Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 10/3/11 at 12:33 [ QUOTE ]

กำหนดการ "มอบวัตถุสิ่งของให้แก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ห้วยขาแข้ง" 18 ก.ย. 55 (update ข้อมูลใหม่ล่าสุด )


01. กำหนดการโครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้
02. เอกสารการดำเนินโครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้
03. ความเป็นมาโครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้
04. สรุปรายการมอบสิ่งของสำหรับส่วนกลาง จำนวน 10 หน่วยงาน
05. ภาพ...หน่วยงานป่าไม้ช่วยวัดท่าซุง ช่วงน้ำท่วมวัด
06. รายชื่อเจ้าภาพทำบุญ ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
07. รายละเอียดภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่สนาม




กำหนดการ

โครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้

“เสริมสร้างรักษ์ผืนป่า มรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี”

ในวันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 09.00 น.

ณ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี



********************

เวลา 07.00 น. - ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง)
พร้อมคณะออกเดินทางจากวัด (หน้ามหาวิหารแก้ว 100 เมตร)

เวลา 08.15 น. - แขกผู้มีเกียรติ, หัวหน้าหน่วยงานภาคสนาม 10 หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่พร้อมกันที่
บริเวณพิธี อาคารฝึกอบรมเขาหินแดงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

เวลา 08.30 น. - ท่านเจ้าคุณ พระภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง)
ประธานมูลนิธิมูลนิธิหลวงพ่อปาน – พระมหาวีระ ถาวโรผู้แทนศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และวัดจันทาราม (ท่าซุง)
ประธานในพิธี เดินทางถึงปะรำพิธี

เวลา 08.45 น. - ประธานในพิธี เปิดกรวยดอกไม้ ที่โต๊ะหมู่พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เวลา 08.50 น. - หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กล่าวต้อนรับ

เวลา 08.50 น. - ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี
(ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)กล่าวรายงาน
-ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน

เวลา 09.15 น. -ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาสวัดจันทาราม(ท่าซุง)กล่าวสัมโมทนียคาถา
เวลา 09.45 น. - ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมลเจ้าอาวาสวัดจันทาราม(ท่าซุง)
ประธาน และเจ้าภาพ มอบสิ่งของตามจุดที่จัดไว้

เวลา 11.00 น. –ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์
เวลา 12.00 น. – รับประทานอาหารกลางวัน

หมายเหตุ.- การแต่งกาย ของหน่วยงานภาคสนาม 10 หน่วยงาน เครื่องแบบตามต้นสังกัด

*********************


คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย






คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 11/3/11 at 16:42 [ QUOTE ]



ความเป็นมา

โครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้

“เสริมสร้างรักษ์ผืนป่า มรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี”

ในวันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 09.00 น.

ณ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี


****************


              สืบเนื่องจาก ก่อนเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ทางวัดจันทาราม(ท่าซุง) ได้เตรียมการ ดังนี้.-

1. ก่อนน้ำท่วม

                วัดท่าซุง ได้ประสานงานไปยังสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี ในฐานะผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีภารกิจกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคสนาม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ขอความร่วมมือเตรียมการรับน้ำท่วม และได้รับการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคสนาม จำนวน 10 หน่วยงาน ดังนี้

1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
3) สถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี
4) สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
5) สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
6) สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ
7) ศูนย์วิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง
8) ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าอุทัยธานี
9) ศูนย์พัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วยขาแข้ง
10) สำนักงานมรดกโลกทางธรรมชาติในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง


ภารกิจเตรียมการก่อนน้ำท่วม
- ช่วยกันกรอกทราย มัดให้แน่นหนา
- ขนกระสอบทรายไปทำผนังกั้นบริเวณหลังวัด ที่ป่าใหม่ หรือทั่วบริเวณวัด
- ขนย้ายสิ่งของ ไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่สูงเพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม

2. ระหว่างน้ำท่วม

                การสนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคสนาม จำนวน 10 หน่วยงาน ได้ผลัดเปลี่ยนกันเดินทางไป-กลับ ประมาณ 200 กิโลเมตร โดยรถยนต์ทางราชการที่เก่า กินน้ำมัน บางครั้งระหว่างเดินทางมาช่วยงานวัด รถบรรทุกกำลังเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน 1 -2 คัน บางคันเสียกลางทาง ต้องหยุดซ่อม มาไม่ถึง โทร.แจ้งผู้ประสานงานสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี บางวันฝนตกตลอดทั้งวัน ออกจากหน่วยงานฯไม่ได้ น้ำท่วมสะพาน (โดยเฉพาะจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วยขาแข้ง)

                ปัญหาดังกล่าว มิได้เป็นอุปสรรคในการมีน้ำใจมาช่วยเหลือ ขน-ย้าย เครื่องอุปโภค-บริโภคที่ญาติโยมมีจิตศรัทธาหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ ที่จะช่วยเหลือวัดคราวเกิดมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่ผ่านมาสายน้ำฝน มิอาจปิดน้ำใจของเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดังกล่าว ไม่เคยเรียกร้อง ค่าจ้าง รางวัล หรือค่าน้ำมันเติมรถ ที่เดินทางมาช่วยงาน แบบเช้าไป – เย็นกลับ เพื่อไปทำหน้าที่พ่อ-แม่-ลูก ในครอบครัว

                เมื่อเลิกงาน เวลามีงานในหน้าที่ หรืองานที่ช่วยเหลือวัด ซึ่งเป็นงานนอกเหนือจากแผนงานหรือภารกิจหลัก แต่เจ้าหน้าที่ฯ เหล่านี้ไม่เคยปฏิเสธและยินดีช่วยเหลือเต็มที่ ขอเพียงอิ่มท้องแต่ละมื้อ เมื่อยามช่วยงานวัด และทางวัดก็เลี้ยงดูเจ้าหน้าที่ที่มาช่วยงานแต่ละวัน แบบเต็มที่ทั้งอาหาร ผลไม้ เครื่องดื่ม ครบเครื่อง มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ ท่ามกลางสายน้ำไหลทะลักเข้าท่วมวัดฯ ท่วมบริเวณพื้นที่จุดจอดเรือ บริเวณหมู่บ้านแพนด้า และจุดจอดเรือปล่องไฟ

3. หลังน้ำท่วม

                ทางวัดได้รับการช่วยเหลืออย่างดีจาก เจ้าหน้าที่ฯ โดยส่งรถบรรทุกน้ำพร้อมเจ้าหน้าที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี และหน่วยงานข้างเคียง มาช่วยกันล้างบริเวณวัด บางชุดค้างแรมที่วัด คราวละ 5 วัน 7 วัน ตามลักษณะงานเพื่อให้ทันน้ำลด เร่งงานล้างวัดไปในคราวเดียวกัน งานเก็บกวาด ทำความสะอาดหลังจากน้ำที่ท่วมที่พัดพาสิ่งปฏิกูลทุกรูปแบบ พัดสิ่งของสูญหายไปกับสายน้ำ แสนยาก ลำเข็ญ เหนื่อยกันทั่วหน้า ไม่ว่าจะพระสงฆ์ ฆราวาส เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มาช่วยงาน อย่างต่อเนื่อง

4. ฟื้นฟูหลังจากน้ำท่วม

                สิ่งที่ปรากฏชัดเจน ต้นไม้เล็ก ต้นไม้ใหญ่ ไม้ประดับสารพัด ถูกสายน้ำ พัดพา หักโค่นล้มตายมากมาย เพราะน้ำท่วมอยู่นาน ซากต้นไม้ยืนต้นตาย เหี่ยวเฉา กระถางต้นไม้ กระจัดกระจายทั่ววัด เจ้าหน้าที่เหล่านี้ ได้มาช่วยงานวัดต่อเนื่องอีก เพื่อช่วยตัดทอนกิ่งไม้ เศษไม้ ขนย้ายไม้แห้งตาย ไปทำถ่านหลังวัด เป็นฟืนหุงข้าว เลี้ยงสุนัขในวัด

                ภารกิจหลักของเขาเหล่านี้ ทำหน้าที่ดูแลทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ตลอดถึงสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ ปักหลักหลายแนว ขุดหลุมปลูก หรือปลูกกล้วยตานี เจ้าหน้าที่ฯ ทำได้ดี และถนัด ทำงานเร็ว มีคุณภาพ เมื่อเดือน 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา ต้นกล้วยตานี เป็นหมื่นๆ หน่อ หรือ ต้นตะเคียนทอง สมอภิเภก ก็ด้วยผลงานปลูกของสถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี, ศูนย์วิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง

                จากความดี มีน้ำใจ ของหัวหน้าและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคสนามทั้ง 10 หน่วยงาน และจากผู้ประสานงานเป็นไปด้วยดีมาตลอด ขอขอบคุณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี ได้ช่วยกันวางแผนงานการช่วยเหลือ สนับสนุน ขอกำลังเจ้าหน้าที่ภาคสนาม มาช่วยงานวัดได้มากมาย มีผลงานดังที่ท่านประจักษ์ต่อสายตา เป็นเพียงบางส่วน

                ดังนั้น ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9, มูลนิธิหลวงพ่อปาน – พระมหาวีระ ถาวโร และ วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โดยท่านเจ้าคุณ พระภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาสวัดจันทาราม(ท่าซุง) ได้สืบสานต่อปฏิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ ที่ท่านมีเมตตาสงเคราะห์ ผู้กระทำความดี ช่วยงานศาสนา ด้วยความเต็มใจ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

                จึงประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี มีแนวความคิดจัดทำ โครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้ “ เสริมสร้างรักษ์ผืนป่า มรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ” ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2555 (เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระผู้พระราชทานกำเนิดกรมป่าไม้ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2439” สถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ 116 ปี )

                เพื่อเป็นส่วนหนึ่งเข้าไปดูแล บำรุงขวัญ กำลังใจ ช่วยเหลือและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานภาคสนาม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี โดยจัดหาและมอบวัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องอุปโภค- บริโภค ยารักษาโรค และเครื่องอำนวยความสะดวกที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีพให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการดูแล เสริมสร้าง ผืนป่ามรดกทางธรรมชาติของโลก แห่งนี้ให้อยู่คู่กับชาวจังหวัดอุทัยธานี และประชากรในผืนแผ่นดินไทย ได้มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ต่อไป


*******************




หน่วยงานภาคสนาม 10 หน่วยงาน ช่วยเหลืองานวัด ดังนี้


- ก่อนน้ำท่วม
ช่วยกรอกทราย ทำผนังกั้นบริเวณหลังวัด ที่ป่าใหม่ หรือทั่วบริเวณวัด ขนย้ายสิ่งของให้พ้นจากน้ำท่วม

- ระหว่างน้ำท่วม
ช่วยเหลือ ขน-ย้าย เครื่องอุปโภค-บริโภค จากรถบรรทุกที่นำมาส่ง ลงจุดจอดเรือ เพื่อส่งเข้าวัดท่าซุง

- หลังน้ำท่วม
นำรถมาช่วย ฉีด-ล้างวัด เก็บ-กวาดสิ่งปฏิกูล ช่วยทำความสะอาดหลังจากน้ำที่ท่วม (พักค้างแรมที่วัด)

- ฟื้นฟูหลังจากน้ำท่วม
ช่วยตัดทอนกิ่งไม้ เศษไม้ ขนย้ายไม้แห้งตาย เก็บกระถางต้นไม้ที่กระจัดกระจาย ปลูกกล้วยตานี และต้นไม้


ll กลับสู่สารบัญ



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/9/12 at 13:44 [ QUOTE ]



.
สรุปรายการมอบสิ่งของสำหรับส่วนกลาง จำนวน 10 หน่วยงาน

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555

ณ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย




บัญชีแนบท้ายโครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้

“เสริมสร้างรักษ์ผืนป่า มรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี”


สรุปสิ่งของ
ส่วนราชการที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือวัดจันทาราม (ท่าซุง) ก่อน-ระหว่าง-หลัง เกิดมหาอุทกภัยปี 2554 จังหวัดอุทัยธานี
หน่วยงานส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี

คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย

1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง/สำนักงานมรดกโลกฯ รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ( 2 จังหวัด)
2 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
3 สถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี /ศูนยวิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง/ ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าอุทัยธานี รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
4 สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
5 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
6 ศูนย์วิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง/ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าอุทัยธานี รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
7 สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ รับผิดชอบอำเภอลานสัก และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี


บัญชีแนบท้ายโครงการพระสงฆ์ช่วยงานป่าไม้

“เสริมสร้างรักษ์ผืนป่า มรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ”


สรุปรองเท้า
ส่วนราชการที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือวัดจันทาราม (ท่าซุง) ก่อน-ระหว่าง-หลัง เกิดมหาอุทกภัยปี 2554 จังหวัดอุทัยธานี
หน่วยงานส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี

คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย




สรุปรายการมอบสิ่งของให้เป็นรายบุคคล จำนวน 10 หน่วยงาน จำนวน 492 คน
วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 ณ.สำนักงานเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วนขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี


คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย


ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/9/12 at 18:35 [ QUOTE ]



- ก่อนน้ำท่วม
ช่วยกรอกทราย ทำผนังกั้นบริเวณหลังวัด ที่ป่าใหม่ หรือทั่วบริเวณวัด ขนย้ายสิ่งของให้พ้นจากน้ำท่วม









- ระหว่างน้ำท่วม
ช่วยเหลือ ขน-ย้าย เครื่องอุปโภค-บริโภค จากรถบรรทุกที่นำมาส่ง ลงจุดจอดเรือ เพื่อส่งเข้าวัดท่าซุง


















-หลังน้ำท่วม และฟื้นฟูหลังจากน้ำท่วม
นำรถมาช่วย ฉีด-ล้างวัด เก็บ-กวาดสิ่งปฏิกูล ช่วยทำความสะอาดหลังจากน้ำที่ท่วม (พักค้างแรมที่วัด)
ช่วยตัดทอนกิ่งไม้ เศษไม้ ขนย้ายไม้แห้งตาย เก็บกระถางต้นไม้ที่กระจัดกระจาย ปลูกกล้วยตานี และต้นไม้









ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 9/9/12 at 16:22 [ QUOTE ]



รายชื่อเจ้าภาพทำบุญ ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร

ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9

วันที่ 18 กันยายน 2555



ทำบุญที่บ้านสายลม วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕

1. คุณเยาวลักษณ์ (ขวัญ) มิตรศรัทธา

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 20 ชุด 20,000 บาท , น้ำตาล 40 กระสอบ 23,000 บาท

รวมเป็นเงิน 43,000 บาท


2. คุณกิจจา กาญจนบรรณ

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 10 ชุด 10,000 บาท แท้งส์น้ำ 2,000 ลิตร 1 แท้งส์ 9,000 บาท , ถังใส่ข้าวสารน้ำ 5 ใบ 650 บาท

รวมเป็นเงิน 21,650 บาท


3. คุณสุขขา อ่อนจิตต์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 100 ชุด 100,000 บาท

รวมเป็นเงิน 100,000 บาท


4. คุณลัดดา จารุวัสตร์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 10 ชุด 12,000 บาท , ยาและเวชภัณฑ์ 10,000 บาท

รวมเป็นเงิน 22,000 บาท


5. คุณณัญกนก ผุสดีและครอบครัว

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 1 ชุด 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


6. คุณภัคภร ทองกระจ่างเนตร,ศฐาคุปต์ นากาชิมา

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 1 ชุด 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


7. คุณณชญาดา ชูชัยศรี Mr.SHAKE

ร่วมทำบุญ
ตู้เย็น ๓ ประตู 40,000 บาท , แท้งค์น้ำ 2,000 ลิตร 2 ใบ 18,000 บาท

รวมเป็นเงิน 58,000 บาท


8. คุณวิโรจน์รัตน์-รบิดา ปิติธนานพ

ร่วมทำบุญ
ถังใส่ข้าวสาร 650 บาท , แท้งค์น้ำ 2,000 ลิตร 1 ใบ 9,000 บาท

รวมเป็นเงิน 9,650 บาท


ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/9/12 at 15:05 [ QUOTE ]


ทำบุญที่บ้านสายลม วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕

9. คุณมณภาส,วทิตา,จิรกฤต ชูชัยศรี

ร่วมทำบุญ
ข้าวสาร ๑,๐๐๐ ก.ก.

รวมเป็นเงิน 35,000 บาท


10. คุณสมพงษ์,กิมเตียง พรปทุมชัยกิจ,พภัสสรณ์ คล้อยวิถี

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า ๑๐๐ ชุดๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน 100,000 บาท


11. คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ

ร่วมทำบุญ
ถังดับไฟป่า ๒๐ ใบ,ข้าวสาร ๑๐๐ ก.ก.,ชุดเดินป่า ๑๐ ชุด ๑๖,๑๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน 16,100 บาท


12. คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ

ร่วมทำบุญ
ยาเวชภัณฑ์

รวมเป็นเงิน 60,000 บาท


13. คุณกิมเตียง พรปทุมชัยกิจ

ร่วมทำบุญ
ยาเวชภัณฑ์

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท


14. คุณจุฑาวรรณ โอฬารวัฒน์,ครอบครัว

ร่วมทำบุญ
ยาเวชภัณฑ์

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท


15. คุณเยาวลักษณ์ (ขวัญ) มิตรศรัทธา

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า 10 ชุด

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท


16. คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ

ร่วมทำบุญ
เครื่องตัดหญ้า ๑ ตัว

รวมเป็นเงิน 15,000 บาท


17. คุณอรุณศรี,ลัดดา เล็งเลิศผล

ร่วมทำบุญ
เครื่องตัดหญ้า ๑ ตัว

รวมเป็นเงิน 15,000 บาท


18. คุณจุฑาวรรณ โอฬารวัฒน์,ครอบครัว

ร่วมทำบุญ
ข้าวสาร ๓๐๐ ก.ก. ชุดเดินป่า ๒๐ ชุด ๓๐,๕๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน 30,500 บาท


19. คุณณัฐพงศ์ มิ่งมงคล,คณะ

ร่วมทำบุญ
ข้าวสาร ๑๐ ก.ก.,อาหารแห้ง,น้ำมันพืช

รวมเป็นเงิน 720 บาท


20. คุณจุไรรัตน์ กาญจนพบ,ณชพน เจียรภัทร

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,015 บาท


21. คุณจีรศักดิ์ บัวแก้ว

ร่วมทำบุญ
เวชภัณฑ์

รวมเป็นเงิน 500 บาท


22. คุณ ครอบครัวชาญพิทยกิจ

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


23. คุณอนันต์,ขวัญใจ ชลชวลิต

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 3,000 บาท


24. คุณไม่ออกนาม

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 26,000 บาท


25. คุณวรวุฒิ โทนุรัตน์

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


26. คุณพัชรา อัสสรัตนานนท์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 2,020 บาท


27. คุณพัชรา อัสสรัตนานนท์

ร่วมทำบุญ
ปลากระป๋อง ๔๐ หีบ

รวมเป็นเงิน --- บาท


28. คุณสิริกร ภาวิษย์พร,ญาติ

ร่วมทำบุญ
ข้าวสาร,อาหารแห้ง

รวมเป็นเงิน 5,000 บาท


29. ว่าที่ร.ต.สมจิตต์ กาญจนรุจีรัตน์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


30. คุณพวงเพ็ญ จันทร์จรุงจิต,จันทร์เพ็ญ สิริภูริทัตต์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 2,000 บาท


31.ครอบครัวร้านยงค์อรุณ,ร้านยงสวัสดิ์

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 2,000 บาท


32. คุณธัญกมล เบญโชติเดช

ร่วมทำบุญ
ข้าวสาร ๑๐๐ ก.ก.

รวมเป็นเงิน 3,500 บาท


33. พ.อ.หญิงพิมพ์นรา,สุมนา บุญญรัตนาภินันท์

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


34. คุณโศภิษฐ์ สดสี

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


35. คุณณัฐธยาน์ โชคสะสมนิธิภพ

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


36. คุณกฤษฏา,เกศินี นุตาลัย

ร่วมทำบุญ
ชุดเดินป่า

รวมเป็นเงิน 2,000 บาท


37. คุณคุณรัตนา ชินบุตรานนท์ แห่งบริษัท ไทยโอเชี่ยนอุตสาหกรรม จำกัด

ร่วมทำบุญ
ผ้าห่ม 500 ผืน, ยาฟ้าทรายโจร 10,000 เม็ด, ยาหอม 500 ขวด

รวมเป็นเงิน ------- บาท


ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 11/9/12 at 15:21 [ QUOTE ]


ทำบุญที่บ้านสายลม วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕

38. คุณกัลยา ไพศาลชนากิจ,บุศรินทร์ เกษมสุภาพันธ์

ร่วมทำบุญ
มาม่า 30 ลัง

รวมเป็นเงิน 26,482.50 บาท


39. คุณปาริชาต-ศรัณยา แสงหิรัญ,ทัศนีย์-นงลักษณ์ จารุพินทุโสภณ และครอบครัว,นงลักษณ์ บังเกิดฤทธิ์

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


40. คุณไม่ออกนาม

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 21,180 บาท


41. คุณไม่ออกนาม

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 5,000 บาท


42. คุณภัคชาดา หิรัณย์เตชะ

ร่วมทำบุญ
ถังดับไฟป่า ๕ ใบ

รวมเป็นเงิน 650 บาท


43. คุณกิจจา กาญจนบรรณ (แหม่ม) , สุกัญญา ตั้งศุภวัฒนกิจ

ร่วมทำบุญ
กาแฟ 10 กล่อง

รวมเป็นเงิน 15,000 บาท


44. คุณทัศนีย์-นงลักษณ์ จารุพินทุโสภณ และ ครอบครัว

ร่วมทำบุญ
เครื่องตัดหญ้า ๑ ตัว

รวมเป็นเงิน 15,000 บาท


45. คุณสุกัญญา ตั้งศุภวัฒนกิจ

ร่วมทำบุญ
ถังดับไฟป่า ๕ ใบ 650 บาท, ข้าวสาร 2,000 บาท , น้ำมัน.ทุกอย่าง 1,380 บาท

รวมเป็นเงิน 4,030 บาท


46. คุณประพัฒน์ ทีปะนาถ และครอบครัว, อมรพล-สรัญญา,ชุติมา-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ร่วมทำบุญ
น้ำมันพืช 40 ลังและอื่นๆ

รวมเป็นเงิน 2,000 บาท


47. คุณบุญชัย-ชื่นทิพย์ เจริญรัตน์ปัญญา และครอบครัว

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


48. คุณร้านประกายแก้ว

ร่วมทำบุญ
ถังดับไฟป่า ๕ ใบ และอื่นๆ

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท


49. คุณไม่ออกนาม

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 200 บาท


50. คุณวไลลักษณ์-พาณิชย์ สดสี

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 4,000 บาท


51. คุณณิชกานต์ บุญเสนอ ,สุทธิพร

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 10,300 บาท


52. คุณนลิน-น.ส.พิมพิชญา คงอินทร์

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท


53. คุณเพ็ญศิริ กิตติโกวิท,สุรีย์พันธ์-เพ็ญนิภา บุญวิสุทธิ์

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 3,000 บาท


54. คุณสุธี สุวรรณทัต

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท


55. คุณจริยา-พิจิตร สุขสมบัติ

ร่วมทำบุญ

รวมเป็นเงิน 2,000 บาท


56. คุณรัตนา ชินบุตรานนท์ แห่งบริษัท ไทยโอเชี่ยนอุตสาหกรรม จำกัด

ร่วมทำบุญ
ถุงยังชีพ 500 ใบ

รวมเป็นเงิน ------ บาท


57. ครอบครัวบ้านสายลม

ร่วมทำบุญ
ถังเก็บน้ำ 3,000 ลิตร 1 ใบ

รวมเป็นเงิน 6,800 บาท


ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 16/9/12 at 15:44 [ QUOTE ]



สรุปรายละเอียดภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่สนาม

*********************


1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
1.1 ออกลาดตระเวนป่า จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 10 คน ทำงานออกลาดตระเวน ครั้งละ 5 วัน เดือนละ 3 ครั้ง / ชุดลาดตระเวนรวมพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด 1,737,587 ไร่ หรือ 2,780.14 ตารางกิโลเมตร

1.2 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชม ทัศนศึกษา และจัดกิจกรรมศึกษาธรรมชาติมากขึ้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยเขตฯห้วยขาแข้ง ได้กำหนดพื้นที่ด้านตะวันออกของเขตฯห้วยขาแข้ง ในบริเวณที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์ป่ามีศักยภาพเพียงพอ และเหมาะสมเพื่อรองรับการศึกษาธรรมชาติและนันทนาการให้กับนักเรียน เยาวชน ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

โดยดำเนินการใน 3 พื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเขตฯห้วยขาแข้งอำเภอลานสัก หน่วยพิทักษ์ป่าไซเบอร์ อำเภอห้วยคต และหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดีอำเภอบ้านไร่ ในรูปแบบโครงการ “ห้องรับแขกห้วยขาแข้ง”และด้วยความสมบูรณ์ขององค์ประกอบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพของบริเวณพื้นที่เพื่อการศึกษาธรรมชาติ และนันทนาการที่เขตฯห้วยขาแข้งได้จัดไว้เป็นห้องรับแขก พื้นที่ทั้ง 3 แห่งจึงเปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนห้องสมุดทางธรรมชาติอันเป็นแหล่งรวบรวมสรรพความรู้ต่าง ๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในด้านธรรมชาติศึกษาที่ยังคงเปิดกว้าง รอรับผู้มาเยือนให้มาเรียนรู้ ศึกษา และค้นคว้าได้อย่างไม่รู้จบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งได้จัดพื้นที่เพื่อรองรับการศึกษาธรรมชาติและนันทนาการ สำหรับนักเรียนนักศึกษาเยาวชน และผู้สนใจทั่วไป โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับการเยี่ยมชม และศึกษาธรรมชาติ

2.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
2.1 มีภารกิจในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และลาดตระเวน
2.2 สนธิกำลัง เมื่อมีการร้องขอจากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (นครสวรรค์) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

3. สถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี
3.1 การประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า
- ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ จำนวน 30 ครั้ง
- วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง

3.2 การปฏิบัติงานดับไฟป่า
- สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน 1,012,900ไร่
- เตรียมพนักงานดับไฟป่าจำนวน 3หมู่ดับไฟป่า จำนวน 45 คน
- เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าจำนวน 3 ชุด
- จัดการเชื้อเพลิงจำนวน 9,375ไร่

3.3 การป้องกันไฟป่า
- ตรวจไฟป่าและตรวจปราบปรามการลักลอบเผาป่า จำนวน 1,012,900 ไร่
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่เส้นทางในการส่งกำลังดับไฟป่าเป็นไปด้วยความลำบากและไม่รวดเร็วเท่าที่ควรทำให้บางครั้งไฟป่าขยายลุกลามไปเป็นบริเวณกว้างกว่าที่กำลังจะเข้าถึง หากมีกำลังเพียงพอทางสถานีฯ สามารถจัดแบ่งกำลังเข้าไปอยู่ตามบริเวณที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟได้ จะสามารถดับไฟป่าได้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการดีกว่าที่จะระดมพลมาจากท้องที่อื่น ซึ่งผู้ที่มาก็ไม่คุ้นเคยต่อสภาพภูมิประเทศ และลักษณะการเข้าดับไฟในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทำให้การดับไฟไม่ได้ผลเท่าที่ควร

คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย

4. สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
แนวความคิดเรื่อง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (Nature and Wildlife Education Center) หรือ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Development and Extension Center) เป็นแนวคิดสากลเพื่อดำเนินการกับพื้นที่ธรรมชาติให้สามารถแสดงภาพอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่น่าสนใจแสดงความสำคัญของธรรมชาติและสัตว์ป่าที่เกี่ยวพันกับชีวิต มนุษย์ที่ตั้งไม่ไกลจากแหล่งชุมชนสะดวกแก่การเข้าเยี่ยมชม อีกทั้งให้ปรากฏแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เป็นเสมือนห้องเรียนธรรมชาติกลางแจ้งที่พร้อมจะให้ผู้สนใจหาความรู้ ความเข้าใจทางธรรมชาติวิทยาต่าง ๆโดยการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสัตว์ป่าได้จากของจริงที่มีอยู่ในพื้นที่ และที่สร้างขึ้นใหม่เพิ่มเติมให้ครบเรื่องราว

นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ยังเป็นสถานที่ซึ่งเยาวชนและประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ด้านการพักผ่อนได้อีกทางหนึ่งด้วยเป็นการเสริมสร้างคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และสัตว์ป่าให้ตราตรึงอยู่ในความทรงจำเพื่อให้รักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ไป อีกยาวนาน

กล่าวโดยรวมได้ว่า การดำเนินงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านธรรมชาติวิทยาการอนุรักษ์สัตว์ป่าแก่ผู้พบเห็น ทำให้เกิดความสนใจและติดตามศึกษาต่อจนก่อเกิดความนิยมชมชอบและความสำนึกรู้คุณค่าของธรรมชาติ หรือสัตว์ป่าส่งผลให้เกิดความรับผิดชอบจนถึงให้ความร่วมมือรักษาธรรมชาติและสัตว์ป่าต่อไปในอนาคต

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าหรือชื่อที่ประชาชนทั่วไปคุ้นเคยแต่เดิมว่า “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า” เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่ในความดูแลของส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

การจัดตั้งสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดจากความต้องการของรัฐ ที่ต้องการหาพื้นที่ป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มีความสวยงามหรือโดดเด่นทางธรรมชาติ มีขนาดไม่กว้างขวางนักอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชนเพื่อเป็นตัวแทนของป่าผืนใหญ่ที่เหลือน้อยซึ่งรัฐจำเป็นต้องปกป้องไว้มิให้เกิดการรบกวนสมดุลธรรมชาติจึงจัดหาพื้น ที่ป่าขนาดเล็กหรือส่วนหนึ่งของขอบป่าผืนใหญ่เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ ศึกษาหาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา และการพักผ่อนหาความเพลิดเพลินจากทัศนียภาพและความสุนทรีของธรรมชาติ เช่น สีสัน ความงดงามของดอกไม้ แมลงและนกที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้สวยงามและมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติ

5.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ดำเนินการอนุรักษ์สัตว์ป่านอกถิ่นกำเนิดเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติบริเวณพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งรวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เชิงพาณิชย์ เริ่มดำเนินงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเมื่อเดือน สิงหาคม 2544 เป็นต้นมา

ปัจจุบัน สถานีเพาะเลี้ยงป่าห้วยแข้ง ดูแลสัตว์ป่า อาทิ หมีควาย จำนวน 4 ตัว ละมั่ง เนื้อทรายกวาง ประมาณ 200 ตัว ซึ่งให้อาหาร ประเภท ผัก ผลไม้ชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก มีความจำเป็นต้องถนอมอาหารให้สัตว์ป่าที่เพาะเลี้ยง และดูแล โดยใช้ตู้แช่ขนาดใหญ่ ประมาณ 30 คิว เพื่อใช้งานดังกล่าว

6.ศูนย์วิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
ปฏิบัติงานวิจัยด้านการควบคุมไฟป่า โดยมีแผนแม่บทการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากไฟป่าพฤติกรรมไฟป่า การจัดการเชื้อเพลิง ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่มีผลต่อปัญหาไฟป่า และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

7.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานในด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าแบบบูรณาการ กำหนดรูปแบบการจัดการสัตว์ป่าโดยให้ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม พัฒนาการบริการด้านการศึกษาธรรมชาติและการให้ข้อมูลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า อีกทั้งยังมีการร่วมปฏิบัติการและสาธิตการจัดการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วยปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีแห่งเดียวคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี

8.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
8.1 มีภารกิจในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และลาดตระเวน
8.2 สนธิกำลัง เมื่อมีการร้องขอจากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (นครสวรรค์) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

9.สถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี
9.1 การประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า
- ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ จำนวน 30 ครั้ง
- วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง
9.2 การปฏิบัติงานดับไฟป่า
- สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน 1,012,900 ไร่

- เตรียมพนักงานดับไฟป่าจำนวน 3หมู่ดับไฟป่า 45 คน
- เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าจำนวน 3ชุด
- จัดการเชื้อเพลิงจำนวน 9,375 ไร่
9.3 การป้องกันไฟป่า
- ตรวจไฟป่าและตรวจปราบปรามการลักลอบเผาป่า จำนวน 1,012,900 ไร่

ปัญหาและอุปสรรค

เนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าอุทัยธานี คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่เส้นทางในการส่งกำลังดับไฟป่าเป็นไปด้วยความลำบากและไม่รวดเร็วเท่าที่ควรทำให้บางครั้งไฟป่าขยายลุกลามไปเป็นบริเวณกว้างกว่าที่กำลังจะเข้าถึง หากมีกำลังเพียงพอทางสถานีฯ สามารถจัดแบ่งกำลังเข้าไปอยู่ตามบริเวณที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟได้ จะสามารถดับไฟป่าได้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการดีกว่าที่จะระดมพลมาจากท้องที่อื่น ซึ่งผู้ที่มาก็ไม่คุ้นเคยต่อสภาพภูมิประเทศ และลักษณะการเข้าดับไฟในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทำให้การดับไฟไม่ได้ผลเท่าที่ควร

10.ศูนย์วิจัยไฟป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ปฏิบัติงานวิจัยด้านการควบคุมไฟป่า โดยมีแผนแม่บทการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากไฟป่าพฤติกรรมไฟป่า การจัดการเชื้อเพลิง ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่มีผลต่อปัญหาไฟป่า และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

11.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานในด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าแบบบูรณาการ กำหนดรูปแบบการจัดการสัตว์ป่าโดยให้ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม พัฒนาการบริการด้านการศึกษาธรรมชาติและการให้ข้อมูลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า อีกทั้งยังมีการร่วมปฏิบัติการและสาธิตการจัดการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วยปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีแห่งเดียวคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี

คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย


สถานีพัฒนาและสิ่งเสริมการอนุรักษสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี



แนวความคิดเรื่อง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (Nature and Wildlife Education Center) หรือ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Development and Extension Center) เป็นแนวคิดสากลเพื่อดำเนินการกับพื้นที่ธรรมชาติให้สามารถแสดงภาพอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่น่าสนใจแสดงความสำคัญของธรรมชาติและสัตว์ป่าที่เกี่ยวพันกับชีวิต มนุษย์ที่ตั้งไม่ไกลจากแหล่งชุมชนสะดวกแก่การเข้าเยี่ยมชม อีกทั้งให้ปรากฏแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เป็นเสมือนห้องเรียนธรรมชาติกลางแจ้งที่พร้อมจะให้ผู้สนใจหาความรู้ ความเข้าใจทางธรรมชาติวิทยาต่าง ๆโดยการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสัตว์ป่าได้จากของจริงที่มีอยู่ในพื้นที่ และที่สร้างขึ้นใหม่เพิ่มเติมให้ครบเรื่องราว

นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ยังเป็นสถานที่ซึ่งเยาวชนและประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ด้านการพักผ่อนได้อีกทางหนึ่งด้วยเป็นการเสริมสร้างคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และสัตว์ป่าให้ตราตรึงอยู่ในความทรงจำเพื่อให้รักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ไป อีกยาวนาน

กล่าวโดยรวมได้ว่า การดำเนินงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านธรรมชาติวิทยาการอนุรักษ์สัตว์ป่าแก่ผู้พบเห็น ทำให้เกิดความสนใจและติดตามศึกษาต่อจนก่อเกิดความนิยมชมชอบและความสำนึกรู้คุณค่าของธรรมชาติ หรือสัตว์ป่าส่งผลให้เกิดความรับผิดชอบจนถึงให้ความร่วมมือรักษาธรรมชาติและสัตว์ป่าต่อไปในอนาคต

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าหรือชื่อที่ประชาชนทั่วไปคุ้นเคยแต่เดิมว่า “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า” เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่ในความดูแลของส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

การจัดตั้งสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดจากความต้องการของรัฐ ที่ต้องการหาพื้นที่ป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มีความสวยงามหรือโดดเด่นทางธรรมชาติ มีขนาดไม่กว้างขวางนักอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชนเพื่อเป็นตัวแทนของป่าผืนใหญ่ที่เหลือน้อยซึ่งรัฐจำเป็นต้องปกป้องไว้มิให้เกิดการรบกวนสมดุลธรรมชาติจึงจัดหาพื้น ที่ป่าขนาดเล็กหรือส่วนหนึ่งของขอบป่าผืนใหญ่เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ ศึกษาหาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา และการพักผ่อนหาความเพลิดเพลินจากทัศนียภาพและความสุนทรีของธรรมชาติ เช่น สีสัน ความงดงามของดอกไม้ แมลงและนกที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้สวยงามและมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติ

ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top