีศรัทธาด้วยจะดีมาก

สำหรับในปีนี้ ผู้ที่ยื่นใบสมัครไว้แล้ว จะต้องเดินทางมาวัดท่าซุง วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๐ น. ศาลาพระพินิจอักษร ถ้าใครไม่มาถึงวัดตามกำหนดเวลาที่นัดไว้นี้ ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ในการบวชทันที

และขอแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า ผู้ที่จะ บวชพราหมณ์ ทั้งชายและหญิง เพื่อร่วมปฏิบัติธุดงค์ในห้องพักก็ดี หรือต้องการที่จะออกไปปักกลดภายนอกก็ดี ขอให้แจ้งความประสงค์ด้วยตนเอง วันที่ ๖ - ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ที่อาคาร ๒๕ ไร่ โดยเฉพาะ "ผู้ที่จะออกไปปักกลดในป่า" จะต้องมาให้ทัน

สำหรับผู้มีความประสงค์ที่จะร่วมอุปสมบท (หมู่) ทางวัดวางระเบียบไว้ ดังนี้

๑. เปิดรับสมัครตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ถึงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
(รับใบสมัคร ณ วันที่ ๓๐ พ.ย. ๕๓ จำนวน ๑๖๓ คน)

๒. ผู้ที่จะมาสมัคร ขอให้ถ่ายสำเนาเพื่อแนบ "ใบสมัคร" ไว้เป็นหลักฐานด้วย ดังนี้
ก. บัตรประชาชน หรือ บัตรข้าราชการ
ข. ทะเบียนบ้าน

๓. จะต้องมาเขียนใบสมัครด้วยตนเองที่ ศาลานวราช วัดท่าซุง พร้อมรับเอกสาร "คำขอบรรพชาอุปสมบท" จากพระเจ้าหน้าที่

๔. จะต้องท่องขานนาคให้ได้ก่อน ซึ่งจะต้องเดินทางมาซ้อมขานนาคพร้อมกันที่วัด เวลา ๑๘.๐๐ น. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ศาลาพระพินิจอักษร ขอย้ำเตือนอีกสักครั้งว่า ถ้าใครมาไม่ทันการเรียกชื่อในตอนนี้ ทางวัดจะถือว่าสละสิทธิ์ในการบวช

๕. เมื่อสมัครบวชกับพระเจ้าหน้าที่แล้ว จะต้องหาโอกาสมาฝึกมโนมยิทธิ เพื่อขอรับการเซ็นใบรับรองจากครูผู้ฝึกเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ์บวชได้ และขอให้นำเอกสาร "ผลการฝึกมโนมยิทธิ" มาส่งให้พระเจ้าหน้าที่ โดยแนบกับ "ใบสมัคร" พร้อม "สำเนาบัตรประชาชน" และสำเนาทะเบียนบ้าน ไม่เกิน วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่หอพระไตรปิฎก (พระยืน ๓๐ ศอก) และรับเอกสาร "ระเบียบการปฏิบัติธุดงค์" จากพระเจ้าหน้าที่

(ในกรณีมีบางคนส่งใบสมัครแล้ว พอถึงวันนัดซ้อมขานนาคกลับไม่มาตามนัด โดยไม่แจ้งให้ทางวัดทราบ ทางวัดจะไม่ขอรับบุคคลผู้นี้อุปสมบทอีกต่อไป)

สำหรับ "พระอาคันตุกะ" ที่จะร่วมปฏิบัติธุดงค์ ขอให้มาแจ้งความจำนงได้ที่ ศาลานวราช ระหว่าง วันที่ ๕ - ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐ น. หากมาไม่ทันตามกำหนดนี้ ทางวัดจะไม่รับเป็นเด็ดขาด (ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ทางวัดไม่รับสามเณรเข้าปฏิบัติธุดงค์ เพราะที่ผ่านมามักฝ่าฝืนระเบียบวินัยอยู่เสมอ) พร้อมทั้งขอให้นำหลักฐานมาด้วยดังนี้

ก. ใบสุทธิ
ข. หนังสือรับรอง จากเจ้าอาวาสหรือประธานสงฆ์ที่ตนเองสังกัดอยู่

๖. ในขณะปฏิบัติธุดงค์ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ทางวัดกำหนดไว้ เช่น...
- ห้ามรับเงินทองมาเป็นส่วนของตน
- ห้ามนำวิทยุ, เครื่องเทป, หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เข้ามาในเขตธุดงค์
- ห้ามนำอาหาร ผลไม้ หรือเครื่องดื่มต่างๆ เข้ามาฉันในกลดของตน ให้ฉันได้เฉพาะที่ศาลา ๑๒ ไร่เท่านั้น
- ห้ามเข้าไปในเขตของผู้อื่น และอย่านำบุคคลภายนอกเข้ามาในเขตธุดงค์
- ห้ามพูดคุยเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- ห้ามเรี่ยไร ดูหมอ ดูดวง และแจกเอกสารใดๆ หรือนำวัตถุมงคลต่างๆ มาจำหน่ายจากภายนอกวัด ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง

สำหรับฆราวาสมีข้อห้ามดังนี้
- ห้ามนำวิทยุ โทรทัศน์ เตารีด กระทะ ไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือวัตถุอื่นๆ เพื่อประกอบอาหารภายในบริเวณธุดงค์ดอย่างเด็ดขาด
- ห้ามนำผู้อื่น เช่น ญาติหรือเพื่อนของตน มาพักปะปนในสถานที่ธุดงค์ ถ้าจะพบกันขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แล้วไปพบปะสนทนากันภายนอกสถานที่ และอย่าพูดคุยเสียงดังจนเกินไป
- ห้ามเข้าทรง - ห้ามเรี่ยไร
- ห้ามแจกเอกสารใดๆ หรือจำหน่ายสิ่งของโดยมิได้รับอนุญาตจากทางวัดเสียก่อน ถ้าหากมีผู้ฝ่าฝืนหรือแอบอ้าง จะเป็นทางตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทันที

สถานที่ปฏิบัติธุดงค์

๑. พระภิกษุ ภายในบริเวณป่าใหม่
๒.พราหมณ์ชาย พักที่ศาลา ๔ ไร่ หรือผู้ที่ชอบความวิเวก จะจัดที่ให้บริเวณป่าใหม่ (ส่วน "ป่าสวนไผ่" ในปีนี้ยังไม่จัดให้พัก)

๓. พราหมณ์หญิง (ศีล ๘ ควบกรรมบถ ๑๐ ) พักที่อาคาร ๒๕ ไร่ หรือใครอยากจะหาที่สงัด ทางวัดจะจัดให้ปฏิบัติภายในบริเวณป่า ศรีไพร ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่ไว้แล้ว ส่วนผู้ที่ถือศีล ๕ จะจัดที่พักให้ต่างหากตามที่เห็นสมควร และไม่ควรกังวลเรื่องที่พักจนเกินไป หมายถึงได้ที่ตรงไหนควรพอใจที่ตรงนั้น



แก้ไขใหม่

(กำหนดงานธุดงค์ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๗ ธ.ค. ๕๓ ทางเวปวัดท่าซุงได้แก้ไขใหม่ ณ วันที่ 2 ธ.ค. ๕๓)

กำหนดงานธุดงค์
ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๗ ธ.ค. ๕๓

วันจันทร์ที่ ๖ ธ.ค. ๕๓
๐๙.๐๐ น. ตรวจสอบรายชื่อ "พระอาคันตุกะ" ที่ศาลานวราช แล้วให้พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์ชายหญิง ไปเบิกมุ้ง หมอน และเสื่อ จากพระเจ้าหน้าที่ศาลา ๒๕ ไร่

๑๘.๐๐ น. ตรวจสอบรายชื่อของผู้อุปสมบท จำนวน ๑๖๓ คน ณ ศาลาพระพินิจอักษร ขอย้ำเตือนอีกสักครั้งว่า ถ้าใครมาไม่ทันการเรียกชื่อในตอนนี้ ทางวัดจะไม่รับบวชแน่นอน

วันอังคารที่ ๗ ธ.ค. ๕๓
๐๙.๐๐ น. พระชัยวัฒน์ อชิโต อบรมนาค และพระพี่เลี้ยงซ้อมขานนาคร่วมกัน ณ ศาลาพระพินิจฯ
๑๔.๐๐ น. ซ้อมขานนาคร่วมกัน และเบิกเครื่องอัฐบริขาร ณ ตึกรับแขก

วันพุธที่ ๘ ธ.ค. ๕๓
๐๙.๐๐ น. พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ ทำพิธีบวงสรวงหน้าอุโบสถ
๑๔.๐๐ น. ซ้อมขานนาค และโกนผมที่หน้าอุโบสถ
๑๗.๐๐ น. ทำวัตรเย็น เจริญพระกรรมฐาน ที่ศาลา ๑๒ ไร่

วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธ.ค. ๕๓
๐๖.๐๐ น. พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้าที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๐๖.๓๐ น. ตั้งขบวนแห่ผู้อุปสมบท และผู้บวชพราหมณ์ชายหญิง โดยมีวงโยธวาทิตของคณะนักเรียน โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา นำขบวนเวียนรอบอุโบสถ ๓ รอบ

๐๗.๐๐ น. เริ่มพิธีการบรรพชาสามเณร จำนวน ๑๖๓ รูป เสร็จแล้วเริ่มพิธีอุปสมบทชุดที่ ๑ โดยท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ชุดที่ ๒ โดยท่านเจ้าคุณพระอุทัยธรรมานุวัตร รองเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ที่พระอุโบสถวัดยาง (ใกล้วัดท่าซุง)

๐๙.๐๐ น. พิธีบวชพราหมณ์ชายหญิงโดย พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ ณ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์ฉัตภัตตาหารเพล ที่ศาลา ๑๒ ไร่
๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ (ครึ่งกำลัง) ณ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลา ๓๐ นาที)
๑๒.๓๐ น. เริ่มพิธีอุปสมบท ชุดที่ ๓ โดย พระครูอุปการพัฒนกิจ เจ้าคณะอำเภอเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์
๑๗.๐๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ณ ศาลา ๑๒ ไร่
๒๑.๓๐ น. เสร็จพิธีอุปสมบทหมู่ทั้ง ๒ โบสถ์

วันศุกร์ที่ ๑๐ ธ.ค. ๕๓
๐๖.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสามเณร ณ ศาลา ๑๒ ไร่ (วันนี้พระภิกษุสามเณรทุกรูปยังไม่ออกบิณฑบาต)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่

๐๘.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม และพราหมณ์ชาย (บางคน) เดินเข้าไปปักกลดในป่าใหม่ ส่วนพราหมณ์หญิงปักกลดที่ป่าศรีไพร (ป่าเก่า)
๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ศาลา ๑๒ ไร่
๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ (ครึ่งกำลัง) ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลา ๓๐ นาที)
๑๖.๐๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน เสร็จแล้ว พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เปิดปฐมนิเทศ และสมาทานธุดงค์ ณ ศาลา ๑๒ ไร่
๒๑.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย เข้านอน

เริ่มปฏิบัติธุดงค์วัตร
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ - ๑๗ ธ.ค. ๕๓

๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน และมีเสียงธรรมตามสาย
๐๔.๔๕ น. พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์หญิงชาย เจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม
๐๖.๐๐ น. ออกบิณฑบาต (บริเวณลานจอดรถ ๑๒ ไร่)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่ แล้วฉันภัตตาหารที่นั่น (ฉันมื้อเดียว)
๐๘.๓๐ น. ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นทำความสะอาดศาลา ๑๒ ไร่ เป็นต้น
๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ (แบบเต็มกำลัง มีเฉพาะวันที่ ๑๑ - ๑๒ ธ.ค. เท่านั้น)
๑๗.๐๐ น. ฉันน้ำปานะที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น เจริญพระกรรมฐานที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๙.๓๐ น. สนทนาธรรม
๒๑.๐๐ น. เข้านอน มีเสียงธรรมตามสาย



กำหนดการระหว่าง วันเสาร์ - อาทิตย์

วันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ (ฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลัง)
๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน มีเสียงธรรมตามสาย
๐๔.๔๕ น. พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์หญิงชาย เจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม
๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต (บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่ แล้วฉันภัตตาหารที่นั่น (ฉันมื้อเดียว)
๑๑.๕๐ น. พระครูปลัดอนันต์ ทำพิธีบวงสรวงที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๒.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ แบบเต็มกำลังที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลา ๓๐ นาที)
๑๔.๐๐ น. พระครูปลัดอนันต์ และพระสงฆ์ ๓ รูป ลงรับสังฆทานที่ ศาลา ๑๒ ไร่ ถึงเวลา ๑๕.๐๐ น.
๑๗.๓๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญกรรมฐานร่วมกันที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๙.๓๐ น. สนทนาธรรม
๒๑.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย เข้านอน

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ (ฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลัง วันสุดท้าย)
๐๔.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย ตื่นนอน
๐๔.๔๕ น. พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์หญิงชาย เจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม
๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต (บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่ แล้วฉันภัตตาหารที่นั่น (ฉันมื้อเดียว)
๑๒.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ แบบเต็มกำลังที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลา ๓๐ นาที)
๑๔.๐๐ น. พระครูปลัดอนันต์ และพระสงฆ์ ๓ รูป ลงรับสังฆทานที่ ศาลา ๑๒ ไร่ ถึงเวลา ๑๕.๐๐ น.
๑๗.๓๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญกรรมฐานร่วมกันที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๙.๓๐ น. สนทนาธรรม
๒๑.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย เข้านอน



กำหนดการระหว่าง "วันสุดท้ายอยู่ธุดงค์"

วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ (วันรองสุดท้าย)
๐๔.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย ตื่นนอน
๐๔.๔๕ น. พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์หญิงชาย เจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม
๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต (บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่ แล้วฉันภัตตาหารที่นั่น (ฉันมื้อเดียว)
๐๘.๓๐ น. ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นทำความสะอาดศาลา ๑๒ ไร่ เป็นต้น
๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลัง
๑๕.๓๐ น. ฉันน้ำปานะที่ ศาลา ๑๒ ไร่
๑๖.๐๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น เจริญพระกรรมฐานที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (วันนี้ทำวัตรเย็นเร็วขึ้น)
๑๘.๓๐ น. พระครูปลัดอนันต์ นำพระภิกษุสามเณร และพราหมณ์ชายหญิง ขอขมาสถานที่สำคัญ (เฉพาะบางแห่ง) ภายในวัดท่าซุง
๒๑.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย - เข้านอน

วันศุกร์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ (วันสุดท้าย)
๐๔.๐๐ น. เสียงธรรมตามสาย ตื่นนอน
๐๔.๔๕ น. พระภิกษุสามเณร และพราหมณ์หญิงชาย เจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม
๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต (บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่)
๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่ แล้วฉันภัตตาหารที่นั่น (ฉันมื้อเดียว)

๐๙.๐๐ น. พระครูปลัดอนันต์ นำพระภิกษุสามเณร และพราหมณ์ชายหญิง ลาสมาทานธุดงค์ เสร็จแล้วนำขอขมาสถานที่สำคัญ (ส่วนที่เหลือ) ภายในวัดท่าซุง ครบทั้ง ๑๘ แห่ง โดยเฉพาะสถานที่สำคัญท่านจะนำไปทำพิธีบวงสรวง ณ มณฑปท้าวมหาราชทั้ง ๔ * (ตอนนี้ใครอยากจะขอพรสิ่งใดต่อท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานได้)

๑๑.๐๐ น. พระครูปลัดอนันต์ และพระสงฆ์วัดท่าซุง ทำพิธีลาสิกขาบทที่ วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร * พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และเจริญชัยมงคลกถา เพื่อเป็นสิริสวัสดิมงคลแก่ผู้ที่ลาสิกขา จะได้เริ่มต้นชีวิตที่ดีกันใหม่.

**********


หมายเหตุ

ระเบียบข้อปฏิบัติประจำวันนี้ ขอให้ผู้ร่วมปฏิบัติ "ธุดงค์" ทุกท่าน ถือเป็นระเบียบปฏิบัติโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อห้าม อย่าได้ฝ่าฝืนเป็นอันขาด และโปรดถือเวลานัดหมายเป็นเรื่องสำคัญ อย่าให้ผู้อื่นต้องมานั่งรอคอยเพราะท่านเพียงคนเดียว
ในงานครั้งนี้ จะมีจำนวนคนมากขึ้น จึงขอให้ทุกคนตรงเวลา คำว่า "ตรงเวลา" หมายถึงต้องมารอก่อนล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาจะได้เริ่มกันเลย ไม่ใช่มาถึงตรงเวลาพอดีอย่างนี้ใช้ไม่ได้

เมื่อถึงวันศุกร์ที่ ๑๗ ธ.ค. ๕๓ อันเป็นวันสุดท้ายของงาน จะนำไปกราบไหว้บูชาสถานที่สำคัญภายในวัด ๑๘ แห่ง แล้วมาทำพิธีลาสิกขาบท ณ วิหาร ๑๐๐ เมตร (แต่ระยะหลังมีการนำไปกราบไหว้ในตอนกลางคืนก่อนบ้าง) หลังจากนั้นขอให้ทุกคนช่วยกันเก็บกวาดสถานที่ ล้างห้องน้ำ ทิ้งขยะให้เรียบร้อย แล้วนำสิ่งของที่เบิกมาคืนเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน

โดยเฉพาะของที่เบิกไปนั้น เป็นส่วนกลางของสงฆ์ เช่น บาตร กลด มุ้ง และเสื่อหมอนเป็นต้น ทั้งพระและฆราวาสเมื่อนำไปใช้แล้ว จะต้องรักษาและทำความสะอาดให้ดี ถ้าชำรุดจะต้องซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วย มิฉะนั้น....จะถือว่ามีเจตนาทำลายของสงฆ์ทันที.

**********




คำสมาทานธุดงค์

(ตั้งนะโม ๓ จบก่อน)

๑. ถือการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ให้ว่าดังนี้ คะหะปะติทานะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดจีวรที่ คฤหบดีถวาย ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการใช้ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

๒. ถือการใช้ผ้า ๓ ผืนเป็นวัตรว่า จะตุตถะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่สี่ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร

๓. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรว่า อะติเรกะลาภัง ปะฏิกขิปามิ ปิณฑะปาติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ ขอสมาทาน องค์ของผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
(คำว่า "งดอติเรกลาภ" คือไม่รับของ ที่เขานำมาถวายเป็นพิเศษ นอกจากที่ได้มาจากบิณฑบาตเท่านั้น)

๔. ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร ว่าดังนี้ โลลุปปะจารัง ปะฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการเที่ยวไปด้วยความโลเล ขอสมาทานองค์ ของผู้เที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
(คำว่า "ไปตามแถว" หมายความว่าเคย ไปทางไหน...ก็ไปทางนั้นไม่โลเล)

๕. ถือการฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร ว่า นานาสะนะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ เอกาสะ นิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการฉันที่อาสนะต่าง ๆ ขอสมาทานองค์ของผู้ฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร

๖. ถือการฉันเฉพาะอาหารในบาตรเป็น วัตร ว่า ทุติยะภาชะนัง ปะฏิกขิปามิ ปัตตะ ปิณฑิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดภาชนะที่ สอง ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะ อาหารในบาตรเป็นวัตร

๗. ถือไม่ฉันอาหารที่ห้ามเขานำมาถวาย ในภายหลังเป็นวัตร ว่า อะติริตตะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการไม่ฉันอาหารที่ห้ามแล้วมีผู้นำมา ถวายในภายหลังอีกเป็นวัตร

๘. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ว่า คามันตะ เสนาสะนัง ปะฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิ ยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่อาศัยใกล้หมู่บ้าน ขอสมาทานองค์ของผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร

๙. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ว่า ฉันนัง ปะฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่มุงที่บัง ขอสมาทานองค์ของผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร

๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ว่าดังนี้ ฉันนัญจะ รุกขะมูลิกัญจะ ปะฏิกขิปามิ อัพโภกาสิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถาน ที่มุงที่บังและโคนไม้ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

๑๑. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ว่าดังนี้ นะสุสานัง ปะฏิกขิปามิ โสสานิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่อยู่อันมิใช่ป่าช้า ขอ สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร

๑๒. ถือการอยู่ในสถานที่ตามที่จัดให้เป็นวัตร ว่า เสนาสะนะโลลุปปัง ปะฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างด ความโลเลในสถานที่อยู่ ขอสมาทานองค์ของ ผู้ถือการอยู่ในสถานที่ตามที่จัดให้เป็นวัตร

๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร ว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการนอน ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการนั่งเป็นวัตร

......(หมายเหตุ : จะมีผู้กล่าวนำในการสมาทานทุกข้อ แต่ถ้าต้องการสมาทานข้อไหน ให้ เลือกปฏิบัติเฉพาะข้อนั้น ต่อไปจะเป็นบทสวด มนต์ ก่อนที่จะสวด ๒ บทนี้ ควรตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วสวด "อิติปิโส" ก่อน และจะ สวดมนต์บทไหนอีกก็ได้ตามที่ต้องการ)


บทเมตตัญจะ

.......เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย
อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะ มิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง
วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ
เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


(บทนี้แผ่ให้ "เทวดา" และบทต่อไปแผ่ให้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เช่น "งู" เป็นต้น)

บทวิรูปักเข

........วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอรา ปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง
อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง
จะ ตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

........อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะ ปานิ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมา สัมพุทธานัง ฯ


**********


webmaster - 2/12/10 at 15:58

ทางวัดท่าซุงแจ้งข่าวให้ทราบ


๑. ฆราวาสชาย-หญิง จะอยู่ธุดงค์ในป่า (พราหมณ์ชายจัดให้อยู่ในป่าใหม่ (ท้ายสุดของพระ) ส่วนพราหมณ์หญิงอยู่ป่าศรีไพร (ป่าเก่า) โปรดติดต่อพระเจ้าหน้าที่ ณ ศาลา ๒๕ ไร่ ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม เป็นต้นไป

๒. ผู้หญิงสมัครอยู่ธุดงค์ แต่ไม่ได้อยู่ป่า จะจัดให้พักที่ อาคาร ๒๕ ไร่
ผู้ชายสมัครธุดงต์ แต่ไม่ได้อยู่ป่า จะจัดให้พักที่ ศาลา ๔ ไร่

๓. พราหมณ์ชาย-หญิง ที่ไม่ได้อยู่ธุดงค์ในป่า ไปเจริญกรรมฐานร่วมกัน ณ ลานธรรม ให้นั่งต่อแถวหลังพราหมณ์ชาย-หญิง ที่อยู่ธุดงค์ในป่า

๔. พระภิกษุอาคันตุกะที่เดินทางมาเพื่อปฏิบัติธุดงค์ นิมนต์ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ ณ ศาลานวราช

๕. พระภิกษุอาคันตุกะที่ไม่ได้มาอยู่ธุดงค์ พักที่อาคารบนหอฉัน และฉันเช้า-เพล ที่ศาลา ๔ ไร่ (ไม่ต้องออกบิณฑบาต)

๖. ผู้ที่ประสงค์จะใส่บาตรพระสงฆ์ในตอนเช้า ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธ.ค. จะมีอาหารจำหน่ายที่บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่ เมื่อซื้ออาหารใส่บาตรแล้ว โปรดเข้าแถวให้เรียบรัอยก่อนเวลา ๐๖.๐๐ น. (จากสถิติในแต่ละปี จะมีพระสงฆ์วัดท่าซุงและพระอาคันตุกะ รวมแล้วไม่เกิน ๕๐๐ รูป)

๗. ผู้ที่อยู่ธุดงค์ ทั้งพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งญาติโยมชายหญิง หากมีอาการป่วยไข้ไม่สบาย โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่พยาบาล ที่ศาลา ๑๒ ไร่ และที่ห้องพยาบาลตึกขาว ชั้น ๒

๘. ผู้ที่เข้าพักในห้องพัก บางท่านเดินทางมาในระหว่างงานธุดงค์ โดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีคนเข้าพักเป็นจำนวนมาก โปรดระมัดระวังสิ่งของมีค่า อย่าเก็บไว้ในห้อง ควรนำสิ่งของมีค่าติดตัวออกไปด้วยทุกครั้ง


การฝึกมโนมยิทธิ (ครึ่งกำลัง)

งานธุดงค์ปีนี้ เริ่มฝึกตั้งแต่วันที่ ๙ ธ.ค. ๒๕๕๓ ผู้ที่ไม่เคยฝึกและมีความประสงค์จะฝึกมโนมยิทธิ โปรดเขียนใบสมัครที่เจ้าหน้าที่ในศาลา ๑๒ ไร่ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง เวลา ๑๑.๐๐ น. ควรเข้าห้องฝึกเวลา ๑๑.๓๐ น. เริ่มฝึกเวลา ๑๒.๓๐ น. เครื่องบูชาครูมีเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ในศาลา ๑๒ ไร่

หมายเหตุ

กำหนดงานธุดงค์ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๗ ธ.ค. ๕๓ ทางเวปวัดท่าซุงได้แก้ไขใหม่ ณ วันที่ 2 ธ.ค. ๕๓