Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 1/2/12 at 10:07 [ QUOTE ]

(ฉบับแก้ไข 3 ก.พ. 55) กำหนดการงานธุดงค์ ปี 2554 (8-16 ก.พ.55)


*** ฉบับแก้ไขใหม่ *** วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 (ยกเลิกฉบับที่แล้ว)



กำหนดการ

งานอุปสมบท (หมู่) ปฏิบัติธรรมและธุดงควัตร


เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
จะทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
จะทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕


วันอาทิตย์ ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (นาครายงานตัว)
เวลา ๑๖.๐๐น.นาค (หมู่) พราหมณ์ชาย และพราหมณ์หญิง จาก "สถาบันสิริกิติ์" เดินทางมาถึงวัดท่าซุง
นาค (๑๙๑ คน) เข้าเช็ครายชื่อ ที่ ศาลา ๒ ไร่
บวชเณร (๑๑ คน) เข้าเช็ครายชื่อ ที่ ศาลา ๒ ไร่
พราหมณ์ชาย (๒๑ คน) เข้าเช็ครายชื่อ ที่ ศาลา ๒ ไร่
พราหมณ์หญิง (๓๒๑ คน) เข้าเช็ครายชื่อ ที่ อาคารที่พัก ๒๕ ไร่
เวลา ๑๘.๐๐ น. นาควัดท่าซุง (๑๒๑ คน) รายงานตัวที่ ศาลาพระพินิจอักษร

สรุปยอดรวม ก่อนวันอุปสมบท นาค (จากศูนย์ศิลปาชีพฯ) จำนวน ๑๙๑ คน

นาค (สมัครโดยตรงที่วัดท่าซุง) จำนวน ๑๒๑ คน

รวมทั้งสิ้น ๓๑๒ คน


วันจันทร์ ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ซ้อมขานนาค)
เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๐๙.๐๐น. พระพี่เลี้ยง คือ พระเอกชัย, พระปรมะ, พระนันทณัฏฐ์,
พระนรินทร และพระใหม่ ร่วมกันซ้อมขานนาค ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๑.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา๑๓.๐๐ น. นาควัดท่าซุงรับเครื่องอัฐบริขารในการบวช ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๔.๐๐น. พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต ให้โอวาทนาค และพระพี่เลี้ยงซ้อมขานนาค ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๖.๐๐น. นาคศูนย์ศิลปชีพรับเครื่องอัฐบริขารในการบวช ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๖.๓๐น. ปลงผมนาค ที่ ศาลา ๔ ไร่ ชั้น ๒

วันอังคาร ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ซ้อมขานนาค และพิธีทำขวัญนาค)
เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ที่ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๐๘.๓๐น.ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา๐๙.๐๐น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล ทำพิธีบวงสรวง และให้โอวาทนาค ที่หน้าอุโบสถวัดท่าซุง
เวลา ๐๙.๓๐น.ซ้อมขานนาค ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๑.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)
เวลา๑๔.๐๐น.ซ้อมตั้งขบวน เวียนรอบโบสถ์
เวลา๑๗.๐๐น.พิธีทำขวัญนาค ต่อจากนั้นนาคขอขมา และรับมอบบาตร ผ้าไตร ที่ศาลา ๑๒ ไร

วันพุธ ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (พิธีบรรพชาและอุปสมบทหมู่)
เวลา๐๕.๓๐น.นาครับประทานอาหารเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๐๖.๐๐น.นาคทั้งหมดมารวมตัวกันที่บริเวณหน้าอุโบสถเพื่อจัดแถว

เวลา๐๖.๓๐น.แห่นาครอบอุโบสถ นำขบวนโดยวงโยธวาทิต ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา
เวลา๐๗.๐๐น.เริ่มพิธีบรรพชาสามเณร ชุดละ ๙๐ รูป รวม ๔ ชุด
เวลา๐๘.๐๐น. เริ่มพิธีอุปสมบท
ชุดที่ ๑ - ๘ ที่อุโบสถวัดยาง โดย ท่านเจ้าคุณพระอุทัยธรรมานุวัตร

เวลา๐๙.๐๐น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล บวชพราหมณ์ชายพราหมณ์หญิง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๑.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๒.๓๐น. ฝึกมโนมยิทธิ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)

เวลา๑๒.๓๐น.เริ่มพิธีอุปสมบทต่อไป
- ชุดที่ ๙ - ๑๖ ที่อุโบสถวัดยาง โดย ท่านพระครูอุทัยกาญจนคุณ
- ชุดที่ ๓๓ - ๔๐ ที่อุโบสถวัดท่าซุง โดย ท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยกวี
- ชุดที่ ๔๑ - ๔๘ ที่อุโบสถวัดท่าซุง โดย ท่านพระครูอุปการพัฒนกิจ

เวลา๑๗.๐๐น.ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๙.๐๐น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล ชี้แจงข้อปฏิบัติของการอยู่ร่วมกันแก่พระอาคันตุกะ

วันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (อุปสมบทหมู่เป็นวันที่สอง)
เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๐๗.๐๐น.เริ่มพิธีอุปสมบท

เวลา๐๘.๓๐น.ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (พระใหม่และสามเณร)
เวลา๑๑.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๒.๓๐น.เริ่มพิธีอุปสมบท

เวลา๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)
เวลา๑๗.๐๐น.ทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๒๑.๓๐น.เสร็จพิธีอุปสมบทหมู่ พระอุปัชฌาย์ให้อนุศาสน์ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

วันศุกร์ ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ปฐมนิเทศ, และสมาทานธุดงค์)
เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (วันนี้ยังไม่ออกบิณฑบาต)
เวลา๐๗.๓๐น.ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์จัดกลุ่มเข้าอยู่ธุดงค์ในป่า

เวลา๑๑.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)
เวลา๑๖.๐๐น.ทำวัตรเย็น ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล เปิดปฐมนิเทศ
พระอาจารย์อาจินต์ ธมฺมจิตฺโต ชี้แจงข้อปฏิบัติในการอยู่ธุดงค์
และสมาทานธุดงค์

วันเสาร์ ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (เริ่มปฏิบัติธุดงควัตร และพิธีเททองหล่อพระ)
เวลา๐๔.๐๐น.ตื่นนอน
เวลา๐๕.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง เจริญพระกรรมฐานที่ลานธรรม

เวลา๐๖.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกบิณฑบาต ที่ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่
เวลา๐๗.๓๐น.ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์สามเณรฉันภัตตาหารเช้า
เวลา๑๑.๕๐ น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล ทำพิธีบวงสรวง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา๑๒.๐๐น. ฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๔.๐๐น.หลังการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล
พร้อมด้วยพระสงฆ์ วัดท่าซุง ๓ รูป ลงรับสังฆทาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา๑๗.๐๐น.พระภิกษุสงฆ์สามเณร ฉันนํ้าปานะ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๑๘.๐๐น.ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา๒๐.๐๐น.ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ปางไสยาสน์ ๘ ศอก
ณ บริเวณลานด้านหน้าปราสาททองคำ

วันอาทิตย์ ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน
เวลา ๐๕.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง เจริญพระกรรมฐานที่ลานธรรม
เวลา ๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกบิณฑบาต ที่ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่

เวลา ๐๗.๓๐น. ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์สามเณรฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๑๒.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๔.๐๐ น. หลังการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล พร้อมด้วยพระสงฆ์
วัดท่าซุง ๓ รูป ลงรับสังฆทาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่

เวลา ๑๗.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร ฉันนํ้าปานะ ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๒๑.๐๐ น. เข้านอน

วันจันทร์ ที่ ๑๓ - วันอังคาร ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน
เวลา ๐๕.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง เจริญพระกรรมฐานที่ลานธรรม
เวลา ๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกบิณฑบาต ที่ ลาน ๒๕ ไร่

เวลา ๐๗.๓๐น. ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์สามเณรฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)
เวลา ๑๗.๐๐ น.ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๒๑.๐๐ น.เข้านอน

วันพุธ ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน
เวลา ๐๕.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง เจริญพระกรรมฐานที่ลานธรรม

เวลา ๐๖.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกบิณฑบาต ที่ ลาน ๒๕ ไร่
เวลา ๐๗.๓๐น. ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์สามเณรฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ (ขอให้ไปก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง)

เวลา ๑๖.๓๐ น.ทำวัตรเย็น และเจริญพระกรรมฐาน ที่ ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๘.๓๐ น . ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล นำพระภิกษุสงฆ์สามเณร
และพราหมณ์ชาย -หญิง ขอขมาสถานที่สำคัญภายในวัดท่าซุง
เวลา ๒๑.๐๐ น. เข้านอน

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ครบกำหนดอยู่ธุดงค์)
เวลา ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน
เวลา ๐๕.๐๐ น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง เจริญพระกรรมฐาน ที่ลานธรรม

เวลา ๐๖.๐๐ น.พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกบิณฑบาต ที่ ลาน ๒๕ ไร่
เวลา ๐๗.๐๐ น. ทำวัตรเช้า ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ เสร็จแล้วพระภิกษุสงฆ์และสามเณรฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล นำพระภิกษุสงฆ์สามเณร และพราหมณ์ ลาสมาทานธุดงค์
เสร็จแล้วนำขอขมาสถานที่สำคัญภายในวัดท่าซุง (ต่อจากวันที่ ๑๕)

เวลา ๑๑.๐๐ น.ทำพิธีลาสิกขาบท ที่มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
เสร็จแล้วเก็บสิ่งของเครื่องใช้ คืนพระเจ้าหน้าที่

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 1/2/12 at 10:45 [ QUOTE ]


กำหนดการ

พิธีขอขมาพระและสถานที่สำคัญภายในวัดท่าซุง ๑๗ แห่ง


วันที่ ๑๕ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕


วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๓๐ น.
พระภาวนากิจวิมล ท่านเจ้าอาวาส นำพระภิกษุสงฆ์สามเณร และอุบาสกอุบาสิกาขอขมาพระ และสถานที่สำคัญภายในวัดท่าซุง
จุดที่ ๑
๑. พระประธานภายในพระอุโบสถ
๒. พระประธานที่มณฑปจตุรมุข
๓. มณฑปหลวงปู่สิวลี
๔. มณฑปหลวงปู่ขนมจีน
จุดที่ ๒ (๕.) หลวงพ่อ ๕ พระองค์ ที่ศาลาพระพินิจอักษร
จุดที่ ๓ (๖.) พระยืน ๓๐ ศอก
๗. เจดีย์พุดตาน
จุดที่ ๔ (๘.) สมเด็จองค์ปฐม
จุดที่ ๕ ( ๙.) พระยืน ๘ ศอก
๑๐. พระศรีอาริยเมตไตรย

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น.
ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล ท่านเจ้าอาวาส นำพระภิกษุสงฆ์สามเณร และอุบาสกอุบาสิกาขอขมาสถานที่สำคัญภายในวัด (ต่อจากวันที่ ๑๕)
จุดที่ ๑ (๑.) พระประธาน ๘ ศอก ที่ศาลา ๑๒ ไร่
จุดที่ ๒ (๒.) พระองค์ที่ ๑๐ และพระองค์ที่ ๑๑ ที่วิหารพระองค์ที่ ๑๐ - ๑๑ (มณฑปแก้ว)
จุดที่ ๓( ๓.) ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ที่มณฑปท้าวมหาราช
จุดที่ ๔ (๔.) พระจุฬามณี
จุดที่ ๕ (๕.) พระพุทธชินราช ที่มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
๖. พระปัจเจกพุทธเจ้า
จุดที่ ๖( ๗.) ด้านหน้าบุษบกที่ตั้งพระศพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานใน มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร

การขอขมาพระรัตนตรัย พระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่า "ถ้าทำทุกวันได้ยิ่งดี" แต่ที่วัดนี้จัดขอขมาเป็นพิธีกรรมใหญ่ปีละ ๒ ครั้ง คือหลังงานทำบุญวันเข้าพรรษา และงานบวชพระถือธุดงค์
ฉะนั้นถ้าท่านไม่ติดกิจการงานสำคัญ โปรดมาร่วมพิธีกันในวันดังกล่าว
(ดอกไม้ ธูป เทียน มีเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ที่ด้านหน้าศาลา ๑๒ ไร่)


สิ่งที่ควรทราบ



๑. ฆราวาสชาย-หญิง จะอยู่ธุดงค์ในป่า โปรดติดต่อเข้าธุดงค์อยู่ป่ากับพระเจ้าหน้าที่ ที่ ๒๕ ไร่ ตั้งแต่วันที่ ๕ ก.พ. เป็นต้นไป (ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้าไปในเขตธุดงค์)
๒. ฆราวาสผู้หญิงสมัครอยู่ธุดงค์ แต่ไม่ได้อยู่ป่า พักที่อาคาร ๒๕ ไร่
ฆราวาสผู้ชายสมัครธุดงค์ แต่ไม่ได้อยู่ป่า พักที่ศาลา ๔ ไร่
๓. พราหมณ์ชาย-หญิง ที่ไม่ได้อยู่ธุดงค์ในป่า ไปเจริญกรรมฐานร่วมกันที่ลานธรรม ให้นั่งต่อแถวหลังพราหมณ์ชาย-หญิง ที่อยู่ธุดงค์ในป่า
๔. พระอาคันตุกะที่เดินทางมาเพื่อธุดงค์ ให้ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ ที่ศาลานวราช
๕. พระอาคันตุกะที่ไม่ได้มาอยู่ธุดงค์ พักที่อาคารบนหอฉัน ฉันเช้า-เพล ที่ศาลา ๔ ไร่ (ไม่ต้องออกบิณฑบาต)

๖. ผู้ที่ประสงค์จะใส่บาตรพระในตอนเช้า ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ก.พ. มีอาหารจำหน่ายที่บริเวณ ลานจอดรถ ๒๕ ไร่ เมื่อซื้ออาหารใส่บาตรแล้ว โปรดเข้าแถวให้เรียบร้อยก่อนเวลา ๐๖.๐๐ น.
๗. ผู้ที่อยู่ธุดงค์ ทั้งพระภิกษุสงฆ์สามเณร และฆราวาสชาย-หญิง กรณีเจ็บป่วย โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ศาลา ๑๒ ไร่ และที่ห้องพยาบาลตึกขาว ชั้น ๒
๘. ห้ามเรี่ยไรในเขตวัด ผู้ใดพบเห็นว่ามีคนมาเรี่ยไรในเขตวัด โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ของวัด ให้ทราบโดยด่วน
๙. ผู้ที่พักในห้องพัก โปรดเก็บสิ่งของมีค่าติดตัวไว้เสมอ เมื่อออกจากห้องให้นำติดตัวไปด้วย

การฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง


เริ่มฝึกตั้งแต่วันที่ ๗ ก.พ. ๒๕๕๕ ผู้ไม่เคยฝึกและมีความประสงค์จะฝึกมโนมยิทธิ ให้เขียน ใบสมัครเพื่อขอรับการฝึกมโนมยิทธิที่เจ้าหน้าที่ในศาลา ๑๒ ไร่ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.ถึง เวลา ๑๑.๐๐ น. เข้าห้องฝึกเวลา ๑๑.๓๐ น. เริ่มฝึกเวลา ๑๒.๓๐ น. เครื่องบูชาครูมีเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ที่ศาลา ๑๒ ไร่

งดบิณฑบาต ตั้งแต่วันที่ ๖ - ๑๖ ก.พ.

วันที่ ๖ - ๑๐ ก.พ. พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุง และพระอาคันตุกะทั้งหมดฉันภัตตาหารเช้า - เพล ที่ศาลา ๑๒ ไร่

วันที่ ๑๑ - ๑๖ ก.พ. พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุง และพระอาคันตุกะที่ไม่ได้เข้าธุดงค์ฉันภัตตาหารเช้า - เพล ที่ศาลา ๔ ไร่



คำสมาทานธุดงค์

(ตั้งนะโม ๓ จบก่อน)

๑. ถือการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ให้ว่าดังนี้ คะหะปะติทานะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดจีวรที่ คฤหบดีถวาย ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการใช้ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

๒. ถือการใช้ผ้า ๓ ผืนเป็นวัตรว่า จะตุตถะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่สี่ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร

๓. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรว่า อะติเรกะลาภัง ปะฏิกขิปามิ ปิณฑะปาติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ ขอสมาทาน องค์ของผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
(คำว่า "งดอติเรกลาภ" คือไม่รับของ ที่เขานำมาถวายเป็นพิเศษ นอกจากที่ได้มาจากบิณฑบาตเท่านั้น)

๔. ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร ว่าดังนี้ โลลุปปะจารัง ปะฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการเที่ยวไปด้วยความโลเล ขอสมาทานองค์ ของผู้เที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
(คำว่า "ไปตามแถว" หมายความว่าเคย ไปทางไหน...ก็ไปทางนั้นไม่โลเล)

๕. ถือการฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร ว่า นานาสะนะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ เอกาสะ นิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการฉันที่อาสนะต่าง ๆ ขอสมาทานองค์ของผู้ฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร

๖. ถือการฉันเฉพาะอาหารในบาตรเป็น วัตร ว่า ทุติยะภาชะนัง ปะฏิกขิปามิ ปัตตะ ปิณฑิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดภาชนะที่ สอง ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะ อาหารในบาตรเป็นวัตร

๗. ถือไม่ฉันอาหารที่ห้ามเขานำมาถวาย ในภายหลังเป็นวัตร ว่า อะติริตตะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการไม่ฉันอาหารที่ห้ามแล้วมีผู้นำมา ถวายในภายหลังอีกเป็นวัตร

๘. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ว่า คามันตะ เสนาสะนัง ปะฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิ ยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่อาศัยใกล้หมู่บ้าน ขอสมาทานองค์ของผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร

๙. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ว่า ฉันนัง ปะฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่มุงที่บัง ขอสมาทานองค์ของผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร

๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ว่าดังนี้ ฉันนัญจะ รุกขะมูลิกัญจะ ปะฏิกขิปามิ อัพโภกาสิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถาน ที่มุงที่บังและโคนไม้ ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

๑๑. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ว่าดังนี้ นะสุสานัง ปะฏิกขิปามิ โสสานิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดสถานที่อยู่อันมิใช่ป่าช้า ขอ สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร

๑๒. ถือการอยู่ในสถานที่ตามที่จัดให้เป็นวัตร ว่า เสนาสะนะโลลุปปัง ปะฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างด ความโลเลในสถานที่อยู่ ขอสมาทานองค์ของ ผู้ถือการอยู่ในสถานที่ตามที่จัดให้เป็นวัตร

๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร ว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้างดการนอน ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการนั่งเป็นวัตร

......(หมายเหตุ : จะมีผู้กล่าวนำในการสมาทานทุกข้อ แต่ถ้าต้องการสมาทานข้อไหน ให้ เลือกปฏิบัติเฉพาะข้อนั้น ต่อไปจะเป็นบทสวด มนต์ ก่อนที่จะสวด ๒ บทนี้ ควรตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วสวด "อิติปิโส" ก่อน และจะ สวดมนต์บทไหนอีกก็ได้ตามที่ต้องการ)


บทเมตตัญจะ

.......เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย
อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะ มิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง
วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ
เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


(บทนี้แผ่ให้ "เทวดา" และบทต่อไปแผ่ให้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เช่น "งู" เป็นต้น)

บทวิรูปักเข

........วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอรา ปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง
อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง
จะ ตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

........อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะ ปานิ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมา สัมพุทธานัง ฯ


******************


คลิกเดียว..เลือกชมคลิปวีดีโอลำดับที่ ๑-๑๕

แล้วคลิกเดียว..ที่กรอบเล็กด้านบนขวามือที่คำว่า - VIDEO -




◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/2/12 at 11:01 [ QUOTE ]


(Update)

เทศน์อานิสงส์การอุปสมบท

โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


(กดปุ่ม Play แล้วรอสักครู่)

อานิสงส์การอุปสมบทบรรพชา

โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

........องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษ ซึ่งองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารที่ดี การถวายสังฑานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน

แต่ ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมุติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ"

คำว่า "บรรพชา" หมายความว่า บวชเป็นเณร
คำว่า "อุปสมบท" หมายความว่า บวชเป็นพระ


ท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตาม ระบบธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้นไซร้ ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดาไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง ๓๐ กัป

ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง ๓๐ กัปเช่นเดียวกัน

อายุ เทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป ก็หมายความว่าเมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัปหรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อน

การนับกัปหนึ่ง… คำว่ากัปหนึ่งนั้น มีปริมาณนับปีไม่ได้ องค์ สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ว่า มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นหินล้วนไม่มีดินเจือปน ถึงเวลา 100 ปี เทวดาเอาผ้ามีเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ 100 ปีปัด 1 ครั้ง 100 ปีปัด 1 ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป หาหินไม่ได้ เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุได้ครบ 1 กัป

และ อีกประการหนึ่ง ท่านพรรณนาไว้ในพระวิสุทธิมรรคว่า มีอุปมาเหมือนกับว่ามีถังใหญ่ลูกหนึ่งมีความสูง 1 โยชน์ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์เหมือนกัน มีคนเอาเมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาใส่ในถังนั้นจนเต็ม ถึงเวลา 100 ปีก็เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออก 1 เมล็ด ทำอย่างนี้จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นจะหมดไป เป็นการเปรียบเทียบกันได้กับระยะเวลา 1 กัป

นี่..เป็นอันว่า กัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปในปัจจุบันนี้สามารถจะทรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึง 10 พระองค์ เป็นระยะยาวนานมาก

องค์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมีความประพฤติปฏิบัติดี ต้อง เป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง 30 กัป นั่นก็หมายความว่า อายุเทวดาหรือพรหมย่อมีกำหนดไม่ถึง 30 กัป และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง 30 กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้านิพพานก่อน บิดามารดาของสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป ครึ่งหนึ่งของเณร

องค์ สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อ บวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงส์อยู่เป็นเทวดาหรือพรหม ๖๐ กัป บิดามารดาจะได้คนละ ๓๐ กัป นี้เป็นอานิสงส์พิเศษ

แต่ทว่า ภิกษุ สามเณรท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา ก็พึ่งทราบว่าเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกันอานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่ เพียงใดโทษก็มีเพียงนั้น

สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ ๘ กัป

แต่ ถ้าเป็นคนฉลาด อย่างที่วัดนี้เขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็บำเพ็ญกุศลช่วยในการบวชพระ ใม่เจาะจงเฉพาะท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยทั้งหมดทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้อง ๔๒ องค์ ตั้งเอา ๘ คูณ

อานิสงส์ กุศลบุญราศีที่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็นเจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลลดหลั่น ซึ่งกันและกัน

การ ที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาไว้ในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่าน พุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ ประทีปแก้วในข้อนี้ อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือ ทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญราศีอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือ เริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ

ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศีให้ปรากฏเป็นผลดีก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญ กุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นกรรมชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญราศีเท่านั้น

กุลบุตร ที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญราศีก็เกิด

องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียว เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้นั้นบวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าพระที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนาตั้ง ๑๐๐ ปี มีศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า

รวม ความว่า การอุปสมบทบรรชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ ทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

ถามพระท่านว่า ถ้าพระพวกนั้นจะทำบุญบวชพระบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็บวช และทำบุญด้วยจะมีอานิสงส์เหมือนญาติโยมไหม

พระ ท่านก็บอกว่า ถ้าเขาจะทำบุญต้องทำบุญก่อนที่เขาบวช นั่นหมายความว่า ขณะที่บวชก็เอาเงินมาช่วยกับกองกลางเท่าไรก็ตามที่จะพึงมีตั้งใจบวชพระทั้ง หมด ท่านพวกนั้นจะมีอานิสงส์นอกจากของตัวเอง ๖๐ กัปแล้ว จะมีอานิสงส์เป็นเจ้าภาพด้วย เอา ๑๒ คูณ จำนวนองค์ที่บวช

ถามว่า ถ้าพระทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วจึงรู้อานิสงส์ เมื่อบวชแล้วเอาสตางค์มาร่วมในการทำบุญบวชพระ
ท่านบอก อันนี้ไม่ใช่แล้ว นั่นต้องเป็นทานบารมีปกติ เป็นถวายสังฆทานไป อานิสงส์นับกัปไม่ได้ แต่มีความร่ำรวยแน่ รวยทุกชาติ


จาก...หนังสือ พ่อสอนลูก


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top