Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 1/8/09 at 11:06 [ QUOTE ]

หนังสือ "พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 2)





หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม


พรสวรรค์

(รวมเล่ม1-2-3 )

คำแถลง

1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ

คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น

2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ

3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ

4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง

คณะพรสวรรค์




สารบัญ

21.
สมเด็จพระสมณโคดม ปี 2517
22. เทศน์สอนเมื่อ ปี 2518 - 2521
23. เทศน์สอนเมื่อ ปี 2522 - 2537
24. คำเทศน์ของ “พระปัจเจกพุทธเจ้า”
25. คำเทศน์ของ “พระปัจเจกพุทธเจ้า” และ "พระศรีอาริย์"
26. คำเทศน์ของ "ท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์"
27. คำเทศน์ของ "ท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์"
28. คำเทศน์ของ "ท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์" (หมดปี 2517)
29. คำเทศน์ของ "ท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์" (หมดปี 2518)
30. คำเทศน์ของ "ท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์" (หมดปี 2522)



21

(Update 21/04/53)

คำเทศน์ของ "สมเด็จพระสมณโคดม"

24 กุมภาพันธ์ 2517

☺ ความหลงรักมันไม่เที่ยงนัก และทำให้เกิดทุกข์ ไม่รักก็ทุกข์ พรากจากสิ่งรักก็ทุกข์ แม้แต่ตัวของเราที่ว่ารัก หวงแหนมากมันยังไม่เที่ยง มันมีอะไรที่แน่นอน...ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง..!

"พ่อลา"

เมษายน 2517

☺ ตถาคตมาเพื่อโปรด...
☺ การกระทำสิ่งใด ต้องอยู่ในความพอดี ไม่มาก ไม่น้อย ไม่โลภ ไม่หลง ความพอดีเป็นทางให้ลูกๆ ทั้งหลายเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม การกระทำสิ่งที่ถูก ที่ควร ต้องแก่กาลเวลา ให้พอเหมาะพอดี
☺การทั้งหลาย ต้องปฏิบัติทั้ง กาย วาจา และจิต ทำให้สงบนิ่ง แล้วลูกจะทำการได้เป็นผลเลิศ ตถาคตหวังว่าลูกทั้งหลายจะพึงปฏิบัติได้

☺ที่พ่อสอนนี้ ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นจริง อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิสูจน์รู้แท้แน่จริงแล้วค่อยเชื่อ ค่อยทำตาม
☺ดูกร ทุกคนในที่นี้ล้วนเป็นผู้มีบุญบารมี สร้างสมกันมานานแล้ว ตถาคตคิดว่าเธอทั้งหลายคงมีสติสัมปชัญญะ รู้ และคิดตาม ตรองตาม
☺การวางตนในอนาคต ความนิ่งเฉย คือการไม่ยินดีในสิ่งต่างๆ เช่น การโกรธ เกลียด รักใคร่ ริษยา อาฆาต นั้น เป็นสิ่งประเสริฐ จะทำให้พวกเธอมีความมั่นคง

(หมายเหตุ: - สรรพนามหลายอย่างปะปนกัน ตถาคตก็มี พ่อก็มี ลูกก็มี เธอก็มี แต่แสดงไว้ตามที่ได้มาจริงจากการทรงกระดาน)

23 มิถุนายน 2517

☺ คำสอนของตถาคตนั้น ก็นำไปพิจารณาดูให้ถ่องแท้ถึงเรื่องกายกับจิตเป็นฉันใด คืออย่างไร ?
☺กาย มีองค์ประกอบคือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนจิตก็มีองค์ประกอบคือ อทิสมานกาย ซึ่งพวกเธอพึงหา ทำให้แจ้งว่าต่างกัน แยกกันให้ออก
☺ ถ้าลูกทั้งหลายแจ้งดีแล้ว จะรู้เห็นเท็จจริงในความดี ความชั่วเอง ศาสนากำลังถึงยุค ก็ควรที่จะใช้สติสัมปชัญญะไตร่ตรองว่าเหตุต่างๆ มีข้อเท็จจริงเพียงไร ข้อนั้นควรแจ้งแก่สติปัญญาเธอแค่ไหน

☺ "ธรรมะ" คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งคู่กับความประพฤติมนุษย์โลก พวกเธอทั้งหลาย ตถาคตขอฝากพระศาสนาไว้ในวิจารณญาณของเธอทุกคนด้วย ขอให้อยู่ในจิตลูกๆ อยู่ว่า สิ่งไรที่เธอแจ้งอยู่แก่ใจในความเป็นจริง พ่อขอให้ดำรงไว้ตลอดเถิด พ่อขอให้เธอแจ้งในความจริง มีเหตุผล

16 สิงหาคม 2517

☺ เจริญพรในสัจธรรม พ่อหวังเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติของลูกทุกคน จงหมั่นหาสัจธรรมอันผ่องใสให้เกิดขึ้นในดวงจิตของพวกเธอทุกคน ดวงจิตที่ผ่องใสเป็นฉันใด ธรรมที่เธอเห็น รู้ คิด ตรองได้แจ่มแจ้ง ดื่มด่ำนั้นแหละคือดวงมณีที่ส่องทางให้ลูกๆ เข้าสู่ความจริงที่อิ่มที่สุดชั่วกาล

☻(ถาม – ทำไมจึงพิจารณาอะไรได้ไม่ลึก ?)
☺ เธอตั้งใจที่จะไปจุดหมายแห่งหนึ่ง เธอต้องมีพาหนะเครื่องอุปกรณ์ในการไป ใช่ไหม ? จงหาสิ่งที่เธอจะแจ้งได้ ว่านี้เรายังมีอยู่เท่านี้ คือสิ่งที่ผ่านๆ มาในอายุขัยของเธอมีสาระอะไรบ้าง สุขน้อยมากแค่ไหน และสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ เป็นเพราะอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น

☺ และคิดตรองดูว่าเธอต่อไปจะมีอะไร ตายไปก็มีเท่ากับเกิดมา ตถาคตเห็นว่าไม่ยากเย็นแก่เธอผู้ไตร่ตรองด้วยความมั่นคง กายเราเหมือนบ้านที่อยู่ เมื่อผุพัง ก็เป็นธรรมดมที่ต้องซ่อมแซม แต่ถ้าพังมากสุดที่จะอาศัยได้ ก็หาบ้านที่ดีอยู่ใหม่ การเลือกอยู่ที่ผู้อยู่จะเลือกอย่างไม้ อย่างอิฐ อย่างเงิน อย่างทอง หรืออย่างมณีแก้วเจ็ดสี

☺ สิ่งทุกอย่างมีอันเกิด สลาย หมดไป ตถาคตเห็น รัก เพื่อนมวลปุถุชน มวลมนุษย์โลก เป็นบุตรที่พ่อจะต้องนำพา ส่องประทีปสว่างให้ลูกทั้งหลายเดินบนทางแก้วทุกคน
☺เอาเถอะ..ตถาคตผดุงทุกๆ คนให้ถึงซึ่งสุข อันมีนิพพานเป็นที่อยู่

☻(ถาม – ผู้ไปนิพพาน จิตดับเหมือนประทีปดับหรือว่าเป็นจิตดวงเดิม พระพุทธเจ้าข้า ?)
☺ จิตคนที่เข้านิพพานนั้น มีรัศมีดั่งดวงไฟประทีปแห่งความดี ฉะนั้นผู้ที่เข้าพระนิพพาน ดวงไฟนั้นยิ่งโชติช่วง

☻(ถาม – คัมภีร์ไตรเภท เป็นคัมภีร์ที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือท่องเป็นคำพูด ?)
อักษร
☺ อันพระโพธิสัตว์นั้น ท่านต้องเลิศด้วยศีล สัจจะ เสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ แรงจิต ตถาคตขออนุโมทนาในบุญกุศลของพวกเธอที่ผดุงพระศาสนา

25 พฤศจิกายน 2517

☺ ตถาคตปรารภว่า การทำดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดแห่งไตรเภท จงหมั่นทำความดีเพียรเท่าที่จะกอปรกิจการแห่งธรรมะนั้นในเบื้องหน้าเถิด
☺ มุ่งสิ่งใดประเสริฐที่สุดคือมุ่งจิตให้ผ่องใส เป็นพระที่ประเสริฐที่สุดสำหรับพุทธสาวก

☺จงพร้อม และเตรียมที่จะดับสิ้นซึ่ง 3 ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้หมดไปพร้อมกับขันธ์ 5 ประการ
☺จงดับแล้วซึ่งความเศร้าหมองของจิตด้วยอริยสัจ 4 ประการ จนถึงพร้อมด้วยตัดสังโยชน์ 10
☺ ตถาคตรับเธอทั้งหลายไว้ในจิตแห่งตถาคต ทุกพุทธบริษัท จงมั่นใจพร้อมที่จะละโลกนี้และโลกหน้า ไปอยู่กับตถาคตเถิด

☺ในปัจจุบันข้างหน้านี้ ก็จะเป็นสากลนิยมเรื่องแห่งพุทธศักราชที่สองพันห้าร้อยสิบแปดแห่งพระพุทธศาสนา ทุกผู้ทุกนามก็จะเพิ่มมีอายุขัยมากขึ้นทุกๆ ปีแห่งการเกิด จงพิจารณาดูว่าการที่แล้วๆ มาในอดีตนั้น เราทำอะไรที่เป็นสาระและเนื้อหาบ้าง อะไรที่เป็นความขุ่นข้องหมองในจิตและอารมณ์นั้นมีอย่างไร

☺ จงเอาอดีตนั้นมาเป็นครู มาเป็นแบบฝึกหัดตัวเองให้ปรับปรุงเสียใหม่ เริ่มต้นเสียใหม่ เอาสิ่งที่แล้วๆ มาเป็นข้อเตือนใจ อย่าให้เกิดภาวะ วิภาวะเป็นหน 2 และ 3 จงนำเหตุต่างๆ แห่งกาลเวลาเหล่านี้มาตรองดู ว่าเป็นเนื้อหาแห่งทุกข์ฉันใด เป็นเนื้อหาแห่งสุขมีไหม แล้วจงตั้งตนเสียใหม่ให้อยู่ในความไม่ประมาท แล้วดำเนินในทางที่เป็นสุขๆ คือทางแห่งการดับทุกข์ เวทนาทั้งปวง

☺ เมื่อตั้งต้นได้แล้ว ฉันจะขออำนวยพรให้อุปสรรคทั้งมวลอันมี โรค ภัย ไข้ เจ็บ ทุกข์เวทนาทั้งหลาย โพยภัยจงอย่างได้มากล้ำกราย เป็นบุคคลที่อุดมด้วย ศีล ภาวนา เจริญรอย "ตามพระพุทธบาท" ดังพระพุทธวัจนะทุกประการ.

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามตอน "คำเทศน์ ปี 2518" ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/5/10 at 14:12 [ QUOTE ]


22

(Update 28/04/53)

คำเทศน์ของ "สมเด็จพระสมณโคดม"

15 มกราคม 2518

☺ บุคคลใดประพฤติชอบ พูดชอบ คิดชอบ บุคคลนั้นเป็นบุคคลควรสรรเสริญ น่ายกย่อง สมควรแก่วาระและกาลเวลา ควรอย่างยิ่งที่จะจรรโลงซึ่งพระศาสนาสืบต่อไป จนบรรลุสัจธรรมขั้นปรมัตถ์ อันสูงสุดแห่งธรรมนั้นๆ

2 กุมภาพันธ์ 2518

☺ การดำรงสติสัมปชัญญะ การควรระลึกได้อยู่เป็นอารมณ์ว่าเราเป็นใคร มีหน้าที่อย่างไร จะทำอะไร จะวางแผนการเช่นไร ตั้งอารมณ์จิตเหมาะสมอย่างไร คิด ไตร่ตรองอยู่เสมอ แล้วจะมีความระลึกได้อยู่เสมอว่า ปัจจุบันคือปัจจุบัน
ตัดผู้ร้ายออกไป สำรวมไว้

☺ สำรวม ทำให้เราหมดซึ่งความกังวล ไม่โผงผาง ไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวาย ทำแล้วจิตจะเย็น ไม่ตกอยู่กับโมหะ โทสะ กิเลสทั้งปวง
☺ สำรวมแล้วอารมณ์จะเย็น จะทำอะไรได้เองตามจังหวะของงาน ไม่รีบร้อน ไม่เฉื่อยชา

☺ สติ เวลาจะทำอะไรที่ผู้ร้ายเข้าแทรก ก็คิดว่า “ไม่.....ไม่.....”
☺ เมื่อมีเหตุก็ให้คิดว่า “หยุด” แล้วรวบรวมสติทบทวนใหม่ ค่อยๆ ไป หยุดตั้งสติ
☺ พอรู้เรื่องหรือรับเรื่องวุ่นวายมา ก็ให้ฟัง แล้วตั้งสติรวบรวมใหม่
☺ เหตุนี้ ขึ้นอยู่แก่เธอ ตถาคตได้แต่แนะ

5 กรกฎาคม 2518

☺ คนใดที่เห็นธรรมของตถาคตเป็นธรรมพาให้หลุดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงแล้ว บุคคลนั้นเป็นผู้ที่หาความสุขที่จีรังได้ในอนาคต

☺ ตถาคตถือว่าบุคคลทั้งปวง ไม่ว่าเป็นเทพยดา มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายเป็นบุตรของตถาคตทั้งปวง ทุกผู้ทุกนาม มีโอกาสได้เสวยในสัมปรายภพแดนพระนิพพานทุกนาม ตถาคตขอประสาทพระให้เธอทั้งหลายผู้ใฝ่ธรรม ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ จงสำเร็จเป็นอริยเจ้าทุกนาม ทุกผู้คนทั้งปวง ตถาคตคอยบุตรทุกครั้งที่ทุกข์

17 พฤษภาคม 2520

☺ จะฟังเทศน์หรือ ? พวกเรามีวิสัยที่ได้ธรรมะกันถ้วนทั่วนะ จงประพฤติปฏิบัติให้เข้มข้นแล้วกิเลส ตัณหา อุปาทานจะได้ลดน้อยถอยลงไป ไม่มีในจิตในใจให้เราได้หม่นหมอง
☺ สิ่งที่เธอทั้งหลายยังขัดข้องอยู่คือทิฐิและมานะ

☺ เมื่อรู้ตนของตนแล้วว่ายังบกพร่องด้วยสิ่งใดแล้ว ก็หมั่นไตร่ตรองดูตนเองให้ตลอดว่า เรายังเลวด้วยอะไรอยู่ ต้องกล้าที่จะตรวจสอบ ต้องกล้าที่จะดูความผิดของตน ส่วนใหญ่วิสัยมนุษย์นั้นไม่กล้าเห็นตนเองเป็นคนไม่ดี เพราะกลัวตนเอง แต่ในการพิจารณาต้องรู้ตรวจสอบตนให้แจ้งว่าทำไม เหตุไฉนถึงทำให้เราด้วย เหตุนั้นแหละคือตัวทุกข์

☺ เมื่อรู้เหตุของตัวที่ทำให้เกิดทุกข์แล้ว พิจารณาธรรมะของศาสนามาเข้าหลักเกณฑ์เสียให้กระจ่างว่า เหตุที่ยังวนอยู่ในทุกข์นั้น เพราะว่ามันเป็นอนิจจังเป็นทุกข์แล้วพิจารณาดูซิว่าทำอย่างไรถึงจะพ้นอนิจจัง คืออนัตตา จนขึ้นใจ อนัตตานี้เป็นประดุจวัฏสงสารของกองทุกข์ที่ไม่หยุด..ไม่สิ้น ถ้าเรายังยินดีในสมบัติของโลกอยู่

☺เมื่อทราบและเข้าใจตนเองแล้ว หาวิธีที่จะให้พ้นวัฏฏะ คือสละ ตัด แยก ออกจากสิ่งเหล่านี้โดยตนเองต้องเป็นผู้เข็ด เข็ดในความทุกข์ เข็ดในสิ่งที่เป็นอนิจจังอนัตตา เข็ดที่จะต้องหมุนเวียนโดยกรรมที่ไม่มีวันจบสิ้น เข็ดเกิด แก่ เจ็บ ตาย

☺เมื่อความสำนึกของเรารู้ว่าเข็ด ความรู้แจ้งธรรม แทงตลอดในธรรมก็จะบังเกิด แล้วทำให้เห็นสิ่งที่เราจะต้องปลงใจตัดให้เป็นสมุจเฉทปหาน และจะทำให้ใจเราเด็ดขาดลง เมื่อนั้นธรรมปิติก็จะเกิดขึ้นแก่ใจ เราจะเดือดเนื้อร้อนใจ สิ่งไรก็รู้อยู่ที่คำว่า “รู้” เท่านั้น

☺ทุกคนรู้ว่าทุกข์นั้นเดือดร้อน ลำบาก ไม่สบายใจ แต่ทุกคนไม่จำในทุกข์ ไม่ใช้วิธีแก้ทุกข์ที่ถูก ทุกคนใช้วิธีแก้ทุกข์โดยการขอ โดยการบน โดยการบอกประชดกรรม นี่หรือวิธีแก้ทุกข์ ? นี่แสดงว่าตนเองต้องการความสุขในโลก ตนเองยังไม่ยอมรับทุกข์ ตนเองเห็นดีเห็นชอบกับของสมมุติอยู่

☺ พิจารณาว่าทุกข์อยู่ที่ใจ สุขอยู่ที่ใจ ใจมีที่เกิด และการไปก็ไปด้วยใจ การดับทุกข์จึงต้องระงับที่ใจ ระงับได้นั่นคือสมาธิ เมื่อมีสมาธิ ปัญญาก็จะมาช่วยแก้เอง
☺สมาธิ คือจิตที่เป็นเอกัคตารมณ์ จิตเป็นเอก มุ่งแต่สิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

☻ (ถาม – ไม่เข้าใจความหมายของมุทิตา)
☺ ตอบอย่างง่ายๆ ว่าข้อมุทิตานั้น กับนิสัยคนไม่ให้อิจฉา อาฆาต พยาบาท เห็นแก่ตน ขาดมุทิตาอย่างมากมายคือใจ มีอคติ ไม่ชอบ ข้อนี้เราต้องวางใจให้รู้ว่า ถ้าเขาได้ดีจะสมควรหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเขาวาสนาดี

28 กันยายน 2520

☺ บุคคลใดมุ่งหวังตถาคตเป็นอารมณ์ บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้อยู่กับตถาคต

30 ตุลาคม 2520

☺ พิจารณากันไปถึงไหน ดูตัวเองกันไปบ้างหรือเปล่า
1. ดูศีล 5 ข้อ ที่เป็นบรรทัดฐานที่ทำให้เราทั้งหลาย รวมถึงสัตว์ทั้งปวงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ว่ามีข้อใดที่บกพร่อง ขาดหายไป

2. ดูว่าโลกธรรมเป็นสิ่งกินใจเราหรือเปล่า มีสุขก็มีทุกข์ สุขกินใจทำให้ขี้เกียจ ทุกข์กินใจทำให้ท้อถอย สรรเสริญเยินยอกินใจทำให้หลง นินทากินใจทำให้โกรธ ลาภเมื่อมีทำให้ละโมบอยาก ตัณหา เสื่อมลาภ ไม่ได้ก็ทำให้โลภอยากได้อีก ยศกินใจทำให้เหลิงลืมตัว เมื่อเสื่อมยศกินใจทำให้โลกต้องการทุกข์ท้อถอย
ทั้งหลายเป็นความจริงของโลก เป็นธรรมของโลก หรือเรียกว่าโลกธรรม ที่ต้องเกิดแก่ทุกคน แต่จะกินใจคนๆ นั้นมาก มากน้อยเท่าไร สำรวจดู ต่อมาดู

3. พรหมวิหาร 4 ดูว่า..
- เมตตา บกพร่องไหม ขาดไปหรือมากไป
- กรุณา บกพร่องไหม
- มุทิตา บกพร่องไหม เราอิจฉาไหม รังเกียจไหม หรือดูแคลนไหม
- อุเบกขา บกพร่องไหม การวางอารมณ์ใจวางได้แค่ไหน การวางใจ วางมากไปหรือน้อยไป ดูให้ถี่ถ้วนว่าเรายังผิด ยังถือด้วยสิ่งไร ยังมั่นคงในความดีหรือไม่หรือท้อถอย

☺ ทุกอย่างนี้ต้องมีสติเป็นที่หมายมั่นคง อันนี้จะทดสอบตนเองในเบื้องแรกว่า ตนพร้อมอะไรบ้าง จะกล้าตัดสินใจ ประณามตนเองให้รู้ชั่ว ชั่วเพราะอะไร อะไรดี บุคคลใดที่กล้าประณามตัวเองในตัวเองด้วยใจแล้วนั้น บุคคลนั้นจะเป็นผู้รู้จักตัวเองดี และจะไม่ตกอยู่ในความประมาท หลงระเริงตนว่าเข้าหาพระแล้วจะดี

☺ แต่ (ความจริง) ไม่ (เป็นเช่นนั้น) เสมอไป เพราะหลง หลงว่าเราดี เราก่อน เราถูก คือ “ของเรา” ซึ่งถือว่ามีใจเรา เราต้องมี แต่ที่จริงแล้วเราไม่มีอะไร เราไม่มีในเรา มีอะไรที่เป็นของเรา ? หาไม่ได้ ต่อมา

4. จับทุกข์ขั้นมาพิจารณาให้เห็นการเกิด การดับของทุกอย่างในโลก ตั้งแต่รูปนามทั้งหลายว่าเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่มีใครอยู่ตลอด ไม่มีสภาพถาวร และจงเห็นเป็นอนัตตา ไม่รู้จบ ไม่รู้สิ้น ถ้าไม่หยุด

☺ จงหยุดเถิด จงรู้เห็นในความเป็นจริงของโลก จงอย่าประมาทในสังขาร ในอารมณ์ ในวาระ ในสิ่งต่างๆ เมื่อใดเราประมาท เมื่อนั้นเราจะทุกข์
ทุกข์รู้เห็นได้ด้วยใจ สุขรู้เห็นได้ด้วยใจเช่นเดียวกัน ใครจะรู้ทุกข์สุขได้ดีกว่าตัวของตัวไม่มีอีกแล้ว

☺ สำรวจดูตัวเองทุกวันก่อนนอน ดูว่าวันนี้ตั้งแต่เส้นผมไปจนถึงเท้า ดูเข้าไปใจใจให้แทงตลอดว่าดีตรงไหน เก็บไว้ ฝากพระท่านไว้ ดูชั่ว ชั่วตรงไหน รีบหาทางแก้ไข ถ้าเก็บไว้พระท่านไม่รับฝาก มีผู้รับฝากเพียงคนเดียว คือ พญายมราช จงรีบแก้ รีบดู รีบปฏิบัติอย่างมั่นคง พร้อมด้วยสติ ดูความประมาทว่าจะไม่เกิด เมื่อนั่นแหละจะพบจุดหมาย

☺ อย่าไปสร้างจุดหมายอย่างคนเพ้อฝัน โดยที่ตนเองยังล้าหลัง ระวังคนที่เขาไม่มีจุดหมาย แต่ปฏิบัติจะก้าวข้ามหัวเราไป “พุทธครู”

"ลา"


6 เมษายน 2521

☺ เธอทั้งหลายจงตั้งตน ตั้งใจให้อยู่ในสัมมาปฏิบัติอันเลิศนี้ต่อไปตราบก้าวเข้าสู่พระนิพพาน
☺ จงหมั่นตั้งจิตแน่วแน่ที่จะชดใช้บุพกรรมแต่ปางก่อนให้จบสิ้นภพสิ้นชาติในปัจจุบันเถิด
☺ อันพระธรรมของตถาคตนั้น ถูกต้องแล้วที่บุตรทั้งหลายได้นำมากระทำ ปฏิบัติให้บังเกิดมรรคผลแห่งสัจธรรม ซึ่งเป็นมณีอันล้ำค่าแห่งจิต

☺ พรใดที่พึงหวังพึงปรารถนา ปรารภขึ้น จงสัมฤทธิ์ผลแห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพทุกประการ

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามตอน "คำเทศน์ ปี 2522" ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/5/10 at 14:41 [ QUOTE ]


23

(Update 05/05/53)

คำเทศน์ของ "สมเด็จพระสมณโคดม"

20 มิถุนายน 2522


คนที่ 1

☻ (ถาม – ขอทราบข้อบกพร่องของกำลังจิตเวลานี้)
กำลังจิต คือ "พลังอำนาจ" ที่จะนำให้บรรลุถึงปัญญา ถ้ากำลังจิตอ่อนหรือไม่ทรงกำลัง แสดงว่าจิตเราท้อไม่สู้ พลังผลักดันที่จะทำให้เรามุ่งปฏิบัติจิตในการเอาชนะต่อความต้องการของกิเลสมีไม่พอ จงตั้งใจไว้อย่างมั่นคง ว่าเราจะต้องทำให้ได้โดยยึดเป็นสัจจะ แรงของสัจจะนี้จะช่วยผลักดันไม่ให้เราท้อถอยหรือยอมแพ้
☺ มั่นใจนะ ถือสุภาษิตที่ว่า เราทำได้ทุกอย่างเท่าที่เราจะทำ

☻ (ถาม – ติดปฏิฆะทำอย่างไร ?)
☺ปฏิฆะ รู้ไหม..คืออะไร ?

☻ (ตอบ – คือสิ่งไม่พอใจ มันผลัดกันแพ้กันชนะ กำลังสู้เรื่องนี้อยู่)
☺ เราตอบดูด้วยว่า เราพิจารณา แพ้-ชนะ อย่างไรควรแก่การ ในเหตุที่พิจารณาบางสิ่งบางอย่างต้องใช้หลักของกุศลกรรม ต่อมาต้องใช้หลักของหน้าที่ หน้าที่ที่เราทำเราเป็นอยู่ และหน้าที่ที่ต้องดูแล อันนี้จะกำหนดวิธีการแก้โดยการนำเอาอารมณ์ของอุเบกขาบารมีมาใช้ ความพอใจไม่พอใจ อาจมีขึ้นได้โดยเมตตาและขาดเมตตา อภัย เข้าใจนะ

☻ (ถาม – มีอะไรจะทรงเตือนอีก)
☺ อารมณ์สงบ (อัน) เป็นอารมณ์ที่จะชนะมารนั้นเกิดปัญญา การเดินสายกลางเป็นสิ่งดีที่สุด เมื่อใดรู้สึกตัวว่าเครียดเกินไปอย่าไปเอาชนะมัน กิเลสจะครองใจ รู้ว่าเครียดเกินไปเลิก เรื่องอ่อนเกินไปมีโทษน้อยกว่าการเครียด

☺ ปฏิบัติต่อไปเถอะ เกิดมาก็ต้องทำหน้าที่ที่เราไม่อยากทำในบางครั้ง แต่ก็ต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ สิ่งนี้จะทำให้เรารู้จัก “การเกิดเป็นทุกข์” ชัดเจน ฉะนั้น ถ้าเธอแจ้งกระจ่างความทุกข์ของการเกิดแล้ว เธอจะได้ไม่ต้องพบการเกิดตามปรารถนา

☻(ถาม – ด้านมโนมยิทธิ ใช้ได้ไหม ?)
☺ ดี.. ฉันน่ะใคร ?

☻(ตอบ – สมเด็จฯ)
☺ เออ..มั่นใจนะ

☻(ธรรมใดที่พระองค์ท่านตรัสรู้ ขอข้าพระพุทธเจ้าได้แจ้งธรรมนั้น)
☺สาธุ..!

คนที่ 2
☺ มีเวลา ฝึกอารมณ์ทิพย์ให้มากขึ้น มองทุกข์ให้กระจ่างกว่านี้

คนที่ 3
☺ เมื่อรู้ทุกข์ เห็นทุกข์ของการทรงภาระต่างๆ แล้ว เธอจงตั้งใจว่านี่คือปกติของการเกิดมา (ของการ) ทรงขันธ์อยู่เป็นต้น เมื่อทำใจให้ปกติ เห็นสภาพทุกข์เป็นธรรมดาได้แล้ว เธอจะเกิดปัญญา ทรงอารมณ์ในวิมุตติสุข

คนที่ 4
☺ เห็นทุกข์ชัดไหม ?

☻ (ตอบ – ยังไม่ชัด)
☺ ยังไม่ชัด จงใคร่ครวญในตัวเองว่าเรานั้นมีอะไรที่สบาย และอะไรที่ไม่สบาย อะไรที่เราเกลียด อะไรที่เราชอบ พิจารณาให้รู้แจ้งแทงตลอด

คนที่ 5
☺ ศัตรูที่เอาชนะยากที่สุดคือตัวเรา จงต่อสู้กับตัวเราให้มากๆ

คนที่ 6
☺ ถ้าเลิกยุ่งกับไสย (ศาสตร์) จะสบายกว่านี้ ของเหล่านี้จะพาให้เราเสื่อม รู้ไหมเพราะอะไร ? เราสนิทกับพวกนี้เท่ากับเราเป็นพวกเขา พวกนี้จะเรียกว่าเป็นคนพาล เขาให้ทำก็ทำอย่าง “คบโจรเป็นโจร คบพระเป็นพระ”

คนที่ 7
☺ จงตั้งใจที่จะขจัดเคราะห์กรรมโดยการวางเฉยในกรรมที่จะมากระทบ
☻(ขอประทานเทศน์ในเรื่องที่เจอมา เพราะไม่ทราบว่าทำใจได้ถูกต้องหรือเปล่า)

☺ ทุกอย่างอยู่ที่ความพอดี แจ้งไหม ? ในเมื่อไม่พอดี เราจะต้องทำใจให้พอดี
☺ความพอดี คือการรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นบุพกรรมอย่างหนึ่ง เป็นเพราะกรรมทางอ้อมอย่างหนึ่ง หรือเป็นด้วยความไม่พอควรในเหตุที่จะประสบพบความทุกข์อย่างหนึ่ง เหล่านี้เป็นปัญหาที่เธอจะต้องนำมาเพื่อทรงอารมณ์ ความรู้สึกของจิตให้เป็นปกติ

☺แล้วเมื่อนั้นปัญญารู้ว่าอะไรควรทำ ควรคิดจะเกิดแจ้ง และสามารถหาความพอดี ความพอใจได้สำคัญที่ว่าอย่าทำใจไปหมกมุ่นในเรื่องนั้นจนเกินพอดี ไม่ว่าจะมีเมตตา กรุณาก็ตาม อย่ามากเกินขอบเขต แจ้งไหม ?

☻ (ถาม – เมื่อความทุกข์เกิด จะทำยังไงไม่ให้โกรธเคือง)
☺ทำไมถึงโกรธ ถามตัวเองซิ โกรธแล้วได้อะไร
☺ ขอให้พุทธบริษัททั้งหลายจงได้ถึงธรรมในชาตินี้ทุกๆ คน

4 กรกฎาคม 2522

☺ การที่พวกเธอทั้งหลายได้ร่วมศรัทธา สละปัจจัยอันเป็นสิ่งลี้ยงชีพ เลี้ยงร่างกายให้อยู่ดีเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา ให้มนุษย์ทั้งปวงได้มาพบความสุข รู้วิธีที่จะดำรงจิตใจให้ใสสะอาดขึ้นนั้นว่า เป็นคุณประโยชน์อย่างไม่สามารถจะเอ่ยได้ครบ แต่นะโมทนาส่วนที่เธอได้แสดงออกมา คือ การสละความโลภ เป็นการสละกิเลสส่วนหนึ่ง และเป็นเมตตา กรุณาในพรหมวิหารส่วนหนึ่ง

☺ ด้วยผลบุญกุศลนี้ จงเป็นปัจจัยให้พวกเธอได้ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานโดยฉับพลันและได้รู้แจ้งแทงตลอดในข้อธรรมะโดยไม่กังขา สำเร็จเข้าสู่พระนิพพานในทันที

(หลวงตาแสง..ต่อท้าย)
☺ เอาละ...ตาในฐานะเจ้าอาวาสดั้งเดิมเต็มที ก็พลอยปิติยินดีแก่ลูกหลานทุกคนที่ช่วยกันเกื้อหนุนพระศาสนาขององค์พระศาสดาบรมครู เธอ 2 คน (ผู้เดินถ้วยแก้ว) ควรโมทนาอย่างยิ่ง ที่ยอมสละมาเป็นสื่อทำบุญ
☺ ขอสมาธิ 5 นาที จะให้พร ขออนุโมทนาบุญกุศล..!

1 สิงหาคม 2522

☺ ดูก่อน ลูกรักทั้งหลาย พวกเธอได้บำเพ็ญธรรมปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นในวัฏสงสาร นับเป็นผู้สืบต่อธรรมแห่งตถาคต
☺ ปัจจุบัน นับกาลเข้าพุทธศตวรรษ 2522 แล้ว เป็นช่วงแห่งกึ่งพุทธกาล เป็นเวลาแห่งความถอยเสื่อมของกาลเวลา จึงเป็นเหตุให้พบเห็นในสภาพแห่งทุกข์จนประจักษ์ เมื่อสภาพทุกข์ประจักษ์มากขึ้นเพียงไร ธรรมะของตถาคตจะยิ่งประจักษ์ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น เป็นเหตุที่น่าปิติยินดีสำหรับพุทธบริษัททั้งปวง (และ) ยังเกื้อหนุนพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคง

☺เหล่านี้ ลูกรักทั้งหลายจงประจักษ์ดั่งธรรมะไปตามไตรลักษณ์ ทุกอย่างไม่เที่ยงแท้แน่นอน แม้แต่พระศาสนายังมีวันสิ้นสุด ทุกๆ อย่างไม่มีที่สบายพอสำหรับวัฏสงสาร ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ สภาพความจริงอย่างไม่มีวันหยุด

☺ เหล่านี้คือทุกข์ที่ลูกทุกคนเห็น รู้ สัมผัสทั้งสิ้น เมื่อเห็น-รู้ ในทุกข์ ธรรมะความเป็นจริงย่อมจะทราบได้ว่าเกิดขึ้นเพราะมนุษย์และสัตว์มัวเมาในชีวิต มัวเมาในสิ่งประกอบชีวิต ไม่ยอมรับนับถือสภาพเกิด แล้วแก่ เจ็บ ในที่สุดก็ต้องตายลงไป

☺จงอย่ามัวเมาในสังขาร อินทรีย์ทั้งหลาย อย่าหลง อย่ายึด อย่าถือในเหตุที่คิดว่านี่แหละของฉัน (ของเรา) อะไรเป็น “เรา” อย่าไปยึดในสิ่งซึ่งเป็นของชั่วคราวเหล่านี้ จงตั้งตนเสียใหม่ด้วยการปฏิบัติในมรรคทั้ง 8 เป็นสุจริต ยึดมั่นในพรหมวิหาร 4 เป็นจิตใจดำเนินในศีลเป็นวิถีทาง เหล่านี้จะช่วยขจัดกิเลส อวิชชาทั้งมวลที่มีในจิตพวกเธอได้ลดน้อยถอยลง

☺พึงสำนึกในมรณัสสติ ยึดมั่นในพุทธานุสติ ดั่งนี้จะเป็นทางให้ลูกทั้งหลายได้พ้นทุกข์ ทุกข์นั้นไม่ใช่เพียงร้อย แต่ของให้ทุกข์นั้นเป็นจิตใจว่าทุกข์คืออะไร ดังอริยสัจ 4 ประการ ที่ตถาคตได้กล่าวมา

☺เธอไม่รู้ว่าเธอมาจากไหน เธอรู้ว่าเธอจะไปไหน แต่เธอไม่รู้เวลาที่เธอไป และเธอไม่รู้ว่าก่อนเธอจะมาเธอได้กระทำอะไรมาแล้วบ้าง จงตั้งต้น ตั้งหน้าที่จะฝึกฝนกำลังจิตให้มั่นคง มั่นหมายถึงที่จะเอาชนะต่ออุปสรรค ทุกข์ทั้งมวลให้ได้

☺เมื่อใดที่ลูกๆ ได้มีปฏิบัติธรรมเข้าสู่อริยมรรคถึงอรหัตผล เมื่อนั้นลูกจะได้ชื่อว่าทำให้พ่อปิติที่สุด..!

"ขอให้พร"

21 พฤศจิกายน 2522

☺ พวกเธอทั้งหลายได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ก็จงรู้หลักในการปฏิบัติธรรมเหล่านี้ให้เป็นผล เมื่อรู้แล้วก็ควรจะต้องทรงสติในการปฏิบัติอย่างยิ่ง
☺ จงมองเหตุต่างๆ ในรอบตัวรอบกาย ดูให้รู้ แล้วกลับมองย้อนดูตัวเอง สำคัญที่สุดคือตัวเอง ผู้มีอำนาจ เมื่อไร้อำนาจแล้วสามารถทำตนอย่างคนไร้อำนาจได้นั้น นับว่าเป็นผู้ล้างแล้วซึ่งทิฐิมานะ

☺อำนาจหมายถึงพลังในตัวเอง พลังนั้นใช้สำรับการทำงานในวัยหนุ่มสาว และเมื่อแก่ก็ใช้อำนาจนั้นพิจารณาในด้านของสังขาร (หรือ) อาจจะเป็นธรรมะอื่นก็ได้
☺ฉันสอนไว้ประการหนึ่งว่า ทุกคนยังมีทิฐิ จะว่าเป็นความดื้อรั้นก็ไม่ผิด สิ่งนี้จะทำให้เธอขาดสติ มีอวิชชาเป็นตัวนำ การขาดสตินั้น ช่วงของการไร้สติจะเป็นช่วงมืดทึบด้วยปัญญา ฉะนั้น จงพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนที่จะใช้ความทิฐิเป็นเครื่องตัดสินใจในการปฏิบัติต่างๆ

☺ พิจารณาดูว่ามีอะไรเป็นเหตุผลที่สมควร อะไรไร้เหตุผล อะไรไร้สาระ ทุกคนควรระมัดระวังในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะผู้ที่จะบรรลุธรรมไม่ว่าขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด ต้องครองสติเป็นปกติให้มาก นานที่สุด เมื่อดำรงสติ ปัญญาจะกระจ่าง ปัญญานั้นคือความรอบคอบ รอบรู้การถือทิฐิได้ประโยชน์อย่างไร ? ถ้าใครเห็นประโยชน์ก็สนับสนุน

คนที่ 1
☻(ถาม – สันโดษ กับ ทิฐิ เหมือนกันหรือไม่ ?)
☺ไม่.. "สันโดษ" คือความพอใจในสิ่งที่ตนมี ตนดำรงอยู่ "ทิฐิ" คือความดื้อรั้นไร้เหตุผล
☺ การถือตัว บางครั้งก็ไม่ใช่ทิฐิมานะ อย่างเรารวมอยู่ในหมู่ชน เขาชวนเราให้ทำในสิ่งไม่สมควร เราไม่ทำก็ย่อมถือว่าเราถือตัว คือถือตัวว่าจะไม่ทำในสิ่งอกุศล ถือตัวที่จะคบกับสิ่งที่ดี อย่างหมู่ชนที่ฟุ้งเฟ้อเราไม่ยินดีด้วย เราก็ไม่ต้องไปไยดี นี่เป็นสัมมาทิฐิ

คนที่ 2
☻ (ถาม – ถ้าทุกคนถือพุทธ จะร่มเย็นกว่านี้ ?)
☺ ไม่เช่นนั้น

☻ (ถาม – เพราะต่างคนต่างจิตต่างใจหรือ ?)
☺ เพราะสัตว์ทุกชนิดมีกรรมในอดีต กรรในปัจจุบัน และกรรมในอนาคตไม่เหมือนกัน ถ้าทุกคนทำความดี เพียงความดี 5 ประการได้แล้ว สวรรค์ย่อมมีภพเดียว
☺ บ้านเมืองนี้ ไม่ต้องเป็นกังวล พร้อมกันนี้ที่ประเทศแดนนี้ จะเป็นหลัก ของพระพุทธศาสนา จะรุ่งเรืองคล้ายๆ ส่วนหนึ่งของพระพุทธกาล เพื่อที่จะพยุงพระศาสนาให้ครบ 5000 พรรษา

☺ ในปี 2523 พระสาวกอรหันต์เจ้าจะปรากฏเป็นจำนวนมาก พระผู้บรรลุแล้วนี้จะอยู่ในวัย 40 ถึง 50 ครึ่งหนึ่ง ในวัย 25 ถึง 30 ครึ่งหนึ่ง
☺ “พระ” นี้ไม่ได้หมายถึงชายเท่านั้น อยู่ที่ปฏิมรรคหรือปฏิผล ทั้งนี้หมายถึงผู้มีวัยเกินนี้ไปแล้ว ส่วนมากจะเป็นปฏิผล เข้าสู่พระนิพพานไปเลยเพราะต้องการพยุงพระศาสนา

15 พฤษภาคม 2535

☺วิสาขะนี้ อยากให้พวกเธอทุกคนได้ปฏิบัติในธรรมขันธ์ ละ วาง หยุดในเหตุแห่งทุกข์ คือโลภะ โทสะ โมหะ ละในกิเลส ตัณหา และอุปาทาน วางในขันธ์ ในอารมณ์ สัญญา สัญญาณ นำคำเหล่านี้ไปพิจารณาหัวใจของธรรมะ
ในวิสาขะนี้ ขอให้ทุกท่าน ทุกคนจงมีความสุขสบายในกามาวจร

26 มีนาคม 2537

☺พวกเธอมีอภัยในใจไหม ?
☺การมีอภัยจะทำให้จิตมีความน้อมในปัญญา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะ อภัย ยกให้ เป็นตัวทำให้จิตเราละทิฐิ ทิฐิตัวยึดถือว่า “เรา” (ซึ่งเป็น) มวลต่างๆ อยู่ (อย่าง) ถาวร ถ้าเป็นสัมมาทิฐิเป็นคุณนำทางแล ถ้าไม่ใช่จะหลงทาง ยึดเขา ยึดเรา โทษเขา โทษปัญหา เหล่านี้จะทำให้จิตขุ่นข้องอยู่ในกิเลส ตัณหา และที่ร้ายกาจคืออุปาทาน

☺อุปาทานทำให้หลงอย่างมาก หลงว่าเราดี เราเก่งกว่า เราวิเศษกว่า แล้วเรานั้นเจ็บไหม ? ทุกข์ไหม ? แก่ไหม ? ตายไหม ?
☺อย่าไปโกรธ โกรธคือตัวปิดกั้นปัญญา เมื่อมีโกรธก็หลงอีก หลงไปหลงมาก็วนอยู่นั่น
☺ ฉะนั้น จะมีอภัยให้มากๆ แล้วจะมีสติและปัญญา รู้อยู่ ตั้งใจนะ เราหรือเขาแก่ไหม ? เราหรือเขาตายไหม ยึดทำไม ?

ลา..."สัมมาสัมพุทธะ"

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตาม "คำเทศน์ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า" ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 17/5/10 at 04:45 [ QUOTE ]


24

(Update 17/05/53)

คำเทศน์ของ “พระปัจเจกพุทธเจ้า”

22 สิงหาคม 2517


☻(ถาม – มีองค์ไหนที่เราจะรับใช้ท่านได้ ?)
☺ มี..เราไง..ปัจเจก..!

☻(ถาม – จำนวนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า อย่างไหนมากกว่า ?)
☺ ปัจเจกมาก

☻(ถาม – พระปัจเจกพระพุทธเจ้าคงไม่หมายว่าท่านจะไม่สอนเสมอไป ?)
☺ใช่

☻(ถาม – คำ “ปัจเจกโพธิ” หมายความว่าอย่างไร ?)
☺ คือยังไม่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

☻(ถาม – ต้องทำบารมีมากเหมือนกัน ?)
☺ น้อยกว่าโพธิสัตว์

☻(ถาม – ขอประทานพร)
☺ ความดีของพวกเธอ.. คือพรอันประเสริฐ..สุนทรแล้ว..!

5 กรกฎาคม 2515

☺ ลูกทั้งหลาย...เข้ามาใกล้ๆ
☺ตั้งใจทำสมาธิสัก 3 นาที แจกสายสิญจน์ไปถือกัน 2 คนนี้เดินกระดานนะจ๊ะ ปิดไฟกลาง ไฟริมไม่ต้อง นั่งให้สบายๆ ทำจิตให้ผ่องใส สูดลมหายใจเข้า “พุท” แล้วเอาจิตตามลมไปถึงไหน แล้วปล่อยลมออก ตามจิตว่า “โธ” เอาใจจับที่ลม ลมจะลงไปถึงท้อง ปล่อยลมสบายๆ ใครเมื่อยก็พอ ทุกคนทำ

☺ถอนได้..ทุกคนทรงได้ในฌาน ตั้งใจอธิษฐานกุศลให้แก่ผู้ปกครองบ้านเมือง ผู้ที่รักษาชาติ ผู้ที่ช่วยชาติ ตลอดจนบรรพบุรุษ

☺จะฟังอะไรดี ? อานิสงส์ของความดี ดีไหม ?
☺ความดี คือการกระทำที่ถูกต้องตามธรรม (ธรรมคือ ธรรมชาติ) ฉะนั้น เรียกความดีว่า การกระทำที่เป็นคุณ
☺ อานิสงส์ของการทำความดี มีมากสุดที่พรรณนาได้
☺ ความดีแบ่งออกได้เป็น 3 อย่าง คือ

- ความดีทางกาย
- ความดีทางวาจา และ
- ความดีทางใจ


☺อานิสงส์ที่จะรับความดีได้มากที่สุด คือ อานิสงส์กระทำความดีทางใจ ถ้าทำได้ทั้งสามทางจะดีมาก
☺ ความดีทางกาย คือการกระทำในบุญ เช่น สร้างพระ ถวายของพระ
การกระทำความดีทางวาจา คือ ชอบพูด พูดปรัชญา พูดเตือน การพูดต้องประสงค์ให้ผู้ฟังได้เกิดผล เป็นความดีออกมา
☺ ความดีด้วยใจ คือเจตนาจะกระทำความดี คิดสร้างพระ เป็นต้น
☺ รวมแล้ว ความดีนี้ควรทำทั้งสามทาง

อันที่ 1 ความดีทางกาย มีอานิสงส์ทดแทนเราทางกายเช่นเดียวกัน มีอานิสงส์อย่างน้อย 5 ชาติ อย่างมาก 1 กัป
- ทำความดีด้วยวาจา อานิสงส์ อย่างน้อย 3 ชาติ อย่างมาก 1 ใน 3 ของกัป
- ทำความดีที่ใจ อานิสงส์ อย่างน้อย 6 ชาติ อย่างมาก 1 กัป กับอีก 1 ส่วน 2
- ถ้าทำความดีพร้อมกันทั้ง 3 อย่าง ก็ได้ถึง 10 มหากัป เป็นอย่างยิ่ง


☻ (ถาม – พวกเราในที่นี้ได้ทุกคนหรือ ?)
☺ได้..แต่อยู่ที่ว่าบุญเราทำด้วยพลังแค่ไหน อานิสงส์ส่งทุกชาติ ก็ขึ้นอยู่กับกรรมตัดรอน คือบุญก็มีอยู่ แต่กำลังอ่อน เจ้ากรรมนายเวรนั้นคือผู้ที่เคยได้รับทุกข์เพราะเราและยังฝังใจจะสนองเรา
☺ส่วนการกระทำที่เราก่อโดยไม่มีผู้สนอง เช่น ด่าพระ ข้ามเศียรพระ เช่นนี้ ผู้คุ้มครองเขาสนองกรรม เหมือนกระทำของปลอมออกมาใช้ แล้วตำรวจจับ แต่ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเขามาเกิดแล้ว ส่วนก็ยังคงอยู่

☻ (ถาม – เราตั้งใจจะใช้ จะสามารถใช้หมด ได้หรือไม่ ?)
☺ได้..คนทำบุญมากก็พ้น เหมือนกับเธอทำงานให้นายจ้าง แล้วทำของเขาเสียหาย แต่เธอเป็นผู้ทำงานเก่งก็พ้นไป

☺ เอาละ..ศีลเป็นทางนำใจคนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูก คือความดี
สมาธิ เป็นสิ่งที่ก่อให้ทุกคนชำระจิตใจออกจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หัดใจให้เป็นสามัญสำนึก

- ปัญญา เป็นแสงสว่างชี้ทางที่ควรจะดำเนิน
- ศีล มีองค์ควบคุม คือ เมตตา กรุณา
- สมาธิ มีองค์ควบคุม มี มุทิตา อุเบกขา


ปัญญา มีองค์ควบคุม คือ อริยสัจ 4
☺ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราก็จะรู้ถึงแผนความชั่ว เมื่อประจักษ์แล้วก็เจริญวิธีอันทำให้จิตสงบคือ วิปัสสนาญาณ เมื่อจิตสงบแล้ว เราจึงใช้อิทธิบาท 4 มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ดำเนินไปอย่างสงบ

☻ (ถาม – รู้แผนความชั่วอย่างไร ?)
☺ คนเรา ถ้ายืนอยู่ที่สูง ก็จะมองเห็นที่ต่ำสะดวก รู้เห็นแล้วก็วางแผนได้ คิดกันให้พอ คนๆ หนึ่งเดินอยู่ริมน้ำ เขามองไปในน้ำ แล้วรำพึงกับตัวเองว่า สัจจะทำให้เป็นสุข หมายได้อย่างไร รู้ไหม ?

☺สัจจะ คือความจริง ความจริงคือธรรมะ หรือธรรมดา หรือธรรมชาติ ฉะนั้นคนเขายืนอยู่ริมน้ำ เขามองว่าน้ำมันเป็นเงา เห็นได้ สะท้อนได้ เห็นซึ่งตัวตนของเขาว่าเขาเป็นคน ฉะนั้น น้ำเป็นธรรมชาติที่ต้องเหลว มีประโยชน์ มีความธรรมดา คือให้ความเห็น คือเห็นรูปได้แก่เรา

☺น้ำนั้นให้ความจริง เห็นรูปร่างทั้งส่วนดีและไม่ดี แต่เรารำพึงว่าสัจจะจะทำให้สุข คือใจของคน ถ้ารู้จักมอง รู้จักสะท้อน ดูรูปร่างส่วนดี ส่วนเสียของตน แล้วรู้คิดให้เห็นธรรมดา ยอมรับนิสัย สันดานของคนว่าเป็นธรรมชาติของคน รู้จักกรรมดีกรรมชั่วว่าเป็นธรรม นั่นเป็นความรู้ เกิดปัญญาแตกฉาน เข้าใจและคิดออก เขาจึงเป็นสุข

☺เอาละ..สำหรับเที่ยวนี้ เล่าให้ฟังไว้คิด..ไปนะ..!

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตาม "คำเทศน์ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้าสุทัญญาอัณญะ" ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/5/10 at 06:38 [ QUOTE ]


25

(Update 25/05/53)

คำเทศน์ของ “พระปัจเจกพุทธเจ้าสุทัญญาอัณญะ”

20 สิงหาคม 2520

สอนรายบุคคล


คนที่ 1

☺ ว่าไง..คำสอนนั้นอยู่ที่เรา พิจารณาคิดให้ออก ไม่ใช่อยู่ที่ว่าใครจะสอนความหนักแน่น สำคัญที่สุด ของนำมาใช้บ้างรึเปล่า อ่านแล้วคิด คิดแล้วเห็นจริง เมื่อเห็นจริงเลยจำผิดๆ ผลปรากฏเลยน้อย การเห็น การฟัง การรู้สึก ไม่ลึกซึ้งเท่ากับการกระทำ..จริงไหม ใครจะมีอำนาจเท่ากับตัวเรา ?

คนที่ 2
☺ การปฏิบัติสมาธิอยู่ที่ใจเราตั้งมั่น ตั้งมั่นในสติ มุ่งมั่นในวิริยะ แน่วแน่ในธรรมะ

คนที่ 3
☺ สัมมาปฎิปทา ทำให้ถึงสัมมาปฏิบัติ สัมมาปฏิบัติทำให้ถึงสัมมาสัมพุทธะ

คนที่ 4
☺ กิจการของครอบครัวเป็นกิจการของร่างขันธ์ กิจการของธรรมะเป็นกิจกรรมของอทิสมานกาย สองอย่างแบ่งและแยกออกจากันให้ถูกต้อง เมื่อเธอแบ่งแยกออกได้แล้วจะขึ้นชื่อว่า เธอได้แยกจิตออกจากกายแน่แท้ เมื่อนั้นเธอจะมีความสุขในการปฏิบัติธรรม และปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แบกกรรมไว้ล้นพ้น

☺ จะทำได้ ต้องมีจิตเป็นกำลัง ระลึกไว้เสมอเมื่อเธอจะทำอะไรให้ถูกทาง อย่าให้ตกทางโดยมีอารมณ์มาเป็นผู้ฉุด เข้าใจไหม ?

☻(ปรารภ – อารมณ์ทางโลกจะฉุดต่ำลง)
☺ โมหะมีไหม หลง โทสะ มีไหม โกรธ โลภ มีไหม ? ส่วนมากติดโทสะ โทสะเกิดเพราะอะไร เพราะทิฐิมานะ ทิฐิมานะเลยไปถึงโทสะ โทสะผลักสติตกทาง

☻(ถาม – เลยไปไม่ได้ ?)
☺ รู้แล้วทำยังไง ทำอย่างไรถึงจะมีสติสร้างอุเบกขา อุเบกขาบารมี – เฉย ทำอย่างไร ให้เฉย ? เลิกสนใจ ที่สนใจเพราะอารมณ์จุกจิก จุกจิกมาก พิถีพิถันมาก ทำให้ทวารเปิด ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้สนใจ ? อย่าไปรักเอาแค่ชอบก็พอ รักคือห่วง ห่วงแล้วหวง หวงแล้วหลง หลงมากๆ ก็หึง
เท่านี้ ท่องให้ขึ้นใจ

☺ สวยก็ให้เห็นว่าสวย ชอบว่าสวยแต่อย่าไปหลงรัก อาการของรักมีอย่างไรเราถึงจะรู้ว่าเรารัก อาการของรักคืออยาก อยากให้เป็นของเรา เราอยากเป็นเจ้าของ เราต้องการควบคุมสิ่งนั้น ทำไมถึงอยาก ? แก้ตัวนี้ได้ ได้ไปทันที

☺ “ฉัน” “ของฉัน” เป็นต้นตอ อะไรก็ต้อง “ฉัน” นี่ ไล่จากใหญ่มาหาเล็ก เห็นแล้วว่าพระท่านเน้นว่า “ฉัน” “ของฉัน” ทำให้ไม่ถึงอริยมรรค เพราะอะไร ? หวง
ทำได้ไหม ? ใครทำได้ก็ไป ไปไม่ได้ก็อยู่ ตัวใครตัวมัน มัวแต่กลัวโน่นกลัวนี่ก็ไม่ต้องไปนะ ทุกคนอย่าไปเสียดาย เบื่อในของที่เราเป็นอยู่ในโลกนี้มาหลายแสนชาติเสียที จำเจอยู่นานแล้ว

คนที่ 5 และทุกคน
☻ (ถาม – เรื่องการฝึกมโนมยิทธิ)
☺ ขอให้ทุกคนหยุดด่า หยุดบ่น หยุดรำคาญ หยุดปากเสย จะได้ไปไว
อีกข้อคือ หยุดพูดมาก แต่ทำให้มาก เมื่อร่างกายพูดมากแล้วสมองจะคิดมากเองเป็นการทดแทน แล้วทำอารมณ์ให้พิจารณาตามสติ ตามสมาธิ แม้ว่าจะกะพร่องกะแพร่งก็ตาม เข็นไป ครั้งหนึ่งจะตกกับดักเข้าพอดี คืออารมณ์สมาธิ วิปัสสนาญาณ

☺ ธนูนะ..เมื่อฝึกยิงเข้าเป้า ตอนแรกจะยิงไม่ถูก พยายามยิงไปวันหนึ่งจะเข้าเป้ากลางเอง พยายามไป ครูใดก็ไม่วิเศษเท่าพระพุทธเจ้าบรมศาสดา สู้เธอไปพบพระองค์เองไม่ดีกว่าหรือ..?

อาตมาลา..



คำเทศน์ของ “สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย”

4 พฤษภาคม 2517

☺ พรใดที่ปรารถนา..ขอให้สมประสงค์ ลา...

11 สิงหาคม 2517

☺เธอทั้งหลายประพฤติชอบแล้วด้วยประการทั้งปวง ฉันขออนุโมทนา และขอยกจิตยกย่องในพระพุทธบุตรขององค์พระสมณโคดม
☺ เธอทำความดี ก็งามพร้อม เธอก็จงสู่ปรภพอันสมบูรณ์สุข
☺ ฉันขอสรรเสริญในบุญกุศลที่เธอทั้งหลายหมั่นพากเพียรกระทำมา จงสนองตอบ คิดว่าปัจจุบันสมัยเธอคงยกเผ่าพงศ์ไปพร้อมสรรพในอรหัตภูมิ
☺ เธอจงสุขทั่วกัน..!

22 สิงหาคม 2517

☺ (หา) ดอกบัวสวยๆ (มา)
นาม – ศรีอาริยเมตไตรย

☻(ถาม – ทรงมีเรื่องจะสั่งสอน ?)
☺ ความดีอยู่กับตนแล้ว ควรยกย่อง

☻(ถาม – จะเกิดในสมัยของพระองค์ ?)
☺ ถ้าตั้งใจมั่นก็ไปไกลในปัจจุบันสมัย ทุกอย่างเป็นทุกข์ ความดีอย่าท้อถอย แม้เพียงสะกิดใจจนสิ้นลมปราณ ดูกร เธอทั้งหลาย ถ้าไปในพุทธกาลอันมีเราเป็นแสง เธอจะอยู่ในครรภ์ "แม่ศรี" แห่งเธอ (หมายเหตุ: - ชายาองค์อินทราช ซึ่งอธิษฐานจะไปนิพพานสมัยนั้น)

5 ธันวาคม 2517

โปรดเฉพาะบุคคล

☺สามคำยึดให้มั่นๆ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ความดีทั้งหลายเป็นสิ่งประเสริฐ จงยึดมั่นไว้ในจิตให้ถาวรและมั่นคงยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น จงรักประดุจชีวิตหาไม่ และการทำความดีต่างๆ นี้จะต้องทำด้วยจิตบริสุทธิ์โดยไม่นึกถึงสิ่งตอบแทนหรือหวังผลใดๆ หรือ..
☺ของทุกสิ่ง.. ถ้าเริ่มด้วยดีแล้วก็จะได้ดีโดยตลอด

6 เมษายน 2521

☺ ขออนุโมทนา จะมี (ใคร) ไปเลี่ยงพระในพุทธศักราชของฉันไหม ?
☺ ถ้าไม่ปรารถนาก็ขอให้สมหวังในปัจจุบันชาติ
☺ ดีแล้วๆ ขอได้รับพรจากฉันทุกคนนะ..!

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตาม "คำเทศน์ของท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์" ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/6/10 at 10:50 [ QUOTE ]


26

(Update 3/06/53)

คำเทศน์ของท่านที่ไม่ประทานนามหลายองค์

20 กุมภาพันธ์ 2518


☺ บุคคลตั้งต้นไว้ดีแล้วคืออย่างไร ? คือบุคคลที่มีจิตใคร่ครวญ ธรรมอันใดหนอสมควรเป็นที่พึ่ง ทำให้แจ้งไตร่ตรองให้ละเอียด แยกแยะให้เห็นจริง เมื่อพิจารณา ย่อมรู้ธรรมอันสมควรจะไตร่ตรอง

- บุคคลนั้น ปรารถนาเอาตัว กาย จิตนี้ไม่แวะเวียนข้องเกี่ยวกับโลก ตั้งไว้เช่นนี้ ควรการชมเชย เมื่อจิตตั้งไว้แล้วย่อมใคร่ครวญประการเดียว ธรรมะที่สมควรแก่กาย สมควรเอากาย จิจนี้หลุดพ้น ไม่แวะเวียนอีก

- การเอามาพิจารณา แต่ละอย่างเหมาะแก่แต่ละคนสะสมไว้เป็นบรรทัดฐาน รู้หลักความเปลี่ยนแปร

- ความลำบาก ทนได้ยากในโลก บังคับไม่ได้ ไม่ว่าอะไรไม่มีแก่นสารบารมีพอเอาตัวรอดได้ การกระทำไตร่ตรองเชื่อได้ ผู้นั้นย่อมไปสู่ภูมิอันควรแก่ตนไม่วนเวียนในโลกนี้ อย่าท้อถอยในการปฏิบัติตน ไม่ว่าจะเป็นโลกนี้ เทวโลก พรหมโลก

- วันนี้..จะพูดเฉพาะแต่ผู้ตั้งตนไว้ดีแล้ว ควรแก่การไต่ถามภูมิธรรม เสวนา ควรแก่การให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เหมาะแก่การเป็นกัลยาณมิตรอย่างยิ่ง ธรรมอันสมควรแก่ตนๆ ย่อมถือที่เป็นข้าศึกกับกิเลสในใจ จะเป็นสิ่งใดก็ตาม แม้ว่าจะเป็นข้อธรรมอันอื่นที่เราไม่ได้ยิน ฟัง เกิดจากความคิด ความจำของเรามาจากที่อื่น เห็นว่าเป็นคู่ปรับกับโลภะ โทสะ โมหะ ของเราที่ต้องการทำลาย นั่นแหละ เหมาะแก่การใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง หนีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ได้ จะต้องไตร่ตรอง ใคร่ครวญ แยกแยะให้เกิดธรรมอื่นๆ รองๆ ลงมา

- เมื่อปัญญาถือเอาจิตเป็นใหญ่ บางขณะมันดีบางขณะมันเลว อะไรที่เป็นคู่ปรับ ต้องรู้ตัวเองจะต้องระลึกว่าเราไม่ยินดีในโลกนี้ โลกหน้า การเห็นโลกมาแล้ว ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อนัตตา เห็นอยู่ทุกขณะลมเข้าออก แต่ไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง ข้ามไปบ้างต้องเตือนจิต กาย ให้ค้นคว้าจงหนัก ผู้ที่ตั้งตนไว้ดีแล้วเช่นนี้ น่าสรรเสริญ ไม่ประมาท พึงเอาตัวรอดได้เที่ยงแท้แน่นอน

- ธรรมที่พิจารณารองลงมาคือ ที่เป็นคู่ปรับอื่นต่อไป แยกแยะให้หมดในสามให้จิตดื่มด่ำในธรรมซาบซึ้งในธรรม เอามาเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ พึงทำให้ปัญญาบังเกิดขึ้นมา เพราะการพิจารณานี้ เรียกว่าตั้งตนไว้ด้วยดี มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ได้ชื่อว่าพึ่ง คือ

- พิจารณา ไตร่ตรองในธรรมที่พระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติดีแล้ว ที่ทรงใคร่ครวญสั่งสอน แห่งคุณธรรมที่พระองค์ทรงตั้ง ธรรมนั้นคือที่เกิดขึ้นในจิต พิจารณาแล้วลงความเห็นว่าถูกกับเรา เป็นที่พึ่งแห่งเรา ไม่ใช่ธรรมทั่วๆ ไป
ส่วนพระอริยสงฆ์ก็เช่นกัน เราพบท่านไม่ใช่แต่สักแต่กราบไหว้ เพราะชื่อเสียงเพราะว่าคุณธรรม เพราะว่าธรรมที่สอน ทำให้เข้าใจธรรมอยู่เสมอ แยกแยะด้วยปัญญาเป็นนิจ เรียกว่าพระสงฆ์เป็นที่พึ่งแท้จริง

- โดยปรมัตถกรรมทั้ง 3 คือ ธรรม พระพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม มีจิตอันบริสุทธิ์ พระธรรมซึ่งเนื้อแท้ที่ผู้ปฏิบัติย่อมมีจิตบริสุทธิ์ เหล่าอริยสงฆ์ที่เป็นอรหันต์ มีจิตบริสุทธิ์ทุกอย่างแต่พระองค์ท่านตรัสรู้ธรรมด้วยตัวท่านเอง ใคร่ครวญ ไตร่ตรองด้วยตัวท่านอง จึงเป็นผู้แรกเริ่มสั่งสอนธรรมต่อๆ มา ฟัง แล้วใคร่ครวญ จำ คิด ปฏิบัติ ดูซิว่าเราดี เรากระทำสมความตั้งใจ สมกันไหม หนักเบาต่างกันไหมกับความตั้งใจ ความตั้งใจ ความเพียรอย่าให้ยิ่งหย่อนกว่ากันได้

- รู้กันทั้งนั้น ทุกข์ไม่เที่ยง รู้ เข้าใจ มันไม่ตลอด มันมีผันมีแปร เพราะอารมณ์ทางโลก เมื่อยังผันแปรแม้แต่นิดก็ยังใช้ไม่ได้ จะต้องไม่ให้มันแปรผัน ไม่ว่าอะไรมากระทบกับใจอย่าให้ผันแปรไปจากความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา
สุขหนอชื่นใจหนอ หงุดหงิดเป็นทุกข์ วุ่นวายใจหนอ อย่างนี้ย่อหย่อน อย่าย่อหย่อนต้องเร่งปักหลักรับ อารมณ์จะให้คงที่ตลอดไปนั้นยาก

- แต่ต้องรู้จักพิจารณา อย่ายอมให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ นิดหนึ่งก็ไม่ควรให้มีหรือเกิดขึ้น เพราะจะตั้งตัวไม่ทัน อย่าให้ข้ามชั่วโมง ถ้าข้าม ก็อย่าให้ข้ามคืน พยายามให้น้อยเข้าๆ จนจิตเป็นปกติ ไม่หวั่นไหวอารมณ์ทุกชนิดอย่าให้หวั่นไหว พิจารณาให้แช่มชื่นอยู่เสมอ อย่างนั้นเป็นที่หวังได้เป็นที่แน่นอนที่สุด

- การประพฤติปฏิบัติต้องใคร่ครวญ ไม่ใช่ตั้งท่าก็เอา ต้องรู้อารมณ์รู้จิต ดูก่อนจิตมันอ่อน แข็ง มีปิติ มีอารมณ์โมหะย้อม บางทีเราไม่รู้ ฐานจะแน่น ต้องทำความดื่มด่ำใจความตั้งใจของเรา ไม่เกิดอีก ยกจิตให้พยายามยกธรรมขึ้นพิจารณา ไม่ใช่นั่งเอาๆ ทำอย่างนี้นั้นสติอ่อนไปหน่อยจะไตร่ตรองไปหา มันก็ยาก

- คนที่มีพิจารณาด้วยปิติ หากหวังให้มีคุณประโยชน์ต้องใช้ให้เป็น ไม่อย่างนั้นจิตก็ปิติอยู่อย่างนั้น ลดลงยาก ทำจิตให้นิ่งสงบแล้วจึงพิจารณาใคร่ครวญเป็นไตรลักษณ์ ต้องพิจารณาให้ดี ธรรมะของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งเหลือกำลังสำหรับผู้ที่ยังอ่อน ผู้ทำบ่อยๆ ปัญญามันเกิดเอง อันไหนเหมาะอย่างไหน มันเกิดขึ้นเพราะความประพฤติอย่างหนึ่ง เพราะฟังอย่างหนึ่ง เพราะอ่านอย่างหนึ่ง

- ผู้ตั้งใจ สนใจ ประโยชน์มากเหนือกว่าอย่างอื่น มากกว่าผู้มีจิตประเดี๋ยวประด๋าว แต่เป็นเทวดาเป็นนางฟ้าก็ยังดี อย่าย้อมอารมณ์ให้ตกต่ำ ประโยชน์ไม่มี เช่นคิดว่าคนนั้นไม่ดี เราดีกว่า อย่างนี้ไม่มีประโยชน์ ถ้าจะทำกิจการงานในทางโลก จงตั้งใจเอาเฉพาะเรื่อง ไปพูดยก เอ่ยวกเวียนให้อารมณ์กระเจิง คล้อยตามอารมณ์ หมุนวนอยู่ในโลก ปู่มานานแล้ว ไปละ...!

- จิตของพวกเจ้าทั้งหลาย เป็นจิตที่นิยมในธรรม ปู่รู้ แต่คุณธรรมความดีต่างไม่เหมือนกัน โอกาสใดธรรมบังเกิดขึ้นแก่ผู้แจ้งแล้ว จงไตร่ตรอง เอาให้หยุดให้ได้อย่าท้อถอย แม้จะต้องยุติอย่างอื่นก็ต้องยอม จิตมันรู้เองเพราะความตั้งใจดี ขอให้สมปรารถนาในธรรมนั้นเถิด

27 กุมภาพันธ์ 2517

ประทับทรง

☺ ธรรมดาจิตต้องวุ่นวาย มีสิ่งมากระทบอยู่เสมอ ทำให้เกิดพัวพัน จึงต้องพิจารณาต่อไป การที่จะให้จิตเป็นสมาธิได้ดีจะต้องรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาพิจารณา ตัวรู้อยู่ว่าจะสามารถแยกอารมณ์ได้ เช่นนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่สมควร ทำสติให้แก่กล้าขึ้น เมื่อพิจารณาจิตก็จะเห็นผลชัดว่าที่พิจารณานั้น จิตรวมลงด้วยดีแน่นอน รู้เหตุผล

- ฉะนั้น จะใช้ความเพียรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้จักรักษาอารมณ์ให้สงบ อย่าให้มีโทสะ หรือความวุ่นวายทางโลกเข้าไปรบกวนได้
- เวลาปฏิบัติจะให้จิตว่างเปล่า เยือกเย็นก็ต้องรู้จักเตือนสติตัวเราให้รู้อยู่ตลอดเวลา แล้วกำราบอารมณ์ที่วุ่นวายให้หายไปได้

- ฉะนั้น เวลาที่ใคร่ครวญก็จะได้รู้ชัด เพราะว่ามีสมาธิดื่มด่ำในการใคร่ครวญนั้นๆ
- ถ้าจะทำสมาธิให้เป็นหนึ่งก็ต้องขจัดความวุ่นวาย เพื่อให้รู้ตัวอยู่โดยตลอด แล้วก็จะทำให้จิตเป็นสมาธิเป็นเอกัตคตา แค่ไหนก็ทำได้

- การพิจารณาธรรมให้แจ่มแจ้ง ซาบซึ้งจนเห็นธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นการมีประโยชน์กว่าอย่างอื่น เพราะจะไม่กลับมาในทางโลกอีก จะพบว่าความสงบในสันโดษนั้น ย่อมเป็นสุขแบบนี้

- เมื่อเราพยายามปฏิบัติดูว่าทำแค่นี้ ดีกว่าไม่ทำ หรือว่าเมื่อทำจนชำนาญพอแล้วสามารถกำจัดอารมณ์ไม่ดีต่างๆ ได้ ทำจิตให้พ้นอุปาทานทั้งหลาย ถ้าหากรู้อยู่ต่อไป ผู้นั้นก็สามารถปฏิบัติธรรมได้เร็ว และได้ชัด

- เหมือนคนเราต้องการไปสู่สถานที่แห่งหนึ่งอันยอดเยี่ยมเลิศล้ำด้วยสิ่งนานัปการ ก็ต้องรู้จักว่าบุคคลนั้น เมื่อยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ วาระจิตย่อมผันแปรไปต่างๆ เหมือนกับของที่ตกอยู่ในตม

- เมื่อหมั่นชำระล้าง ขจัดขัดถูจนปราศจากละออง ก็นับได้ว่าของนั้นบริสุทธิ์ ฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน ในเมื่อเราต้องการหลุดพ้นก็ต้องหมั่นชำระให้หายหมองมัวจากความบอด ความมืด ความโง่ อยู่เสมอ

- การรู้หลักว่าโลกนี้ ธรรมดาย่อมผันแปรเป็นปกตินั่นแหละ คือการเริ่มเข้ามรรคอันถูกต้องตลอดไป

- จิตบริสุทธิ์ที่รู้จักโลกนี้ เทวโลก พรหมโลก ไม่ยินดีในการเกิด ในความสุขไม่ว่าภพใดๆ และในสิ่งบำเรอใจ ผู้นั้นย่อมเห็นโทษของการเกิดเป็นมนุษย์ พรหม เทวดาอย่างชัดแจ้งที่สุด ย่อมถึงความหลุดพ้นในบัดนั้น

- ถ้าพิจารณาด้วยความยอมพลีชีวิตเป็นเดิมพันไม่หวั่นไหว ว่าสังขารจะมอดม้วยไม่ว่าในขณะหนึ่งขณะใด จะมีธรรมะเป็นที่พึ่ง พิจารณาธรรมนั้นแจ่มแจ้งแก่ใจ

- การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจ จึงต้องใช้ความเพียรให้หลุดพ้น จนได้รับความสุข ความสงบ ย่อมดื่มด่ำในจิตที่ปราศจากอวิชชาทั้งหลาย

- จิตอย่างนั้น สุขอย่างนั้น ไม่สามารถจะอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง ถ้าได้ปฏิบัติเป็นนิจ ไม่ท้อถอย อย่างนั้นเป็นที่รับรองได้ทีเดียวว่า ความสุข ความสงบ อันเป็นที่หมาย จะได้บรรลุในปัจจุบันชาติอย่างเที่ยงแท้แน่นอน

- ถ้าจิตเป็นกุศล ไม่มีสิ่งใดมาทำให้เอนเอียง จิตก็จะงดเว้นอารมณ์ที่เป็นโทษได้เป็นอย่างดี ความมุ่งมั่นที่จะหลุดพ้นนั่นแหละ คือบารมีที่จะหลุดพ้นได้ในปัจจุบันชาติอย่างถูกต้องเสมอ

- ถ้ายังไม่พร้อม ยังชำระจิตให้บริบูรณ์จากความสุขในโลกไม่ได้ อุปสรรคก็จะยังคงมีอยู่ ฉะนั้น เราต้องตั้งปรารถนาไว้ว่าจะไม่หวังทางโลก เพื่อกระตุ้นจิตให้มุ่งมั่น ให้สัมฤทธิ์ผลในเร็วๆ วัน เร็วๆ คืน

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/6/10 at 16:23 [ QUOTE ]


27

(Update 10/06/53)

5 มิถุนายน 2517

ประทับทรง

☺การปฏิบัติจิตให้รุ่งโรจน์ มีกำลัง คล่องแคล่วว่องไวในธรรม ให้จิตอยู่ในธรรมที่พิจารณา 1 อยู่ในความเพ่ง 1 ต้องเป็นผู้มีความพอดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลก ทำให้อารมณ์กวัดแกว่งจนเกินขนาด

• อารมณ์กวัดแกว่งนี้ เมื่อเราพิจารณาขันธ์ 5 หรือธรรมที่เป็นปัจจัยให้จิตนั้นสงบ ถูกต้องกับอุปนิสัยสันดานของเรา จะต้องพิจารณาตัวให้ถ่องแท้ก่อน จึงจะตกลงใจใช้ปัญญาที่มีอยู่กับตัวทุกคน แต่มักจะปล่องอารมณ์ให้ยุ่งกับโลก โดยไม่คิดว่าจะทำให้ความตั้งมั่นความใคร่ครวญซัดส่ายเพราะความจำ สัญญา ความคิดที่รับเอาไว้ จนกระทั่งต้องเตือนตัวเอง

• ความจริงผู้ใคร่ครวญ หมายมั่นปั้นมือในความหลุดพ้น มีทางเดียวคือพิจารณากายกับจิตเป็นปฐม ทำให้มาก แต่ความจริงที่เป็นในขณะนี้ ถอยลงๆ จะทำให้ท้อแท้ คิดว่ายังห่างไกล จะทำให้สุดในชีวิตนี้ไม่ได้

• นี่แหละ.. ความตั้งใจอาจจะมีจริง แต่ทางที่จะไปไม่ใคร่หมั่นถางให้เตียน มักค่อยๆ ก้าว..ย่าง..หยุด..ถอย..! ยากนะๆ

• ความจริงถ้ารู้จักพิจารณานิดหน่อย ชั่วขณะ น้อมใจไว้เป็นนิจ เห็นอะไรนึกว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทุกข์มาแล้วจะทุกข์ต่อไปเพราะความประมาทของเรา เตือนอย่างนี้แหละ พิจารณาอย่างนี้ตลอดวันตลอดคืน มั่นคง แม้จิตจะส่าย แต่เมื่อตั้งจิตเตือนตนไว้ ก็ทำให้ไม่เพ้อฝัน เลื่อนลอยไปตามโลกเป็นเวลานานๆ

• นึกว่าตั้งแต่เล็กจนโต ทรมานมาเท่าใด ต่อไปจะอีกเท่าใดไม่รู้จักจำ จะเป็นไปอีกกี่ชาติ ชาตินี้เราก็รู้จักแล้วว่าทุกข์ ไม่มีอะไรเที่ยงในโลก ทุกข์เพราะรู้ว่ามีขันธ์ ธาตุ จะพิจารณาอย่างไรก็ทุกข์ เพราะเป็นของแท้ แท้ที่ว่าทนไม่ได้ แต่ต้องทนอย่างนี้เพราะความโง่เง่า ความหลง เป็นตัวการใหญ่

• รู้แล้วก็ต้องขจัดโดยวิธีเตือนว่า ถ้าขืนไม่รู้จักตัวโลภ โกรธ หลง เผลอก็ทำร้ายเอา เผลอมากทำมาก ใช้อุปมาอุปมัย สะดุ้งหวั่นไหวในภัยต่างๆ ซึ่งเราสะดุ้งกลัว

11 มิถุนายน 2517

ประทับทรง

☺ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั่นถึงธรรม..!
• อทิสมานกาย น่ะ..คืออะไร ?

☻(ไม่มีใครทราบ)

☺ เสียแรงได้อยู่กับพระอริยะชั้นสูง เวลานั่งสมาธิอย่าไปนั่งเปล่าๆ หนังสือน่ะ อ่านเข้ามากๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ “เชย” คนที่คิดว่าเชย คนนั้นแหละเชย ไง่เขลา รู้แล้วรึจึงอวดดี จึงได้ว่า พวกนั้นแหละจึงอวดดี ไม่มีดีจะอวดแล้วยังอวดดี

• การทำอะไรมีดีจะอวดจึงแสดง ไม่ใช่แสดงกระหยิ่มยิ้มย่อง คนที่แสดงมาโดยไม่รู้นั้นยิ่งกว่าเดรัจฉาน สุนัขยังมีความกตัญญูดีกว่าคนบางจำพวก พูดไปก็ไร้ประโยชน์ คนก็คือคน ให้ลงมาทำความดีก็ต้องทนทำความดี

• คราวหน้าคราวหลังฟังพระท่านเทศน์ ฟังแล้วฟังให้เข้าใจ ไม่ต้องมานั่งหลับกัน ฟังให้มันรู้ซึ้ง ไม่ต้องกลัวใครเข้าว่า “ดักดาน” งมงาย ไม่มีเหตุผล เราดูหลักให้มั่นเสียก่อน เราทำนั้นเพื่ออะไร เราทำอย่างนี้มีเหตุผลอย่างไร มองอะไรให้ลึกซึ้ง อย่าดูผิวเผิน ดูให้ละเอียด

☻(ถาม – ขอคำอธิบายเรื่องการเข้าทรงให้เจ้าตัวคนทรงฟัง เพราะเขาไม่เต็มใจ เกรงเป็นที่ถูกหัวเราะเยาะ)

☺ เป็นสิ่งยากที่คนทั้งหลายจะเข้าใจ สิ่งที่เขาทำนั้นไม่ใช่ว่าเขาคิดว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ถูกหรือผิด เธอจงชี้แจงให้เขาไตร่ตรอง ให้ชี้แจงว่าที่เขาทำนั้นเสียประโยชน์หรือไม่

• การที่เขาทรงได้ โดยมีท่านพระสวรรค์คุมให้เขาเข้าทรงนั้น เพราะว่าเขาเคยกล่าวสัจจวาจาต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุว่า “ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับใช้พระศาสนา บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขเพื่อนมนุษย์” เขาเคยกล่าวคำนี้ไว้ ให้เขาทำไปเถิด

• อันปากมนุษย์นั้นมีหลายร้อยหลายพัน ที่พูดกล่าวสรรจำนรรออกมาเป็นวาจาหลายแง่ หลายมุม แสนที่จะแยบยล ยากที่จิตคนจะเข้าใจได้ ผู้พูดบางคนปากเป็นพิษ เกิดชาติใดฉันใดมันก็ไม่พ้นสัตว์เดรัจฉาน พูดจาก็ไม่ได้ ต้องเที่ยวจิบโน่นจิบนี้ เพราะความพูดมาก

• หรือใครยังไม่เอือมการที่จะดำรงขันธ์ 5 ไว้บ้าง สิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ เธอจงแสวงหาความสุขภายในจิตของเรา สิ่งนั้นจงหาเสีย เมื่อทราบได้แล้ว จะอิ่มอกอิ่มใจจนวันตาย จนเธอถึงที่สุด

• พวกเธอทั้งหลาย ยังมีสิ่งกินแหนงแคลงใจกันมาก จึงยังไม่พ้นกิเลสนานัปการ กิเลสนั้นหนานัก ขุดมันออก ตัดมันลงเสียบ้าง มันจะตายก็ให้มันรู้ไป ทำไม่ได้แล้วจึงค่อยวิตกวิจารณ์

• อยู่ใกล้ของดีก็หาของดีให้มาก แต่ไม่ใช่เห่อเหิม จงตัดตรงให้ถึงความดีเถิด
ขอพวกเธอทั้งหลายจงเจริญ

18 มิถุนายน

ประทับทรง (หลังไปนมัสการพระธาตุจอมกิตติ)

☺ การแสดงความเคารพก็แช่มชื่อเบิกบาน ส่วนที่ไปก็เพื่อถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน ไปที่ไหนการแสดงความเคารพคารวะด้วยจิตนอบน้อม ใครก็สรรเสริญว่ามรรยาทงาม เป็นการแสดงความเคารพจริงใจ

• เทวดานั้น ความจริง แม้แต่ผู้บำเพ็ญศีลภาวนาเขาก็นิยมชมชอบ ถ้าตั้งใจไว้ไม่ท้อถอย มั่นในธรรม ยิ่งชมชอบเป็นทวีคูณ ขึ้นชื่อว่าเทวดามีหิริโอตตัปปะ มนุษย์มีธรรมนี้ก็ชื่อว่าเทวดา แต่ส่วนมากคนเราไม่ค่อยจะนึกถึง เพราะห่วง ธรรมที่จูงใจให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบแท้จริง แค่สงบก็นับว่าพอแล้ว

• อย่าลืม.. โลกหมุนไป ถ้าเข้าไปเข้าหมู่พวกที่นิสัยห่างไกลธรรมะ พัวพันแต่กิเลสก็จะพาให้หม่นหมองได้ง่าย มุ่งแต่ในธรรมที่เป็นตัวให้ยึดถือ ธรรมที่เป็นเครื่องหลุดพ้นก็คลอนแคลน ถ้าอยู่ในหมู่ผู้มีศีลธรรมที่ตาเห็น หูฟัง ก็มีแต่จะทำให้ดีขึ้น

• เทวดาก็มีเทวธรรมแค่นั้น เป็นพระอริยะมีธรรมควรแก่ภูมิของท่าน ธรรมของคนก็มี ของสัตว์นรกก็มี “ธรรม” คือทำให้เป็น (อย่างนั้นๆ)

☻(ปรารภกันถึงพุทธศาสนิกชน ที่มีความเห็นไม่ตรงในพุทธศาสนา ซึ่งมีจำนวนมาก บางท่านก็เป็นพระองค์สำคัญๆ บางท่านก็เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นปราชญ์)

☺ โมหะตัวร้าย พาจิตวุ่นวาย หลงเข้าสู่ทางที่มาที่ไปไม่แคล้วอบายภูมิอันลึกล้ำน่าสังเวชใจ การใคร่ครวญธรรมะด้วยโลกีย์ปัญญาน่ะนะ มีแต่ทำให้ธรรมะนำใจหลุดลอยออกไปๆ มากหมอมากความ ที่ไหนใจจะสงบ ยิ่งคิดมากยิ่งวุ่น

• คนเรา อาจารย์ ปรมาจารย์เราทำแค่ไหนบรรยายแค่นั้นเราทำได้ถูกต้อง ใคร่ครวญเสียก่อน ถ้าไม่ใคร่ครวญพูดไปประโยชน์ที่ไหน พูดก็พูดเฉพาะที่เรารู้แล้วนี่แหละที่ท่านสั่งสอน ของเราทำแล้วคนอื่นก็ช่างมัน เราเองยังเอาตัวไม่ค่อยรอด กับคนอื่นก็บันยะบันยังไว้

☻ (ปรารภถึงหนังสือทำของเกจิอาจารย์ที่เขียนแหกคอก)
☺ เวลาอ่านก็พิจารณาปลงธรรมสังเวชซิ โง่ดักดานก็มี โง่แล้วดีขึ้นก็มี ธรรมดาพระอริยะที่ยังไม่หลุดพ้น จะยุ่งเฉพาะการถามเท่านั้น เพราะการเรียน ต้องค้นคว้า ศึกษาด้วยตัวของท่านเอง

ประทับทรงอีกองค์หนึ่ง

☺ พระอรหันต์เจ้ายังมีอยู่ตราบใด พระธรรมก็ยังมีอยู่ตราบนั้น จึงจะรู้ญาณธรรมทั้งปวงที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง สั่งสอนว่าเป็นธรรมที่ถูกต้อง ควรน้อมมาใส่ตน
• พระอริยะที่ยังไม่บรรลุโมกขธรรม ก็บรรยายตามวิสัยของท่านและผู้ฟัง ตามควรแก่วิสัย

• พระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ช่วยเหลือ ที่แสวงธรรมน้อยมาสู่ตนและผู้อื่น ยังมีอยู่ตราบใด ธรรมนั้นย่อมมีอยู่ แม้ไม่บริบูรณ์ก็เป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง บ้านใดมีท่านเหล่านั้นอยู่ย่อมไม่พินาศราพนาสูร แม้ประสบพาลชนก็พ้นไป ท่านทั้งหลายไม่มีโทษภัย แม้จะมีกิเลสบ้างบางพวกบางเหล่า โทษภัยก็จะมีเฉพาะตน แทบไม่กระทบกระเทือนผู้อื่นเลย

• ผู้สิ้นไปแล้ว ละไปแล้วจากโลกนี้ ยังรู้จักการควรทำไม่ควรทำ ย่อมรู้จักเอื้อในผู้ที่ประสงค์ความหลุดพ้นตามควรกับบามีแห่งตน ท่านทั้งหลายเหล่านั้นย่อมยังประโยชน์แก่พวกพ้องในปัจจุบัน ในอนาคต และบุคคลผู้ตั้งปณิธานยิ่งใหญ่ จะไม่เกิดอีก

• ความสุข สงบ จะมีในโลกเพราะมีผู้เหล่านี้เป็นจำนวนมาก จำนวนพอเพียงที่จะแจกจ่ายธรรมนั้นแก่คนทั้งปวง ความสงบสุขจึงมีอยู่จนกว่าจะสิ้นท่านเหล่านี้
ผู้ใด ได้ยิน เห็น ใคร่ครวญ เสวนากับเทวดาเหล่านี้ ย่อมยังประโยชน์แก่ตนในอนาคตกาลนั้น

มิถุนายน 2517

ประทับทรง

☺ ของตกอยู่ในตม เมื่อหมั่นชำระล้างขจัดขัดถูจนปราศจากฝุ่นละอองธุลี ก็นับได้ว่าของนั้นบริสุทธิ์ ฉันใด จิตเราก็เหมือนกัน เมื่อจักต้องการความหลุดพ้น ต้องหมั่นชำระใจของตนเองให้พ้นความหมองมัว ในที่นี้คือความบอด ความมืด ความโง่

• การรู้จักว่าโลกนี้เป็นธรรมดา ย่อมผันแปรไปเป็นปกติ นี่แหละ คือเราย่างเข้าสู่เขตแห่งมรรคอันถูกต้อง

• จิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะรู้จักโลกว่าโลกนี้เป็นโลกอันเหมือนกันทั้งสิ้น ไม่ยินดีในการเกิด ไม่ยินดีในการเสวยสุขหรือกามาวจรภพนั้น ไม่ยินดีแม้ว่ามีสิ่งบำรุงบำเรอดังใจ

• ผู้นั้นย่อมเห็นโทษของการเกิด การเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เป็นพรหมอย่างแจ้งชัด ซาบซึ้งเป็นที่สุด เมื่อนั้นแหละย่อมถึงซึ่งการหลุดพ้นในบัดนั้น ถ้าพิจารณาด้วยการพลีชีพเป็นเดิมพัน ไม่หวั่นไหวในกาย ในสิ่งอื่น แม้สังขารจะมอดม้วยชีวาวายในขณะใดขณะหนึ่ง เราจะมีความสุขยิ่งขึ้นในการพิจารณาธรรมเป็นที่แจ้งแก่ใจ

• ความจริง การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นนั้น ผู้หนึ่งผู้ใดจักไม่เคยได้ยินก็มี เมื่อได้ยินย่อมรู้อยู่แก่ใจ เมื่อรู้อยู่แก่ใจก็ต้องพากเพียรด้วย ใช้ปัญญาด้วย ให้ถึงซึ่งความหลุดพ้นให้จงได้

• ความสุข ความสงบย่อมดื่มด่ำอยู่ในจิตซึ่งปราศจากอวิชชาทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลหมดสิ้นไป จิตอย่างนั้นความสุขอย่างนั้นไม่สามารถจะมาเอ่ยให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

• ถ้าว่าบุคคลที่ปรารถนา ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นนิจไม่ท้อถอย ไม่วุ่นวาย ไม่ยึดถือว่า เมื่อเรายังมีโลกนี้อยู่ มีโลกหน้าอย่างนั้น เป็นที่รับรองได้ทีเดียวว่า ความสุข ความสงบอันเป็นที่มุ่งหมาย จะถึงได้ในปัจจุบันชาติโดยแน่นอน ถ้าเราตั้งใจเป็นกุศลแล้วไม่มีอะไรจะมากีดกั้น

• ถ้าจิตของเราดิ่งหนักแน่น อารมณ์ต้องการอย่างนี้ คือมีความมุ่งมั่นความปรารถนาหวังหลุดพ้น นั่นแหละจะเข้าถึงได้เวลาหนึ่งเวลาใดในปัจจุบันชาติอันนี้ถูกต้องเสมอ

• ถ้าหากว่ายังไม่พร้อม ยังใคร่ครวญ ยังชำระจิตไม่บริบูรณ์ จากความสุขในโลกละก็ยัง ยังไม่ได้ ฉะนั้น เราต้องภาคภูมิว่าเราไม่ปรารถนาอีกแล้วในภพ ในชาติอื่น เพื่อกระตุ้นจิตให้อิ่มเอิบ ให้เบิกบาน มุ่งมั่นจนถึงที่สุดในเร็วๆ วัน เร็วๆ คืน

องค์ต่อไป

☺ บุคคลใด.. ตั้งมั่นอยู่ในความดี ควรแก่การสรรเสริญ ควรแก่การเคารพบูชา ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ มีจิตใจสละแล้วสิ้นสิ่งทั้งปวง รู้จักดีในทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ผู้ใดหมั่นพิจารณา หมั่นปฏิบัติ หมั่นใคร่ครวญในธรรมะ ผู้นั้นเป็นผู้ที่ทรง คือทรงซึ่งความมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ที่ทรงด้วยปัญญา

• การจะให้ปัญญาเกิด ต้องเป็นผู้มีสัจจะในศีลในสัตย์ การมีศีล มีการภาวนาเป็นหลัก ศีลเมื่อเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว เราต้องมีสัจจะในศีลนั้น ปัญญาจึงจะเกิดขึ้น ความมีสติสัมปชัญญะ ใคร่ครวญ พิจารณาในสิ่งต่างๆ ก็เป็นไปโดยราบรื่น เป็นไปได้ด้วยความเข้าใจอย่างแน่นแฟ้น อย่างลึกซึ้ง อย่างผู้มีสติปัญญา อย่างผู้มีไหวพริบ มีความเสียละแล้วซึ่งสิ่งทั้งปวง

• สมเด็จพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ตรัสรู้ เพื่อปวงเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่จะบำเพ็ญบารมีต่อไป พระองค์ทรงถึงแล้วซึ่งแก้วสามประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

• พวกเธอทั้งหลายได้ฟังธรรมอันใคร่ครวญถูกต้องแล้วทุกประการ เธอมีดวงแก้วอยู่แล้ว อยู่ในตัวเธอทั้งปวง จงจับดวงแก้วนั้น ยึดให้มั่น ถือให้มั่น แล้วเธอจะสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาทั้งปวง..!

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 17/6/10 at 06:48 [ QUOTE ]


28

(Update 17/06/53)

14 กรกฎาคม 2517

ประทับทรง


สอนเด็กหนุ่ม

☺ขอให้เบาๆ หน่อย นั่งให้มันดีๆ การมีคารวะเป็นสิ่งงดงาม เป็นของคู่ควรแก่มรรยาทที่ดี เธอต้องรู้จักสิ่งที่ถูกที่ควร รู้จักว่าอะไรเป็นอะไร
• บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดแก่มวลเราทั้งปวง ควรอยู่รึที่เราจะลบหลู่ เธอจะต้องให้อภัยแก่ผู้มีพระคุณ พระคุณของพระพุทธเจ้าก็ยังไม่เท่าพระคุณของบิดามารดา

• เป็นมนุษย์ย่อมมีความรู้ดีรู้ชั่วอยู่ในตัว มีเหตุมีผล และรู้จักแก้ไขเอง
เราเป็นลูก คิดดูซิว่าท่านให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ปัจจัย การศึกษา อบรม หลักธรรม หยาดเหงื่อ และน้ำตา ท่านให้เราหมด แต่เราให้อะไรท่านล่ะ ?
• ขอเพียงความรัก ความอบอุ่น ท่านก็ยินดีเหลือล้นแล้ว เธอจงตรงดูว่าที่ทำน่ะ ชอบแล้ว สบายใจแล้วหรือ..?

18 กรกฎาคม 2517

ประทับทรง

☺ ฉันไม่ค่อยว่าง ไม่อยากรบกวน ถ้าจะฟังเทศน์ก็ไม่มีอะไรหรอก ทำใจให้สบาย
• มีอยู่อันเดียวคือกายของเรา ถ้าเราพิจารณาให้มันลงว่าเป็นขันธ์ 5 ธาตุ 4 เราอาศัยเขาอยู่ สังขารไม่เที่ยง เกิดก็ต้องไม่เที่ยง ทนยาก เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรา พิจารณาเป็นนิจ ใจเธอจะสบาย ไม่วุ่นวายด้วยกายเขากายเรา จิตก็เป็นสุข เราจะพิจารณาธรรมที่สูงกว่านั้นก็ง่ายคล่อง เร็ว กายเท่านั้นพิจารณาให้มากๆ

• พิจารณาลงเมื่อไรทางของเธอก็โปร่ง กายนี่นะพิจารณาให้มันลง แค่นั้นแหละอย่างอื่นไม่ต้องห่วง ตีเสียว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วเอาตัวเราเป็นเหตุ เป็นปฐม เป็นธรรมที่พึ่งที่พิจารณา ถ้ากายตนไม่มีเสียแล้ว คือพิจารณาลงแล้ว ตนก็ไม่ใช่อะไร เป็นธาตุขันธ์แค่นี้แหละ หมด

7 สิงหาคม 2517

ประทับทรง

☺ แนวทาง คือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พระท่านเทศน์ให้ฟังครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ได้แต่ฟัง ฟังแล้วก็เรียนซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็รวมอยู่ในที่เดียวกันไม่มีเหนือนอกจากนั้น ไม่มีบารมีที่ทำเฉพาะตนเพื่อปรารถนาความหลุดพ้นเอาตัวรอด

• แต่การกระทำนี้ ตัวต้องใช้ปัญญาไตร่ตรอง คิดค้นปัญหา พิจารณาให้เข้าใจถ่องแท้ตลอด ส่วนที่เราแบ่งคุณธรรมความดี ทำบุญ ทำกุศล บริจาคทานและทรัพย์สิน ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนั้นเรื่องหนึ่ง อย่างนั้นก็พออนุโลมได้ ทำเฉพาะเอาตัวรอด นี่มันเกี่ยวกับตัวเองเท่านั้นนะ คือเอาตัวเราเป็นที่ตั้ง

• เมื่อเอาตัวเราเป็นที่ตั้งแล้วจะเอาตัวรอดไปนั้น ต้องไตร่ตรองธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอน เรื่องกายกับจิต เรื่องขันธ์ 5 ธาตุ 4 เป็นต้น พิจารณาให้ถ่องแท้แน่นอน ให้จิตมันรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว มันจะได้รู้มาเองว่า อ๋อ! ที่พระท่านสอนให้คืออย่างนี้นี่แหละ ความหมายว่าเรามีบารมี บำเพ็ญบารมี เราฝึกฝนค้นคว้าเพื่อเอาตัวของเรารอด อย่างนี้เราเรียกว่าบารมีเฉพาะตน

• เราบำรุงพระพุทธศาสนา เราให้ทานยาจกเข็ญใจ เราทำบุญแก่พระภิกษุที่อยู่ในศีลในธรรม ผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว เราทำอย่างนั้นพออนุโลมได้ คือว่าบุญกิริยาวัตถุที่เรากระทำแด่พระผู้ประเสริฐยิ่งเพียงไร อันนั้น เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ที่เราจะใช้ได้ หมายความว่าเราทำนี่ ทำให้เราแคล้วคลาด ปลอดภัย อย่างนั้น ถ้าพระท่านเป็นผู้ประเสริฐมากยิ่งขึ้นเท่าไร บุญมันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น นี่แหละบารมีของพระผู้ประเสริฐละ

• ส่วนที่ท่านประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกิริยาวัตถุนอกที่ท่านเห็นแล้ว ท่านปรารถนาธรรมที่เจตนาต่างๆ นานานั้น เพื่อสั่งสอนชาวโลก ให้ชาวโลกทั้งหลายได้รับผลที่ท่านสั่งสอนอันนั้น เป็นบุญที่ทำเฉพาะตัวของท่าน อย่างนั้นเป็นเรื่องหนึ่ง ไม่ได้เกี่ยวข้องกันนะ ลูกหลานทั้งหลายที่หนีลงมาเกิดก็ดี ลงมาเกิดก็ดี บางผู้บางเหล่าก็ปรารถนาความหลุดพ้น

• เราเกิดกันมาหลายร้อยชาติ หลายกัปเต็มที เราเป็นทุกขเวทนาเต็มที แล้วเราทำบุญปรารถนาจะไปนิพพาน อย่างนั้นก็มีแต่บางพวกบางเหล่าติดสอยห้อยตาม เขามาอย่างนี้ก็มีแต่ความปรารถนาที่จะมารับใช้ก็ดี มาฟังธรรมก็ดี คือว่าทำที่เมืองมนุษย์นี้นา พระอริยะท่านมีตั้งเยอะ ถ้าเรามารับใช้จะได้บุญได้กุศลเพิ่มขึ้น เออ! ผู้มีความคิดที่ดีอย่างนั้นมีลงมามากเหมือนกัน แต่เขาก็ทำบุญตามเรื่องตามราวของเขาไป ที่ปรารถนาเพื่อพระโพธิญาณโดยเฉพาะมีเยอะ อันนี้ เราไม่พูดถึงก็เพราะที่พากันมาครั้งนี้ ไม่ดี 98 ส่วน เพราะฉะนั้นก็หมั่นรักษาศีล

• รักษาศีลคืออะไร คือเจตนา เจตนาเท่านั้น เราจะไม่ทำอย่างนี้ๆ ถ้าทำอย่างนี้กลัวจิตใจไม่สบาย เราไม่ทำละ ฆ่าสัตว์นี่เราสงสารมัน เราไม่ทำมัน ขโมยเขา อ้อ! นี่เสียชื่อเสียง อดตายก็ยอมเราไม่ทำ ประพฤติผิดในส่วนอื่น ลูกเมียเขามันไม่ดี เราไม่ต้องการเราก็ไม่ทำ มุสาวาทาเวรมณี ตัวนี้สำคัญมาก ตัวนี้เป็นอะไร รู้ไหม ?

• มันเป็นหลักเป็นฐานที่จะทำให้สัจจะบารมีเข้มแข็งขึ้น แต่ว่าการกระทำใดๆ ก็ต้องพูดกันจริงๆ โลกนี้มันกลิ้ง กลับไปกลับมา ผู้ประพฤติธรรมก็ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเอาเองพอแล้ว ข้อที่ 5 อันนี้มันมองเห็นกันอยู่ คือไอ้สุราเมรัย เครื่องดองของเมาต่างๆ นานาพาให้จิตใจมันหดหู่ มันเงียบ มันเหงา มันเศร้ามันสร้อยในขณะหลังจากที่เราดื่มอย่างหนึ่ง

• ความทุกข์ทรมานอย่างนั้นนะ เราลองย้อนนึกดู... สำหรับผู้ที่เคยทำ... ย้อนดูก็จะเห็นว่าประโยชน์มันไม่มี แต่โทษทั้งหลายที่เราเห็น ที่เราได้ยิน ได้ฟัง มันก็มี ถ้ายังงั้นจะทำให้เสียเวลาลงมาเกิด เข้าใจไหม เสียเวลา เพราะประพฤติหลุดออกไปจากความดี

• อันนี้ ในขณะพิจารณา จิตเราก็จับไปเรื่อยๆ พอจิตมันจับเข้มอย่างนี้ละก็ธรรมต่างๆ ที่มาเกี่ยวข้องกับพรหมวิหาร 4 จึงเข้าใจทุกคน การเจริญพรหมวิหาร 4 นี้เพียงแต่ว่าเมตตานี่ มองเขา แล้วกลับมามองเรา เออ! เรานี่ก็เป็นเพื่อนร่วมโลกกันนะ เราเกิดมานี่ก็เกิดทุกขเวทนาด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเรามัวทุกข์อยู่อย่างนี้ มันก็ทุกข์หนักขึ้นไปอีก จะให้มันทุกข์มากอีกทำไม อ้อ! น่าสงสาร น่าจุนเจือ น่าเผื่อแผ่ น่าช่วยเหลือ จิตจะน้อมเป็นอย่างนั้น พิจารณาอย่างนี้

• กรุณา มุทิตา อุเบกขาก็เหมือนกัน ก็เมื่อเมตตามันเกิด อีก 3 อย่างก็พากันเกิดเรียงแถวมาเลย ยกเว้นแต่ตัวอุเบกขาตัวนี้เท่านั้น แปลกออกไปหน่อย เมื่อจิตเร่าร้อนกระวนกระวาย ไม่สามารถปฏิบัติได้ คือไม่สามารถช่วยเขาได้ ก็นึกเสียว่า นี่กรรมเป็นตัวก่อ เป็นตัวตั้ง ผู้ใดบิดเบือนแปรผันไม่ได้ ต้องประพฤติไปตามนั้น เขาบังคับให้เป็นไปตามนั้น เมื่อเรารู้ชัดแล้วเช่นนี้ เราจะกังวลกระวนกระวายไป ประโยชน์อันดีจะเกิดขึ้นแก่เราก็ไม่มี ใจเอ๋ย จงสงบเถิด นี่เป็นปฐมธรรมเท่านั้นนะ เป็นเบื้องต้นเท่านั้นเอง

• นี่แหละ ธรรมะของพระพุทธเจ้า เมื่อเวลาปฏิบัติใช้ปัญญาไตร่ตรอง แยกแยะให้กระจ่างซิ ทางมี ซ้ายขวาๆ คือหมายความว่าเราไปซ้ายขวาๆ เอาธรรมะนั้นขึ้นมาไตร่ตรองแยกแยะให้ละเอียด แล้วเอารวมเข้าตรงกลางไปเลยอย่างนั้น
• ทีนี้ ไอ้การเดินสายตรงน่ะนะ ข้อสำคัญที่สุดต้องรู้เรื่องกายกับจิตให้ละเอียดเต็มที่ การรู้ไม่ใช่ไปศึกษาค้นคว้า

• ดูซิ...ดูซิ...ดูด้วยตาของเรานี้ แล้วเราก็พิจารณาไปว่ามันแท้มันจริง มันมีตัวตนอย่างไร เมื่อพิจารณาเห็นมันชัดมันแจ่มแจ้งน้อมจิตเข้าไป อ้อ! พระท่านว่าอย่างนั้น พระท่านว่าอย่างนี้ ท่านสอนอย่างนั้นว่ากายเป็นยังงั้นๆ แล้วเราก็รู้จนแจ่มชัดแล้ว ต่อไปพึงนึกเสมอว่ากายเรานี่เหมือนกัน มันเหมือนกับเรือน เราซิเป็นผู้อาศัย พึงทำความสะอาด แต่ให้พอดูได้ตามสมควร ไม่ประดับประดาบำรุงบำเรอฟุ้งเฟ้อ เพราะเหตุใด

• เพราะเหตุว่าเมื่อประดับประดา บำรุงฟุ้งเฟ้อ นั่นมันไม่ใช่การพิจารณาเสียแล้ว การพิจารณาอย่างนั้นต้องพิจารณาตามที่พระท่านสอนมา พิจารณากายกับจิตจนคล่องแคล่วดีแล้ว ตานี้ละ มานั่งคำนึงตรึกตรอง นึกถึงความน่าเกลียดน่ากลัวของกายตามที่เราเห็นอย่างแจ้งชัด คือว่า สังขาร เมื่อแตกดับจากร่างกายนี้ อะไรมันเกิดต่อไป เป็นอะไร ต่อไปเป็นอะไร เมื่อถึงระยะตามนั้นมันจะเกิดอะไรขึ้นมา

• พิจารณาอย่างนั้น จิตมันจะน้อมเข้าไป น้อมเข้าไป ถ้าผู้ใดติดายมาก พิจารณาอย่างนั้นมากเป็นธรรมดา อยู่ที่ใจ ความจริงก็รู้อยู่ทุกคน
• แค่นี้พอแล้ว หลักสำคัญคือใช้จิต ใช้ปัญญาไตร่ตรองไว้มากๆ นะ

4 กันยายน 2517

☺ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ให้จิตน้อมไปในทางโลกุตตระปัญญามากขึ้น เมื่อไตร่ตรองแล้วเกิดปัญญา สัมมาทิฐิแท้จริงก็เกิดขึ้น
• มรรค 8 ทั้งโลกีย์ และโลกุตตระ ตอนที่ไตร่ตรองเป็นโลกีย์ พอรู้แล้ว บารมีมากพอก็ถึงโลกุตตระ อยู่ที่ “รวม” ตัวเดียว

• สุกขวิปัสสโกนี่ดี มีความสุขตลอดชีวิต เพราะการปฏิบัติแต่ละวันเป็นการถ่ายทอด เมือไม่วิตกก็เป็นสุข เมื่อถึงขีดของมัน สุขอันใหญ่ก็ย่อมเกิด
• พระอริยะทั้งหลายที่ท่านใช้วิชชา 3 อภิญญา 6 ความจริงก็เป็นของเล่นสำหรับท่าน ไม่มีพิษสง แต่เป็นกุศลของท่าน เมื่อท่านต้องการเข้าสู่วิหารธรรมก็ทำได้เร็ว แต่หากทำเป็นปกติ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เหลือวิสัย

☻(ถาม – เรื่องเกิดความกลัวเวลานั่งสมาธิ)
☺ พิจารณาว่ากลัวนั้น ความจริงกลัวใจตัวเอง พระท่านรู้วิสัยบารมีว่าคนนี้ถึงเวลาหรือยังที่ท่านจะมาช่วย ตามธรรมดาถ้าเราฝึกตามที่ท่านให้ปฏิบัติ ตามที่ท่านสอน สุขมันก็เกิดอยู่ในใจ อยู่ที่เราเอง ถ้าเราฝึกฝนค้นคว้าไป ไอ้เรื่องที่ท่านจะมาจะไปก็เรื่องธรรมดา ต้องทำถึงจะรู้ว่าท่านมาหรือไม่มา ไม่ทำก็ไม่รู้

• การปฏิบัติธรรม หากได้สมาธิแม้เพียงขณะจิตใดขณะจิตหนึ่งก็คุยกับผีได้ เราต้องฝึกฝนให้มาก ตราบใดที่จิตยังขุ่นมัวอยู่ก็มองไม่เห็นได้โดยง่าย จิตยิ่งดียิ่งคุยกันสบาย มันอยู่ที่เราทำ ทำให้ถึงธรรมก็เห็นพระพุทธเจ้า เห็นง่ายนะ ถ้าทำให้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะตราบใดที่จิตมันมีความปลาบปลื้มในธรรมะ ไตร่ตรองเมื่อไหร่ก็เห็นได้เมื่อนั้น

• พระท่านจะใช้อำนาจทำให้เห็นก็ได้ แต่ถ้าทำอย่างนั้นจิตจะตก ประเดี๋ยวก็ขอเห็น พระท่านต้องการให้ทำให้มาก นี่ฐานของเรายังไม่แน่น จิตยังไม่เห็น
• คนเรา ถ้าจิตยังพัวพันอยู่ในโลก อยากเอาดีทางโลก ก็ยังไม่ได้เห็นทาน ถ้าทำให้เกิดเห็น เกิดได้ยิน รู้อดีต อนาคต ก็ยังยากที่จะบังคับจิตให้พิจารณาวิปัสสนาอย่างแท้จริงได้ การพิจารณากายกับใจยังไม่ดี การทำฤทธิ์ก็ยังยาก อิทธิฤทธิ์เป็นของไม่ยากถ้าฝึก แต่ก็ทำให้ลงนรกได้ง่าย

• ศีลอย่างเดียวยังทำให้ทรงอยู่ในฌานไม่ได้ พรหมวิหาร 4 ต้องทำให้มากจึงจะเชื่อง ทรงได้ดี ไม่แตกสียกลางทาง
• เมตตาอยากให้เขาเป็นสุขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าดีแล้วก็ให้ดีเลิศ ถ้ายังไม่ดีก็ให้ดีขึ้นทั้งทางโลกและทางธรรม ไม่ว่าสัตว์ว่ามนุษย์ ให้เป็นสุขๆ นะ จะได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ต่อไปก็ขอให้เป็นมนุษย์นะ

• กรุณาตั้งตนเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเป็นธรรมที่ดี ผู้อื่นเป็นสุข เราก็เป็นสุข การช่วยผู้อื่นก็ช่วยในเมื่อไม่เหลือวิสัย ช่วยมากเกินไปก็กลายเป็นการเบียดเบียน ช่วยได้เพียงให้เขาผ่อนคลายความทุกข์ก็ควรพอใจแล้ว ไม่ต้องพิจารณาว่าจะช่วยทุกข์เขาจนหมด พิจารณาว่า คนเราเกิดมาย่อมมีทุกข์อย่างนี้ ที่เราช่วยไปอย่างน้อยเขาก็ได้รับความสุขเพิ่มขึ้น

• การช่วยก็ช่วยด้วยนึกถึงพระธรรม คือไม่ได้ช่วยเพื่อขอเพิ่มบารมี แต่ช่วยเพื่อปลดเปลื้องความโลภ การช่วยผู้อื่นให้ได้รับความสุขอีกทางหนึ่งคือการให้ธรรม เพื่อเขาพิจารณาแล้วจะเกิดปิติ เกิดความสุข ไม่แน่นะ เขาฟังธรรม 2-3 ครั้งก็อาจจะฝึกทางธรรมต่อไปอีก น้อมจิตเข้าไปหาธรรม ปลดออกจากกายใจอย่างแท้จริง สุขทางธรรมนั้นล้นเหลือทำอะไรก็ต้องน้อมเข้าไปหาธรรม ต้องใช้ปัญญาอย่างไปยุ่งทางโลก

• มุทิตา ความสุขทางโลก เป็นของไม่เที่ยงแท้ อารมณ์ทางโลกนั้นต้องเกิดเป็นธรรมดา แต่ให้พิจารณาอารมณ์ที่ดี ไม่ใช่ให้เขามีอำนาจวาสนาทางโลก
• อุเบกขา เกี่ยวข้องกับสมาธิเล็กน้อย อันใดที่เหลือวิสัยต้องพิจารณา เกิดมาเป็นเราเป็นเขา ย่อมมีกรรมเป็นของเราของเขา

• จิตมันวุ่นกับโลกเพราะกรรมส่งเสริมก็ต้องรับ การเกิดมาเป็นสุขในโลกก็ย่อมมี แต่ถ้าคิดเสียว่าเกิดมาก็ชั่วประเดี๋ยวเดียว อาศัยร่างกายเพียงประเดี๋ยวเดียวแล้วเราจะเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรกันหนอ เช่นนี้จิตมันก็เฉย ท่านที่มีฌานดี รู้เรื่องกรรมดี ใช้อุเบกขาเสมอ จะรู้แจ้งแทงตลอด เพราะมีพรหมวิหาร 4 เป็นฐาน

☻(ถาม – เรื่องการลาพุทธภูมิ)
☺การลาพุทธภูมิ ตราบใดที่จิตตัดขาดก็ใช้ได้ ถ้ายังอาลัยอาวรณ์ก็เป็นการลาชั่วคราว สายใยมันยังมี ต้องลากันหลายทีหน่อย

• สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย์ มีบารมีมากด้วยความเพียรเป็นยอด ผู้ที่ไปเกิดในสมัยพระองค์ย่อมเป็นผู้ที่เคยพบ เคยเห็น เคยปฏิบัติ เคยฟังธรรมด้วยกันมา เชื่อท่านมา จิตที่ผูกพันด้วยความเคารพ นอบน้อมเป็นศรัทธาอย่างหนึ่ง การฝึกฝนให้มีศีล 5 กรรมบถ 10 เป็นเสบียงใหญ่ที่จะทำให้ถึงได้ในต้นสมัย ฉะนั้น อาศัยท่านบำเพ็ญนาน เกิดแล้วเกิดอีก บริวารในสมัยท่านอเนกอนันต์ ล้วนแล้วแต่ใกล้ๆ พระอริยะหรือเป็นแล้วเกือบทั้งนั้น ถ้าจิตมั่นคงและปฏิบัติอยู่ ย่อมได้พบแน่นอน

• ฉันตั้งใจวิริยะธิกะ ตราบใดที่พระพุทธเจ้ามุนีศากยะยังไม่ทราบตรัสรู้ ตราบนั้นฉันจะอยู่ต่อไป

☻(ถาม – เรื่องฝันไม่ดี)
☺เหตุย่อมเกิด แต่ระยะนี้ยังไม่มาถึง ให้ปล่อยสัตว์ 7 อย่าง ไก่ 1 ปู ปลา นกกระจาบ 7 ตัว เต่า หอย 7 ชนิด สัตว์บก 7 คู่ไม่จำกัดชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ 19 อธิฐานให้แน่วแน่ ก่อนอธิฐานสวดมนต์ ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น อธิษฐานว่าอันกุศลที่ปล่อยสัตว์เหล่านี้ ขอเสมือนลอยเคราะห์ลอยแพ

• บุญอันเกิดจากการให้ทานชีวิตเหล่านี้ ขออุทิศให้ผู้ที่จองล้างจองผลาญ หมายมั่นปั้นมือทำให้มีเวรแก่กายก็ดี ชีวิตก็ดี ขอท่านจงรับกุศลเหล่านี้จากการให้ทานชีวิต ของให้ท่านโมทนาและอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า (ออกชื่อ) แล้วแผ่เมตตาให้เขาเป็นสุขๆ ทำอย่างนี้แล้วต้องสมาทานศีล 8 (กี่วันก็ได้) อุทิศส่วนกุศลไป ขอให้ท่านจงเป็นผู้มีศีลเถิด

องค์ต่อไปประทับทรง

☺ กรรมที่ทำย่อมต้องได้รับ แต่การให้ชีวิตเป็นทาน เป็นสิ่งประเสริฐ อุทิศให้กับเขา เราให้ความสุขกับเขา
• กรรมนั้นต้องรับนะ ไม่ใช่ไถ่ชีวิตนะ ไม่ต้องวิตกหรอก เธอปฏิบัติธรรม พิจารณาสังขารไม่เที่ยง ทนได้ยาก ชีวิตร่างกายไม่ใช่ของเรา เสือกไสไม่ไปฉุดไว้ก็ไม่ยอม แล้วเธอจะวิตกอะไร เมื่อไม่วิตกก็ไม่เป็นทุกข์ เมื่อไม่ทุกข์ก็เป็นสุข เมื่อสุขก็รู้ตนอยู่ เมื่อรู้ก็รู้ว่าอะไรเป็นที่พึ่งแท้จริง เมื่อนั้น หมดกิจที่เธอจะต้องทำ

• บาปเคราะห์ก็ดี โชคก็ดี ความสุขในโลกก็ดี ผันแปรไปไม่คงที่ เมื่อเราตั้งมั่นในธรรม เอาเป็นที่พึ่งพิจารณา จิตย่อมไม่กระวนกระวาย ความเป็นไปก็น้อยลง ความสุขในโลกก็เกิดขึ้น เท่ากับการอยู่ในโลก ปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น ระวังให้ดี เตือนตนอยู่เสมอ ของอย่างนี้ไม่เที่ยงไม่มีอยู่ตลอดไป

• ฝึกอยู่พิจารณาอยู่ว่าในชีวิตนี้ต้องได้พบแน่ ชีวิตมีวูบเดียว แต่ที่เราเกิดมาแล้วอย่างนี้ หมดวันหมดคืนไปบ้างครั้งก็เร็ว บางครั้งก็ช้าเพราะจิต ถ้าเรามีความรู้ประจำว่า ปัจจุบันนี้ ทั้งอดีต อนาคต เราจะทำจิตให้แจ้ง ให้เอาปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ไม่มีวานนี้ไม่มีพรุ่งนี้ มันจะมีก็เป็นเรื่องของมัน

• แต่สำหรับเรา ชีวิตนี้สั้นมาก การประมาทแม้แต่นิดหนึ่งว่า เรามีกุศลกรรมดี พระย่อมคุ้มครองให้ชีวิตยืนนาน อีกนานปีจึงจะตาย ผู้นั้นแหละหลวมเข้าไปอีกครึ่งหนึ่งแล้ว

• “พรุ่งนี้ตาย เดี๋ยวนี้ตาย” หมั่นฝึกเข้าไว้ จิตมันจะได้หมดห่วงหมดอาลัย พิจารณาดูสังขารมันไม่เที่ยง ย่อมผันแปรไป เขามีอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น ที่เกิดก็เพราะกรรม ที่ผันแปรก็เพราะกรรม ดับสิ้นก็เพราะธรรมที่มีอยู่ประจำโลก แม้อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตก็ตาม ไม่มีอะไรเที่ยง อย่าดิ้นรน จิตย่อมเป็นสุข พิจารณาให้ดี สุขในโลกนี้ไม่มี จำให้ขึ้นใจ ไม่ว่าวัตถุ สัตว์ คนก็ดี เป็นของประจำโลก ดูให้เที่ยงแท้แล้วก็ทิ้งมันไปเสียเลย

• กายนี้เกิดขึ้นในโลกเป็นของโลก ท่องไว้ทุกวัน โลกนี้ไม่น่าอยู่เพราะอะไร ต้องทำให้กระจ่าง ขณะใดที่แจ่มแจ้งขึ้นในจิต ความรู้มันก็ตามมาอีกว่า อ้อ อ้อ ความผันแปร ความไม่เที่ยง อนัตตาที่พระท่านว่าเป็นอย่างนี้หนอ ไอ้กุศลก็ทำ ปฏิบัติก็ทำ ไอ้โลกก็ยุ่ง แยกให้ดีทุกอย่าง ทำเพื่ออย่างเดียวคือเพื่อไม่เกิด ปลงอย่างนี้แล้วสบาย แล้วทำเพื่อเข้าจุดหมายปลายทาง

• อ้อ! โลกนี้เห็นได้แจ้งแล้ว ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยว ไม่ว่าทำอะไรนึกอย่างนั้นคิดอย่างนั้นไว้เสมอ ถ้าจิตวุ่นมากนักปัญญามันก็ตัน หยุดวุ่นปัญญามันก็เกิด ความจริงโลกไม่ได้วุ่น ถ้าจะให้โลกหยุดวุ่นก็ต้องทำที่จิตของเรานี่เอง

• ที่ท่านสอนๆ นั้น ติดอยู่ที่ความจำบ้างไหม ถ้าติดอยู่ก็เอาไปทำ จิตหยุดใจนิ่งเสียครั้งหนึ่งแล้วก็รู้ อันนี้เป็นเรื่องฌาน คือหยุดในหยุด เราจะรู้ว่าจิตหยุดมันสุขอย่างนี้ ไอ้เรื่องของเราเองไม่ค่อยจะรู้ ชอบไปรู้เรื่องคนอื่นเขา เออดี!
หมดธุระแล้วความสุขในโลก แม้แต่กระผีกริ้นก็หาไม่พบ ความสุขทางธรรม หาได้เมื่อจิตน้อมมาพิจารณาในธรรม ว่ากายก็เช่นนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จงดับเหตุปัจจัยนั้นเสีย

องค์ต่อไปประทับทรง

☺ ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร ? เมื่อรู้ทันเสียแล้วก็ไม่ทุกข์
• บิดามารดานั้น เป็นผู้มีพระคุณแก่เราอย่างยอด อันใดที่ทดแทนพระคุณได้ แม้เพียงนิดหน่อยก็ทำเสีย อะไรๆ เกิดขึ้นกับเราก็เนื่องกับบิดามารดาทั้งสิ้น จงปรนนิบัติบิดามารดา เหมือนท่านเป็นพระอรหันต์

• โลกนี้ไม่มีอะไร จงทำให้แจ้งตลอดทั้งโลกทุกๆ โลก
• เป็นสุขๆ เถิด พระโพธิสัตว์ก็ดี พระพรหมก็ดี พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมรู้จักว่าผู้ใดเป็นอย่างไร ย่อมรู้ว่าผู้นั้นเป็นฝ่ายธรรมประพฤติธรรม เข้าร่องเข้ารอยถึงธรรมอย่างไร จงพิจารณาธรรมอันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง อันใดที่ทำก็จงทำตลอดไป ธรรมใดที่จะกระทำให้ตัวแจ้งแทงตลอดก็ต้องทำ อันใดที่เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขทางโลกก็ต้องทำเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินทางโลกนะ..ลูกเอ๋ย..!

องค์ต่อไปประทับทรง

☺ สุขในฌานนั้นมักมีโมหะปน แต่สุขจากการพิจารณาไม่มีอุปทานปน พระอริยะเจ้าเวลาบรรลุธรรมก็ต้องพิจารณาไตรลักษณ์อยู่เป็นนิจ แม้กระทั่งเป็นพระอรหันต์
• ธรรมอันใดที่รู้อยู่ ต้องใคร่ครวญวนไปวนมา เมื่อใคร่ครวญก็มีความสุข ไม่มีการทอดทิ้งธรรม เมื่อผ่านธรรมะข้อใดแล้ว ต้องกลับมาพิจารณาอยู่เป็นนิจ ไม่มีการประมาท

• จิตของเราเมื่อผ่านการพิจารณาปัญญาก็จะรู้แจ้งขึ้นมา ในขณะที่จิตแจ่มใสแช่มชื่นเบิกบานเต็มกำลัง รู้แจ้งว่าอันใดที่ควรจะกระทำต่อไป อันใดที่ควรจะเร่งรัด อันใดที่ผ่านมาแล้ว ที่ว่าผ่านหมายถึงการเดินทางตรงเข้าสู่ความแช่มชื่นเบิกบาน ต้องใคร่ครวญให้หนัก จำให้มั่น ทางนั้นเมื่อผ่านแล้วต้องผ่านอยู่เสมอ

• ความรู้ที่ได้ในขณะนั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากความใคร่ครวญอย่างแจ่มชัด ไม่ต้องมีการสั่งสอน ผ่านเองก็รู้ ไม่ผ่านก็ไม่รู้ ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช ไม่ยากหรอก ดูตัวเองแล้วพิจารณาว่าสิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็น เราเกิดมาดำรงอยู่ได้ สักวันหนึ่งเราจะต้องละโลก

• ในการที่เกิด เราได้พบพระ ได้ฟังธรรมแล้วอยากจะได้อะไรอีก ได้แล้วก็ยึดไว้ไม่ได้ ต้องพลัดพราก เราไปยึดในของนอกกาย แม้แต่กายเราก็ต้องเจ็บปวด ถ้าไม่มีธรรมะยึดอยู่จิตก็จะทุรนทุราย ถ้ามีธรรมะประพฤติธรรมบ่อยๆ เมื่อถึงกำหนดจิตจะคล่องแคล่ว และได้รับผลตามศรัทธาบารมี

• ในขณะหนึ่งขณะใดที่ว่างจากภาระ ให้หมั่นพิจารณาทุกขณะ หมั่นทำนะ ต้องทำให้หนัก ให้ดี เพราะไม่มีใครช่วยเราได้ เราต้องมีธรรมเป็นที่พึ่ง จิตที่เกิดจากเวทนาทางกายจะไม่สามารถเอาชนะจิตที่มีที่พึ่งได้

• ความไม่ประสบสุขในธรรมในขณะที่ร่างกายยังดีอยู่เป็นความประมาท คือไม่พิจารณา ยามที่มีเวทนาจิตย่อมจะทุรนทุราย ในขณะที่เกิดเวทนา จิตเราจะต้องรู้ซึ้งถึงเวทนา นั้นจึงจะควร อันใดที่ทำจนคล่องแคล่ว เช่น จิตที่ฝึกฝนมาดีไม่มีพลาด

• เมื่อถึงคราวเกิดเวทนา จึงไม่มีอันใดเป็นที่พึ่ง นอกจากธรรมที่เราพิจารณาอยู่เป็นนิจ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เราจะจ้องเข้ามาพิจารณาได้ เพราะฉะนั้น อย่าประมาทในยามปกติ เราอาจจะละโลกในขณะที่พิจารณาก็ได้
ความไม่ประมาท เป็นความดี

สอนเฉพาะบุคคล

☺ ฉันรู้ว่าตราบใดที่เธอยังไม่อิ่มบุญที่เธอทำ เธอถือบุญกิริยานั้นเป็นที่ตั้ง ถูกแล้ว ฉันรู้เธอมั่นใจในกุศลที่เธอทำฉันรู้ บุญที่เธอทำมีความตั้งใจปรารถนาอย่างยิ่งยวด บุคคลใดมีความมั่นใจในกุศลที่ทำ ก็ได้บุญนั้น ความอิ่มในบุญเป็นสุขอย่างยิ่ง ก็ถูก ไม่ผิด แต่อย่าประมาทในธรรม

• เธอปฏิบัติในบุญ เธออิ่ม แช่มชื่น ปีติมันหล่อเลี้ยงเธอให้แช่มชื่นเบิกบาน ความไม่ประมาท เพียงแต่เดินไม่ได้ก็ควรพิจารณาแล้ว เวลาที่มันล่วงไปแล้ว มันมีการเดินทางอยู่ตลอดเวลา เมื่อพิจารณาบ่อยๆ จิตมันจะน้อมเข้ามาหาธรรม จิตจะเชื่อง เมื่อจิตจะต้องละโลก ธรรมที่เธอพิจารณาไม่ยึดถือการเกิดอีกต่อไปนั้น เมื่อพิจารณาได้เมสภาพ เธอก็ไม่เกิดอีก

• เอาเถอะ..ลองทำดูบ้าง ตอนใดที่ใจว่าเบาสบาย ตราบนั้นให้ใคร่ครวญ แล้วแต่เธอจะดูภายนอก ภายใน ตามใจ เพียงแต่พิจาณาให้นิ่ง ไม่ใช่ว่าไปตามอักขระ ตามวิธีการ

• เธอพิจารณาไม่แจ่มแจ้ง ต้องหมั่นกระทำบ่อยๆ เมื่อเคยชินแล้วไม่ว่าจะรักหรือชัง จิตจะเหมือนกัน เพราะจิตไม่คลุกเคล้ากับอารมณ์รักหรือชัง
ถ้าความแจ่มแจ้งมันบังเกิด เธอจะรู้ว่าอันการที่จิตไม่วุ่นไปรอบนอก มีความแคล่วคล่องในกิจการทั้งทางโลกและทางธรรม อย่างนี้ถึงจะถ่องแท้ ผู้ใดทำได้แล้วต้องหมั่นทำอยู่เป็นนิจ อย่างประมาท

• อารมณ์ต่างๆ มันหนักเบาไม่เท่ากัน การพลัดพรากจากผู้ที่รักเป็นอารมณ์หนัก อารมณ์นั้นหยุดยั้งพัวพันอย่างแน่นแฟ้น การตั้งสติพิจารณาจะไม่เป็นผล ตราบใดที่ยังไม่แจ่มแจ้ง เวทนามหาศาล แต่มีคุณที่รู้ว่ามันคับแค้น โศกเศร้า เวทนาถึงขณะนี้เกิดขึ้นได้ในทุกๆ คน ความไม่อยากเกิดอีกต่อไปจะมีขึ้นเพราะรู้ซึ้งในเวทนา ความรู้สึกนี้มีเฉพาะแต่เราต้องฝึกฝนกระทำอยู่เสมอ ผู้ไม่ประมาทเท่านั้นจึงจะมีธรรมเป็นที่พึ่ง

• พระพุทธเจ้าท่านชี้ทางให้เราเดิน อย่ายึดถือพระองค์ ให้ยึดในธรรม เมื่อซึ้งในธรรมก็ซึ่งในพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ที่เธอยึดพระพุทธเจ้าเพราะคิดว่าท่านเป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ โพธิสัตว์ทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้แจกธรรม ความรู้สึกของเธอก็นับว่ายังไม่แจ่มแจ้งในธรรมของพระองค์ ตราบใดที่เธอมีกรรมอยู่ในกาย ก็เหมือนเธออยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า

• หมดเวลา...เมื่อฟังแล้วก็นำไปใคร่ครวญตรึกตรองดูนะ อันไหนที่ชอบก็นำไปปฏิบัติให้แจ่มแจ้ง ลึกซึ้ง ทำไปเถอะแล้วจะรู้ว่า ธรรมมีคุณมหาศาลยิ่งกว่าสมบัติใดๆ ในโลก ปฏิบัติแล้วจะรู้ว่าธรรมเป็นสุขอย่างยิ่ง

• ขอให้เธอทั้งหลายจงแจ่มแจ้งใคร่ครวญถึงธรรม ขอให้เธอมีธรรมเป็นที่พึ่ง ขอให้เธอประสบความสำเร็จตามที่เธอต้องการในธรรมทุกประการ จงเป็นสุขๆ เถิด

13 กันยายน 2517

สอนเด็ก

☺ อย่าทำอะไรเกินกว่าเหตุและอายุ เราทำอะไร ความสามารถเรามีเท่าไหนก็ทำเท่านั้น อย่าไปกังวลวิตกจนเกิดเหตุ คิดอะไรขอให้ทำไปทีละขั้นแล้วจะไม่วุ่นวายตัวเองเลย ของทุกอย่างเป็นธรรมดาทั้งสิ้น ขึ้นได้ก็ตกได้ เราเป็นคนสองมือสองเท้าเหมือนกันไม่มีอะไรประหลาด

• ฉะนั้นจึงมีความมานะบากบั่น วันหนึ่งเราทุกข์ ก็ต้องมีวันที่เราสบาย จงอดทนอดกลั้นในภัยต่างๆ ที่จะมา จงต่อสู้อุปสรรคทั้งหลายด้วยตนเอง โดยนำความดีมาใช้ จงมั่นใจในความดีเถิด

• จำไว้นะ ถ้ารักพ่อหรือแม่ก็ตาม เราจะตอบแทนพระคุณหรือทำให้ท่านสบายได้ โดยเราทำความดีตามวัย ความสำเร็จในชีวิตเป็นสุดยอดที่คนปรารถนา ฉะนั้น จะสำเร็จได้ก็ต้องมีความรู้ที่จะทำงานเลี้ยงแม่ ใช่ไหม

• เรียนให้ดี ประพฤติตัวให้เหมาะ พ่อและแม่ก็ดีใจ อย่าไปกังวลเรื่องต่างๆ เพราะกังวลเกินเหตุไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมาได้ นอกจากทำให้ทุกข์และหมดกำลังใจในสิ่งต่างๆ กังวลไปก็ทำงานอะไรไม่ได้ ..ลา...!

21 กันยายน 2517

☺ เธอทั้งหลายจงหยุดก่อน หยุดในอบายมุขทั้งปวง จงตั้งมั่นในพระธรรมที่มีอริยะสัจ 4 หยิบยกขึ้นมาพิจารณาไถ่ถอนจิตตัวเอง หยิบยกมรรค 8 ประการขึ้นมาปฏิบัติแล้วทุกคนจะพึงพอใจในสุขที่เธอปรารถนา

• จงเป็นสุขๆ เถิด เหล่านักธรรมทั้งหลาย จงเป็นสุขๆ เถิด เหล่าผู้ปฏิบัติธรรม พึงเป็นสุขๆ เถิดเหล่านักสอนที่แจ้งในธรรม

8 ตุลาคม 2517

☻(ขอประทานพร)
☺พรขอทำไม.. ทำดีดีกว่า ความดีนั้นอยู่ที่เราทำกุศลอันงาม ถ้าพรก็เป็นเพียงวาจาที่กล่าวเยินยอให้ใจเห่อเหิมฮึกเหิมลำพอง ดูซิว่าคนให้พรดีเพียงไหน ทำให้สมปรารถนาได้รึ? ก็เปล่า แต่การกระทำนี่ซิ ถ้าทำดีแล้วไม่หนีไปไหน ดีก็อยู่กับตัว เปรียบดังก้อนหิน ให้ก้อนหินนั้นเป็นตัวเราที่ยังประพฤติไม่ดี ถ้าโยนลงน้ำก็จม ต่อให้ใครมาให้พรฉันใดก็ตาม หินนั้นลอยได้หรือ..?

• เราต้องสกัดปูนที่เป็นหินนั้นออก จะได้ไม่จมในโคลนตม ถ้าสกัดเอาความเลวออกมากๆ หินปูนที่เกาะตัวเราอยู่ก็หมดไปเมื่อนั้น เราจะลอยพ้นความเลว คือกิเลสทั้งปวง
• ไตรสิกขา เธอพร้อมแล้วหรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ?

• จิตคนเรานี้ องค์พระสมณโคดมกล่าวว่าเป็นประภัสสรคือธรรมชาติที่ผ่องใส ทุกๆ คนที่ดำเนินชีวิตอยู่ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจฉิมวัยนี้ เราทำอะไรมาบ้าง เรามีอะไรเป็นเครื่องยึดทางไหม จงดูตัวเราแล้วพิจารณาปลง และดำเนินไปตามพรหมวิหาร 4 หาสัจธรรม ดำเนินตามอริยมรรค พึงปฏิบัติ เมื่อนั่นเธอก็จะแจ้ง รู้ซึ้งในธรรมะและเข้าใจในอรรถรส นั่นแหละเมื่อเธอรู้แจ้งและรู้แจ้งแล้ว เธอจะสบายใจชุ่มชื่นใจมีความสุขหาใดเปรียบมิได้

ประทับทรง

☺ ขอเจริญสุข ทุกคนที่ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ธรรมที่บริสุทธิ์ ธรรมนี้เป็นแสงสว่าง เป็นดวงแก้วที่จะส่องทาง ทางไปสู่แหล่งความสุข ความสุขคือสูญ ไม่ทุกข์ ไม่โศก ไม่มีสิ่งมาเบียดเบียน ธรรมะนั้นเป็นแก้วที่เจียระไนไว้หลายเหลี่ยมหลายมุม

• เธอจงมองแก้วเจียระไนนั้นดูซิ แสงที่สองจากแก้วนั้นมีผลสิ้นสุดหรือไม่ เหลี่ยมของแก้วที่เจียระไนไว้อย่างนี้ ย่อมสะท้อนแสงให้แวววับ เป็นรัศมีอนันต์ไม่มีสิ้นสุด แก้วนั้นจะตกอยู่ที่ใดแสงก็ยังสว่างอยู่นั่นแหละ จงทำจิตของเธอให้เปรียบประดุจดังแก้วที่เจียระไนแล้ว แล้วเธอจะพ้นจากโคลนตมทั้งปวง

16 ตุลาคม 2518

ประทับทรง สอนเฉพาะบุคคล

☺ธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามธรรมดาไม่ได้ยาก วินิจฉัยตามความจริงซิลูกเอ๊ย พิจารณาให้มันถ่องแท้
• สังขารนี่อย่าไปติดมัน ใจลูกน่ะ คอยประหวัดเรื่อย ไอ้เนื้อหนังมังสามันสวยที่ไหน มองแล้วก็จะรู้ว่าเนื้อหนังก็ไม่ต่างกับผีตายเดินได้ จำเอาไว้ มองให้มันลึกซึ้ง

• พ่อพูดแค่นี้ล่ะ ลูกน่ะ ติดมากเหลือเกิน ติดธาตุ 4 ขันธ์ 5 เทวดาเขาพิทักษ์ลูกอยู่แต่ไม่รู้ก็ไม่ว่า พิจารณาธรรมของพระพุทธเจ้าให้ได้ รับรอง ชาตินี้ถึงจุดหมายปลายทาง
• เป็นสุขๆ เถิดลูกเอ๊ย พ่อขอให้สว่างในธรรมะลูกนะ

23 กรกฎาคม 2517

☺ ธรรมะมีอยู่ในตัวเธอพร้อมแล้วแค่ไหน ?
☻ (ตอบ – มองตัวเองไม่เห็น)

☺ ถ้ามองตัวเองไม่เห็นแล้วจะตรวจจิตเราได้ฉันใด ?
☻ (ตอบ – เกรงเข้าข้างตัวเอง และมีอุปาทาน)

☺ ละพวกนี้โดยตั้งจิตเป็นกลางเท่านั้นพอ
☻ (ถาม – ยังปฏิบัติผิดทางไหนบ้าง?)

☺ เท่าที่มีก็ของเดิมนั่นแหละ จุดใหญ่ๆ ก็ต้องทำให้กระจ่างและเจริญขึ้น เมื่อหาจุดหาปมพบก็จะแก้จุดตรงนั้นได้ แต่ให้ดูจังหวะเวลา และวิธีกระทำให้เหมาะสม
• อุปสรรค คือแบบฝึกหัดจิตที่ดีที่สุด ถ้าเราแพ้ก็หมายถึงว่าเรายังมีประสบการณ์น้อย อย่าหนี แต่ให้สู้ หนีคือการที่เราไม่ยอมทำข้อสอบ เพียงเห็นข้อสอบก็เผ่น เราต้องทนในความดี และอายในความชั่ว

☻ (ถาม – ถ้าเราตั้งใจจะไปนิพพานแล้วปฏิบัติตามหลวงพ่อจะไปนิพพานจริงหรือ ?)
☺ ถึง ถ้าสามารถทิ้งร่างโดยไม่อาลัยในกิเลสต่างๆ ได้ ถ้าไม่ยึดว่า “เรา ของเรา” ได้ก็ถึงอย่างสบาย ที่มีฝึกสมาธิ พิจารณา เจริญวิปัสสนากรรมฐาน หรือมาฟังเทศน์ฟังธรรมนี้ ทั้งนั้น ประโยชน์อย่างเดียวคือฝึกจิตใจให้ตัด ตัดคือเอาทุกสิ่งทุกอย่างไม่ให้เกาะกุมประภัสสร

☻ (ถาม – ได้ฟังเรื่องอยุติธรรมแล้วหวั่นไหว ทนไม่ได้ ?)
☺ เฉย.. โดยรับฟังแต่ไม่ควรมีความแสดงด้วยอาการ เรียกว่าอยู่สำรวม พูดมาก็ฟัง แต่อย่าหวั่นไหวตาม ยิ้มทุกอย่าง นี่แหละ คือการฝึกอุเบกขาชั้นยอดเยี่ยม
เมื่อยังหวั่นไหว ถ้าไม่ทดลองแก้โดยการปฏิบัติแล้วเมื่อไรจะวางใจตัวเองได้ ลงสอบเสียที สอบตกก็เริ่มใหม่ได้ เงินก็ไม่เสีย

☻ (ถาม – เห็นคนอื่นได้ธรรมะชั้นสูงแล้วอยากได้บ้างเป็นการอิจฉาหรือไม่ ?)
☺ อยากได้แล้วหวังทำลายผู้นั้นหรือเปล่า ? ถ้าเปล่า..เราเรียกว่าใฝ่ดี..!

5 ธันวาคม 2517

☺ ดูก่อนบุตรฉันทั้งหลาย เธอต้องการสุดทางแห่งธรรมะคือความสุขในแดนพระนิพพาน เธอปรารถนาสิ่งนี้ดุจดวงแก้วสุกใสยิ่งนัก ฉะนั้น เธอจงปฏิญาณตนให้ถึงซึ่งธรรมที่เธอปรารถนา
• เธอทั้งหลาย..เป็นบุตรขององค์ตถาคต จงทำในธรรมให้ผ่องใสดังพระธรรมขององค์ตถาคตนั้นเทอญ..!

22 ธันวาคม 2517

☺ ถ้าเธอต้องการที่จะสุขในสัมปรายภพ ก็จงหมั่นตั้งตนตั้งใจในการกระทำที่ถูกต้องแล้วด้วยธรรมของพระอริยะ ธรรมนั้นเป็นของแท้ของจริง คู่ไปกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายเห็นว่าเป็นของธรรมดา คือพิจารณาแล้วก็เป็นธรรมโลก ซึ่งมีวัฎฎจักรแห่งกรรมแห่งสงสารเวทนา ที่มนุษย์มองเห็นนิยมชมชื่นกว่าธรรมดา เหล่านี้เป็นความสุขของขันธ์ทั้งปวง แล้วยังยึดว่าเป็นความสุขสบายหาใดเปรียบมิได้ แต่ความจริง ธรรมขององค์พระศาสดานั้นย่อมเล็งเห็นว่าความจริงของโลกเป็นฉันใด

• ธรรมอันนี้จะขัดต่อจริยวัตรของคนทั่วๆไป ฉะนั้น จงเลือกมองเอาว่าอันไหนคือสิ่งที่ถาวร เราเป็นมนุษย์ที่มีปัญญาและสติสัมปชัญญะ จงพิจารณาไตร่ตรองดูว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนควร อันไหนควรปฏิบัติ อันไหนไม่ควรปฏิบัติ รู้นะ

• เธอทั้งหลาย จะเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าใครให้ทำก็ทำ ฉันอยากให้เธอทั้งหลายเห็นด้วยตัวเอง คือเห็นด้วยจิต เห็นด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเขาให้กราบพระก็กราบโดยที่ไม่รู้ว่ากราบทำไม

• เมื่อสติปัญญารับรู้ ทราบ ถึงเหตุผลแล้วก็ต้องพยายามที่จะปฏิบัติ ที่จะทำให้ดีที่สุด สิ่งนี้มิได้ทำเพื่อใครอื่นแต่ทำเพื่อตัวเองแท้ๆ ธรรมดาจิตถือประภัสสร เป็นธรรมดาที่ของใสสะอาดจะมีฝุ่นละอองมาเกาะติด ฉะนั้น จงขัดล้างจิตอยู่เสมอ ทุกขณะจิต

ประทับทรง

☺ คนเรา..ต่างจิตต่างใจกันด้วยกรรม ด้วยสันดาน บางคนทำตัวเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น บางคนทำตนเป็นประโยชน์แก่ตนเองและประโยชน์ต่อผู้อื่น บางคนก็ทำตนไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเองแต่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

• การครองชีวิตให้มีความสุขในโลกมีหลายแบบ สุขก็ขึ้นกับจิต ถ้าจิตไม่มีความพอก็หงุดหงิด เป็นทุกข์ มีอะไรพอบ้าง
• ระเบียบประเพณีที่สร้างมาเป็นระเบียบข้อบังคับ บางอย่างก็ฝืนความรู้สึกทำให้อึดอัด เมื่อตีกรอบ กรอบก็ต้องพังเป็นธรรมดา ทำให้คนทั้งหลายอยู่ไม่เป็นสุข
จะหาความสุขได้อย่างไร ?

• ความสุขทางโลก จะหาได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม จะสุขตลอดไปนั้นไม่มี แม้เวลาคนเกิดแม่ก็เดือดร้อน แม้ในขณะแม่มีความทุกข์ มีความยากไร้ไม่สบาย ลูกก็เกิดแล้วเกิดมาก็เป็นสิ่งผูกมัด

• คลอดออกมาก็เจ็บ ลำบาก ต้องทะนุถนอมลูกที่เกิดมา ลูกนั้นบางทีก็ได้สมใจ บางทีก็ไม่สมใจ ถ้าเวลาเจ็บก็วิตกกลัวลูกจะตาย ต้องเสียเงินให้แพทย์ดูแลรักษา

• คนที่เกิดมาแล้วเมื่อแก่ก็ไม่ยอมแก่ ถ้ามีใครเขาทักว่าแก่ก็โกรธ “ฉันยังมีสมรรถภาพ” “ฉันยังมีความแข็งแรง”
• ที่กลัวก็คือความตาย พยายามหลีกก็ไม่พ้น
• เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าองค์อริยมรรคของพระบรมศาสดานั้นประเสริฐสุด ชี้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ บ่อเกิดแห่งทุกข์คืออะไร ความดังทุกข์คืออย่างไร แล้วระงับโดยสิ่งตรงกันข้ามกับทุกข์

• สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้งามเลิศพร้อมแล้ว กระจ่างแล้ว จงตัดสิ่งนี้เถอะ ขันธ์ 5 นี้ แบกคนเดียวก็ทุกข์แล้ว ไหนจะกิน หิว นอน ตื่น ทำงาน เหน็ดเหนื่อย ลำบากสารพัด ทุกข์ทั้งนั้น ตัวเราเองก็ทุกข์ แบกไว้ไม่อยู่
• พอแต่งงาน ขันธ์ 5 กลายเป็น 10 ยิ่งหนัก มีมาอีก 5 จะไหวหรือ เหล่านี้คนมนุษย์ปุถุชนเห็นว่าเป็นความสุขความเจริญ สบาย หารู้ไม่ว่าสิ่งสุขสบายนี้เคลือบทุกข์ทุกกระเบียดนิ้ว

• องค์พระพุทธบุตรที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์สละขันธ์มากกว่า 5 เหลือเพียง 5 แสวงหาสัจธรรมที่แท้จริง คนก็สงสัยว่าท่านจะสุขได้อย่างไร ความสุขนี้หาไม่ได้สำหรับคนที่มีกิเลสอยู่ เธอจงดำเนินตามรอยพระพุทธบาทเถอะ จะพบช่องทางให้ประสบความสุขความเจริญ ความสบาย ความอิ่มเอิบ

• เธอทั้งหลายแม้คนที่เป็นพุทธภูมิก็ดี จงแสวงหาสัจธรรมให้ผู้ที่ตาบอดทั้งหลายสว่างด้วยปัญญา อยู่ในสันติสุขที่เป็นสุขตลอดกาลเถอะ..!

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามคำเทศน์ ปี 2518 ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/6/10 at 08:40 [ QUOTE ]


29

(Update 26/06/53)

22 มกราคม 2518

ประทับทรงสอนเด็กหนุ่มๆ


☺ อยากให้เด็กทั้งหลายมีระบบอาวุโสหน่อยจะดี ทำให้รู้จักระเบียบ ประเพณี เด็กผู้ใหญ่
• เออ! ไหนเอ็งเข้ามาใกล้ๆ ซิ ลองตอบมาซิ พรุ่งนี้เอ็งคิดจะทำอะไรบ้าง

☻ (ตอบ – ไปเรียนหนังสือ)
☺ แล้ววันหนึ่งๆ ที่คิด มีอะไรเป็นหลักเป็นการบ้าง ?
☻(ตอบ – ดูหนังสือ)
☺ แต่เด็กอายุขนาดนี้นะ ฉันว่าควรให้แนวทางหลายๆ อย่าง เช่น ให้ปัญญาความคิดอ่านจิตใจคน ต่อไป การเข้าใจคน รู้ใจคน รู้สึกว่าถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็จะเสียเปรียบคนมีไหวพริบ กีฬานั้นช่วยได้แค่สุขภาพเท่านั้น
• เพื่อนฝูงก็คบกันไปอย่างเรียบๆ เรื่อยๆ ใช่ไหม มีอะไรที่คิดเกี่ยวกับเพื่อนฝูงไหม

☻ (ตอบ – ไม่สอบสุงสิง)
☺ ชอบเรียบๆ สบายๆ ? ก็ดีหรอก เคยสนใจจิตใจคนไหม สนใจว่าทำไมจิตใจคนนี้ถึงเป็นอย่างนี้ เคยไหม ?
☻(ตอบ – ไม่เคย)
☺ ดี..ก็ดี.. คิดว่าจะทันคนไหม ?
☻ (ตอบ – คิดว่าพอรู้)
☺ ไอ้พวกนี้ (ชี้คนอื่น) คิดอะไรรู้ไหม ?
☻ (ตอบ – ไม่ทราบ)
☺ นั่นซิ คิดไหมว่าไอ้คนนั้น ทำไมถึงทะเลาะกัน พ่อแม่มีไหม ทำไมเด็กคนนั้นไม่ค่อยชอบอยู่บ้าน หือ ?
☻ (ตอบ – ไม่ได้คิด)
☺ แล้วสิ่งเหล่านี้นะ ไม่เคยคิดหาคำตอบอย่างเล่นๆ บ้างเหรอ คิดเล่นๆ ถึงขาวบ้านเขาบ้าง คิดถึงเด็ก ความรักของเด็ก เพื่อน ความรักของเพื่อน คิดแล้วทำให้เกิดไหวพริบ เจอเหตุการณ์แล้วจะได้มีปัญญา เช่นอย่างนั่งสมาธิ พิจารณาขันธ์ 5 นิวรณ์ 5 ก็ดี พิจารณาเพื่อรู้ทฤษฎีใช่ไหม ?

• นี่ก็เหมือนกัน เราต้องเจอทุกอย่าง อย่าคิดว่าเรายังเด็ก ความจริงปีหน้าอาจจะแต่งงานก็ได้ ฉะนั้น ต้องคิดดำรงตัวไว้ให้ดี การทำงานอะไรก็ต้องพบผู้คนทั้งนั้น ถ้าไม่คิดจะพบก็มีทางเดียว เข้าป่าไป ถ้าคิดจะพบก็ต้องดูว่าอะไรเป็นอะไร ใช่ไหม ? สนใจเรื่องคนไว้นะ

☻ (ถาม – เชื่อว่าอิทธิพลจากอดีตไม่สำคัญ สำคัญที่การทำตัวในปัจจุบัน)
☺ บอกอย่างนี้ก็แล้วกันว่า ถ้าถือทิฐิ พระท่านว่าย่อมเป็นห่วงที่จะทำไม่ให้ถึงพระนิพพาน กรรมเป็นเครื่องส่ง ส่งให้บุคคลได้เกิดมา เราต้องหันไปดูกรรม เพราะบุญบารมีเดิมส่งเสริมมา ถ้าไม่มีบารมีเดิมกรรมเดิมก็ไม่มีซิ พระอรหันต์ก็มีกรรมแต่หนีจนกรรมตามไม่ทัน

• ความยุติธรรม คือความจริงที่เท่ากัน ไม่ใช่ไม่เท่ากัน จำไว้ เมื่อใดไม่เท่ากันจะมีแต่ต่ำลงๆ ทำให้ศรัทธาลดน้อยลงไป ฉะนั้น พึงฟังธรรมนั้นให้แจ้งด้วยปัญญา

• คนเรา ถ้ามีพยาบาท โทสะ โมหะ ครองงำ ทางก็ไม่ค่อยส่องสว่างเท่าไหร่นะ ไม่เชื่อไปถามพระ ถ้าจะถือว่ากรรมเก่าไม่มีอิทธิพล ขอถามหน่อยเถอะว่าพระพุทธเจ้าท่านยกชาดกมาทำไม ไม่งั้นก็แย่ ท่านเล่ามาไม่ใช่เพื่อสนุก แต่เพื่อให้รู้ความชั่วความดีจะได้แก้ไข ท่านเล่าเพื่ออะไรว่าใครเป็นญาติใคร ท่านเล่าเพื่อความกตัญญู

• ยิ่งพระอรหันต์แล้ว ท่านให้ประโยชน์แก้คนทุกคำพูดนะ จับให้ดี อย่างพระที่เธอพบน่ะเป็นชั้นเลิศในพระอรหันต์แล้ว มีปฏิสัมภิทาญาณ พระไตรปิฏกทรงในนี้ (ชี้ที่หัว) ทุกคำพูดใช้ไหวพริบทั้งนั้น จับกันให้ดี หาประโยชน์ให้มากที่สุด

1 มีนาคม 2518

ประทับทรง

☺ ปฏิบัติธรรมลึกซึ้ง แกล้วกล้า เด็ดเดี่ยวไปถึงไหน ?
• ประการที่หนึ่ง ต้องรู้จักแยกสิ่งต่างๆ เป็นแขนงๆ ว่าจะปฏิบัติต่อแขนงไหนยังไง
• กับคนทั่วไป ทำจิตมั่น ผ่องใส มีสมาธิ สมองเด็ดขาด คือไม่เอามาปนกันจนไม่รู้เรื่องราวว่ารับใช้ผู้นั้นผู้นี้ ตัวมีหน้าที่ต้องทำนั่นๆ จิตต้องทำอย่างไรทำไป แยกให้ออก
• การกับจิตแยกกันอย่างไร กายทำหน้าที่สนองกรรมเวรไป จิตเป็นเสนาธิการรับงานมาปฏิบัติให้กายทำไป เวลาไหนทำสิ่งไรก็เอาเฉพาะเรื่องนั้น เมื่อนั้นความสบายใจจะเกิดแก่เรา อย่างเอาความไม่สบายใจมามีแก่เรา อย่าตามใจตัว คนฉลาดไม่ทำเช่นนั้น

• เมื่อพบทุกข์พบปัญหา ย่อมใช้สติสัมปชัญญะและประสบการณ์มาแก้ไข ธรรมะย่อมคู่กับจริยะของเรา ธรรมะย่อมเป็นศัตรูกับจริยาของโลก

☻ (ถาม – ทำไมจึงมักเพ่งโทษคนอื่น)
☺ เพราะรับมากเกินไป รับจนเกิดทุกข์ เมื่อรับมาพอดีก็พิจารณาเท่านั้น อย่าช่วยเกินกว่าความสามารถของเรา ช่วยเกิน รับมากเกินไปจะเป็นความไม่สบายแก่ตัว

☻ (ถาม – ทำไมจึงไปติดใจในข้อที่ว่าทำไมเขาจึงทำ ?)
☺ แล้วไม่คิดหรือ ว่าทำไมเราจึงแบก ?
• คนเราน่ะ สิ่งเป็นทุกข์ของโลกมีเล็กๆ 2 อักษรเท่านั้น คือคำว่า “รัก”
เมื่อมีรัก ย่อมมีโกรธ มีหลง มีเสน่หา ภาระ อุปสรรค ความใคร่ คำแค่นี้ร้ายนัก ตัวทุกข์ของโลกคือคำว่ารัก รักอยากจะทำให้ดี ก็ต้องเหนื่อยแก่ตัวเอง

☻ (ถาม – ทำอย่างไรจะตัดได้)
☺ ก็รักให้มันพอดี สงเคราะห์เท่าที่ทำได้ ช่วยเท่าที่ทำได้ อย่างที่ทำกับหลาน ญาติ เพื่อนฝูง
• หลง ก็อย่าให้เกิด
• รัก ถ้าจะพูดก็คือศัตรูแห่งธรรมะ รักผู้มีพระคุณก็ดีไป ถ้ารักตัวมากมันก็เกิดมานะเย่อหยิ่ง จองหอง กลายเป็นอกตัญญู ย่อมเพ่งโทษต่อสิ่งทั้งหลาย เห็นเป็นเขาทำผิด ฯลฯ จำไว้ ตัว (กาย) ไม่ใช่ของเรา ไม่มีในเรา

• คนเรา ถ้ารักตัวเอง เมา หลงในตัวเองแล้ว ยากที่จะตักเตือน ยากแก่การพูดเพราะเขาคิดว่าตัวเองที่ 1 แล้ว ต้องปล่อยไป ดีไม่ดี โคตรเราตระกูลเราจะเดือดร้อนไปด้วย
• ยากอยู่ คนเรานั้นจะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ 3 ทางด้วยกัน

1. กาย วาจาชอบ ไม่ค้นหาดู กาย วาจานั้นเป็นตัวแสดงออก เป็นนักบู๊
2. ใจ เป็นตัวใหญ่ตัวหนุนหลัง ใจคนมักจะครอบงำรัก โลภ โกรธ หลง ลังเล หวง ห่วง สิ่งเหล่านี้เป็นตัวคลุมไว้ไม่ให้พบความดี มักทำร้ายตัวเอง
3. สมาธิ ถ้าเราตัดใจออกจากสิ่งทั้งหลาย ทำให้ผ่องใสเป็นหนึ่งเดียว แล้วจะเป็นแรงผลักดันให้พบดีถึงที่สุด

• จำไว้ ตัวที่ 1 พาไปชั่ว
• ตัวที่ 2 เป็นตัววางแผนพาไป
• ตัวที่ 3 เป็นตัวตัด


• ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง ดับความเหนื่อยลำเค็ญของจิต ร่างกาย อนัตตาเป็นธรรมะไม่มีสิ้นสุด ธรรมะของพระบรมโลกเชษฐ์ไม่มีที่สิ้นสุด ใช้ได้ทุกกาลทุกกรณี พิจารณาเข้าไตรสิกขา ผู้ที่ปฏิบัติตามจะได้พบสุข สิ่งที่แท้มีอย่างเดียว คือความสงบ

• คนในโลก เหมือนหลอกตัวเอง คือทำอะไรก็ทำไปอย่างบทละคร มีสนุก มีร้องไห้ มีโศก โศกที่ไหน ? โศกที่ใจ ถูกกระทบกระแทกจึงมีโศก ถ้าใจสงบเสียแล้ว จะมีโศกได้หรือ ตัวหลักใหญ่ก็คือใจ

• คนจะดีได้ต้องรู้คุณ กตัญญูกตเวที เมื่อมีกตัญญูกตเวที ก็มีจิตน้อมไปในเมตตากรุณา กตัญญู อนุเคราะห์ เมื่อรู้แล้วอกุศลกรรมย่อมครอบงำได้น้อย อภัยทาน ฯลฯ เกิดตามมา ทศพิธราชธรรมตามมา ตัดสังโยชน์ได้หมด จนเหลือมานะตัวท้าย ในที่สุดก็ตัดออกได้

• ใครที่คุยว่าเก่ง จะตัดได้นั้นน้อยนัก นั่นก็เพราะไอ้ “เรา” นี่แหละ การเพ่งโทษจึงเกิดทุกขณะจิต ไปจับผิดเขาทำไม เกิดมานะนึกว่าตัวดี ถ้ามากๆ เข้าก็จะเกิดกิเลสร้าย

• จริงอยู่.. ที่รู้ว่ากิเลสเกิดกับตัณหา อุปาทาน แต่เมื่อประสบกับตัวเองแล้วตัดยากนะ
• สำหรับเด็กๆ สิ่งที่ได้พบด้วยตนเอง หรือที่ได้เห็นจากผู้ใหญ่ ก็จงนำไปคิด ไปไตร่ตรองต่อไป ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่โดยเฉพาะ เมื่อเกิดมาก็ฟังธรรมได้ทุกเมื่อ ไม่มีใครที่จะไม่ถึงเวลาฟังธรรม อยู่ที่จะรับหรือไม่เท่านั้น

• ถ้ายอมรับฟัง และนำไปดัดแปลงให้เข้ากับตัวแล้ว ความสุขก็ย่อมมีทุกเวลา อย่าเอาความคิดว่ายังไม่ถึงเวลามาเป็นอุปสรรค ถึงเวลาแล้วทั้งนั้น
• อุปสรรค เป็นครู แก้ไขความผิดนั้นๆ ถ้าครั้งแรกยังจับไม่ได้ก็ครั้งที่ 2 แต่ถ้ามากๆ ครั้งยังจับไม่ได้ ก็แปลว่าประมาท ทำให้เสียใจในภายหลัง คนทุกคนเกิดมาก็ผิดด้วยกันทั้งนั้น

• สุดท้าย ฉันขออ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ทรงเผยแผ่พระธรรม ขอให้พวกเธอได้บรรลุความดีธรรมะอันเป็นที่สุดในทางจิต มีความสุขความเจริญในทางธรรม มีความสุขความเจริญในทางโลกเถอะ..!

ประทับทรง (ต่ออีกองค์หนึ่ง คุยกับหลายคน)

☺ เออ! ตอนนี้นวนิยายของเราไปถึงไหนแล้ว
☻ (ตอบ – เรื่องไหนครับ มีหลายเรื่อง)
☺ สนุกไหมล่ะ เป็นตัวอิจฉาหรือเปล่า ?
☻ (ตอบ – เป็นพระเอกครับ)
☺ เออ! เล่นบทแค่นี้ ให้แค่ฐานของตุ๊กตาทองก่อนนะ
☻ (ตอบ – วันนั้นท่านเทศน์เพราะ ตอนนี้ดิฉันแย่)
☺ เป็นตัวอะไรล่ะ
☻ (ตอบ – เป็นตัวเลว ตัวอิจฉา)
☺ เดี๋ยวจะไม่เข้มข้น เอ๊ะ ใครอยู่ข้างหลัง เทวดาเยอะเหลือเกินนี่ เป็นยังไงบ้าง ไม่ขัดข้องอะไรรึ ? ที่จริงนางเอกไม่ควรพึ่งใคร ควรพึ่งพระเอก ไม่ควรพึ่งอาจารย์

• ที่ผ่านๆ มาก็อยากให้ตั้งจิตมั่นในความประมาทเลินเล่อ คืออย่าเอามาสะกิดสะเกาเป็นเครื่องขุ่นข้องของจิต เสาใหญ่ฝังก็ให้ลึก ให้แน่นลงไปทุกที ฝังให้แน่นในธรรม แล้วจะแน่นในธรรม เป็นสุขในธรรมจนคนอื่นอิจฉา

☻ (ถาม – เมื่อมีเรื่องต้องนึกถึงว่าเราชอบอะไรเขา เขาประพฤติไม่ดี ทำไมไปวุ่นกับเขา ?)
☺ อันนี้มันเรื่องธรรมดา ตามบทละคร ต้องใส่ให้เขาเห็นบท กลัวจะไม่ซึ้ง ไม่ดูดดื่ม ความดีของเรามันออกในรูปนั้น ทัศนะของผู้ดู นางเอกนี่ต้องจิตใจสูง ไปโอบไปอุ้มคนอื่นเข้าไว้ ก็เป็นบทดีของนางเอกที่ต้องเหินห่างกับคนชั่ว

☻ (ตอบ – เขาเลยไม่คบ)
☺ ก็เธอตีบทแตกนี่
☻ (ตอบ – มันทนไม่ได้)
☺ ก็ธรรมดา เห็นไหมล่ะ ฉีกบททิ้งเสียเถอะ มาเล่นเป็นคนดูดีกว่า ถ้าเอาธรรมะไปเล่นในบทละครมันก็ขัด ดูแล้วเดี๋ยวต้องแจกของ
☻ (ตอบ – นึกออกแต่ที่หลวงพ่อว่าอย่ายุ่งเรื่องชาวบ้าน)

☺ ก็ตัดชาวบ้าน สนใจลูกหลานก็ตัดลูกหลาน สนใจสามีก็ตัดสามี ลงท้ายก็ตัดตัวเองก็เอาบทนางเอกลูกชาวบ้านซิ
• ฉันเปรียบเรื่องนี้เพราะอะไร ตอนสงครามใหม่ๆ ชอบดูนัก ว่างๆ ก็ปฏิวัติเสียที คราวหลังเลยเลิก
• เมื่อก่อนฉันเด็กๆ จะต้องเป็นเจ้าของบทละคร ฉันดูมากชอบมากเห่อมาก ดูบ่อยๆ ก็ เออ! เหมือนกันหมด แล้วเลยได้กับตัวเอง ฉีกบททิ้งไปบวช 5 ปีที่วัดเทพศิรินทร์ แล้วออกธุดงค์แถวกาญจนบุรีบ้านเกิด ธุดงค์ไปเจออาจารย์ เจอพระดีในป่า

☻(ถาม – ท่านสิ้นเมื่อใด ?)
☺ 62
☻(ถาม – คงรู้จักท่านธัมมวิตักโก ?)
☺ ท่านบวชก่อนไม่รู้กี่ปี แหม.....
☻(ถาม – พระครูปัญญาภรณ์เป็นอย่างไร ?)
☺ ดี.. อารมณ์เย็น แต่ฉันไม่ชอบ ใจเย็นไป
• พบอาจารย์แล้วท่านสั่งสอน ไอ้จบ (ชีวิต) นี่นะ งูกัดตายไม่สำเร็จอะไร ไปจบข้างบน

☻ (ถาม – บางคนเขาว่าจบได้แต่ในเมืองมนุษย์)
☺ โธ่.. ตอนฉันไปก็เหยียบๆ อนาคามี เพราะอะไร ? เพราะตอนงูกัดมันยังไม่ตายทันที ใจหนึ่งเป็นห่วงว่ายังไม่จบ ใจหนึ่ง “ช่างมันเถอะ ครึ่งๆ กลางๆ” ก็ทรมานหรอกตอนตาย คิดแต่ว่าสังขารไม่ใช่ของเรา มันก็ไม่เจ็บชุ่มชื่น บางทีจี๊ดขึ้นมาก็ทรมาน

☻ (ถาม – แล้วกัดอยู่กี่วัน ?)
☺ โดยงูแสงอาทิตย์ นั่งในกลดเวลากลางคืน งูเลื่อยมา ทีแรกไม่คิดว่างู พอแลเห็นตัวใหญ่ยืนอยู่มันเข้ามาก็ จิ๊ก! ตอนเช้าทนไม่ไหวเขามารับ ดีแล้ว ที่โดนกัดน่ะ..!

5 มีนาคม 2515

☺ คนทุกคน มักมีมานะและทิฐิในตัว ที่เขาไม่ใช้ความพิจารณาเหตุผลไตร่ตรองด้วยปัญญาที่เป็นกลางว่า สิ่งไหนถูกต้องซึ่งมนุษยธรรม จิต ธรรมชาติ แต่มักเอาความเห็นแก่ตัว เห็นว่าตัวสวยตัวความประพฤติ มารยาท ความคิดเข้าข่ม ตัดสินปัญหาทั้งหลายด้วยความถือตัว อันไม่ควร
• นั่นคงลงโทษแก่ตัว สมดังที่ตัวได้ทำไว้ด้วยความเขลา การที่จะตัดได้ในข้อนี้นั้นไม่ยาก ถ้าเราทำคือ

1. ชอบ ต้องตัดความชอบที่เป็นเหตุไปสู่รัก เมื่อชอบแล้วก็เจอรัก ก็พบความลำเอียงว่า นี่ฉันชอบมากกว่านี้ เมื่อลำเอียงเกิด การเพ่งโทษต่อคนที่ไม่ชอบหรือของที่ไม่ปรารถนา ก็จะตามมาเป็นความโกรธ ความอิจฉาริษยาขึ้น พอรักมากก็หลง คือลืมความผิด-ถูก ทั้งหลายนี้ก็นำไปสู่สภาวะที่เป็นอุกุศลธรรมการแบ่งจิต เราก็กระสับกระส่าย

2. การถือ ถืออะไร ? ถือ “ฉัน” “ของฉัน” เป็นเหตุนำไปสู่ความถือยศถือศักดิ์ ถือลาภ ถือสรรเสริญ ถือความเก่ง แล้วก็จะนำไปสู่ความวิบัติซึ่งตัวเอง
ตัวมองเห็นตัวไหม คนเราถ้าแสวงหาจริงๆ ก็ต้องหมั่นเห็นชั่วในตัวเองให้จงได้

ประทับทรง (สอนเฉพาะบุคคล)

☺องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมิได้ให้ความเชื่อมั่นแก่เธอจากความรัก ความเคารพ ความกราบไหว้บูชา แต่ให้ตัดสินด้วยเหตุผล จิตใจ สมาธิ และปัญญาของเธอว่าเห็นสัจธรรม ยึดมั่นประจำใจได้หรือไม่ ถ้าเห็นแล้ว ความเคาระยึดมั่นอยู่ที่เธอ ไม่ได้ทรงสอนให้ขาดเหตุผล ให้กราบปะหลกๆ โดยไม่รู้กราบอะไร

• ในฐานะฉันเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ฉันเคารพในพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงค้นพบสัจธรรม กราบไหว้ด้วยความกตัญญูในพระสติ และปัญญาที่ทรงค้นพบและแจกจ่ายเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ขึ้นมาเสมอกับพระองค์ท่านทุกประการ ไม่ใช่ไปทุกข์ เพราะฉะนั้นกราบไหว้จึงต้องรู้ความเคารพว่ามีเพียงใด ไม่ใช่ไหว้ฤทธิ์ เราต้องการความจริงใช่ไหม ความจริงเป็นสิ่งประเสริฐ

• การปั้นรูปของพระองค์ ก็เพื่อระลึกถึงพระคุณท่าน ไม่ใช่เพื่อความสวยงาม เป็นความสำนึก แสดงจิตใจของศิษย์ท่าน
• ไม่ว่าใคร ตลอดจนสัตว์นรก เวไนยสัตว์ ทรงรักเสมอลูกทุกคน สอนเพื่อให้เขาพ้นเวทนา พ้นวัฏฏะ ให้ผ่องใส สุข อิ่มเอิบ เป็นสุขหาที่ใดเปรียบไม่ได้ จงใช้สมองสติปัญญาไตร่ตรอง

14 เมษายน 2515

☺ คำว่า "คนดี คนงาม คนประเสริฐ" นั้น มักจะทำกันได้ไม่ง่าย แต่จะว่าไม่ง่ายก็ไม่ถูกนัก ที่ได้ง่ายก็มีบ้าง หากจะทำตนให้ได้ชื่อดังนั้น

1. ต้องมีมานะ คือมีใจที่แข็งแกร่ง อดทนต่อความดี ที่มีความชั่วเป็นมารผจญ
2. ต้องเป็นคนมีขันติ คือความอดกลั้นที่จะทน
3. ต้องเป็นผู้รู้จักอภัยต่อมารที่จะมาถึงตัว
4. ต้องรู้ภาวะตนเองที่จะดำรงใจเราให้อยู่ในขอบเขตของศีลธรรมอันประเสริฐ
5. ต้องมีใจ และกำลัง คือพลังใจในความดีอย่างมั่นคง ไม่ท้อถอย มองเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

• ทั้งหมดนี้ ยาก ง่าย พิจารณาเอง จงหมั่นสำรวจตัวเองอยู่บ่อยๆ พิจารณาพฤติการณ์ของตัวเองอยู่บ่อยๆ อย่าไปสนใจชาวบ้านให้มาก แล้วเธอทั้งหลายจะเจียมตนให้อยู่ในแวดวงของศีลธรรมได้ง่าย เมื่อถึงแค่นี้แล้วเราก็ได้ชื่อว่าเป็นคนดีตามอริยมรรค
• เราสู้ใจเรา ยากกว่าสู้มาร จริงไหม..?

13 พฤศจิกายน 2515

☺ บุคคลใดมีศีล มีคุณธรรม เคารพในพระรัตนตรัย บุคคลนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป คลายทุกข์โศกได้ตลอดอายุขัย

สอนเฉพาะบุคคลเป็นรายๆ ไป

☺ ชีวิตของแต่ละคนก็มีกรรมไปต่างๆ นาๆ แล้วแต่สิ่งที่ตนเคยกระทำมาในอดีต เมื่อเรามีเคราะห์มีโศกมีทุกข์ เราก็ต้องขวนขวาย ทำความดีในทุกสิ่งเพื่อชดใช้สิ่งที่เราเคยทำไม่ถูกต้องในกาลครั้งก่อน คนเรา อันที่จริงแล้วลงมาเกิดเพื่อกระทำแต่ความดี ชดใช้หนี้เวรกรรม ฉะนั้น จงอย่างไปโกรธหรือโทษสิ่งต่างๆ เลย จงพยายามหาวิธีแก้ความทุกข์ที่จะมีมาในภายหน้าดีกว่า ต่อแต่นี้ไป ขอให้พร

• จงสุขกาย สุขใจ เจริญลาภ ยศ สรรเสริญ และความอนุเคราะห์โดยธรรม
ความกตัญญู เป็นสิ่งที่ล้ำเลิศประเสริฐสุด ที่บุคคลจะพึงมี จงหมั่นในความดีเช่นนี้ให้มากๆ

• คนที่เห็นในความทุกข์ รู้ซึ้งถึงความทุกข์ บุคคลนั้นระลึกและจดจำความทุกข์นั้นฝังใจได้ บุคคลผู้นั้นตถาคตกล่าวว่าได้เข้าหาธรรมโดยแท้
• เมื่อเราปฏิบัติธรรมโดยมรรคเป็นผลเลิศแล้วควรขัดให้สะอาดยิ่งขึ้นเพื่อโลกุตตระอันประเสริฐ

• การปฏิบัติมาก จะชนะภัยได้มาก การปฏิบัติน้อยแต่รู้มาก จะทำให้ปัญญาไม่ดีพอ
• บุญ ทำให้คนทำเป็นผู้บริสุทธิ์ บุญ นำคนให้ถึงธรรมะ ธรรม นำคนให้บรรลุมรรค
• เราปฏิบัติใจให้ถึงแก่ความเบื่อหรืออิ่มโลกีย์ให้ที่สุด แล้วจึงค่อยบวชใจ ล้างจากกาข้องแวะของโลก

• อิริยาบถ 3 ทาง เราต้องหมั่นขัดเกลาให้ดี ถึงจะเข้าโลกุตระ คือ อิริยาบถของกาย ของวาจา และของใจ
• การมุ่งปฏิบัติความดีของพระธรรมนั้น จะต้องให้ปฏิบัติทุกขั้นตอนจึงจะเป็นผลก้าวหน้า
• ความคิด การปฏิบัติเพื่อความเจริญทุกทางต้องเป็นไปตามเวลา อย่าให้ช้ากว่าเวลา เพราะคนเรามีอายุขัยตามเวลา
• ทิฐิของคน จะเป็นสิ่งขวางกั้นเรามิให้เราได้ทำในสิ่งที่ถูก ที่ควร

• คนมีอารมณ์อยู่ในความสงบ ถือได้ว่าผู้นั้นมีสมาธิเป็นอาจิณ ดังนั้น จงใช้สมาธินั้นเป็นกรรมฐานในอันที่จะตัดสินปัญหาทั้งปวงให้ยุติ
• เกิดมาเป็นคนได้ชาติหนึ่งนั้นลำบาก เมื่อเรามีความดีพอ จงทำความดีนั้นให้สมกับที่เกิดมาดี อย่าให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดจากตัวเรา
• สติปัญญาที่มี ต้องใช้ให้มากเท่ากับการปฏิบัติ
• สติปัญญา ถ้ารู้จักใช้ในการดำรงตนตามควรและตามอัตภาพแล้ว จะเป็นอาวุธป้องกันตนไม่ให้สิ่งที่ต่อต้านเรามาทำลายเราได้
• สิ่งที่ทรมานใจเราให้ทุกข์เวทนานั้น มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับเรา ฉะนั้น จงรู้และปล่อยมันทิ้งไป

27 เมษายน 2518

☻ (ถาม – ที่บ้านได้กลิ่นธูป บางทีมากระตุกเท้า สงสัยมาขอส่วนบุญ)
☺ พวกผีแฝง พวกนี้ปลอมรูปได้ พวกนี้คอยหาช่องให้ทำบุญให้ตัว ถึงแม้ว่าบุคคลบางคนไปสวรรค์แล้วเขาไม่มายุ่ง พวกผีนี้ก็มาแทน ออกอุบายว่าคนๆ นั้นอยู่ไม่สบาย ต้องการหมอนบ้าง เสื่อบ้างล่ะ

☻ (ถาม – จะช่วยเขาอย่างไร ?)
☺ แผ่ส่วนกุศลได้ คนที่ทำไปให้ก็ไม่เห็น ไม่รู้

☻ (ถาม – มีพระภูมิอยู่ แล้วทำไมผีจึงมาได้ ?)
☺ ตีนโรงตีนศาล บ้านก็มีนาย มีคนใช้ ถ้านายไม่อยู่ คนใช้ก็ขยับมาเป็นนายแปลง
☻ (ตอบคำถาม)
☺ พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ พร้อมด้วยพระรัตนตรัยนี้ อนุภาพ 3 มีพลัง มีฤทธิ์มาก ยิ่งใหญ่ค่ามาหาศาลนะ ใครจะทำได้ก็ทำ การสิ่งนี้มีผลบุญเป็นที่ตั้ง อานิสงส์ย่อมนำให้สำเร็จทุกประการ ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง

☻ (ตอบคำถาม)
☺ พระธรรมที่ได้อย่าสอนตัวเองอย่างเดียว ต้องให้ฝังอยู่ในตัวเองจนเป็นจิตที่ทำอยู่ทุกขณะจิต ขอให้ขยันมากๆ แล้วเราจะสรุปปัญหาโลกได้ทุกกรณี
ชาตินี้เธอทำทานชนิดไหน

☻ (ตอบ – หลวงพ่อ ท่านบอกว่าให้ชีวิตและเลือดเนื้อ)
☺ ใช่.. ฉะนั้นทุกอย่างเราต้องสละ สละนี้ไม่ได้หมายความถึงให้เสียสิ่งใดไปมากกว่าเหตุ ของนอกตัวเรานะ คือถ้าสละ ต้องสละในเรา

องค์ต่อไปประทับทรง

☺ "อัญมณี" เธอทั้งหลายถือว่ามีค่า มีราคานั้น เพราะเป็นสิ่งที่มีความสวย บริสุทธิ์ ตามความคิดของมนุษย์นั้น จิตคนก็เช่นกัน คือจิตเราย่อมเป็นแร่ธาตุที่ยังไม่เจียระไน ตราบใดที่คนค้นพบแล้วนำมาให้เห็นคุณค่า เหมือนหนึ่งว่าเราสำคัญ คือมาเจียระไนให้สวย มีเหลี่ยม มีคม มีประกาย ก็ถือว่าเป็นของสูงด้วยคุณภาพ ฉันใดก็ฉันนั้น

• จิตเรา เมื่อถึงด้วยพระธรรมขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เราเห็นว่ามีค่ามีคุณอเนกอนันต์นั้นแล้ว นำไปปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมที่เป็นชั้นอริยะเจ้าได้ จิตของเราย่อมมีความสวยหาที่เปรียบไม่ได้ทุกๆ มุมดุจอัญมณีนั้น ฉะนั้น ขอให้เพวกเธอทั้งปวงจงขัดจิตของเธอให้ดุจพระอริยธรรม

5 กรกฎาคม 2518

☺ คนเราที่เข้าถึงธรรมนั้นเข้าถึงด้วยทางใด ? เข้าถึงด้วยความดี ความดีนั้นเป็นศีลอันหนึ่งที่เป็นนามธรรมให้เราปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องปฏิบัติทั้ง กาย ใจ ให้เขาได้รู้ถึงตัวแท้ว่าความดีจับต้องได้หรือไม่ ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะรู้ว่าความดีเป็นสิ่งที่จับต้องด้วยใจได้

• การปฏิบัติตัวให้เข้าถึงความดีนั้น จะต้องชำระตัวตรงข้ามกับคำที่ว่าดีออกไป แล้วถึงจะทำต่อไปอีก
• การอธิษฐานนั้นเป็นแรงๆ หนึ่งที่สามารถจะช่วยให้เราพ้นซึ่งความไม่ต้องการได้
• ตัวเราเป็นตัวก่อ ได้ทั้งบุญทั้งบาป (“เรา” ในที่นี้ คือคน)
• ทุกข์มากก็ได้ธรรมมาก ทุกข์น่ะ ทุกข์กินกายหรือทุกข์กินใจ เราอย่าทำให้ใจมันตกด้วย เพราะใจเรายึดพระ ยึดคำสอนของพระ ยึดการปฏิบัติชอบแล้วของพระ เราอย่าไปยึดทุกข์เป็นใจ ถ้าเราปฏิบัติใจเราให้สงบได้มีศีล สมาธิ เมื่อนั้นแหละปัญญาจะเกิดขึ้นมาแก้ข้อกังขาต่างๆ ได้ จะทำให้เราเป็นคนหาความสุขได้ เฉพาะภพนี้

• ถ้าปรารถนาไม่ขอภพหน้า เร่งทำ กลัวอะไร มีพระเป็นกำลังใจ คนที่พบบุตรพระพุทธต้องเป็นคนที่มีอะไรดี เช่น บุญวาสนาบารมี พ้นแล้วในห่วง จะรอดแล้ว
แดนนิพพานนี้เป็นของทุกๆ คน แม้นแต่สัตว์นรก อยู่ที่การปฏิบัติของเราเท่านั้น
ธรรมะนั้น เป็นธรรมดาของการดำรงอยู่ในการทำบุญ ฉะนั้น มองสิ่งใดไปก็ขอให้เห็นเป็นธรรมะ แล้วให้เล็งเลิศเป็นไตรลักษณ์ เปรียบไปทุกขณะ

• การเห็นจริงแท้นั้น คือเห็นให้รู้ด้วยปัญญา รู้กำเนิด รู้การดับ รู้การแก้
เอาละ ธรรมใดที่เป็นสิ่งยึดสิ่งยั่งยืนด้านการเกิดแก่เจ็บตายแล้ว เธอทั้งหลายจงมุ่งมั่นให้สำเร็จละถึงธรรมนั้นๆ มาเป็นสุขกับฉันนะ

อีกองค์หนึ่ง (หลังทำพิธี)

☺ ประดุจประเทศชาติยามปัจจุบัน ผู้ใดนับถือเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ผู้นั้นย่อมมีคุณทางพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นที่ตั้ง ไม่มีภัยมารบกวน เหมือนพานที่รอบรับฤกษ์ของเธอให้อยู่กลางน้ำ สามารถรอดพ้นจากภัยที่มีอยู่รอบข้าง

• ฉะนั้น ฉันใดก็ตาม บุคคลที่กอปรด้วยความดีย่อมคุ้มครองดีด้วยความดีนั้น หน้าพระพุทธมองตรงไปยังเหนือ ไฟด้านตะวันออกยังลุกอยู่ ภัยประเทศก็เช่นนั้น ด้านตะวันตกก็มีไฟ แต่ดับไปในฉับพลัน..!


30 กรกฎาคม 2518

☻ (ตอบปัญหา ว่าตัดไม่ขาด ห่วงว่าบารมียังไม่พอ)
☺ ตัด.. ไม่เกี่ยวกับห่วง จะตัดจะบำเพ็ญน่ะใครใช้ให้ห่วง
☻ (ตอบปัญหา ว่าเกรงอายุขัยจะหมดเสียก่อน)
☺ จะหมด จะมี ต่างกันอย่างไร ถ้าเราจะแสวงหา (จุดหมาย ?) เกิดมาเพื่อทำบุญบารมี ทำความดีสงเคราะห์สัตว์ แล้วจะต้องการกำหนดอะไรอีกในชั่วชีวิต ถ้าบุคคลนั้นทำความดีทุกขณะจิต ไม่มีอะไรต้องเป็นของกำหนด

• การตั้งปัญหาถามมาเช่นนี้ แปลว่าผู้นั้นมีแต่หลักการ ส่วนการปฏิบัตินั่นพึ่งจะหยั่งๆ ดูเท่านั้น กำหนดใจซิ แค่จะลงฝีมือกระทำก็ยังหวาดเสียแล้ว โธ่เอ๋ย! ถ้าเข้าปรมัตถบารมี เขาควักลูกตาสักลูกก็ตายแล้ว
• มัวไปคิดทำอะไรอยู่ เธอทำเรื่องค้าขาย ถ้ามัวคิดว่ากำไรยังน้อย กลัว เลยเลิกค้าเพราะกำไรน้อยก็แย่ เพิ่มไปทีละนิดๆ ก็ได้ถมไป เป็นมหาเศรษฐีสบาย

☻ (ตอบปัญหา พิจารณากายคตานุสติกรรมฐานแล้วตัดไม่ขาด)
☺ ก็มันไม่ตัดให้ขาดจริงๆ เด็ด ก็ต้องขาด ทุ่มกำลังใจพักผ่อนให้มากตามที่ร่างกายต้องการ แล้วลองพิจารณาเรา ดูกายเราว่ามันพอหรือยัง ถ้าพอแล้วก็ทำจะได้ไม่ง่วง

• การไม่จับสารธรรม ผู้หญิง เหล้า ร่างกาย ความสวยงามเหล่านี้เป็นต้น ชอบอันไหนจับอันนั้น คั้นให้ตายในใจเราอย่าเข้าข้างตัวเอง ถ้ารักการหนีทุกข์ จับพิจารณาตัวร้ายของเราที่ชอบนั้นด้วยวิปัสสนา จับให้มั่นคั้นจนหมดเนื้อหมดน้ำ ส่วนกากมันจะแห้งเอง

(สอนเด็กที่ไม่ชอบใช้ความคิด)

☺ ฉันชอบคนมีไหวพริบปฏิภาณ คนมีไหวพริบปฏิภาณ ต้องมีหลักธรรมคือความจริงประจำใจ มีการยึดมั่นในใจเราเป็นเอกในการกระทำ เป็นหลักอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สำเร็จด้วยการเอาใจชนะกายเรา

☻ (ถาม – จะชนะได้อย่างไร แล้วจะรู้ว่าชนะอย่างไร ?)
☺ เหตุผล...
• ชนะนั้นรู้ด้วยเหตุและผล คนที่จะรู้เหตุผลที่ถูกที่ควรคือคนที่พิจารณาสภาพต่างๆ ที่จะมาถึงตัวและใกล้ตัว การที่จะเป็นเช่นนั้นได้ คนนั้นต้องประสบเหตุการณ์ ต้องเป็นผู้รู้ที่คิดและรู้จักคิด คิดอย่างละเอียดและรอบคอบ ประกอบความสุขุม

☺ สุขุม คือ ความเยือกเย็นอย่างละมุนละม่อม
• ต้องทำให้ได้ เราไม่ได้เป็นอยู่แค่นี้ เราไม่มีคนมาเลี้ยงเราอยู่ตลอดไป ซึ่งตรงกับอนิจจัง คือความไม่แน่นอน เมื่อมันเป็นอนิจจัง ทุกขังก็ตามมา ถ้าหากไม่รู้วิธีดับแก้ และสิ่งที่จะต้องประกอบในคราวเดียวกันคืออนัตตา ไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าไม่รู้จักแก้ก็ต้องขยันพบขยันได้ คือไตรลักษณ์

☺ฉันสอนเธอ เพราะเธอไม่พบทุกข์ซึ่งทุกคนไขว่คว้า ทุกคนพยายามหาทุกข์ใส่ตัวเพราะกลัวคำว่า ไม่มีทุกข์
• โลกนี้มันสกปรก เธอยังสะอาดเกินไป คิดให้รู้แต่ไม่ได้หมายให้ติด เพราะติดนั้นไม่ช้าไม่เร็วจะได้สอนให้รู้ว่าแก้อย่างไร ในข้างหน้าระวังจะแก้ไม่ได้เพราะไม่เคยแก้

• คนที่ไม่เคยผิด คือคนที่ไม่ทำ ถ้าไม่ทำ จะรู้ได้อย่างไร อย่างน้อย คนนั้นจะต้องรู้วิชา ถ้ารู้วิชา ถึงจะแก้แบบฝึกหัดได้ จะได้ไม่สาย
ลองคิดดูว่า เออ! ทำไมเขาถึงผิด แล้วเขาทำอย่างไรต่อไป แก้ได้ไหม แก้แล้วดีไหม หัดเป็นนักวิจัยเสีย

สอนทุกคน

☺ คำว่าเด็ก คำว่าผู้ใหญ่ แบ่งกันตรงไหน..?
☻ (ตอบ – แบ่งที่ความประพฤติ)
☺ คนที่โตแล้ว ก็ทำตัวเป็นเด็กได้ ผู้ใหญ่ หมายถึงคนที่รู้คิดว่าการใดควร การใดไม่ควร เป็นคนที่มีความประพฤติดีในกุศล ในสิ่งสงเคราะห์ เพื่อสงเคราะห์ อย่าให้ใครเขาว่าเป็นผู้ใหญ่แบบเด็ก คนบางคน แก่จนตายก็ทำตนเหมือนเด็ก น่าอาย

• การกราบพระ ครั้งแรกที่ตั้งใจจะประณมมือกราบพระ เราต้องมีสติว่าจะทำอะไร เมื่อพนมมือก็ให้รู้ตัวว่าตนขอนมัสการด้วยความเคารพในความดีที่ควรสักการะ เมื่อพนมมือ ตั้งจิตอยู่ในความอิ่มเอิบใจแล้ว ก้มหัวด้วยสัมมาคารวะอย่างนอบน้อม

• ก้มกราบครั้งที่ 1 ให้กำหนดจิตว่า เราขอนอบน้อมต่อองค์พระพุทธที่ทรงแสดงธรรมโปรดให้เราพ้นทุกข์แล้วยกตัวขึ้น ตั้งจิตระลึกถึงพระธรรมด้วยสัมมาคารวะแล้วก้มกราบ

• ครั้งที่ 2 ระลึกถึงคุณแห่งพระธรรมที่รู้แจ้งเป็นปัญญา แม่บทหลักแก่เราที่ชี้ให้แสงสว่างให้ข่มมิจฉาทิฐิลง แล้วยกตัวขึ้น

• กราบครั้งที่ 3 ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เจ้า ที่ได้แผ่ธรรมขององค์พระพุทธมายังเราให้หมดด้วยวัฏฏสงสาร ด้วยจิตอยู่ในธรรมปีติอย่างอิ่มเอิบ เช่นนี้แล้วเธอจะเป็นผู้ที่กราบพระงามพร้อมทั้ง กาย วาจา ใจ

12 ตุลาคม 2518

☺ การตายน่ะไม่แน่สุดแต่กรรมของเรา ถ้ามากนักเขายังทวงอยู่ก็รอไป ม้ายงั้นพระอรหันต์ไม่รีบตายกันหมดรึ ?
• คนที่พบอริยมรรค คือสัจธรรมนั้นไม่กลัวทุกข์ คนที่ปฏิบัตินั้นไม่วุ่นวายในทุกข์ เป็นทุกข์ก็เป็น (ไป)

• คนที่เข้ามาหาบุญ แล้วยังคบโลกธรรมอยู่ อย่ามาหาบุญเลย แค่โลกธรรมก็เป็นบรรทัดฐานของอริยมรรคแล้ว ถ้ายังติดอยู่ก็โปรดอยู่ไปเถอะกับ “เรา” และ “ของเรา”

• ทำจิตให้แยกจากการงานบ้าง ส่วนตัวบ้าง ใจจะได้มีสมาธิที่จะก่อปัญญาแก้เหตุข้างหน้าได้ ระลึกไว้เสมอว่า เราจะไม่มีกังวล เราจะก้าวไปข้างหน้าด้วยปัญญา กังวลมาก สมองก็ตื้อ งานจะเพิ่มขึ้นนะ

25 ตุลาคม 2518

สอนเฉพาะบุคคล

☺ ตื่นเช้า ตรวจจิตให้ยกพรหมวิหารมาเป็นบรรทัดฐาน พิจารณาขันธ์ 5 เพ่งให้มากๆ ดูให้ลึกซึ้ง ต้องจับอารมณ์ละเอียด พิจารณาตั้งแต่เส้นผมถึงส้นเท้า
ขันธ์ 5 อะไรคือรูป อะไรคือเวทนา อะไรคือสังขาร อะไรคือวิญญาณและสัญญา

• อริยสัจก็มาจากขันธ์ 5 อริยสัจคือตัวสรุป
• ขึ้นต้นด้วยกรรม กรรมดี กรรมชั่ว ผลส่งเสริมของกรรม ต่อมาก็เอาด้วยเรื่องธาตุ 4 มีที่มาอย่างไร มีที่ไปอย่างไร แล้วต่อด้วยขันธ์ 5 ใช่ไหม เมื่อมีขันธ์ 5
• ต่อไปก็ต้องอายตนะ และลงด้วยไตรลักษณ์ สรุปด้วยอริยสัจ
• ทุกอย่าง ขึ้นต้นด้วยกรรม กรรมบันดาลรูป บันดาลอารมณ์ บันดาลปัจจัย

สอนเฉพาะบุคคล

☺ เอาเบื้องต้นให้ชำนาญดีกว่า "ศีล" เราสำรวจซิว่าพร้อมไหม ศีลเธอก็มีกันดี เมื่อมีศีลดีแล้วก็ขอให้มี "สมาธิ" เป็นอารมณ์ ครบไหม "ปัญญา" การถึงพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมของพระศาสดา มีไหม ปัญญาคือการพิจารณา พิจารณาเรา เราในเรา เราคืออริยสัจ เราคือธรรมะ พิจารณาบ้างหรือไม่ ขอเพียงเท่านี้

• ถ้าเธอทั้งหลายถึงพร้อมด้วยคุณธรรม 3 สิ่งนี้ ฉันก็อยากจะเทศน์ในเรื่องที่สูงขึ้นไป แนวทางมีจดคำเทศน์ไว้เป็นเล่มๆ ศึกษาให้กระจ่างและปฏิบัติตามดังที่กล่าวมาแต่ต้น

• ขั้นต้นนั้น พอจะเป็นแนวสังเขปให้ขอเทปสำรองพระวินัย พุทธบัญญัติต่างๆ ให้เธอผู้ใคร่จะปฏิบัติธรรมให้บรรลุผลได้รู้ถึงจริยาของผู้หลุดพ้น พระวินัย ฟังกันให้เข้าใจมรรยาท มรรยาทของผู้ที่ต้องการผล ขอให้ฟังกันไว้เป็นแนวๆ ฟังๆ ไว้เถอะ จะได้มีความระมัดระวัง ไม่ประมาทว่านิพพานไปง่ายๆ เปิดฟังให้ทรงจำกันแม่นๆ ขึ้นชื่อว่าสมณะ ไม่มีเพศ คือผู้แสวงหาความสงบ

3 ธันวาคม 2518

กับพวกที่จะบวชพระ

☺ การบวช.. เป็นเรื่องของการทำบุญ ทำกุศล ฉะนั้น เราจะทำบุญให้ใคร คนนั้นจะได้บุญเต็มที่ อยู่ที่ศรัทธาของตัวเขา บุญได้ที่ใจ เป็นเหตุใหญ่

• การบวชนี้ ต้องพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง คือ
1. กาย พร้อมหรือยัง หัวโล้นไม่อายรึ รูปไม่สวยนะ
2. ใจล่ะ
3. กามฉันทะล่ะ ยังมีไหม ความรักในรูป รส กลิ่น เสียง ยังมีอยู่ไหม ต้องตัด
คำว่า “พระ” นั้นแปลว่า ดี ฉะนั้นต้องให้รู้อยู่ว่า เรามีอะไรจะดีให้คนนับถือกราบไหว้ได้ มีไหม..?


“ดี” ต้องให้บริสุทธิ์จริงๆ คือ
1. ต้องพร้อมด้วยคำสอน
2. ต้องพร้อมด้วยการปฏิบัติ
3. ต้องพร้อมด้วยความถึงซึ่งยังไม่ถึง


• “ความถึง” คือ สิ่งที่เรายอมตายถวายชีวิต ซึ่งยังไม่ถึงเวลา คือ ยังไม่ตาย แต่พร้อมที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พร้อมนะ

☻ (ถาม – ที่ว่าตาย คือตายจากฆราวาสหรือ ?)
☺ ไม่พอ.. ตายจากกิเลส ปฏิบัติตัวให้ตายจากกิเลส ตายจากโรคกินใจ มีติดกันอยู่ 2-3 ตัว
• ติด “รัก” ติด “อยาก” บางคนมีติดตัว “หลง” บางคนนะ รักอยากจะเป็นพระอรหันต์ก็ไม่ดีนะ เป็นแล้วค่อยทำ พระอรหันต์จริงๆ เมื่อถึงแล้วท่านก็หมดรักพระอรหันต์แล้ว คนที่บวชเป็นพระแล้วนั้น จะมีศีลบริสุทธิ์หรือข้อปฏิบัติบริสุทธิ์ จะเป็นผู้ยังไม่ถึงซึ้งพระอริยะก็ดี ย่อมจะยกเว้นดวงชะตาได้ พระที่บริสุทธิ์นั้น ชีวิตท่านอยู่นอกเหนือดวงดาว หมายถึงที่ได้อริยะขึ้นไปนะ

• เอาละ..อย่าถอย อย่าแพ้ตัวเองนะ..!


◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามคำเทศน์ ปี 2520 ต่อไป ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/7/10 at 08:16 [ QUOTE ]


30

(Update 04/07/53)

28 กันยายน 2520


☺ พิจารณาธรรมไปถึงไหน ตัดตัวตัดตนได้หรือยัง หรือมัวแต่ตัดคนอื่น คำเทศน์น่ะมีมากมาย พิจารณาดูเนื้อถ้อยสาระ...
• เราจะเพ่งพินิจดูคนทั้งหลายนั้น เอาอะไรเป็นของรู้ดีรู้ไม่ดี รูปรึ รสรึ กลิ่นรึ เสียงรึ หรือสัมผัส คนเรานั้นมีแต่ของสกปรก เริ่มที่ร่างกาย เกิดมาก็จากของสกปรก ออกมาก็จากของสกปรก ในตัวคนก็ล้วนมีแต่ของสกปรก จะหาอะไรสะอาดได้ ไม่ชำระล้างไปกลิ่นก็เหม็น ของก็บูดเสีย ร่างกายมีตรงไหนสะอาด ?

• เอาล่ะ ร่ากาย แก้ให้มันสะอาดไม่ได้ก็เก็บไว้ มาดูวาจา วาจาสะอาดไหม ?
เป็นได้ทั้งสอง สะอาดและสกปรก สะอาดก็เป็นวาจาในธรรมพูดในธรรม ไม่สะอาดเป็นวาจาส่อเสียด ยุยงส่งเสริม ช่างติฉินนินทา ไม่รู้กาลเทศะ ต้องรู้ในสิ่งที่ควรพูดไม่ควรพูด ฉะนั้น วาจา แก้ให้สะอาดได้ไหม ? ได้นะ

• มาดูใจ ใจมันสกปรกตรงไหน ? สร้างกิเลส ตัณหา อุปาทาน ดีล่ะ ตรงไหน ดีตรงที่มีใจในสติธรรม ศีลธรรม สมาธิธรรม นั่นแหละใจดี
• ฉะนั้น สรุปแล้ว คนเราดูรู้ที่ตรงไหนว่าดี-ไม่ดี ? ความชอบรึ อารมณ์รึ ? อยู่ที่ใจ เกลาเป็นพระคนเขาจะไหว้ไหม ? อยู่ที่ใจ พระอยู่ที่ไหน
• เกิดมาเป็นคนอย่าดูหมิ่นคน เกิดเป็นคนอย่าดูถูกคน เพราะคนยังดำรงความเป็นคน “คน” กันไม่หยุด อยู่ที่เราจะหยุดคนเมื่อไหร่ จะได้ไม่ต้องเกิดเป็นคน

10 พฤศจิกายน 2520

(กับคนเจ็บ)

☺ เป็นอย่างไรบ้าง ฉันมาเยี่ยม คนที่มาเรื่องละคร ที่โดนงูกัด (ไงล่ะ)
☻ (ตอบ – ขอให้สอน)

☺ ใจเธอเป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายนั้นมันมารยาต่อเราเหลือเกิน แกล้งสารพัด เดี๋ยวให้ร้อน เดี๋ยวให้หนาว ตามผู้กำกับเขา
• เรือเรามันผุแล้ว คนที่อยู่ในเรือสิ อย่าผุตามเรือมัน อย่าอ่อนแอ เดี๋ยวจะไม่มีแรงว่ายน้ำข้ามฝั่งเวลาเรือมันจม ฉันว่าถ้าใจสู้ก็ว่ายถึงฝั่งสบายๆ อย่าไปกลัวจมน้ำถ้าเราว่ายน้ำไม่เป็น บางคนว่ายน้ำเป็นแต่แรงไม่มี เพราะเอาแรงไปอยู่กับความกลัวเสียหมด ไม่ใช่กลัวเจ็บ แต่กลัวพลัดพราก

☻ (ถาม – กลัวเจ็บ)
☺ มารยาจ๊ะ แกล้งเราทั้งนั้น
☻ (ถาม – หัวใจจะหยุดเต้นครั้งหนึ่ง)
☺ อย่าไปกลับหัวใจหยุด ต้องดีใจ มันแกล้ง ถ้าเรากลัวยิ่งเอาใหญ่ ถ้าทำมันไม่กล้า คนใกล้จะแย่ สองซื้อโลกเตรียมซิ ตัวมารยามันกลัว แต่ถ้ามันสู้ก็ได้ใช้ ไม่เสีย
• เก็บแรงไว้นะ อย่าไปกลัว เหมือนคนเข้าห้องสอบแล้วกลัวว่ายังดูหนังสือไม่หมด ทำให้เต็มที่ เต็มปัญญาก็แล้วกัน

6 พฤศจิกายน 2520

(ฝากสอนผู้เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย[

☺ ให้พิจารณา อย่าเป็นห่วงงาน ร่างกายน่ะมันจะพังอยู่แล้ว มันไม่กตัญญูต่อเรา เราปรนเปรอทุกสิ่งทุกอย่างแล้วมันยังทรมานเราอยู่อีก ให้เลิกคุยกับมันเสีย ต้องทำใจให้ได้ ธรรมะข้อนี้อาจารย์ก็สอนอยู่ตลอดแล้ว
• ให้รู้ถึงความเป็นจริงของสังขาร เกิด-แก่ ของจริง เจ็บ ของจริง ซึ่งหนีไม่พ้น ตายก็เป็นของจริงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่านเคยปรารภไว้ก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้ว ตั้งแต่สิงหา
• ขอให้ทรงอารมณ์พิจารณาอยู่ตลอดเวลา ให้จัดภาพพระที่ชอบไว้ ภาวนา “นิพพานัง สุขัง”

8 มีนาคม 2521

☺ ธรรมะติดขัดอันใด ?
☻ (ตอบ – ส่วนมากเข้าใจ แต่การปฏิบัติสมาธิหย่อนไป)
☺ สิ่งนี้เป็นหัวใจที่จะบอกให้รู้ถึงสภาพ สภาวธรรมแห่งตนว่าได้ทรงอารมณ์ดำรงอยู่ในขั้นของธรรมใด จิตนั้นต้องน้องรำลึกให้รู้ซึ้งธรรมะในขั้นของความเป็นธรรมดา ในสภาพของแท้แน่นอน ให้รู้สึกลงไปว่าธรรมดาเกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแก่นสารน้อมนำมาจากใจ เข้าตรวจอารมณ์อยู่ตลอดเวลา

• ให้เราหวนคำนึงถึงภาระที่ยังมียังเป็นอยู่ อย่าให้ติดตัวติดใจจนอุบัติ ห่วง หวง หลง หึง ต่างๆ นานาให้รัดตัว จนตรวจและระวังไว้ในข้อนี้จงหนัก และขอหมายว่าทำใจให้รู้กิเลสต่างๆ ที่จะพึงมี นั่นคือโลภ โกรธ หลง สาเหตุมาจาก โลภ-ต้องการ เป็นหลง-มัวเมา เป็นโกรธ-โทสะ นี้รายนัก จงหมั่นแก้ไขเสีย เพราะส่วนใหญ่ยังพึงเป็นอยู่

• พิจารณาอสุภกรรมฐานอยู่เป็นนิจหรือไม่ ? อสุภกรรมฐานไม่ต้องไปดูอื่นไกล อยู่ที่ตัวแห่งเรานี้เป็นรากฐานแรก ดูมูลต่างๆ ของเรา ดูน้ำเสียต่างๆ ของเรา ดูสภาพการหมดไป สิ้นไปต่างๆ ตามวาระและกฎแห่งกรรม เหล่านี้พิจารณาให้รู้ ให้เห็นข้อจริงว่ามีอยู่เท่านี้ จะหลงสวยหลงรูปอะไรกันอีก พิจารณาให้เห็นกองอสุภเป็นประจำอยู่จนเจนตา ใจจะได้ไม่คำนึงภาพ รูป รส กลิ่น เสียงต่างๆ ให้บันดาลตัณหา
• เท่านี้ ทำให้เป็นประจำ แล้วเธอจะพบความจริงแห่งเธอ...!

22 มีนาคม 2521

☺ เจริญธรรมกันดีรึ..?
• ฟังธรรมกันเจนหู ดูธรรมกันเจนตา เห็นแล้วก็รู้ เห็นแล้วก็คิดให้สม่ำเสมออยู่ในใจของเธอว่า ความเป็นธรรมดาของโลกธาตุนั้นจริงอยู่ สภาวะของโลกธาตุนั้นจริงอยู่ สภาพเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้นจริงอยู่ เป็นความจริงที่ทุกคนทุกชีวิตจักต้องได้รับได้พบเจอะเจอ จะต้องเป็นสภาพธรรมนี้ตามแต่โอกาสเวลาของแต่ละชีวิต

• ความเป็นมานั้น อยู่ที่อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในสถานที่แห่งโลกภพนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่ถาวรแน่นอน แม้แต่สวรรค์ของเทพพรหมก็ตาม ยังเป็นแก่นสารของอนิจจัง
• ทุกข์ทรมาน ความทรมานความทารุณนั้นจริงอยู่ อยู่ที่พวกเธอจะรู้สัมผัสรับรสธรรมชาติของทุกข์ได้ลึกซึ้งแค่ไหน และอนัตตาความรู้ที่ไม่จบสิ้นวนเวียนอยู่ในตัวตนของอนัตตา กฎเกณฑ์แห่งวิถีกรรมตลอดไป

• ส่วนชีวิตนั้น ทุกผู้ (ทุก) นามย่อมมีสิทธิ์ที่จะกระทำ ชำระล้างใจมิให้ตกอยู่ในอวิชชา เธอจงตั้งสติให้อยู่ในสัมปชัญญะ จงตั้งใจให้ครองอยู่ในสมาธิ เพื่อให้ทรงอารมณ์เป็นเอกัตตารมณ์ แล้วน้อมจิตรำลึกในพระพุทธคุณ ที่พระองค์บรมครูทรงพากเพียรพยายาม กอปรกระทำด้วยพระวิริยะอันแรงกล้า หาสัจธรรมเพื่อบุคคลทั้งปวงจะได้พ้นจากทุกข์ใหญ่ทุกข์เล็กทั้งหลาย
รำลึกองค์พระธรรม คือความจริงของธรรมชาติว่าเราเกิดแล้วมีเจ็บ มีแก่ แล้วต้องตายโดยแท้

• รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ ที่ได้รวบรวมคำสอนขององค์พระบรมครูไว้เพื่อเป็นอนุศาสนาจารย์ เพื่อสั่งสอนเราได้ธรรม เห็นธรรม ถึงธรรม แล้วพิจารณาตัวตนแห่งเธอว่า “เธอ” จริงๆ นั้นไม่ใช่กาย ถ้าเป็นกายแล้วจะต้องทำอะไรได้โดยปรารถนาทุกอย่าง พิจารณาให้เห็นถึงกายกับใจเป็น 2 “เธอ” เป็นผู้อาศัย กายเป็นรังสำหรับอยู่ เมื่อเห็นว่าใจนั้นคล้อยตามกำลังแรงของสติ มีสมาธิเป็นกำลังใจ เชื่อมั่นคงดีแล้ว จงพยายามทบทวนสิ่งที่จิต – คือเธอนั้นได้ทำอะไรให้กายบ้าง แล้วกายนั้นให้อะไรกับเธอบ้าง

• จิตจะเริ่มดื่มด่ำคล้อยตามความคิดปัญญานี้ลึกซึ้งขึ้น แล้วจึงให้นำข้อธรรมะเข้าประหัตประหาร โดยยกเอากำลังปัญญาในธรรมอย่างที่พิจารณาคราวแรกมาใช้พิจารณา ให้ดื่มด่ำลึกซึ้งลงไปจนใจคล้อยตามมั่นคงแน่นอนว่าจิตเราไม่มีในกาย เราไม่มีในเรา ของทุกอย่างที่นอกเหนือจากนี้ไปแล้วไม่ใช่ของๆ เรา แม้แต่กายนี้ เราหลงคิดมานานว่าคือเรานั้น เมื่อตายยังนำไปไม่ได้ ฉะนั้น ของที่นอกเหนือกายไปแล้วก็เป็นเช่นเดียวกัน คือนำไปไม่ได้ แล้วอะไรเล่าที่เป็น “เรา”

• “เรา” นั้นเป็นดวงจิต ดวงจิตที่จะส่งผลให้ไปสู่สภาวะสูญ นั่นคือดวงจิตที่เป็นประภัสสร คือสะอาดดังรัตนะ จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องรักษาอารมณ์ให้บริสุทธิ์ใสสะอาดหมดราคีอันเป็นกิเลสทั้งปวง คือ อาสวะ นั่นแหละ เธอทั้งหลายจงนำไปพิจารณา แล้วฝึกหัดอย่างจริงจังมั่นคง จะได้รู้เห็นในตัวตนแห่งธาตุทั้ง 4 ขันธ์ทั้ง 5 อย่างถ่องแท้ พิจารณาอย่างเอาตาย คือมอบกายถวายชีวิตเพื่อความหลุดพ้น แล้วจะสัมฤทธิ์ผลใน 7 วัน 7 เดือน 7 ปี อย่างช้า

13 กรกฎาคม 2521

☺ วันนี้ จะคุยกันเรื่องอารมณ์..!
• อารมณ์ของพวกเราทั้งหลาย ยังวางอารมณ์ได้ไม่แน่นอน จะกล่าวถึงอารมณ์ของอุเบกขาบารมีเป็นที่ตั้ง เพราะอุเบกขาบารมีนั้นเป็นทางของอารมณ์ที่จะนำไปสู่สมาธิฌาน เธอจะทรงอารมณ์อุเบกขาได้ จะต้องละกิเลสตัวสำคัญได้ (เสียก่อน) คือความโกรธ

• ความโกรธเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ปะทุใจเราให้ร้อน เมื่ออารมณ์ร้อนสติจะขาดเหตุผล จะไม่มียับยั้งชั่งใจ จึงกล่าวได้ว่าบุคคลใดมัวแต่ฝักใฝ่มัวเมาอยู่ในความโกรธโมโหโทโสอยู่เป็นนิจ บุคคลนั้นจัดได้ว่าเป็นบุคคลหาปัญญาไม่ได้ เพราะความโกรธจะปิดกั้นปัญญา ปัญญาไม่เกิดเพราะไม่มีเหตุผล ไม่แจ้ง ไม่รับรู้ในเหตุผลเพราะขาดสติที่มั่นคง จงไตร่ตรอง คิดวางอารมณ์ร้ายนี้ทิ้งไป เพราะเป็นทางของอวิชชา

• เมื่อเธอขจัดความโกรธลงได้ ทิฐิมานะจะลดน้อยถอยลงไป โมหะ ความหลงมัวเมาใน “เรา” “ฉัน “ “คุณ” “เธอ” “กู” จะไม่มี
• ความโกรธจะเป็นทางนำไปสู่ภาวะที่เราอุปาทานว่านี้แหละ คือเรา นี่แหละของๆ เรา และนำไปสู่ห่วงผูกมัดไว้ในอารมณ์ทั้งขณะหลับและตื่น
• เมื่อดึงใจให้มีสติ พิจารณาหาเหตุเป็นมา หาผลว่าเพราะอะไรได้แล้ว ใจหรือสมองหรือจิตของเราจะรู้ ปลงได้เด็ดขาดว่าอะไรคือของแท้ ของจริง อะไรคือของยืมของปลอม จะมีปัญญา รู้สภาพภาวะของตนเองว่านี่นะ เราเกิดมาอาศัยขันธ์ทั้งห้า ธาตุทั้งสี่เป็นปัจจัย อาศัยอายตนะเป็นหน้าต่าง ประตู เราผู้อาศัย เป็นผู้เช่า เครื่องประกอบในการอาศัยของเราคือบุญและวาสนา

• จงระลึกไว้ในจิตใจเราเสมอว่า “เรา” นั้นที่แท้ไม่ใช่เรา เกิดมาไม่มีอะไรตายไปก็ไม่มีอะไร จะเอาอะไรอีกมากมายในขณะดำรงขันธ์อยู่ จงแจ้งไว้ในจิตว่าการดำรงชีพของเราทำไปเพื่ออัตภาพ เป็นไปเพื่ออัตภาพจะร้อนหรือเย็นนั้นเป็นเรื่องของสภาพ จงวางอารมณ์นี้ให้นิ่งให้เฉยแล้วเธอทั้งหลายจะรู้จะแจ้งในเหตุ ในผล

• พิจารณาก่อนพูด ก่อนทำ อย่าทำเป็นนกกาไม่ว่าอะไรมันก็ส่งเสียงร้องโดยไม่คิด เราจำไว้ว่าเราเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ใช้ปัญญา เมื่อเธอทำจิตให้รับรู้อารมณ์นี้เป็นไปโดยสุขุมแล้ว จะพิจารณาธรรมะเห็นอย่างเด่นชัดแจ้ง สามารถแก้ข้อปัญหาได้ตลอด

• นี่แหละ อารมณ์ของผู้ที่เสวยอุเบกขาบารมี
• แจ้งแล้วนะ ทุกๆ คน พยายามขัดเกลาธรรมะเหล่านี้หรือนิสัยเหล่านี้เสียใหม่ ถ้าปรารถนาจะเจริญทางธรรมะต่อไป จงตั้งใจ ตั้งมั่น ที่จะฝึกฝนตนเองให้หาย ให้หมดจากกิเลสเล็กกิเลสน้อย ถ้าพวกเธอสามารถบำเพ็ญอุเบกขาบารมีเป็นผล เป็นเลิศแล้ว เธอก็ได้ชื่อว่าทรงพรหมวิหาร 4 ครบบริบูรณ์

• พรหมวิหาร 4 นี้เป็นข้อปฏิบัติของพรหม ผู้ที่จะเป็นพรหมได้ก็จะต้องทรงอารมณ์พระสกิทาคามีมรรคไปจนถึงอนาคามีมรรค พยายามไปเสีย
• ปฏิบัติได้จะทรงสมาธิแน่วแน่ เป็นผลถึงฌานสมาบัติ
• ขออำนวยพรให้บำเพ็ญจริตถูกต้องตามมรรคผล

24 มกราคม 2522

☺ การเจริญกรรมฐานของพวกเธอเป็นอย่างไร ?
• วันนี้จะสอนเรื่องของการตั้งจิตให้สามารถรู้อารมณ์ตนเองอย่างผู้มีสติ ไม่ประมาทในโลกธรรมทั้งปวง

• จะเริ่มด้วยศีล 5 ประการ การที่องค์บรมครูได้ทรงสั่งสอนไว้ว่า การฆ่าสัตว์พึงงดเว้น เป็นบาป แต่เธอจงนึกระลึกย้อนว่า ท่านห้ามฆ่าสัตว์แสดงว่าในโลกนี้ยังมีคนที่ฆ่าสัตว์อยู่
• ท่านห้ามลักทรัพย์ แสดงว่าโลกนี้มีขโมยมาก
• ท่านห้ามประพฤติผิดในกาม แสดงว่าในโลกนี้มีคนชอบเป็นชู้
• ท่านห้ามโกหก พูดเท็จ แสดงว่าในโลกเต็มไปด้วยคนโกหก หลอกลวง
• ท่านห้ามดื่มน้ำเมา แสดงว่ายังมีคนขาดสติอยู่อีกมาก

• เหล่านี้พึงสอนตัวเรามิให้ประมาทในคนที่ยังอาศัยอยู่ในโลก ฉะนั้นเรายึดถือปฏิบัติศีล 5 ประการได้ เราก็ต้องระวังคนที่ไม่มีศีลเช่นเดียวกัน
• จงตั้งใจไว้ว่าการที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาของเราทรงห้ามไว้ แสดงว่าเหตุนั้นมีคนประพฤติอยู่ สิ่งใดที่พระองค์ทรงสอนให้เราทั้งหลายทำปฏิบัติอยู่เป็นนิจ แสดงว่าเหตุนั้นคนส่วนใหญ่จะปฏิบัติ เพราะคนส่วนใหญ่ยังหลงยึดถือในตัวตนอยู่

• จะนำคำกล่าวอย่างสั้นๆ ที่มีใจความเฉพาะสำหรับบุคคลในโลกนี้ ที่ยึดถือตัวตนอย่างเมา คือคำว่า “โอหัง บังอาจ”
• โอหัง คือ การยึดถือว่าตนนั้นเลิศ
• บังอาจ คือ การเห็นว่าตนเหนือพอที่จะหยิ่งกระทำในการนั้นๆ รวมทั้งเป็นทิฐิมานะอย่างแรงที่ทุกคนยึดถือไว้ ฉะนั้น องค์พระบรมครูจึงทรงสั่งสอนให้ทุกคนอย่ายึดมั่น ถือมั่นในรูป นาม วัตถุ เหล่านี้ จะทำให้ทุกคนระลึกถึงองค์พระอย่างมีสติในทางไม่ประมาท เมื่อทุกคนมีสติ ไม่ประมาท จะทำอะไรก็อยู่แต่ในกุศลธรรมกุศลจิต แล้วใจจะผ่องแผ้ว รู้ทางอะไรที่ว่าดี ทางไหนที่ไม่ดี จะประกอบการสิ่งใดก็จะรู้ซึ้งถึงมรรคปฏิบัติ และปฏิปทาของตนเองตลอดเวลา

• การฝึกพิจารณาในพระกรรมฐาน ไม่จำเป็นจะต้องนั่งหรือหลับตาตามเวลากำหนด ให้กระทำเมื่อตนเองกระทบเหตุการณ์ต่างๆ แล้วพยายามใช้สติคุมอารมณ์ให้ทรงในสมาธิ สมาธิในที่นี้อาจจะเป็นจับคำภาวนาก็ได้ จับอานาปานสติก็ได้ หรือจะทรงรูปพระพุทธไว้ในมโนจิตก็ได้ แต่ขอให้ทรงจนมีสมาธิควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ให้ความโลภ ความอยาก ความโกรธ ความหลง เข้ามาเป็นตัวตน

• เมื่อประสบกับความยินดีก็ควรใช้อารมณ์ปีติเท่านั้นทรงอยู่ ฝึกให้จิตทรงตัวไปเป็นปกติ เพราะเวลาที่ทุกคนจะตายนั้น ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะตายด้วยเหตุอันใด ถ้าเรายังทำอารมณ์จิตให้ขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา หรือทำจิตเป็นกังวล ห่วงภาระสารพัด ยังมีมลทินของความโกรธแค้น เสียใจ โศกเศร้า เร่าร้อนอยู่เป็นประจำ จะต้องพยายามฝึกอีกมาก จิตเช่นว่านี้เป็นโทษของการฝึก จงพยายามละเว้นเสีย

• ขอให้พวกเธอทุกคนตั้งใจให้มั่นทุกขณะจิตที่สามารถควบคุมได้ พยายามระลึกไว้เป็นข้อเบื้องต้นว่า เราเกิดมานี้เพื่อชดใช้เวรกรรม 1 เพื่อเห็นทุกข์ 1 และตั้งใจสละตัดทิ้งซึ่งภาระทั้งปวงที่มีอยู่ เป็นอยู่ ไปตามกาลเวลาอันสมควร และอย่างยิ่งคือเรื่องของกายอันมีขันธ์ทั้ง 5 ธาตุทั้ง 4 เป็นปัจจัย แล้วจะทำให้จิตใจโล่ง เบา พร้อมที่จะสัมผัสกับทุกข์ กับความเป็นธรรมดาของโลก

• อันความดีทั้งปวงพึงกระทำไว้ อย่าได้ปรารถนาทวงในความดีที่เราทำไปโดยมุ่งผลตอบแทน เมื่อเชื่อมั่นว่าเหล่านี้เป็นความดีแล้ว จงมั่นใจ ทำไป..ลา..

24 มกราคม 2522

☺ มีใครจะถามอะไรไหม ?

คนที่ 1
☻(ถาม – การกำหนดพระไว้ที่อก จะกำหนดองค์ไหน ?)
☺การกำหนดภาพ คือความตั้งใจ หมายจะกำหนดให้เป็นดังเห็น แต่ถ้าเห็นด้วยจิตไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ ก็แสดงชัดว่าพระที่ปรากฏนั้นมาเป็นองค์คุมตามภาพ

☻(ถาม – ถ้าประทับใจทั้งสองภาพ จะเอาภาพไหนดี)
☺ต้องให้ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิตตอนนั้นว่า ภาพไหนทำให้จิตทรงตัวมากที่สุด
ที่จริง ภาพพระพุทธเจ้าไม่ว่าปางใด รูปใด ล้วนเป็นพระศาสดาทั้งสิ้น ดีทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราอย่าไปเอาวิสัยของคนมาถวาย มาเป็นท่าน (คิดว่า ) เดี๋ยวท่านจะว่าบ้าง เดี๋ยวท่านจะดุบ้าง

☻(ถาม – ทำสมาธิ ถ้าไม่หลับตาสมาธิก็ดีได้หรือ ?)
☺แน่นอน ถ้าจิตเราพร้อมและทรงตัวอยู่ เช่นอย่างที่เธอดูถ้วยเดินเวลาฉันตอบ เธอก็สามารถจะทรงสมาธิและรู้คำตอบก่อน หรือเธออาจจะเห็นฉันก็ได้

☻(ถาม – ทำไมสมาธิไม่ทรงตัว)
☺จิตกับสมาธิไม่เหมือนกัน
• จิต หมายถึง ตัวสัมผัส
• สมาธิ หมายถึง กำลังของจิตที่จะช่วยให้จิตสัมผัสได้ดี ถ้ากำลังสมาธิอ่อน ก็จะทำให้ภาพไม่ปรากฏหรือปรากฏอย่างมัวๆ ถ้าวิปัสสนาอ่อนจะทำให้สมาธิไม่ทรงอารมณ์แข็งพอที่จะต่อสู้กับความอยากและนิวรณ์ 5 ได้

คนที่ 2
☻(ถาม – เรื่องความพิการของลูกที่รักษาไม่หาย)
☺ทุกๆ อย่างเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม ซึ่งใครจะเลือกมาเกิดก็ไม่ได้ ตัวของผู้อยู่ในสภาพเช่นนั้นก็ไม่ปรารถนา แล้วอะไรเล่าที่ทำให้เขาและเราจำต้องพบประสบอยู่
• เราจะต้องพยายามฝึกใจให้รู้ธรรมะ ยอมรับสภาพที่เป็นที่ประสบอยู่ แล้วเธอจะมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ ความสุขนั้นสำคัญที่ใจ เกิดที่ใจ

• พยายามฝึกสมาธิจิตให้มากๆ ความขุ่นมัวจะหมดไป จะเห็นทุกอย่างเป็นธรรมดา เห็นสภาพตามความเป็นจริงของธรรมแล้วก็จงอย่าหวั่นไหว คนเรามีจุดอ่อนอยู่นิดหนึ่งคือ มักไม่กล้าสู้ สู้กับโลก สู้กับความจริง สู้กับกฎแห่งกรรม ถ้าสู้ก็จงอย่างสู้อย่างจำใจ จงสู้อย่างยอมรับ อย่าท้อ
• จำไว้นะ ว่าชั่วชีวิตของคนเรานั้น จะไม่มีสิ่งที่โหดร้ายตลอดเวลา

คนที่ 3
☻(ถาม – “กรรมเปิด” หมายความว่าอย่างไร ?)
☺กรรมคือการกระทำ บุญคือความดี
• กรรมเปิดคือการกระทำที่มีช่องว่าง ช่วงนั้นกุศลส่งแรงไม่พอ อกุศลส่งแรงมากกว่า

☻(ถาม – ทำมโนมยิทธิ รู้สึกเหมือนถามเอง ตอบเอง)
☺ถามท่านแล้วจิตตอบได้โดยที่เราไม่รู้คำตอบ ก็แสดงว่าท่านตอบเราโดยจิตสัมผัส
• คนเรานี่นะ ดื้อแสนดื้อ เพราะยังกลัวตัวเอง หลอกตัวเอง เพราะตัวเราแต่ละคนชอบหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นอยู่เป็นประจำ “หลอก” คือการไม่ยอมรับความเป็นจริง

21 กุมภาพันธ์ 2522

☺ขัดเกลาจิตใจกันดีไหม ที่ฟังเทศน์ไปแล้วปฏิบัติถึงไหน ? พยายามเอาชนะใจเราให้ได้ จะได้เห็นสมบัติที่อุบัติขึ้นมากับโลกนี้เป็นธรรมดา จะได้ตัด สละ ขันธ์ 5 ไปได้เป็นสมุจเฉทปหาน
• อย่าใช้อารมณ์มาเข้าข้างตัวเรา เมื่อเรามุ่งที่จะพ้นทุกข์อยู่ในโลกก็สามารถจะพ้นทุกข์ได้ โดยมองเห็นรู้ถึงความเป็นปกติของของ และสภาพของสิ่งต่างๆ ที่มิอาจบังคับให้เป็นไปตามภาวะของใจเราได้ แต่มันเป็นไปตามภาวะของเวลาของกฎเกณฑ์ธรรมขาติ

• หลักทั้งหลายก็จะไม่กล่าวกันอีก เพราะท่องจำกันได้แล้ว เหลืออยู่แต่ความมุมานะพยายามเอาชนะ อกุศลและสิ่งที่หาสาระไม่ได้ขจัดออกไป นับเวลาแล้วยิ่งกระชั้นใกล้ตัวเข้ามากขึ้นทุกที

• จงตั้งใจไว้เสมอว่าเราจะต้องตาย ต้องเจ็บ เมื่อตั้งใจไว้เตรียมรับภาระวาระของกรรมที่จะมีมา ก็จงตั้งจิตไว้ทุกขณะถึงพร ถึงแดนนิพพาน ถึงกุศลไว้เป็นอาจิณ จะได้ไม่ประมาทเวลาหมดอายุขัย
• เมื่อยังดำรงชีพ กินอายุขัยอยู่ในโลก ก็ต้องตั้งใจไว้ในความเป็นอยู่ของเราให้มีความสุขตามฐานะ มีความสะดวกกายใจในฐานะ และจะต้องเสียอะไรต่ออะไรตามกุศลกรรมที่มีมา
• จงนึกให้เป็นปกติถึงเรื่อง การเสีย ปกติคนเราจะนึกถึงการได้เป็นส่วนใหญ่ เมื่อประสบกับความสูญเสียแล้ว จงอย่าใช้ความหม่นหมองของจิตเข้าระงับ จงใช้ธรรมปีติเข้าระงับ ที่ว่าใช้ธรรมปีติเข้าระงับนั้นหมายว่า เมื่อผจญกับความสูญสิ้น สูญเสียแล้ว จงนึกถึงธรรมะที่ได้รู้ ได้ฟัง และจำมาเข้าพิจารณา เห็นแจ้งว่าเป็นเหตุแล้ว ธรรมะมีความจริงมีความถูกต้องและเป็นไปตามกฎเกณฑ์

• จงทำจิตใจให้รู้จักทุกข์ก็ดี หรือเหตุสุขในโลกียวิสัยก็ดี เหมือนกับใจที่ได้รู้สึกสัมผัสกับอากาศที่เราหายใจอยู่ว่าร้อน หนาว ฝนตกบ้าง (ว่า) เป็นไปตามสภาพภาวะของธรรมชาติ ถ้าสามารถปฏิบัติใจให้เคยชินดั่งอุปมานี้ได้แล้ว เธอทั้งปวงก็จะอยู่โดยอาศัยอายุขัยได้อย่างคนมีความสุข เป็นทิพย์ในโลก
• นักฟังธรรมที่ดี คือนักปฏิบัติที่สามารถ

25 มีนาคม 2523

☺ พิจารณาได้ถ่องแท้ดีไหม ?
• หมั่นพิจารณาในเรื่องไตรลักษณ์ให้มากๆ มองให้เห็นทุกข์ว่า ที่เป็นอยู่นี้ทุกข์ไหม ไม่ใช่ว่าเห็นเมื่อตอนมันเกิดทุกข์ ตอนไม่เกิดทุกข์ก็อยู่ในความประมาท

☻(ถาม – ส่วนมากมักพิจารณาด้วยสัญญา ไม่เกิดความรู้สึกทุกข์จริงๆ)
☺ ถึงจะพิจารณาด้วยสัญญาก็ยังดี แสดงว่าเรายังรู้ตัวอยู่ ถ้าไม่พิจารณาแสดงว่าเรานั้นประมาทในอารมณ์ตัวเอง ทุกลมหายใจเข้าออกนั้น แสดงถึงการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างบังเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีการสลายหายไปในที่สุด
นำไปพิจารณาในทุกสิ่งที่ประสบ ชีวิตมีเกิดและสูญดับไปจะเห็นในเรื่องของอนิจจัง

• การงาน สิ่งของล้วนต้องสร้างขึ้น และในที่สุดก็ต้องสลายไป เรามีลูก เราก็ยินดีในเลือดเนื้อเชื้อไขของเรา เราก็ต้องรักษามันไว้ แต่ต่อไปตามธรรมเนียมหรือตามธรรมชาติ ลูกเราก็ต้องพลัดพรากจากเราไป หรือมิฉะนั้น เราก็จะเป็นผู้จากไปเป็นธรรมดา สภาพเหล่านี้เป็นสภาพปกติ

• ความทุกข์ เกิดได้จากกิเลส ตัณหา อุปทาน จงละซึ่งความโลภ โกรธ (โกรธเพราะหลง) จงละซึ้งตัณหา ไม่ยินดีที่จะได้ จงละซึ่งอุปทาน เหล่านี้จะทำให้เกิดทุกข์ที่จิตและทำให้จิตเศร้าหมอง

• อนิจจัง ให้รู้อยู่ทุกเวลาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกียวิสัยนั้น ล้วนแต่มีการเกิดับอยู่ตลอดเวลา การเกิด และที่สุดการดับนั้น อยู่ที่ระยะเวลาระหว่างเกิดกับดับว่าจะนานหรือน้อย จะเร็วแค่ไหน เวลานั้นเป็นสิ่งเตือนให้เธอรู้ถึงกรรม กรรม-การกระทำจะส่งผลเป็นประการใด จงรู้ถึงการไม่รู้จักจบสิ้น คืออนัตตา

• การทำความดีเป็นสิ่งประเสริฐ แต่การกระทำความดีแล้วติดความดีนั้นเป็นสิ่งไม่ควร เพราะผู้ที่หวังจะหลุดพ้นไปอยู่พระนิพพานเป็นอรหันต์นั้น ท่านไม่ติดในความดีแต่ท่านมีความดีเป็นนิสัย ฉะนั้น ความดีในแดนนิพพานจึงเป็นธรรมดาที่พวกเธอผู้มุ่งมั่นปรารถนาจะต้องทำได้เป็นสันดาน นี่แหละจึงจะพ้นอนัตตา
แจ้งไหม ?

• พยายามปฏิบัติกันอย่างจริงๆ หมั่นเคี่ยวเข็ญในเรื่องของตนให้มากๆ จงพิจารณาเรื่องของการเกลียด โกรธ หลง ชอบ ไม่ชอบ โมหะ โทสะ นั้นจะบังปัญญา ทุกสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเราเรียนรู้ถึงธรรมชาติก็แสดงว่าเรารู้ปฏิบัติธรรม เราจะอยู่กับธรรมชาติโดยไม่ร้อนใจ มีอะไรไหม ?

☻ (ถาม – สงสัยเรื่องติดความดี)
☺ ติดความดีเป็นจรรยาของเทวโลก พรหมโลก เอาแค่พรหมวิหาร 4 หรือในเรื่องของอุเบกขาบารมี การติดสุข ติดความดีนั้นจะไปไม่ไกลเท่ากับการทรงอุเบกขาบารมี หรือการทรงทานขั้นจาคะ

• ที่หมายว่าติดความดี จะเปรียบสั้นๆ ดังคนติดเงินทอง ทรัพย์สิน คนที่ไม่เคยรวยจะเห่อเหิม ชมชื่นในความมีเงินทอง คนที่รวยแล้วจะมีความรู้สึกที่เป็นปกติต่อเงินทองเหมือนกับพระอรหันต์ท่าน ท่านมีความดีเป็นปกติ
แจ้งไหม ?

20 มิถุนายน 2522

☺ พวกเธอเห็นทุกข์ในสังขารชัดเจนกันดีนะ แต่ยังไม่เข้าซึ้งถึงความทุกข์เท่าที่ควร ที่ว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องลงไปเกลือกกลิ้งกับความทุกข์ แต่หมายความว่าจะต้องรู้จักกลัว รู้จักเข็ดหลาบในเรื่องที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งความทุกข์

• ขอให้เห็นภาวะ สภาพของการเกิดมาทรงสังขาร แบกภาระหน้าที่ เอาแค่ภาระหน้าที่ต่อขันธ์ 5 เราจะจำแนกได้โดย
- กิจวัตร ที่เป็นอยู่ในร่างกาย การกิน กินแล้วขับถ่าย แล้วต้องดูและให้ร่างกายได้อยู่ในสภาพปกติ นี่เป็นภาระหน้าที่ที่ต้องมีเพราะขันธ์

- ต่อไปคือภาระของสมบัติ สมมุติที่หลายคน หลายมนุษย์อยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะครอง เหล่านี้เป็นภาระ พันธะ หน้าที่ของทุกข์อีกประการหนึ่ง

- อันที่ 3 คือภาระหน้าที่ที่หลายๆ คนหามาเพิ่มเติมเอง คือการเพิ่มขันธ์จาก 5 เป็น 10 เป็น 15 เป็น 20 เหล่านี้รู้ว่าจะต้องดูแล ไม่ใช่ตัวเราอย่างเดียว แต่ต้องเผื่อขันธ์อื่นๆ เราพอใจอยากหามาเอง การทำหน้าที่ภาระการงานก็จะต้องเพิ่มเป็นทวีคูณ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรานั่นแหละไปรวมทุกข์มาสะสม เหล่านี้จะต้องทำให้รัดกุม

- อย่างสุดท้าย คือการที่เราไปรับหน้าที่ภาระของผู้อื่นโดยขาดการควร
อันนี้มีวิธีทำให้ขจัดความขุ่นมัวของจิตได้ คือ

♥ อย่างแรก ทุกข์ของขันธ์ 5 ร่างกาย ภาระหน้าที่ต่อขันธ์ 5 ทิ้งไม่ได้เพราะอยากเกิดมาเป็นคน จึงต้องทำใจยอมรับภาระหน้าที่อันนี้ต่อไป โดยยอมรับเคราะห์กรรมในอดีตที่จะสนองตอบ ข้อนี้ควรทรงอารมณ์ของอุเบกขา อย่าไปหลงมันมาก

♥ อย่างที่สอง คือภาระหน้าที่ของสมมุติโลก สิ่งนี้เมื่อเรายังขาดปัจจัยที่เป็นทรัพย์สิน เราต้องทำหน้าที่สิ่งนี้ตามควรแก่อัตภาพ เราจะต้องรู้การพอ-ไม่พอ

♥ อย่างที่สาม คือเรื่องการเพิ่มขันธ์ หน้าที่ภาระนี้คนที่มีแล้วก็ต้องสะสางไป เพราะเราก่อขึ้น คนที่ยังก็อย่าได้หาทุกข์ใส่ตน คนที่คิดก็จงพิจารณาในทางที่ไกลๆ ออกไปว่า วัฏฏสงสารของโลกนั้นเป็นอย่างไร แล้วทุกคนต้องประสบกับสิ่งนี้ ฉะนั้น รู้ว่าทางอันไกลต่อไปในภายหน้ามันมิใช่สนุกสนาน ก็จงตั้งต้นพิจารณาทบทวนอีก

♥ ภาระหน้าที่สุดท้าย คือเรื่องชาวบ้าน ก็จงทำใจให้ทรงพรหมวิหาร 4 ที่เราจะเมตตาในสิ่งที่ควรเมตตา กรุณาช่วยได้เท่าที่กำลังจะอำนวย มุทิตาอย่างไปมองคนอื่นเขายิ่งกว่าตน อุเบกขาการรู้จักประมาณ การอยู่ในความพอดี

♥ ทั้ง 4 ประการที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะกิเลสความอยาก ตัณหาความต้องการ วิภาวะความไม่ต้องการ กามราคะความต้องการที่ใคร่จะได้ตามอารมณ์ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวตนเราเองทั้งสิ้น หาไม่ยากไม่เย็น เห็นปัจจัยตัวก่อเหล่านี้แล้ว จงตั้งใจขับสิ่งเหล่านี้ให้พ้นตัว ถ้าผู้นั้นไม่ชอบทุกข์

♥ จึงขอให้พิจารณาในตัวเองให้มากๆ ทุกข์ที่เป็นอยู่นี้ นำมาใคร่ครวญบ่อยๆ แล้วนำใจน้อมจิตให้รับรู้ สัมผัสในสิ่งที่เราใคร่ครวญพิจารณากันอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เธอพิจารณาโดยไม่ต้องจับสัญญาขึ้นมาท่องโดยไม่แจ่มแจ้งในความหมาย

♥ พุทธภาษิต ทรงกล่าวว่า วิธีที่จะขจัด ชนะกิเลสตัวเอง คือเปรียบจิตว่าเป็นเสือเป็นลิง มันดุมันซน ไม่รู้การควร จงจับเสือจับลิงนั้นเข้ากรงคือศีลและการสำรวจอาการ เมื่อจับลิงจับเสือเข้ากรงแล้ว จะฆ่าลิงฆ่าเสือนั้นลำบาก จึงต้องจับลิงจับเสือนั้นมัดเสีย การมัดลิงมัดเสือนั้น ดังกับการมีสติ สมาธิ ในวิปัสสนา พิจารณาเพื่อความแตกฉาน เมื่อจับลิงจับเสือมัดได้แล้ว จะฆ่าลิงฆ่าเสือนั้น ก็ใช้ปัญญาอันเกิดจากการรู้ทันภาวะ รู้ทันเหตุนี้แหละเธอจะเป็นผู้ชนะกิเลส
• มีติดใจสงสัยตอนใด ?

☻ (ไม่มีคนถาม)
☺ เมื่อรู้ถึงภาระ ภาระหน้าที่ที่มีอยู่ ที่เป็นอยู่ และต้องเป็นไปโดยสภาพแล้ว จงมุ่งมั่นทำภาระหน้าที่นั้นไป อย่าหนีเพราะเป็นหน้าที่ที่ได้หลงเกิด (มาก็ต้องทำ) จงสางต่อไป ในขณะเดียวกันจงนำงานของภาระนี้ขึ้นมาเป็นครูสอนจิตใจของตนเองให้รู้จักเข็ดหลาบ ให้รู้จักประมาณการ รู้สติ แล้วเธอทั้งหลายจะได้ทำใจรับภาระนั้นๆ โดยไม่ติดทุกข์ติดสุขอย่างสมมุติต่อไป

• อาการอย่างเช่นว่านี้ คืออาการสงบ เฉย นี้แหละคือวิมุตติสุข เมื่อทำได้ดังเหตุที่แจ้งนี้แล้ว พระนิพพานอยู่ไม่ไกลเลย

4 กรกฎาคม 2522

☺ วันนี้ จะมาว่าเรื่องสังโยชน์ข้อที่ 5 ตัวมานะ
• ตัวนี้ทำให้พวกที่เกิดเป็นคนนั้น ยังดำรงการเกิดอยู่ มานะหรือตัวทิฐินั้นเป็นตัวเกาะกุมจิตเราให้ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งต่างๆ เป็นตัวนำไปสู่ความไม่รู้จักเข็ด
• กิเลสทั้งหมดที่ทุกคนได้มีขึ้นก็เพราะตัวทิฐิมานะ คือมีความถือตัวถือตน หลงเป็นโมหะ แล้วจึงนำมาให้เป็นโทสะความโกรธ โกรธที่ถูกตำหนิ โกรธที่โดนว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะกล่าวได้ว่ามานะนี้ ทำให้คนเมาในชีวิต เป็นคนที่ยังยึดมั่นถือมั่นในตัวสังขารในโลก

• ธรรมะเหล่านี้ควรพิจารณาให้ออก แต่การยึดถือในคุณงามความดีนั้น ไม่เป็นทิฐิเพราะเรายึดในความถูกต้อง ความถูกต้องของธรรมะ ของระเบียบที่จะทรง-ดำรงขันธ์ให้อยู่ไปตามกาลวาระ เช่น การเคารพต่อผู้อาวุโส ญาติพี่น้อง การให้ รู้จักสิ่งที่ควรอายไม่ควรกระทำ

• การรู้ว่าธรรมชาติสร้างความเป็นอยู่ของคนว่าอะไรควรจะแยกเพศ อะไรเป็นสิ่งสมควรหรือไม่ และธรรมะก็ได้สอนให้รู้วิธีครองใจอย่างสุจริต เพื่อแยกวิธีการของคนและสัตว์ต่างกัน เหล่านี้เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ไม่ควรยกเว้น ฉะนั้น จงแยกการถือทิฐิมานะออกให้กระจ่างชัดเจน สงสัยไหม ?

☻ (ถาม – มานะต่างจากสักกายทิฐิอย่างไร ?)
☺ มานะเป็นตัวอ่อน สักกายทิฐิเป็นตัวมุ่งเจตนาอย่างแรงกล้า แจ้งไหม ? พวกสักกายทิฐินั้นไม่ว่าจะผิดหรือไม่ก็เถียง เถียงว่าตนถูก แต่พวกมานะนั้นเป็นพวกดื้อ ไม่พูดเถียง แต่ยังทำเป็นบางครั้ง ใจยอมรับเป็นบางเวลา

1 สิงหาคม 2522

☺ พวกเธอทั้งหลายฟังธรรมขององค์ท่านบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ธรรม (พึงปฏิบัติด้วยความเพียรให้เป็นผล ไม่ใช่ว่าฟังเพื่อเป็นปรัชญา)
ขอให้พิจารณาดูจิตที่เธอทรงอารมณ์อยู่ (ให้) ละเอียดถี่ถ้วน เรื่องอารมณ์นี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา ในสมาธิ สติ อารมณ์นั้น เธอจะต้องทราบว่าเรากำลังอยู่ในภาวะอะไร

• การทรงอารมณ์นั้น เป็นเครื่องเตือนตนให้รู้ถึงสภาพของใจ ใจอยู่ในความโลภหรือไม่ ใจอยู่ในความโกรธหรือไม่ ใจอยู่ในความหลงหรือไม่ จุดสำคัญที่ควรจะให้ใจทรงอารมณ์อยู่คือความรู้จักพอประมาณ คือความพอใจ ถ้าเธอรู้จักพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ เธอจะละกิเลสให้เบาบางลงได้

• จงระงับใจให้มีอารมณ์ทรงอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจนี้จะทำให้พวกเธอได้อยู่ในอุเบกขาญาณ

22 กันยายน 2522

คนที่ 1

☺ พิจารณามรณัสสติไว้ให้มาก ความตายทุกคนเป็น ความตายเป็นของแน่นอน และทุกคนจะต้องตาย ความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ความตายคือการเปลี่ยนชีวิตใหม่

• คนเราจะต้องตาย ทำไมจะต้องอาลัยในชีวิตเมื่อความตายอยู่ใกล้เรา เรายึดถือในสิ่งที่ค้านความตายไม่ได้ ก็จงยึดถือในสิ่งที่เป็นไปได้กับความตาย คือแดนทิพย์

☻ (ถาม – จิตไม่ได้ใส เพราะอะไรบกพร่อง ?)
☺ ถ้าจะให้จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นประกายพรึก ก็ต้องได้อรหัตผล
เทียบจิตซิจ๊ะ ว่าวันใดที่จิตรุ่งโรจน์ที่สุด แล้วพยายามทรงจิตให้รุ่งโรจน์ ดังนั้นให้พิจารณาอยู่บ่อยๆ ห่วงทำไม การพิจารณาอยู่บ่อยๆ ทำให้จิตเคยต่อความรู้สึกนึกคิดเมื่อพิจารณา

13 กุมภาพันธ์ 2523

☺การฝึกสอนที่พวกเธอได้ปฏิบัติอยู่ อย่าได้ละทิ้งไปให้สมาธิจิตตก รักษาอารมณ์ให้ทรงอยู่ในอุเบกขา 4 ประการ รักษาใจให้ทรงอารมณ์จิตเป็นสมาธิ ขาดจากโลภ-ต้องการ โกรธ-มัวเมา อยาก-หลง เหล่านี้ จะทำให้จิตมีอคติ ทิฐิมานะในจิต

• พูดเรื่องการฝึกมโนมยิทธินี้แล้ว ขอให้ได้รับประโยชน์อย่างจริงจัง ประโยชน์นั้นเพื่อเป็นทางไปสู่พระนิพพาน
• ทางไปสู่พระนิพพานมีเหตุให้หลุดอยู่ 4 ประการ
เธอต้องรู้ทุกข์ ทุกข์ที่เป็นคน-สัตว์ ทุกข์ที่มีสังขารและปัจจัย ทุกข์ในอารมณ์อาสวะทั้งปวง เหล่านี้คือทุกข์ คือชั่ว

• เหตุแห่งทุกข์นั้น ก็เนื่องจากอุปาทาน อุปาทานที่ตั้งในจิตว่าจะต้องวิเศษในปัจจัย เป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะสบาย อุปาทานในร่างกายว่าเราจะไม่เจ็บ ไม่แก่ ไม่ตาย จะเนื่องด้วยบุญบารมีก็แล้วแต่ แต่อย่าลืมว่า อันตถาคตเองซึ่งมวลอริยะทั้งหลายได้ยกให้เป็นพุทธะนั้นก็ยังต้องแก่ ยังต้องเจ็บ ยังต้องตาย และได้รับเคราะห์ได้รับกรรม มีภัยต่างๆ เข้ามาดั่งชีวิตของพุทธบริษัทอย่างเธอนี้แหละ เป็นชีวิตคล้ายกันไม่ว่าจะดีวิเศษแค่ไหน

• แต่การแสดงด้วยจิตที่เป็นประภัสสรนั้นใสบริสุทธิ์ดั่งเพชร จึงไม่รับอารมณ์ทุกข์มากระทบ ตถาคตจึงเปรียบดั่งคนวิเศษ เพราะจิตที่ไม่ยอมรับทุกข์ รับเวทนา รับสมมุติสุข แต่สามารถรู้ในทุกข์นั้น จึงขอให้บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายได้ฝึกฝนปฏิบัติให้ถูกต้อง

• ในเรื่องของการเข้าหาธรรมะนั้น ย่อมสอนให้ทุกคนได้รับความสุขทางใจจากสวรรค์ชั้นต่ำไปจนถึงแดนอมตทิพย์ เป็นลำดับขั้นไป จึงต้องให้เธอได้ยึดในอริยสัจ 4 ประการ เป็นวิปัสสนาในสังขารานุสสติ

• ในการฝึก หรือพยายามข่มอารมณ์ที่เป็นอาสวะ ขับอารมณ์ที่เป็นอาสวะออกไปนั้นควรจะบังคับจิต ขึ้นต้นด้วยการทรงจิตให้นิ่ง และการทรงจิตให้นิ่งนี้จะใช้ไปจนตลอดอายุขัย

• ระเบียบวิธี มารยาทที่มีในพุทธบัญญัติก็ดี ประเพณีที่ดีงานก็ดี จะสอนให้เธอที่เป็นพุทธศาสนิกชนได้รับรู้ถึงการฝึกใจให้มีระเบียบ รู้อ่อนน้อม รู้กาลเทศะ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่จะรู้ฝึกจิตให้มีวินัย

• ในปัจฉิมนี้ ขอให้เธอทั้งปวงจงหมั่นฝึกใจให้เป็นประภัสสร รู้ในภาวะและสภาวะทั้งปวง แล้วบัดนั้นเธอจะได้เป็นอมตทิพย์ในพระนิพพาน

คำเทศน์ของพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร

5 มกราคม 2521

☺เมตตาบารมีเป็นกำลังใจที่บุคคลควรก่อให้เกิดในอารมณ์ ในสติที่จะคิดจะทำ เป็นกำลังเพื่อบุญในทางสงเคราะห์ ในทางอภัยทานและก่อให้เกิดทานทั้งปวง รวมไปถึงอภัยทาน เป็นจาคะต่อไปอีก เป็นจาคจริตนี่แหละ ถ้ามีจาคจริตเป็นเมตตาบารมีแล้ว หวังมรรคย่อมมีมรรค หวังผลย่อมมีผล
• คาถาเมตจิต “เมตตะ สุตะกัง อาสิสุตะกัง” เอาไว้ใช้ตอนอารมณ์โกรธ

คำเทศน์ของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง (ไม่ทราบนาม)

8 กุมภาพันธ์ 2521

สอนรายบุคคล คนที่ 1


☻ (ปรารภว่าทำสมาธิยังบกพร่อง)
☺ สติไม่ทรงตัว พยายามขัดใจ ให้บารมีคือกำลังใจแน่วแน่มั่นคง ถ้าเราเข้มแข็งแล้วอะไรจะมาล้มสติเราได้ ตราบใดที่อารมณ์ของจิตไม่คงตัวดั่งว่านี้ ตราบนั้นยังไม่พ้นภาระพันธะทางโลก จงพยายามทำใจให้กล้าสู้ คือยึดเอาธรรม เอาสติเป็นปณิธานแน่วแน่ที่จะตั้งใจ ตั้งสติ ตั้งอารมณ์ ให้หมู่อวิชชาเข้ามากวนให้น้อยที่สุด เมื่อนั้นเราจะทรงทุกอย่างได้อย่างปณิธาน

คนที่ 2

☻ (ถาม – ทำอย่างไรจึงจะไม่ยึด ?)
☺ การถือนั้นมีหลายอย่าง เราเอาสติเข้าพิจารณาว่าเราเข้าข้างตัวเองไหม เราเห็นตัวเองไหมว่าดีหรือไม่ดี สำรวจไป ต้องกล้าที่จะรู้ตัวรู้ผิด เพราะเราต้องถือว่าร่างก็คือธาตุ 4 ที่เขาสมมุติให้มีชื่อ มีสกุล มีฐานะ เมื่อใดที่เราคิดเช่นนี้ เราจะดูตัวเราด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยปัญญาในธรรมะของพระว่า

• การถือตัวถือตนนั้นมีอะไรเป็นปัจจัยเป็นเหตุ แล้วผลจะได้อะไรออกมา เกียรติรึ ชื่อรึ หรืออะไร ตั้งปัญหาเหล่านี้ยกขึ้นพิจารณาทุกครั้ง ตรวจสอบจิตเราดูอย่าให้ขาด แล้วเราจะเป็นผู้รู้ด้วยตนเอง ผู้ที่รู้ด้วยตนเองนั้นจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติได้ดีกว่าคนที่ฟังสอนประจำ

• ใช้ปัญญา อย่าคิดว่าตัวเราพร้อม อย่าคิดว่าตัวเราดี ใจจะประมาท ต้องพิจารณาว่าตัวเราเป็นผู้ขาด คือขาด “ดี” ถ้าดีแล้วคงไม่มาเกิด จริงไหม ? เราทำนี้เพื่อหวังทางมรรคผล พระนิพพาน ฉะนั้น การพิจารณาต้องละเอียด อ่อนไหว ไวต่ออารมณ์กระทบและมั่นคงในหลักการ..!

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามคำเทศน์ของ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top