Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 5/4/08 at 14:48 [ QUOTE ]

ประวัติเจ้าอาวาส วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตอนที่ 4 (ตอนจบ)


« ตอนที่ 1 « ตอนที่ 2 « ตอนที่ 3




ประวัติท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ
เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน



บิดาชื่อ นายรอด มารดา นางจำรัส เสนสกุล มีบุตรธิดารวม 5 คน ดังนี้

1. พระครูปลัดอนันต์ เสนสกุล
2. นายวิมล เสนสกุล
3. น.ส.ราตรี เสนสกุล
4. นายวิจิตร เสนสกุล
5. นายวิจารณ์ เสนสกุล


อุปสมบทเมื่อปี 2516 ขณะมีอายุ 25 ปี ณ วัดปากคลองปลากด อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ออกพรรษาแล้วมาอยู่วัดท่าซุง ได้รับตำแหน่ง พระครูปลัด เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2535

คติธรรมที่ประทับใจเป็นที่สุด
"สูทั้งหลาย จงมาดูโลกอันตระการดุจราชรถ ที่คนเขลายังหมกอยู่ แต่ท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่"

เลื่อมใสปฏิปทาหลวงพ่อเป็นที่สุด
"ชอบใจว่าท่านเป็นผู้ที่พูดได้ และปฏิบัติของท่านเองได้"

เสียใจที่สุด
"คือวันที่หลวงพ่อจากไป เรายังไม่ได้มรรคผลอะไร"

ระหว่างเป็นเจ้าอาวาส
"ดีใจที่ได้รับใช้พระพุทธเจ้า รับใช้พระพุทธศาสนา"


ประวัติจากหนังสือ "ที่ระลึกงานกตัญญูกตเวทิตามงคล"

ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เกิดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2491 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 13 ค่ำ เดือน 10 ปีชวด เป็นบุตรคนแรกของ นายรอด และ นางจำรัส เสนสกุล มีน้องชาย 3 คน และน้องสาว 1 คน

ท่านเกิดที่บ้านเลขที่ 101 หมู่ 3 ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ต่อมาทางกระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำทะเบียนราษฎร์และเขตปกครองขึ้นใหม่ บ้านเดิมที่เกิดจึงเปลี่ยนบ้านเลขที่และเขตปกครองใหม่ เป็นบ้านเลขที่ 136 หมู่ 8 ต.โคกหม้อ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 60120 ซึ่งในปัจจุบันโยมแม่จำรัส และน้องสาวของท่านยังอยู่ที่บ้านนี้

โยมแม่ของท่านเล่าว่า ท่านพระครูฯ เป็นคนขยัน สะอาดเรียบร้อยมาตั้งแต่เด็ก รู้เรื่องรู้ราว ไม่อ้อน ไม่โกง สมัยอายุ 5 ขวบ แม่ไปทำนาก็รู้จักหิ้วน้ำหิ้วหมากไปส่ง แล้วบอกว่า “แม่กินหมากกินน้ำหน่อย” งานที่ไม่ชอบคือไกวเปลน้อง

เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดปากคลองปลากดนอก เมื่ออายุ 7 ขวบ จนจบชั้นประถมปีที่ 4 ไปโรงเรียนวัดปากคลองปลากดนอก ก็เดินไปจากบ้าน แล้วไปลงเรือจ้างข้ามฟาก เพราะโรงเรียนอยู่คนละฝั่งกับบ้าน ริมแม่น้ำน่าน คนแจวเรือชื่อ "ตาอ๋อย" นิสัยโอบอ้อมอารีของท่านพระครูฯ มีมาแต่เด็กเหมือนกัน เมื่อลงเรือแล้วก็ช่วยเกาะหัวเรือไม่ให้เรือถอยออกจากฝั่ง คนอื่น ๆ จะได้ลงได้

ตั้งแต่เล็กจนโต ท่านพระครูฯ ไม่เคยโดนโยมแม่ตี น้อง ๆ โดนตีทุกคน โยมพ่อใจดี ไม่เคยตีใครสักคน อย่างมากก็เสียงดัง ถ้าโยมแม่ตีลูก โยมพ่อจะน้อยใจไม่กินข้าว ถึงรุ่นหลาน โยมพ่อก็ยังห้ามตี ถ้าตีหลานโยมพ่อจะไม่กินข้าวเหมือนกัน

ท่านพระครูฯ เรียนหนังสือเก่ง โยมแม่เล่าว่า “ทั้งห้องเด่นกว่าเขาหมด น้องชายคนรองและน้องสาวคนที่สามไม่ชอบเรียนหนังสือ พอจบชั้นประถม 4 ก็ออกไถนากันหมด บอกว่าเลี้ยงควายดีกว่า” ส่วนท่านพระครูฯ เมื่อจบชั้นประถมปีที่ 4 ก็ย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสหวิทยานุสรณ์ ในอำเภอชุมแสง ซึ่งพึ่งเปิดสอนปีแรกข้างวัดแสงธรรม

โดยไปอาศัยอยู่กับอาได้ 2 ปี โยมพ่อก็พาไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณพระชินวงศ์เวที วัดแสงธรรม (ท่านเจ้าคุณพระชินวงศ์เวที อยู่วัดราชบพิธ เป็นครั้งคราว) เป็นลูกศิษย์พระ เย็นก็เล่นฟุตบอลทุกวันจนได้เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมโรงเรียน

โยมแม่เล่าว่า ท่านพระครูฯ ท่านเด่นเอี่ยมอ่องมาตั้งแต่แรก ไม่เหมือนพี่เหมือนน้อง เสี้อผ้าต้องเอี่ยม ไม่ซื้อเสื้อโหล ต้องตัด มี 2 ชุด ก็ไม่เป็นไร เหล้ายาไม่กิน ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โยมพ่ออยากให้ลูกเรียนสูง ๆ จะได้ไม่ลำบาก ใน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 หมู่ 2 และหมู่ 3 มีท่านไปเรียนอยู่คนเดียว

ท่านพระครูฯ จบชั้นมัธยมปีที่ 6 (กระทรวงศึกษาธิการเริ่มเปิดมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีแรก ) เมื่อ พ.ศ. 2508 ตอนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6 บ้านถูกโจรปล้นครั้งที่ 2 ตอนนั้นเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว คิดจะยิงสู้กับโจร ค่อย ๆ คลานไปหาโยมพ่อแล้วกระซิบว่า “พ่อ ๆ ส่งปืนมา” โยมพ่อกดหัวให้ติดพื้นไว้ ไม่ให้สู้

เนื่องจากปู่ย่าตายาย ท่านเป็นคนทำมาหากินสุจริต ขยัน มีที่ทางมากพอสมควร จึงมีฐานะดีกว่าคนอื่น ลูกหลานแต่งงาน ยายจะแจกควาย 1 ตัว ไถ 1 คน จึงเป็นที่หมายตาของโจร (บ้านท่านถูกปล้น 4 ครั้ง) ลูกหลานเกรงว่ายายจะไม่ปลอดภัย หลังจากถูกปล้นครั้งที่ 2 จึงให้ยายไปอยู่ในตลาดบางปลากด

เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้ว ท่านพระครูฯ ก็กลับมาอยู่ช่วยบ้าน ช่วยทำไร่ไถนามา 2 ปี จนถึง พ.ศ. 2510 ก็ไปสอบเข้าตำรวจ สอบข้อเขียนได้แต่ไปตกตรวจสุขภาพ เนื่องจากตาบอดสี เพื่อน ๆ ที่เป็นนักฟุตบอลเขตก็มาชวนไปเรียนวิทยาลัยครู ท่านบอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะพื้นฐานการศึกษาไม่ได้ และห่างมานาน แต่อีกใจหนึ่งก็อยากเรียนหนังสืออยู่ เพราะอยากให้พ่อแม่สบาย

เมื่อกลับมาอยู่บ้านแล้วเพื่อนฝูงก็มากขึ้น รวมทั้งเพื่อนที่เป็นมือปืนด้วย เมื่อคบมือปืน บ้านก็ปลอดภัย แต่ท่านบอกว่าไม่ได้ไปปล้นกับเขานะ ยังทำนา ทำไร่ ทำสวน ในที่ 100 ไร่เศษของโยมพ่อโยมแม่ ความอยากให้ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ให้พ่อแม่ได้สบาย

ทำให้ท่านครุ่นคิดพิจารณาถึงการพัฒนาชีวิตมาก หน้าน้ำน้ำท่วม สูง 2 เมตร แทบทุกปี ความอยากจะพัฒนามันสะสมก็ทำไม่ได้ เพราะดินฟ้าอากาศไม่ได้อำนวยอย่างต้องการ ก็ทนกันไป เคยปรารภกับโยมพ่อว่า ถ้าลงทุนทำนาตั้งแต่จ้างรถไถ 3 รอบ 4 รอบ ฝนจะตกเมื่อไรก็ไม่รู้ จะหว่านข้าว จะเกี่ยวข้าว ก็ต้องจ้างหมด ทำไปแล้วเงินที่ลงทุนไปกับข้าวที่ขายได้ก็เท่ากัน อย่างนี้ต้องจนทั้งชาติ โยมพ่อก็บอกว่า “ถ้าคิดอย่างมึงก็ไม่ต้องทำมาหากิน”

พออายุ 21 ปี ก็ไปเกณฑ์ทหาร กำนันมาขูดรีดแต่ก็ไม่ยอมให้ ไปให้เขาคัดเลือกตามระเบียบจนผ่านพ้นมา ก็กลับมาทำนาต่ออีก 3-4 ปี พอถึงอายุ 24 ปี คืนหนึ่งฝันไม่ดี ฝันว่าไฟไหม้ มีคนบอกว่าให้แก้ฝันกับน้ำ ให้หนักเป็นเบา ท่านตัดสินใจว่า 2 เดือนนี้จะไม่ไปไหน กำลังทำนาอยู่ เพื่อนก็มาเรียกชวนไปเที่ยว เขาทำบุญ 100 วันงานศพ ก็บอกว่าไม่ไป เพื่อนก็คะยั้นคะยอว่า ไปเถอะ ไปเอาเสื้อบ้านกู ก็ไปกับเขา ไปเอาเสื้อใส่ไปเที่ยว

ที่งานนั้นมือปืนมารวมญาติกันเลย มีการละเล่น มีรำวง พวกเราคนหนึ่งเรียกให้คนที่นั่นไปซื้อเหล้า แล้วเอามีดแทงเลย ตอนนี้ชุลมุนไปหมด ยิงกันอย่างในหนัง พวกถูกแทงไส้ไหลตายไป 3 ศพ ท่านรีบไปบอกกับพ่อคนตายว่า “อย่าเอาผมไปเข้ากับพวกหาเรื่องนั่นนะ เดี๋ยวประวัติผมเสีย” เขาก็รับปาก

แต่พอกำนันมา กำนันจดชื่อทุกคนไปบอกตำรวจหมด ตอนนี้ก็มีการขู่จากพวกที่ตาย 3 ศพว่า ถ้าใครถูกจับ บ้านต้องถูกระเบิดหมด ท่านก็หนีเข้าป่า โยมพ่อตามไปส่งข้าวอยู่ 2 วัน หลักจากนั้นก็หนีไปอยู่กับญาติที่โคกสำโรง จ.ลพบุรี อยู่ไม่ถึง 20 วัน ก็ขึ้นรถ บขส.กลับบ้าน พบพวกมือปืนอีก ก็ชวนกันไปอีก เสื้อผ้าหายหมด ก็ไปกับเขา

หลังจากนั้นก็กลับมาบ้านทำมาหากิน ไม่มีเรื่องอะไร คุยกับบ้านคนตายก็ไม่มีปัญหาอะไร เราหากินโดยสุจริต แต่ความคิดอยากมีฐานะตั้งตัวได้ อยากพัฒนายังฝังใจอยู่ ท่านเล่าว่า “จะไปชอบผู้หญิงก็ไม่มีสวรรค์จะให้เขา ไม่มีความรู้ ไม่มีเงิน”

ตอนนั้นอายุ 25 ปี เห็นเข้าบวชกันมาก กลัวแม่จะเสียใจก็บอกแม่ว่า “บวชแล้วผมไม่สึกนะแม่” โยมแม่ก็โมทนา เมื่อถูกน้องสาวแซวเรื่องบวช ท่านก็บอกว่า “ถ้ากูบวช มีงอย่ามาแค่นให้กูสึกเชียวนะ กูบวชแล้วกูไม่สึก”

ความเข้าใจก่อนบวช


ท่านเล่าว่า มันเป็นบุพกรรมหรือไงไม่ทราบ เพราะเป็นคนเกลียดพระมาก่อน เกลียดเข้ากระดูก ถือว่าเป็นมารสังคม เป็นมิจฉาทิฎฐิมาเต็มขั้นเลย อยู่บ้านนอกนี้ เวลาแม่ให้ไปทำบุญ ให้เอาปิ่นโตไปวัด เราก็ไปแต่ไม่ถึงวัดหรอก กินเสียเองกลางทาง

เพราะเราเจอสิ่งที่ไม่ดีมาก่อน นักบวชบางคนก็กินเหล้า บางคนก็ดูดกัญชา ก็คิดว่าไม่เห็นมันดีกว่าเราเลยนี่ เป็นมารศาสนาจริง ๆ ก็เลยไม่นับถือมาโดยตลอด พออายุ 25 บวช คือบวชตามใจพ่อแม่ ตอนบวชก็ยังไม่ศรัทธา เอาผ้าเหลืองหุ้มไว้เฉย ๆ แต่ความที่เป็นมิจฉาทิฎฐิแรง ๆ ทำให้ค้นคว้ามาก เขาคุยเรื่องกรรมฐาน เราก็ค้านเขาตลอด

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์


ท่านพระครูฯ อุปสมบท เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2516 ณ วัดปากคลองปลากดนอก มี พระอธิการทองหยด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ชุบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูนิยุตฺตธัมมสาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การบวชตอนสงกรานต์ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างหนึ่งเฉพาะท่านพระครู เนื่องจากช่วงสงกรานต์เป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของจุลศักราช ชาวบ้านนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ พระทั้งวัดจึงต้องสวดมาติกาบังสุกุลทุกวัน ท่านนั่งอยู่ท้ายอาสน์สงฆ์ สวดไม่ได้ หน้าชาอยู่ 5 วัน

บวชแล้วก็ไม่ค่อยได้ทำอะไร ท่านเล่าว่า “ไอ้เราก็อยู่วัดบ้านนอกใช่ไหม เช้าก็เอน เพลก็นอน ตอนนั้นไม่มีทีวี บ่ายก็พักผ่อน เย็นก็ทำวัตรนิดหน่อยก็นอนอีก “โยมแม่ท่านเล่าว่า “สมัยอยู่วัดปากคลองปลากดนอก ท่านพระครูฯ อ้วน นอนกระดานตัวเหลือง ขาก็อ้วน”

แต่แท้จริงแล้ว นับแต่วันที่บวช ท่านพระครูฯ ท่านเล่าว่า ท่านพบว่า “สวรรค์อยู่ที่นี่เอง การคิดถึงอนาคตไม่ต้องมี อนาคตแค่นี้พอแล้ว ที่เราทุกข์ทุกอย่างแค่นี้พอแล้ว พ่อแม่ให้เรา 25 ปีพอแล้ว ต่อแต่นี้ไปชีวิตเป็นของเรา สมองโปร่งโล่งเบาไปหมด มีความสุข”

และจากความอายที่สวดมนต์ไม่ได้ ทำให้ท่านเร่งรัดท่องบทสวดมนต์ ทั้งพระอภิธรรม มาติกา ทำวัตรเช้า วัตรเย็น อนุโมทนาวิธี และเจ็ดตำนาน จนคล่อง ที่นอนคือ นอนท่องบทสวดมนต์ และเรียนนักธรรมตรีด้วยตนเอง ก่อนออกพรรษาก็ไปสอบที่สนามสอบวัดแสงสวรรค์ อ.ชุมแสง ก็สอบได้นักธรรมตรี

ต่อมามีพ่อค้าเอาหนังสือมาแลกของที่วัด ท่านก็เอาของไม่ใช้ไปแลกได้หนังสือมาหนึ่งเล่มชื่อ “ลีลาวดี” แต่งโดย “ธรรมโฆษ” (อาจารย์แสง จันทร์งาม หรืออดีตท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี วัดแก้วแจ่มฟ้า) อ่านแล้วติดใจเพราะถูกจริตท่าน

หลังจากนั้นท่านพระครูสุรินทร์ (ท่านพระครูวิจารณ์วิหารกิจ แห่งวัดสุขุมราม) ชวนมาปฏิบัติธรรม ท่านก็กลัวจะบ้า ท่านพระครูสุรินทร์บอกว่า ไม่เป็นไร ไม่บ้าหรอก แล้วท่านพระครูสุรินทร์เอาหนังสือประวัติหลวงพ่อปานให้อ่าน ท่านเล่าว่า “แต่เรายังไม่อ่านหรอก”



(พระครูสุรินทร์กำลังจุดธูปเทียนบวงสรวง เพื่อสร้างพระนอน 50 เมตร ณ วัดสุขุมาราม จ.พิจิตร)

ถามพระครูสุรินทร์ว่า นรกสวรรค์มีจริงหรือ
ท่านบอกว่า มี
แล้วพระครูเห็นไหม
บอก ไม่เห็นหรอก แล้วท่านก็โยนหนังสือให้อ่าน
ถามว่า หนังสือนี่ใครเขียนล่ะ คนเขียนตายหรือยัง
บอกว่า ยังไม่ตาย แล้วท่านก็ให้อ่าน

พออ่านประวัติหลวงปู่ปาน โอ้โฮ..ในนั้นหลวงพ่อจวกพระไว้เยอะนี่ “พระแบบนี้ไม่ใช่พระหรอก” ก็นึก เออ...ถูกคอกับเรา “พวกนี้พวกเดียรถีย์” ท่านก็บอกไปเรื่อย ๆ

พออ่านพรรษานั้นก็วางไม่ลง อ่านเร็วกลัวจะหมดก่อนออกพรรษา เปิดนิดหน่อยแล้วก็วาง เปิดไม่ให้หน้ามันติดต่อกัน อ่านรูดเดียวเดี๋ยวไม่มีอ่านอีก เหมือนกับกินขนม กินนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็เก็บไว้ กลัวจะหมด

พออ่านแล้วก็เร่าร้อนใจมาก อยากจะมาหาหลวงพ่อ ก็เตรียมการบอกให้น้องชาย (ชื่อวิจิตร) มาขอเงินแม่ 500 บาท บอกว่าจะไปเที่ยว พ่อไม่ให้ บอกให้มาเอาเอง จะสึกก็ให้มาพูดกันให้รู้เรื่องก่อน

ท่านก็มาบ้าน บอกทางบ้านว่า ไม่สึกหรอก จะไปวัดท่าซุง เมื่อได้เงินมาแล้วก็ไปขอร้องให้ท่านพระครูสุรินทร์พามาวัดท่าซุง ท่านพระครูสุรินทร์ก็บอกว่า มาแล้วจะกลับวันเดียวไม่ได้นะ ไว้ออกพรรษาก่อน สมัยนั้นจะมาวัดท่าซุงต้องนั่งเรือจากวัดปากคลองปลากดนอก มาขึ้นที่นครสวรรค์ จากนครสวรรค์ก็นั่งรถบขส. มาอุทัยธานี แล้วต่อรถสองแถวมาวัดท่าซุง

พอออกพรรษา พระครูขึ้นไปชวนท่านพระครูสุรินทร์ พระครูสุรินทร์ก็กลัวหลวงพ่อดุ รีบมากันแต่เช้า มาถึงก่อนเพล ท่านคุยอยู่กับมหาเปีย วัดปากคลองมะขามเฒ่า ในกุฎิริมน้ำ (กุฎิที่คุณครูนนทา อนันตวงษ์ สร้างถวาย) เรื่องงานกฐินอยู่ ท่านบอกให้ไปฉันข้าวที่โรงครัวก่อน

พอท่านฉันเสร็จแล้ว ท่านมาเลี้ยงหมาของท่าน ข้าวเป็นกะละมัง ๆ เลย มาตักทำเองเลย ท่านบอกให้พระเลี้ยง นี่หมามันจะติดสีเหลือง อย่างน้อยก็เป็นเทวดา เสร็จแล้วก็ไปล้างชามท่าน้ำนั่นนะ เลี้ยงปลาอีกที เรียกว่าปลาตะเพียนทอง มันก็มากิน ล้างกะละมัง เสร็จก็กลับ

เราไปใหม่ก็ไปนั่งรับท่านข้างใน โอ้โห ตาท่านคมกริบ มองเพ่ง... “ไอ้คนสมัยนี้มันบวชเป็นพิธีกรรมเท่านั้นแหละ มันบวชมันกลัวมีเมียไม่ได้มันถึงบวช” ว่าเราหรือเปล่าวะเนี่ย ว่าเราหรือเปล่า แข็งปั๊กลงมาถึงใจเลยนะ ตอนหลังนี่บอกไม่ได้ เป็นความลับ พูดเป็นสาธารณะไม่ได้ โอ้...ท่านจวกปั๋ง ๆ ๆ มาเลย

พระครูสุรินทร์ท่านก็บอกว่าฝากด้วย พระท่านอยากจะมาปฏิบัติธรรม อยู่กับหลวงพ่อ ท่านถามว่า “ระงับนิวรณ์ได้หรือยัง” เราคิดว่านิวรณ์นี่อะไรว่ะ ไม่ต้องรู้ว่ามีอะไรเลย คือไม่รู้เรื่องเลย ก็ตอบท่าว่า “ยังครับ”

ท่านบอกว่า “จะมาอยู่กับข้าต้องเอาจริงเอาจังนะ ให้ตั้งใจปฏิบัติ” ก็รับปากท่าน ท่านบอกว่า “ให้ไปอยู่กุฎิพระโอก่อนนะ เขาไม่อยู่”

เรากราบเรียนท่านว่า “หลวงพ่อครับ ญาติผมที่อยู่ที่นครสวรรค์ แล้วก็แถว ๆ นี้ แถวมโนรมย์นี่มีญาติเยอะครับ มีพี่น้องอยู่แถวนี้ครับ” ท่านบอก “เออ พี่น้งพี่น้องไม่สำคัญน่ะ ระวังนะ อย่าฟังเสียงนกเสียงกา หมาเห่าหมาหอนให้มากนักนะ”

เราก็ เอ.... หมายความว่ายังไงวะ คิดไปคิดมาพี่น้องเราด่าหลวงพ่อทุกคนเลย ก็พี่น้องเราอยู่แถวนั้นใช่ไหม พี่น้องเกลียดหลวงพ่อทั้งนั้น ท่านถึงบอกว่าอย่าฟังหมาเห่าหมาหอนมากนัก เมื่อท่านพูดแบบนั้นแล้ว ท่านก็คุยเรื่องอื่นต่อ แต่เราดูท่านแล้วนี่ ท่านเป็นผู้ที่น่าเกรงขาม ไม่เหมือนพระทั่วไปที่เราเคยสัมผัสมา ท่านบอกให้ไปหาที่พักให้เรียบร้อย ตกเย็น ๆ จะมีการทำวัตร สวดมนต์ นั่งกรรมฐานกันเป็นปกติ

ทีนี้วันแรกก็ ไอ้เราก็ส่วนมากอาบน้ำแม่น้ำน่าน มาถึงที่นี่มันมีน้ำประปาใช่ไหม หลวงพ่อท่านทำไว้ไอ้ตรงพระฉันเก่ามันมีอยู่ห้องหนึ่ง เราก็อาบซู่ ๆ เสร็จออกมา ท่านพูดว่า “ฮื่อ... น้ำท่ามันก็มีอยู่ข้าง ๆ ไม่ใช่สำอางมาอาบน้ำนี่”

อู้ฮู้ จวก... เขาให้คนอาบน้ำในแม่น้ำไงเล่า แถวนั้นเขาอาบน้ำในแม่น้ำกันทั้งนั้น ตั้งแต่นั้นเข็ดเลย ไม่อาบน้ำอีกแล้ว ต้องอาบน้ำที่แพ ท่านประหยัด แถวนั้นไม่มีปลูกดอกไม้อะไรหรอก ตึกเสริมศรีนะ เพราะว่าท่านให้ตักน้ำในแม่น้ำมารดนี่ น้ำก๊อกอะไรนี่ท่านไม่ให้รดหรอก เพราะว่าเปลือง มันต้องใช้คลอรีน ต้องใช้ไฟฟ้าสูบมา ใครจะขยันนักล่ะ

ขณะนั้นมันก็ใกล้จะหนาว ๆ แล้วนี่ ถึงเย็นๆ ก็ต้องไปนั่งฝึกกรรมฐานกันที่ตึกเขาเรียกว่า ตึกขาว ที่เขาป้ายข้างตึกเขาเขียนว่า ตึกอะไรล่ะ เรียกว่า ตึกสุขุมวัฒนี นวพันธุ์นี่ ซึ่งตึกนี้เป็นตึกเจริญพระกรรมฐานของวัดรุ่น พ.ศ.2516

เมื่อตอนเย็นขึ้นไปนั่งพระกรรมฐานแล้ว จิตของเราที่ไม่เคยฝึกมันก็ดิ้นรนฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ของกิเลสทุกอย่างที่มีอยู่ในตัว ท่านสอนว่า ต้องตัดความกังวลห่วงใยทั้งหมดที่มีอยู่ อย่าตามคิดถึง อย่าสนใจจริยาของผู้อื่น ให้สนใจจริยาของเรา

เมื่อท่านเทศน์จบ ท่านก็ให้แผ่พรหมวิหาร 4 ไปในทิศทั้งปวง ท่านก็บอกว่า “ไม่ใช่เขียนหนังสือ แต่ว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต้องทำจิตใจให้รักคนอื่นเหมือนรักตัวเรา มีเมตตาสงสารคนอื่น เหมือนสงสารตัวเรา ให้มีศีลบริสุทธิ์ผุดผ่อง”

เมื่อท่านสอนเสร็จก็ให้นั่งกรรมฐาน จิตของเราก็ฟุ้งซ่านเต็มอัตราศึก สุดที่จะฟุ้งซ่านได้ เมื่อนั่งกรรมฐานเสร็จก็อุทิศส่วนกุศล ก่อนที่จะอุทิศส่วนกุศล ท่านก็บอกว่า

“พระใหม่เอ๊ย” พระใหม่ที่มาใหม่ก็คือเรา ตอนนั้น มีพระนั่งกรรมฐานสัก 7-8 องค์ได้ บอกว่า “พระใหม่เอ๊ย...พระมาบอกว่าให้เดินเข้ามหาสติปัฏฐานสูตรนะ มีหนังสือไหม มีหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตรไหม” บอกว่า “ไม่มีครับ”

มหาสติปัฏฐานสูตร เราเองน่ะไม่เคยอยู่ในหัวในสมองเลย เพราะไม่เคยรู้จัก ไอ้ความที่เราไม่เคยสนใจมาก่อน จึงไม่รู้จักหนังสือธรรมะทุกอย่าง ท่านบอกว่า “ไม่มีให้ไปขอครูนนทาเขา ให้ครูนนทาเขาหยิบให้” เมื่อสั่งแล้วท่านก็เลิกกรรมฐาน

เราก็มาเอาหนังสือที่ครูนนทาให้มา ก็มาอ่าน อ่านแล้วก็รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีเดชเลย เป็นหนังสือสุกขวิปัสสโก หาฤทธิ์หาเดชไม่ได้ ไม่ชอบใจในจิต เพราะเราอยากได้ฤทธิ์และเดช อยากมีตาทิพย์หูทิพย์ จะได้ไปคุยโม้อวดชาวบ้านเขาได้ว่า

เราก็เก่งเหมือนกัน สามารถมีหูทิพย์ตาทิพย์ได้ นี่มันเป็นกิเลสเต็มขั้น ท่านสาธุชนอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เรื่องความอยากห้ามกันไม่ได้ แต่อย่าผิดทำนองคลองธรรมอย่างอาตมานะ ข้อควรอย่าก็ไปใกล้ มันเป็นทางแห่งการลงอบายภูมิทั้งนั้น

เมื่ออยู่กับท่านแต่บัดนั้นมา ก็นั่งกรรมฐานกันเกือบทุกวัน งานการทางวัดมีอยู่ก็ทำ ทำเป็นกิจวัตร คือ ทำวัตร ฉันเช้า แล้วก็ลงมือทำงาน มีการก่อสร้าง ขณะที่มาตอนนั้นกำลังขัดหินขัดอยู่ที่พื้นที่วงศานุสรณ์นั้น ไปช่วยเขากวาดน้ำ ขัดพื้นเป็นงานที่ทำร่วมกัน ทั้งพระภิกษุและฆารวาส

ทีนี้ไอ้เราก็เคยนอนตอนบ่ายมา แหมอีตอนบ่ายมันง่วง เราก็ศิษย์ใหม่ด้วย มาใหม่ ไอ้จะนอนก็เกรงใจเขา เดี๋ยวเขาจะหาว่ามาใหม่แล้วเขาทำงานกันดันไปนอน จะโดนไล่กลับเสียอีก อู๊ย กวาดน้ำหินขัดนี่นะ มันง่วงจริง ๆ เอ้า นอนไม่ได้ต้องทำกับเขาไปสัก 7 วัน มันก็คืน ก็ไม่ง่วงอยู่กับเขาได้

สมัยนั้นหลวงพ่อลงสอนกรรมฐานทุกวัน ทีนี้มีพี่สะใภ้ท่านคนหนึ่ง ท่านก็ เทศน์เรื่องคนในครัว “เออ พระท่านบิณฑบาตมานะ ท่านก็ฉันอย่างนั้น แต่อีแม่ครัวจัญไรนี่สิ มันต้องทำพิเศษกินอีก” ท่านว่า เราก็คิด แหม มันต้องยายนี่แน่เต็มที่เลย

พอตกกลางคืนเอาใหม่ ท่านเทศน์อีก “ให้ทุกคนมันดูตัวมันนั่นแหละ ไม่ใช่ไปดูตัวบุคคลอื่น ดูจิตของตัวเอง ไอ้ตัวมันเองดูตัวเองเสียบ้าง” อู้ฮู้ ว่ากูนี่หว่า ไม่ต้องไปฟ้องนะ คิดในใจนะ ครูบาอาจารย์นี่รู้จริง ไม่มีโมเม

เมื่อก่อนนี้นะเรียกว่า พรรษาแรกพูดกันไม่รู้เรื่องว่า เอ๊ะ ทำไมหลวงพ่อถึง สั่งงานอย่างเดียวกันทีสามคนสี่คน พอเจอเราสั่ง เจอพี่โอสั่ง แต่งานเดียวกัน มันเบลอเพราะกลัวกันนี่ เดี๋ยวมันไม่ทำ มันเบลอ มันกลัวกันจนลานเกินไป

พระฉันอาหารท่านดูว่า เออ พระฉันอาหารมีรสชาติอย่างไรบ้างเป็นห่วง แต่เมื่อฉันเสร็จแล้วสักพักหนึ่ง ท่านบอกว่า “ได้ยินเสียงหมากัดกัน กินข้าวดังจ๊วบ นี่มันไม่ใช่คน ไม่ใช่พระหรอก คนก็ยังเลวเกินไป นี่เขาเรียกว่า หมู หมูคือสัตว์ เดรัจฉาน” อู้ฮู้

ขณะที่มาอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.2516 นั้น ทางวัดไม่มีทองมาก ไม่มีพุทธบริษัทมาสงเคราะห์เหมือนสมัยนี้ ถือว่าอยู่กันตามอัตภาพ มีเงินก็ก่อสร้าง ถ้าประหยัดแรงงานได้พระก็ทำกันทุกวันไม่ได้ขาด ไม่มีวันขาด ไม่มีวันพระ ไม่มีวันโกน อันที่จริง เรื่องทำงานนั้นเป็นงานที่สาธารณประโยชน์ เป็นงานการกุศล ทำแล้วก็ได้สบายใจ

ช่วยหลวงพ่อสร้างวัด


เมื่ออยู่กันไป พ.ศ. 2516 นั้น หลวงพ่อท่านจะสร้างโบสถ์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 หลัง เพราะหลังเก่านั้นเป็นที่ทรุดโทรมมาก หลังคาก็รั่วโหว่ ฝาผนังก็ผุพัง ก็ดำริว่า ท่านจะสร้างพระอุโบสถบูรณะของเก่า แต่ท่านเจ้าอาวาสผู้นิมนต์ท่านมานั้นยอมให้สร้างเหมือนกัน แต่ต้องควบคุมการเงินเอง

ฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผิดปกติ ผิดปกติคือ ไม่ได้หาเงินเอง แต่จะเอาเงินไปเก็บเอง ในฐานะตัวเองเป็นเจ้าอาวาส การที่จะทำอะไรอย่างนี้เป็นการทำลายศรัทธาของคนผู้มีศรัทธา เพราะว่าผู้ที่จะเอาเงินมาให้คือ ผู้มีศรัทธานั้น เขาไม่ไว้ใจเจ้าอาวาส เพราะว่าเคยสร้าง สั่งของมาแล้วเป็น 10 ปี ยังทำไม่ไปถึงไหน แต่ออกเงินให้ชาวบ้านเขากู้ บริษัทของตัวเองก็กินเหล้าเมายาเป็นที่ไม่ไว้วางใจของคนดี คนดีที่มีศีลมีธรรม

เมื่อท่านเจ้าอาวาสยืนยันมาอย่างนั้น หลวงพ่อท่านก็ไม่ตกลงด้วย เพราะว่า เจ้าของเงินที่บริจาคมานั้นเขาไม่ไว้ใจ หลวงพ่อท่านจึงสั่งซื้อที่ตรงข้ามกับวัด คือฝั่งถนนที่ปัจจุบันเขียนว่า ศูนย์ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค นั่น 11 ไร่

ขณะนั้นยังเป็นป่า ป่ารกชัฏ เป็นป่าไผ่แถบหนึ่ง ที่ทำนาบ้างแถบหนึ่ง ตกลงมีโยมที่เป็นเจ้าของขายให้ในราคาถูก ไร่ละหมื่นบาท คือทำบุญด้วย เมื่อท่านตกลงซื้อที่จะสร้างพระอุโบสถขึ้นมาใหม่โดยไม่ต้องผ่านเจ้าอาวาส เมื่อตกลงซื้อที่แล้ว ก็ต้องถากถางป่าที่รกชัฏอยู่ อันที่จริงสมัยก่อนนั้นเราก็ไม่ค่อยมีเงินมาก ไม่ใช่ไม่มีเงินมาก คือไม่มีเงิน คือทำก่อนผ่อนทีหลัง จะหารถแทรกเตอร์มาดันป่าก็ไม่มี

ฉะนั้น จึงต้องหาแรงงานชาวบ้าน ส่วนหนึ่งจ้างเอามาฟัน ส่วนหนึ่งพระฟัน คือฟันป่าไผ่ให้เตียน เมื่อฟันป่าให้ล้มลงแล้ว ปล่อยให้แห้งสักช่วงหนึ่งก็จุดไฟเผาให้ลง เพื่อจะทำการวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ

พระฟันป่าไผ่ ขุดดิน สมัยนั้นมีอยู่ 5-6 องค์ มีหลวงพี่โอ มีฉัน (พระอนันต์) มีหลวงตาเริญ พระวิเชียร (องค์นี้เป็นช่าง) แล้วก็พระน้อม ดูเหมือนจะมีสามเณรสมศักดิ์อยู่ด้วย ก็ฟันไผ่กันไป ฟันก็ยาก หนามก็เยอะ ตอก็ลึก

ข้างโยมแม่จำรัส พอเกี่ยวข้าวเสร็จก็ไปกับโยมพ่อรอด ไปเยี่ยมพระลูกชาย พอไปถึง ท่านพระครูกำลังฟันป่าไผ่อยู่ตรงโบสถ์ปัจจุบันนี้ โยมแม่จำพระลูกชายไม่ได้เลย พระด้วยกันเขาบอกว่า โยมพ่อโยมแม่มา ให้หยุดฟันออกไปรับ โยมแม่เห็นเข้าร้องไห้โฮเลย สงสารลูก

โยมแม่เล่าว่า “ตัวก็แดงยังกะลูกตำลึงสุก มือก็แดง” โยมแม่เล่าว่า บุญหรือบาปก็ไม่รู้ แต่แม่ชวนให้กลับไปอยู่วัดปากคลองปลากดนอก บอกว่า “แม่เลี้ยงได้ กลับไปอยู่วัดบ้านเรากันเถอะ” ท่านพระครูฯ ตอบโยมแม่ว่า “ยังไม่กลับหรอก อยู่กับหลวงพ่อสบายดี”

ส่วนหลวงตานา มีหน้าที่เผาถ่าน มีเศษไม้อะไรท่านก็เผาเลย เก่งในการเผาถ่าน ท่านเล่าว่า “ทำงานกันอย่างนี้ พอตกค่ำก็หลับกันปุ๋ยเลย อย่างนี้ได้บารมีดี การสร้างวิหารทานทำด้วยแรงกาย มีความเสียสละ ได้บารมีทุกอย่าง ขันติบารมีก็อยู่ในนี้ วิริยบารมีก็อยู่ในนี้ เมตตาบารมีก็อยู่ในนี้ และเป็นการหนุนกรรมฐานด้วย

จะว่าลำบากก็คงจะลำบากละ ที่ตรงโบสถ์นี่มันป่าเอง ทั้งนั้นนะ เป็นป่าไผ่ เราก็รอแทรกเตอร์ใช่ไหม รอรถไม่มาหลวงพ่อก็ให้ฟันเองเลย ฟันไผ่ฟันยาก เพราะว่ารากลึก

ตอนนั้นเงินทองก็ไม่ค่อยมี อาหารการกินก็ไม่เหมือนสมัยนี้หรอก หลวงพ่อถวายองค์ละ 5 บาท หลวงพ่อก็บอก “เออ พวกทำงานนี่นะ หลวงพ่อไม่มีอะไรเลี้ยงนะ” ให้เบี้ยเลี้ยงวันละ 5 บาท “ไปซื้อกาแฟกินกันนะ ไปซื้อโอวัลตินกิน ข้าไม่มีกาแฟอะไรเลี้ยงพระ” ใครทำงานก็ให้ 5 บาท ถวายทีหนึ่ง 10 บาท 20 บาท อะไรอย่างนี้ ไอ้เราก็ไปซื้อนมมา ซื้อโอวัลตินมา ของใครของมัน ซื้อไว้ มีเบี้ยเลี้ยงแล้วนี่ มีเบี้ยเลี้ยงคนละ 5 บาท ทุกองค์นะ ใครทำงานมี 5 บาท ซื้อนมมา 2 กระป๋อง 3 กระป๋อง มันทำงานเหมือนกรรมการนี่แหละ

เมื่อป่าไผ่ได้เตียนลงแล้ว ท่านก็ดำริขึ้นมาว่า ก่อนจะวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถนั้น ให้สร้างกำแพงรอบวัดก่อน ให้จ้างคนมา พระส่วนหนึ่ง ญาติโยมส่วนหนึ่ง มาทำกำแพงรอบวัด ทั้งหมด 11 ไร่ เมื่อทำกำแพงลงไปแล้ว ก็เริ่มสร้างกุฎิหลังแรกฝั่งพระอุโบสถ ปัจจุบันคือ ตึกเศรษฐี อยู่ที่มุมเศรษฐีหลังแรกหลังใหญ่

ปัจจุบันตรงทางขึ้นไปศาลา 3 นา ศาลา 2 ไร่ ตอนนั้นเมื่อขุดหลุมเสาแล้ว อาตมาเองก็ไปช่วยเขา ตั้งแต่ถมดินทุกอย่าง ก่ออิฐ ฉาบปูน ขนอะไรทุกอย่าง เมื่อสร้างหลังนั้นขึ้นมาแล้ว ก็สร้างกุฎิพร้อมกันทีเดียว 10 หลัง ตั้งเสา เสา เสา เสา เอาดินถมพื้น ขุดหลุม เทปูนทุกอย่าง ทำไปรวมกับช่างบางส่วน

ก่อสร้างโบสถ์นี่สร้างรั้วก่อน เดี๋ยวจะหาว่าไม่ละเอียดลออนะ สร้างรั้วแล้วก็สร้างกุฏิ เขาเรียกว่า กุฏิมุมมหาเศรษฐี

เจ้าอาวาสนี่ ถ้าไปอยู่วัดไหนก็ช่างเถอะนะ ไปดูกุฏิเจ้าอาวาสกับโบสถ์ มันจะมี มุมทุคตะ มุมโจร มุมปาราชิก มุมตายโหง อะไรอย่างนี้ เจ้าอาวาสอยู่มานั้นก็ต้องตาย แต่มันตายทุกองค์นั่นแหละ แต่ว่าอาจจะตายไว มุมมีชื่อเสียง มุมพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร มันมีอยู่ นี่ตำราหลวงพ่อว่าไว้นะ

แต่ครั้งแรกเลย สร้างมุมเศรษฐีก่อน ก่อนจะสร้างวัดนี่ สร้างกุฎิเจ้าอาวาส เขาเรียกว่า มุมเศรษฐี

ทีนี้มันก็เกิดมุมที่หันหน้าตามพระประธาน เหมือนกับเรายืนอยู่ตรงพระประธานก็แล้วกัน ยืนปุ๊บ พระประธานอยู่ข้างหน้าเรา เรายืนอยู่ตรงกลาง หลังพระประธานเลย มันจะมีทางซ้ายทางขวามือเราใช่ไหม มุมทางซ้ายมือเรานี้เรียกมุมเศรษฐี แล้วตรงหลังพระประธานออกมา

ถ้ากุฎิเจ้าอาวาสอยู่ตรงนั้นน่ะ เขาเรียกมุมปาราชิก ปาราชิกเรื่องเงินทองยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ง่ายกว่าเรื่องผู้หญิงเยอะแยะ แต่ไม่มีใครรู้เท่านั้นเอง มุมขวามือพระประธานนี่มุมทุคตะมั้ง เขาบอกว่ามุมทุคตะนี่ดีอยู่อย่าง เจ้าอาวาสขยัน มันทุกข์อยู่เรื่อย ต้องไปหาเรื่องสร้าง หาเรื่องทำอยู่เรื่อย เหนื่อย

พอสร้างกุฎิมุมเศรษฐีสร้างก็ขึ้นกุฎิทีเดียว 10 หลังเลย ต่อพรืดมาเลย หลังโบสถ์ ที่รื้อทำใหม่นี่นะ

มันขึ้นโครงก่อนโบสถ์หน่อยหนึ่ง เสร็จก่อนโบสถ์ พอสร้างตรงนี้มีพวกพิสดาร ไอ้เรานี่มันคอยจะรู้เก่งกว่าครูเสียนี่ พอสร้างขึ้นเสาเสร็จจนกระทั่งเอาทรายขี้เป็ดมาโบก มาถมที่ให้มีเต็มสูงกว่าระดับน้ำ ท่านบอก “เฮ้ย นันต์ แกเทเอาแค่ตามแปนอน ๆ นี่นะ เอาหนาแค่นั้นพอ ให้มันเรียบ” แปนอนมันหนาสักนิ้วครึ่งน่ะ เทนิดๆ หน่อย ๆ มันก็จะได้นิ้วแล้วใช่ไหม เอ๊ หลวงพ่อ เดี๋ยวมันก็ยุบนะ อย่างนี้ก็เทแปขวางอย่างนี้ ให้แปนอน เราไปแปขวาง

โอ้โฮ ท่านมาบอก “ไอ้พวกนี้สั่งมันเหมือนสั่งขี้มูก ระยำแท้ ๆ ไปปูตามแนวนี้ให้มันเรียบก่อน เดินจะได้ไม่ติดเท้า” เราไปอวดเก่งกว่าครูบาอาจารย์ ปรารถนาดี

ทีนี้ก็เท พอพื้นยังไม่ทันเรียบดี ก็วางศิลาฤกษ์โบสถ์ พวกฉันนี้ก็พระพวกกลัวหลวงพ่ออยู่แล้ว ไม่ค่อยมาเข้าในพิธีหรอก เขาเลิกกันหมดแล้วเราถึงมาดูหลุมวางศิลาฤกษ์ เพราะว่าแขกผู้ใหญ่ก็ไป เมื่อก่อนทำไมกลัวหลวงพ่อกันจัง มีหลวงพี่โอ ฉัน หลวงตาเริญ หลวงพ่อผ่อง หลวงตานา ห้าหกองค์เท่านั้น

ท่านก็บอกต่อไปนี่คนจะเยอะ คนเป็นแสน เราก็ เออ เชื่อสัก 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นน่ะ ลูกศิษย์ที่ดีมันอย่างนี้แหละ ก็คนมันยังไม่มานี่ใช่ไหม ก็ยังไม่มาเป็นแสนนี่

โบสถ์นี่ทำปีเศษ ๆ กว่าโบสถ์จะเสร็จนี่คนงานแต่งงานกันไปหลายคู่ พอทำโบสถ์ท่านขึ้นธรรมสถิตด้วยเลย ขึ้นธรรมสถิตกับกุฎิสิบหลังทำพร้อมกันหมดเลย พอขึ้นธรรมสถิตจะเสร็จนี่ขึ้นนวราชแล้ว พอนวนาชจะเสร็จปุ๊บ ขึ้นพระพินิจอักษรอีก

ช่วงหลังอาคารพระพินิจเป็นที่ลุ่ม ไม่เหมือนปัจจุบันนี้หรอก เป็นที่ลุ่มเพราะทำนา หลวงพ่อก็บอกว่า “เออ พวกแกไปขุดบ่อกันไป ไปขุดบ่อ น้ำจะได้ขังตรงที่ลุ่ม” ขุดไปได้สักศอกหนึ่งได้น่ะ หน้าดินก็ขุดมาได้ ฟันแล้วก็หาบกันมา หน้าดินเป็นมัน เช้าก็เอากันพักหนึ่งก่อน บ่ายสองโมงก็เอาอีกรอบหนึ่ง

วัดเราไม่ตอกเข็มเลยนี่ พอขุดไปได้สักเมตรหนึ่งนี่ ดินนี่มันไม่ลงแล้ว เอาน้ำหล่อเข้าไว้ จะขุดพรุ่งนี้เช้าก็เอาน้ำหล่อไว้ จะได้นิ่ม นิ่มประมาณสักแค่นิ้วหนึ่ง ก็หมดนิ่มแล้ว เราฟัน โอ้โฮ.. เป็นมันน่ะ ฟันไม่ลงแล้ว เป็นมันปูแล้ว ห

ลวงพ่อมาดูบอก “โอ้โหเว้ย... นี่ข้าว่าแล้ว ถึงไม่ตอกเข็มวัดท่าซุงก็เพราะอย่างนี้ ดินเป็นมันปูเลย ฟันไม่ลง” ทำไม่ไหวแล้วต้องไปล่อแทรกเตอร์กันเลย แทรกเตอร์ก็ดันให้มันเป็นบ่อ เลยเป็นเรือนกะเหรี่ยงในปัจจุบัน

พอทำถึง พ.ศ. 2520 นี่เลิก ท่านออกปากว่าเลิกทำแล้วน่ะ กระเบื้องที่เขาให้มาสักประมาณ 2 คนรถบรรทุก 10 ล้อนี่ ปูในวัดหมดแล้วเหลืออีกเป็นคันรถ ท่านก็บอก “นันต์ พอเราสร้างวัดเสร็จก็หยุดสักทีเรา พักผ่อน ต่อไปถ้าใครเขานับถือเราที่ไหนก็จะไปช่วยเขาเป็นคราว ๆ ไป เอากระเบื้องทั้งหมดนี่นะ ไปให้พระครูสุรินทร์ไป” เราก็จัดแจงเอารถบรรทุกมาขนไปเลย

พอตัดลูกนิมิตเสร็จสักนิดหน่อยก็ พระมาสั่งให้หลวงพ่อทำอีกแล้ว ก่อนจะตัดลูกนิมิตนี่มีงาน ท่านจะนิมนต์พระสุปฏิปันโนมาใช่ไหม โบสถ์ก็ยังไม่เสร็จ ก็ถมลูกรังรอบโบสถ์ ก่อนจะตัดลูกนิมิตก็มีงานทำบุญครบรอบ 100 ปี หลวงปู่ปาน พ.ศ.2518 แล้วก็หล่อรูปหลวงปู่ปาน

ขอย้อนกลับไปถึงตอนอยู่กับหลวงพ่อใหม่ ๆ ฉันมาอยู่วัดท่าซุงสักสองสามวันแรก พระเขาก็สึกกันหมด เหลือพระอยู่ 4-5 องค์เท่านั้น พระก็เหลือน้อย หลวงพ่อนี่ศัตรูรอบวัด รอบวัดเลย ไม่ใช่มีมิตรรอบวัดนะ เจ้าอาวาสก็เป็นศัตรู ลูกน้องเจ้าอาวาสก็เป็นศัตรู

ที่นี่ก็ศัตรูมาก ฉันมาอยู่ใหม่ ๆ ด้วย ตำรวจทหารก็มี ดาบตระกูล เปาริก มาอยู่ตอนกลางคืน กลางวันก็ไม่มี หลวงพ่อนี่ถ้าคนจะฆ่าก็ฆ่าได้ทุกเวลาเหมือนกัน มีอยู่คราวหนึ่งมันก็เมามา มันก็ควักปืนมาหน้ากุฏิท่านน่ะ ท่านมีรั้วอยู่ตรงนั้น ตรงต้นมะม่วงนั่นน่ะ เราก็เข้าไปหาหลวงพ่อบอก

“หลวงพ่อครับ ไอ้นี่มันเมามาครับ มันจะเข้ามาข้างใน”
เราก็ไปหยิบกระบองแป๊บน้ำมา “หลวงพ่อครับ เดี๋ยวผมช่วย หลวงพ่อครับ” จะช่วยหลวงพ่อ ทีนี้ตอนหลังเราก็บอก “หลวงพ่อครับ ถ้ามีอะไรผมจะช่วยหลวงพ่อ” ท่านก็เอาเราไปไว้ตึกเสริมศรี บอก “ไอ้นี่มันแปลกว่ะ มันกตัญญู มันจะช่วย”

คือยังไงล่ะ วัดเรานี่เพิ่งมาเย็นตอนคอมมิวนิสต์มันหมดนี่หรอก ตอนที่คอมมิวนิสต์มันเยอะ ๆ นี่มัน... เขาก็หาว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์ ด้วยสารพัดน่ะ สร้างวัดได้ไว มันเอาเงินที่ไหนมา วัดอย่างนี้ มันก็ต้องเอาเงินคอมมิวนิสต์มานั่นน่ะ เอาสร้างมาอีกแล้ว เดี๋ยวหลวงพ่อเป็นคอมมิวนิสต์อีกแล้ว โอ๊ย สารพัด ถ้าคนกำลังใจธรรมดาอยู่ไม่ได้หรอกตรงนั่นน่ะ

การภาวนาตอนนั้น พระสนใจน้อยเหมือนกัน คือตอนเย็นก็นั่งกรรมฐาน เช้าก็บิณฑบาต บิณฑบาตฉันแล้วก็ทำงาน มีจอบ มีอะไรก็ทำ คุณโยมด๊อกเตอร์ปริญญายังไป่วยเลย โยมดำรงน่ะไปช่วยท่าน อยู่ด้วยกันนี่นะ

ไอ้เราก็ เอ้อ บอก “หลวงพ่อครับ” ผมยังไงผมก็ต้องทนอยู่จนได้ครับ” ตอนนั้นมันกล้า ๆ กลัว ๆ เหมือนกัน “เออดี ศรัทธาแท้” ท่านว่า

ปลื้มไม่เท่าไรหรอก กลัวท่าน พอกลางคืนก็นั่งอย่างนี้น่ะ เราทำไม่ดีท่านก็เอาอีกล่ะ แต่ท่านไม่ได้ผูกอะไรนะ ด่าแล้วก็ด่าไป เราทีนี้ก็ ท่านไม่ว่าแต่เรากลัวท่านน่ะสิ กลัวทีนี้ไม่ต้องเห็นกันแล้ว เห็นหลวงพ่อมามุนนู้นเราหลบมุมนี้แล้ว ไม่ใช่หลวงพ่อเจ้าขาเจ้าเขอ ไปหาอย่างนี้ไม่ได้ พอเห็นมานู่น เราหลบมุมนี้แล้ว มันกลัวเสียจริง ๆ เลย กลัวจนพูดกันไม่รู้เรื่องน่ะ พูดไม่รู้เรื่องเลย

ท่านมีวิธีสอนอีกแบบหนึ่ง คือ จวกต่อหน้าคนเยอะ ๆ จิตมันจะจำ จะอายจำแม่น ท่านไม่กลัวเสียคน เพราะเวลาปลงอาบัติต้องไม่มีอนุปสัมบัน คือเป็น เณรก็ดี ฆารวาสก็ดี ไม่มีใช่ไหม ปลงอาบัติ คือสารภาพว่าวันนี้ไปทำผิดอะไรมา ตามพระวินัยไม่ให้ทำ แต่ท่านให้มีคนญาติโยมของท่าน ท่านต้องการให้พระอาย จะได้จำ ไม่ทำอีก เรียกว่าจำจนวันตาย

อย่างอาตมานี่มีอาบัติอยู่ตัวหนึ่ง จะเล่าถึงความชั่วของตนเอง ปลงอาบัติไปหลายตัวแล้ว มาถึงตัวหนึ่ง อาตมานี่ปลงกับหลวงพ่อตัวต่อตัวเลยนะ เป็นองค์แรกที่กล้าปลงกับท่าน จดมาเลย อาตมาก็บอก “ข้าแต่หลวงพ่อผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยืนปัสสาวะ...” พูดยังไม่ทันจบ หลวงพ่อบอก “หยุด ๆ ๆ ๆ แกปลงไม่ตกหรอก แกต้องไปยกขาข้างหนึ่ง” ด่าเราแสบเสียอีก แหม ... จำจนตายเลย

พอปลงอย่างนี้ไม่กี่วัน มันก็มีงานอยู่งานหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิมนต์หลวงพ่อไปอยุธยา ให้อาตมาไปด้วย พระก็ไปหลายองค์ ไอ้เราก็ไปเที่ยววัดมงคลบพิตร ฝนมันก็ตก ก็ปวดปัสสวะก็หาที่ไม่ได้ ที่ปัสสาวะที่วัดมงคลบพิตรมีที่ยืนทั้งนั้นนี่ เราปลงอาบัติมาใหม่ ๆ ก็นึก

เอ.. กูจะทำยังไงโว้ย คิดดูจะทำยังไง ก็เลยตัดสินใจไปบอกหลวงพ่อ ท่านบอก “ไอ้ระยำ ทียืนก็ต้องยืนซิ ที่ยืนจะไปนั่งมันงามที่ไหนล่ะ ที่ยืนก็ยืน เขาไม่ปรับหรอก” แหม... เราเถรตรงนี่ลำบากเหมือนกัน กลัวก็กลัวท่าน แต่ก็ต้องเอาเพราะมันไม่สบายใจ จำไปตลอดชีวิต

มาตอนหลังนี้ได้มาอยู่ใกล้หลวงพ่อ เมื่อ พ.ศ 2525 ตอนนั้นท่านป่วยด้วย ตอนที่ท่านปัสสาวะไม่ออก กล้าตั้งแต่ตอนนั้น ตอนหลวงพ่อท่านจะกินยา ท่านจะปล่อยทุกอย่าง มีอะไรก็คุยได้ ดีทุกอย่าง คุยแบบเป็นตัวของท่านเองเลย ท่านมีเมตตาทุกอย่าง จะทำอะไรให้ก็ “ขอบใจนะลูกนะ” พูดเพราะ

เรานี่พูดเลียนแบบไม่ได้ ท่านพูดเพราะมาก เป็นธรรมชาติของท่านจริง ๆ แม้แต่พระพุทธเจ้าพูดกับหลวงพ่อ พูดลูกทุกคนเลย ดูท่านเขียนหนังสือซิ เขียนกับลูกดูซิ และหนังสือของท่านทุกตัวอักษรนะ มีความหมายหมด เพราะว่าท่านเขียนด้วยสติสมบูรณ์ ไม่เขียนลื่นไปลื่นมา

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป ตอน ความดำริ >>>

« ตอนที่ 1 « ตอนที่ 2 « ตอนที่ 3



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/5/09 at 08:27 [ QUOTE ]


ความดำริ


เมื่ออยู่กับพระเดชพระคุณท่าน ท่านสอนให้เราละความชั่วทุกอย่าง โดยท่านไม่ปรานีคนชั่ว ท่านลงสอนกรรมฐานทุกคราว ท่านจะตำหนิพระที่ทำไม่ดี ทำตัวเป็นเดียรถีย์ในพุทธศาสนา จะเรียกว่าเป็นพระไม่ได้

ท่านบอกพวกนี้เป็นโจร อาศัยผ้าเหลืองหุ้มห่อกายมาหากินในพุทธศาสนา เมื่อท่านปรารถนาอย่างนี้ทุกวัน เราเองก็ไม่ใช่พระที่ดี ก็ยังมีนิวรณ์เต็มอัตราคือ คิดชั่วอยู่ประจำ คิดชั่วในที่นี้คือ นิวรณ์คุมใจอยู่ประจำ ก็คือ

1. ชอบเสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่นิ่มนวล นึกถึงคนสวย คนงาม ก็ตามคิดถึงอยู่เป็นนิจ อย่างนี้คือ นิวรณ์ตัวที่ ๑

2. นิวรณ์ที่ ๒ คือมักโกรธ ใครทำไม่ถูกใจก็โกรธ มีใครทำไม่ถูกใจก็นึกถึงว่า คนนั้นมันด่าเราวันนั้นวันนี้ อารมณ์ก็เร่าร้อน

3. ง่วงเหงาหาวนอน

4. อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทางเป็นประจำ

5. สงสัยไม่หยุดหย่อน

แล้วก็เมื่อท่านสอน ท่านตำหนิอย่างนี้ทุกวัน จิตเราก็ชั่วอยู่เป็นประจำ อย่างนี้ก็ละอายใจ เมื่อเห็นครูบาอาจารย์ก็หลบ เพราะจิตเราชั่ว ท่านบอกคนก็ดี พระก็ดี ถ้านิวรณ์คุมใจ เป็นทาสของนิวรณ์นั้น จะเอาอะไรมาดี ความดีก็ไม่มีในตัว ห่มผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระ เป็นเปรตอาศัยพุทธศาสนาหากิน

เราก็นึกอยู่ในใจเพียงว่า เราเป็นเปรตทุกวัน เป็นเปรตอยู่ทุกวัน ครูบาอาจารย์ก็สอนให้เราระงับความชั่ว เราก็ระงับไม่ได้สักที อย่างนี้ก็อาศัยผ้าเหลืองเขาหลอกชาวบ้านหากินไปวัน ๆ

แล้วความอายใจ ที่ท่านตำหนิอยู่อย่างนี้ทุกวัน คือ นึกว่าชาตินี้จะพ้นนรกหรือเปล่าก็ยังไม่ทราบ แต่ก็นึกว่า เอา..เอาล่ะ คนเราน่ะเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่มันจะดีเลยไม่ได้ ก็ต้องมาฝึกทำความดีกันต่อไป ถ้าจะลงนรกก็ยอมละ แต่ข้าขอปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นึกเข้าข้างตัวเองว่า

พระพุทธเจ้า ท่านก็บำเพ็ญบารมีมามาก ๖ ปีกว่า ท่านจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ เราก็พึ่งบวชมาพรรษาเดียว ๒ พรรษา จะให้เป็นอย่างนั้นก็จะเก่งเกินพระพุทธเจ้าไป ก็นึกเข้าข้างตัวเอง ก็ฝืนทนมาว่า ๖ ปีนี้ ถ้าเราปฏิบัติแล้วไม่ได้มรรคได้ผลอะไรเลย ก็จะสึกเหมือนกัน

สึกแล้วก็คงจะไปหาสิ่งที่ปรารถนา จะได้ของสวยงาม ๆ อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ที่ทุกคนปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สิ่งที่ถูกใจ เมื่อบวชอยู่กับท่านต้น ๆ พรรษา ๑ พรรษา ๒ พรรษา ๓ พรรษา ก็ทำไปทำมาเป็นปกติ มองดูแล้วตัวเองไม่มีความเจริญทางด้านสมาธิ หรือปัญญาอะไรเลย มีแต่ความฟุ้งซ่านเข้าประทับจิตอยู่เสมอ

ท่านทั้งหลายที่ยังไม่ได้บวช อยากจะบวชก็จงจำไว้ว่า ความตั้งใจนั้นเป็นสิ่งที่ดี การปฏิบัติธรรมนั้น แม้จะไม่ได้วันนี้ วันหนึ่งก็ต้องเป็นวันของเรา เมื่อบวชมาได้สัก ๓ พรรษาได้ ก็นึกเข้าใจ

เอ๊ ! เรานี่บวชมาแล้ว ไม่มีความเจริญเลย สมาธิก็ไม่เคยทรงตัว เป็นภาพนิวรณ์ปกติหาความเจริญใส่จิตไม่ได้ ปกติเป็นคนขี้เกียจ อยากได้อย่างเดียวก็คือ สำเร็จโดยไม่ต้องออกแรง คิดอยู่อย่างนั้นก็เกิดความละอายใจ

พอเราบวชมาแล้วก็โกหกชาวบ้านเขาหากินอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งคิดอย่างนี้ก็ออกบิณฑบาตสายเรือ เรียกว่า ไปทางน้ำ ต้องพายกันไป ๒ องค์ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตรได้ ไปกลับเป็นสายเรือประจำของทางสายแม่น้ำสะแกกรัง

เมื่อพายไปก็คิดไปว่า เรานี้ไม่อยากจะอยู่แล้ว คิดว่าจะไม่หลอกลวงชาวบ้าน จะไม่โกหกชาวบ้านหากินแล้ว ก็คิดไป เอ! บิณฑบาตเขาก็หาว่าเป็นพระ หาว่าเราเป็นผู้ประเสริฐ ยกมือไหว้ เมื่อให้ยกมือไหว้ เมื่อให้แล้วก็ยกมือไหว้ เราก็ยังเลวเต็มอัตราศึก

ปกตินึกละอายใจก็พายเรือไป ก็นึก ก็มองเห็นแพผักตบชวาลอยน้ำไป มีเรือวิ่งสวนมา มีคลื่นกระทบแรง ๆ เรือเราก็เรือเล็ก พอเรือเครื่องเรือเร็วสวนมา เราก็ปรับเรือให้รับคลื่น ไม่ให้เรือเราล่ม ก็เอาสิ่งที่เห็นด้วยตานั้น มาคิดปรับกับตัวเองว่า

ชีวิตตัวเราเองนั้นน่ะจะเปรียบเหมือนกับกองสวะที่ลอยตามน้ำไปนี่ เพราะกอสวะมันไม่มีหางเสือ มันไม่มีสมอง มันก็ลอยไปตามยถากรรมของมัน มันอาจจะแปะตรงนั้นก็ได้

มันอาจจะแปะตลิ่งตรงนี้ก็ได้ พอลอยไปตามยถากรรมหาจุดหมายปลายทางไม่ได้ ชีวิตของตัวเราเองนั้นน่ะ เมื่อมีมันสมองแล้วนี้ จะปล่อยให้ชีวิต ล่องลอยเหมือนกอผักตบชวาอย่างนั้นรึ


ใจก็มาตามคิด ไม่ใช่ เมื่อเรามีมันสมองแล้วนี่ ก็ต้องบังคับมันให้เข้าตามทิศตามทางสิ่งที่ดีได้ ไม่ใช่ปล่อยชีวิตเหมือนแพสวะ ลอยตามน้ำไปหาจุดหมายปลายทางไม่ได้ เมื่อเรามีมันสมอง มีปัญญา เกิดมาเพื่อปรารถนาพระนิพพาน ปรารถนาพระนิพพาน

เมื่อตั้งจิตปรารถนาอย่างนี้แล้ว ก็ต้องใช้ปัญญาของตัวเอง การจะไปพระนิพพานได้ทำอย่างไร ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ มีจิตตั้งมั่น ตัดสังโยชน์ ๓ ได้ ก็จะเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น เมื่อมีแบบแผนอย่างนี้แล้ว เมื่อมีปัญญา ก็ต้องหัดจิตของเราให้เข้าตามแบบแผนที่พระพุทธเจ้าวางไว้

พอคิดได้อย่างนั้นก็นึกว่า เอาล่ะ..อดทน เมื่อเห็นแพสวะอย่างนี้แล้ว เราก็จะไม่เป็นแพสวะ เราต้องตั้งมั่นเป้าหมายของชีวิตว่า ชาตินี้ที่ปรารถนาคือพระนิพพาน แต่การปฏิบัติธรรมนั้นก็ต้องมีอุปสรรค มีสิ่งกระทบกระเทือนกระทั่งใจ มีความเบื่อหน่าย มีอุปสรรคนานาประการ ไม่เหมือนกันทุกคน อุปสรรคนั้น

ก็เหมือนเรือที่เราพายลอยตามน้ำไปตามนั้น ก็ต้องมีเรือที่เป็นเรือใหญ่กว่า มีลูกคลื่นกระทบมาที่เรือเรา เมื่อมีอุปสรรคกระทบกระแทกเรือเราอย่างนั้น เราก็ต้องมีความสามารถในการเอาตัวรอด ไม่ให้เรือล่มได้ โดยใช้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ ฉะนั้นการปฏิบัติก็เหมือนกัน ก็ต้องมีอุปสรรคในการกระทำความดี ก็ต้องต่อสู้เหมือนกับเรือกระทบกับคลื่นใหญ่

เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ว ก็ เออ! มีความชื่นใจขึ้นมาอีก พอพายเรือต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะถึงปลายทางก็คิดว่า การพายเรือนั้นไม่ใช่พายทีเดียว จ้ำทีเดียวถึงจุดหมายปลายทาง มันต้องพายบ่อย ๆ พายถูกทาง พายโดยความอุตสาหะ ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง

ก็คิดมาเปรียบเทียบกับชีวิตตัวเองว่า เมื่อพายเรือไปบ่อยๆ แล้ว ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง ชีวิตเราก็ยังมีเวลาหลายปีอยู่ การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้าเราปฏิบัติไม่หยุดไม่หย่อน ปฏิบัติไปตามกำลังของเราเรื่อย ๆ โดยไม่ผิดทาง ก็จะถึงจุดหมายปลายทางเหมือนเราที่กำลังพายเรือนี้เหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อพายเรือกลับมาถึงวัด ก็มีความคิดว่า เออ เราจะอดทนต่อไป

เมื่อฉันเช้าเสร็จแล้วก็เข้ามาที่กุฏิ ก็อธิษฐานต่อหน้าพระว่า เราจะบวชต่อไปอีกดีหรือเปล่า ถ้าจะบวชต่อไปอีก ก็ขอให้หลวงพ่อปาน หลวงพ่อช่วยตอบให้ด้วย ก็ไปเปิดประวัติหลวงพ่อปาน อ่าน คือเปิดไม่ได้เปิดเรียงหน้า ๑ หน้า ๒ เปิดหน้าไหนก็อ่านหน้านั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จก็เปิด

หลวงปู่ปานก็ตอบบอกมาเลยว่า “ ถ้าอยากดี ก็อย่าใจร้อน จะเสียผล ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ มักได้ผลเอง” ตรงนี้เป็นคำตอบที่ว่า ชื่นใจ เราก็ปิดหนังสือ เราไม่อ่านต่อ มีกำลังใจปฏิบัติต่อไปอีก เมื่ออยู่กันต่อไปก็ทำงานกันเป็นปกติ

ก็ขอวกมาเล่าถึง ตอนที่วางศิลาฤกษ์พระอุโบสถแล้ว พวกเราก็ทำงานสิ่งที่ทำได้คือ ทำกุฏิ ๑๐ หลัง หลังพระอุโบสถ ซึ่งขณะนี้ พ.ศ. ๒๕๓๘ นั้น ได้รื้อหลังเก่าออกทั้งหมด ได้สร้างเข้ามาแทนที่ใหม่ ช่วงหลัง ๑๐ หลังตอนนั้น แต่ละหลังข้างบนเป็นไม้ ไม้ยาง ข้างล่างเป็นคอนกรีตฉาบปูน แต่ขณะนี้ได้รื้อแล้วทั้ง ๑๐ หลังนั้น ได้สร้างเป็นคอนกรีตทั้งบนทั้งล่างหมด ขอให้ญาติโยมทั้งหลายทราบไว้ด้วย



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 31/8/09 at 11:06 [ QUOTE ]




ภารกิจขณะเป็นเจ้าอาวาส


1. มีการสอนพระกรรมฐานด้านมโนมยิทธิ ตามปกติตลอดทั้งปี ทั้งที่วัดท่าซุงและ บ้าน พล.อ.ท. ม.ร.ว.เสริม ศุขสวัสดิ์ คือ บ้านซอยสายลม เป็นประจำทุกเดือน และเดินทางไปสอนคณะญาติโยมที่มีความศรัทธาในต่างจังหวัด เช่นเดียวกับที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้ปฏิบัติมาก่อน

นอกจากนี้ ท่านพระครูเจ้าอาวาส ยังเดินทางไปสอนกรรมฐานที่ประเทศสหรัฐ อเมริกาทุกๆ 2 ปี ส่วนประเทศเยอรมัน ได้ส่งพระอาจินต์และพระสงฆ์อีก 4 รูปไปสอนกรรมฐานทั้งหมดนี้ ทำให้คนไทยในต่างแดนและชาวต่างชาติ ที่สนใจพระพุทธศาสนา และสนใจในการปฏิบัติกรรมฐาน ได้รับผลดี

2. สำหรับกิจกรรมพิเศษภายในวัดท่าซุง มีการจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน โดยนักเรียนโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา เพื่อปฏิบัติธรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เดือนเมษายน เป็นประจำทุกๆ ปี

และในเดือนธันวาคมทุกๆ ปี มีการอุปสมบทหมู่นับร้อยรูป และบวชเนกขัมมะ พราหมณ์ชาย-หญิง จำนวนปีละหลายพันคน และรับพระอาคันตุกะมาร่วมกิจกรรมอีกหลายร้อยรูป เพื่อปฏิบัติธรรมในด้านธุดงควัตรปีละ 10 วัน ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 16 ปี

3. ด้านการศึกษา ท่านได้พัฒนาโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยาสืบต่อจาก พระเดชพระคุณหลวงพ่อ และได้ส่งเสริมหาทุนการศึกษาเพิ่มเติมทุกๆ ปี เพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีและความประพฤติดี ให้ได้เรียนต่อขั้นมหาวิทยาลัย

4. ด้านถาวรวัตถุวิหารทาน ท่านได้พัฒนาสิ่งก่อสร้างในวัดมากมาย เช่น สร้าง ปราสาททองคำ ตึกขาวบริเวณ 25 ไร่ มณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย มณฑปพระยืน ตึกหอฉันใหม่ ห้องพักผู้มาปฏิบัติธรรม 17 ห้องและอาคารกุฏิ 20 หลังบริเวณหลังพระอุโบสถ

สร้างสวนสมเด็จ สร้างตึกพระเถระ 2 หลัง ศาลามิตรศรัทธา ร้านมินิมาร์ต ร้านอาหารหลวงพ่อ ศาลาหลวงพ่อ 5 พระองค์และโรงครัวใหม่ สร้างอาคารเก็บวัสดุสิ่งของบริเวณสวนไผ่ สร้างพิพิธภัณฑ์สมบัติพ่อให้ เพื่อบูชาคุณครูบาอาจารย์คือพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ และหลวงปู่ปาน

นอกจากนั้น ได้บูรณะสิ่งก่อสร้างในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมมากมาย กล่าวโดยย่อคือ ได้ซ่อมแซมหลังคาวิหาร 100 เมตร หลังคามณฑปหลวงปู่ปาน หลังคามณฑปพระปัจเจกพุทธเจ้า มณฑปพระจุฬามณี ทำถนนเทพื้นคอนกรีตและทำระบบระบายน้ำมาตรฐานบริเวณลานหน้าวิหาร 100 เมตรใหม่ทั้งหมด ได้บูรณะรากฐานอาคาร 3 ไร่ และได้ขยายระบบไฟฟ้าหลวงในวัดอีกด้วย

5. ท่านพระครูได้ขยายเนื้อที่วัดออกไปจากเดิม 289 ไร่ ในปัจจุบันมีเกือบ 600 ไร่ เพื่อจัดเป็นสถานที่ป่าสำหรับปฏิบัติธรรมและปฏิบัติธุดงค์ ตามดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ และท่านยังได้ปรับปรุงพื้นที่ป่า ปลูกป่า ทำระบบระบายน้ำ และทำถนนกันน้ำท่วมรอบวัด สร้างกำแพงและอาคารพระชำระหนี้สงฆ์รอบที่ดินใหม่ 200 ไร่

อีกทั้งในขณะนี้ ยังมีโครงปลูกต้นไม้ในป่าเก่าธุดงค์ (ใกล้ที่นา 30 ไร่) ทำเป็นแปลงสาธิต ปลูกผักต่างๆ และปลูกมะละกอ เป็นต้น โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้หมุนเวียน เพื่อสร้างความร่มเย็นให้แก่พื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะเวลาหน้าน้ำหลาก สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบยั่งยืน

6. และได้สร้างพระพุทธรูปที่สำคัญหลายองค์ อาทิ สมเด็จองค์ปฐมทองคำ หน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 2 องค์ พระพุทธรูปปางชมพูบดี (ปางพระเจ้าจักรพรรดิ) หน้าตัก 7 ศอก และท่านได้เป็นประธานสร้างพระพุทธไสยาสน์ 50 เมตร ที่ วัดใหม่สุขุมาราม ต.วังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร

7. ได้สร้างสำนักสาขานอกวัดท่าซุงอีก มี สำนักวัดป่าละอู อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ และสำนักที่โคราช อีกทั้งมีการบูรณะ "วิหารน้ำน้อย" ที่หลวงพ่อเคยสร้างไว้ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และสร้างวิหารที่ "วัดคลองปลากด" จ.นครสวรรค์ ซื้อที่ดินและสร้างอาคารมูลนิธิ เพื่อพระกรรมฐานในซอยสายลม 1/1 เขตสามเสน กทม. เป็นต้น

8. ด้านสาธารณประโยชน์ ท่านพระครูได้ดำเนินงานศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มอบหมายอย่างจริงจัง เต็มกำลังความสามารถมาโดยตลอด มีการมอบวัตถุสิ่งของให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้เป็นประจำทุกปี บริเวณชุมชนใกล้วัดท่าซุงอีกด้วย



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/9/09 at 08:26 [ QUOTE ]


ช่วยหลวงพ่อสร้างวัด (ต่อ)


เมื่อผ่าน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาแล้ว หลวงพ่อก็ดำริกับอาตมาว่า “นันต์ ต่อไปนี้เราก็ควรจะหยุดสร้างกันแล้ว เบากัน ที่เหนื่อยพักผ่อนไว้ ไปช่วยเยี่ยมเขาวัดโน่นวัดนี่ที่เขาเคารพนับถือดีกว่า ไม่เหนื่อย”

การก่อสร้างของเราจึงทุเลาลง ท่านจึงให้อาตมาเอากระเบื้องที่โรงงานสระบุรีถวายมาจำนวนมาก ให้เอาไปถวาย วัดสุขุมาราม ที่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร จำนวน ๑ คันรถหกล้อ เพราะว่าวัดเราหมดความจำเป็นที่จะสร้างแล้ว

เมื่ออาตมาเอาสิ่งก่อสร้างบางส่วนไปถวายวัดอื่นเสร็จไม่กี่เดือน หลวงพ่อก็มีดำริว่า พระพุทธเจ้าท่านให้ลงมือสร้างต่อไป โดยขยายที่ไปทางข้างโรงพยาบาลซื้อที่ข้างนั้นกว่า ๓๐ กว่าไร่ และชื้อที่รอบศาลา ๓ ไร่ปัจจุบัน ศาลา ๒ ไร่ ชื้อที่ครบไปเลยตอนนี้เองเมื่อลงมือก่อสร้างรุ่นหลังนี้ ท่านสร้างคราวเดียวพร้อมกัน ใช้ช่างหรือคนงานประมาณ ๓๐๐ คนเห็นจะได้ เพราะขึ้นทีเดียวพร้อม ๆ กัน

ท่านเล่าว่า สมเด็จ คือ พระพุทธเจ้าให้ท่านสร้างให้ลุยงานไปเลย ท่านบอกเรื่องเงินท่านจะหาให้ หลวงพ่อก็สั่งเกรดที่ ปรับที่ คือตัดต้นไม้ที่ไม่มีความจำเป็นออก ใช้รถแทรกเตอร์ไถลุยสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เหลือไว้แต่ต้นไม้ใหญ่ ๆ ตรงที่ศาลา ๓ ไร่

ปัจจุบันก็ดี ตึกอำนวยการและพระจุฬามณีก็ดี ตึกกลางน้ำก็ดี แถวนั้นเป็นที่ลุ่มบ้าง ท่านก็สั่งแทรกเตอร์ขุดลานดินไปถมเป็นเนิน ทำเป็นสระแล้วปลูกอาคารในสระที่ท่านเรียกว่า ตึกกลางน้ำก็ดี ตึกธัมมวิโมกข์ก็ดี ตึกอำนวยการก็ดี พระจุฬามณีก็ดี ศาลาพระนอนก็ดี ขึ้นพร้อมกันเลย ใช้คนงานมากหลายช่าง ท่านลุยงานใหญ่ทำพร้อมกันเลยทีเดียว เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก

เมื่อทำงานอย่างนั้นแล้ว ลูกศิษย์เข้ามารายงานตัวก็มาก คนเริ่มสนใจพระกรรมฐานเพิ่มขึ้น คนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพิ่มขึ้น จนการทำงานกฐินแต่ละคราวที่พระพินิจอักษรปัจจุบันนั้นเต็ม ไม่พอต้อนรับญาติโยม ท่านเลยดำริสร้างศาลา ๒ ไร่ขึ้นอีก ๑ หลัง คือใช้เนื้อที่ ๒ ไร่เพิ่มขึ้น

เมื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นคนปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ห้องพักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อหลวงพ่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างนั้น ก็เริ่มสร้างพระขึ้นมา เรียกว่า พระชำระหนี้สงฆ์ คือสร้างไว้ตามกำแพงที่วัด เริ่มแรกข้างศาลา ๓ ไร่ก่อน

เรื่องพระชำระหนี้สงฆ์นั้น เป็นพระที่สร้างชำระหนี้สงฆ์ในอดีตทั้งหมดของตัวเองคือคนเราเกิดมานั้น ไม่ทราบว่าจะมีกรรมอะไรมาบดบัง ทำให้เกิดความขัดข้องหมองใจ ความขัดข้องในการทำธุรกิจ ความขัดข้องใจอยู่ไม่เป็นสุขก็ดี อาจเนื่องมาจากเคยหยิบเอาของสงฆ์มาใช้ในอดีต องค์สมเด็จพระบรมครูจึงแนะนำหลวงพ่อให้สอนวิธีชำระหนี้สงฆ์ให้แก่ลูกศิษย์

เมื่อท่านสร้างศาลา ๒ ไร่เสร็จ ก็มาสร้างศาลา ๓ ไร่ เมื่อสร้างศาลา ๓ ไร่เสร็จก็มาจบที่ป่าไผ่ เป็นที่โรงอาหารแถวนั้น ให้สร้างกุฏิรอบนอกเสร็จ ก็ชื้อที่หลังวัดไปอีกเป็น ๑๐๐ ไร่ เรียกว่าเป็นป่า ๑๐๐ ไร่ ท่านก็สั่งให้สร้างหอไตร มีพระยืน ๓๐ ศอก

เมื่อช่างสร้างผนังแล้ว ก็ให้สร้างอาคารใช้พื้นที่ ๒๕ ไร่ ๓ แถวขึ้น และสั่งทำกำแพงล้อมรอบวัด การสร้างกำแพงวัดมีประวัติว่า รอบวัดด้านนอกนี่ยาวประมาณร่วม ๒ กิโลเมตรละมัง ประมาณนั้น เพราะที่คด ๆ เคี้ยว ๆ ที่ชื้อหลายเจ้าของไม่ติดไม่ต่อกัน แต่เมื่อติดต่อกันแล้วก็เป็นที่คด ๆ เคี้ยว ๆ ก็สร้างกำแพงรอบนอก

หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ที่สร้างกำแพงรอบนอกเป็นเขตของวัดนั้น ท่านว่าภายภาคหน้าจะมีปัญหา พระท่านมาสั่งให้สร้าง เมื่อสร้างเสร็จก็สร้างรอบนอกชั้นเดียวไปก่อน ก็ให้สร้างเลาะพื้นที่ไปเลย เทลาดยาวรอบนอก รอบที่รอบรั้วกำแพงวัด

ท่านเล่าให้ฟังภายหลังว่า เมื่อสร้างเสร็จ เทวดาที่ปกปักรักษาสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ จะขนสมบัติเข้ามาในพื้นที่วัดทั้งหมด เพื่อจะให้ฝากไว้ในเขตของสงฆ์ จะได้ดูแลง่าย ไม่ต้องดูแลว่าใครจะมาเอาสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิไปใช้ ท่านจะช่วยหาเงินด้วย

เมื่อท่านทำกำแพงรอบนอกเสร็จชั้นเดียว คือสูงประมาณ ๒-๓ เมตร เสร็จแถวเดียวก่อน หลวงพ่อท่านบอกว่า พระมาบอกให้สร้าง ๒ ชั้น ให้ทำทางเดินรอบ หลวงพ่อท่านก็บอกว่า เหนื่อย ไม่อยากทำ ท่านก็ทำชั้นเดียวไปก่อน เมื่อทำช่วงนั้นเสร็จ ท่านก็มาเทพื้นคอนกรีตทั้งหมดในวัดที่มีส่วนอยู่ สร้างศาลา ๑๒ ไร่ขึ้นมา สร้างศาลา ๔ ไร่ ติดกับ ๒ ไร่ เพิ่มขึ้นมา สร้างอาคารรอบ สร้างรั้ว สร้างรอบหมด

เมื่อหลวงพ่อท่านสร้าง ส่วนศาลา ๒๕ ไร่ยังไม่สร้าง ท่านก็สร้างโรงเรียนฝั่งตรงข้ามพระจุฬามณี มีหอพักรับนักเรียนมาอยู่ประจำ มีการให้ทุนการศึกษา เมื่อจบมัธยม ๖ แล้ว ถ้าเด็กสอบติดมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็จะให้ทุนเด็กนั้นคนละ ๗ หมื่น ๒ พันบาท จนจบปริญญาตรี ๔ ปี แต่ทยอยให้เดือนละ ๑,๕๐๐ ตลอดไป แต่เด็กนั้นจะต้องประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตั้งใจเล่าเรียน

เมื่อสร้างโรงเรียนยังไม่ทันเสร็จ ก็ชื้อที่หลังโรงพยาบาลประมาณ ๒๗ ไร่ สร้างมหาวิหาร ๑๐๐ เมตรขึ้นปัจจุบันนี้ โดยสร้างใช้เวลา ๒ ปีเสร็จ มีกำแพงล้อมรอบ มีพระพุทธรูป มีวิหาร มีมณฑปแก้วหน้าพระวิหาร ๒ หลัง เทพื้นคอนกรีตทั้งหมดหน้าพระวิหารใช้เวลา ๒ ปี โดยช่าง ๓- ช่างรวมกัน ใช้คนงานประมาณ ๑๐๐ คน

เมื่อสร้างมหาวิหาร ๑๐๐ เมตรเสร็จ ก็มีดำริจะสร้างมณฑปวิหารสมเด็จองค์ปฐม มีการหล่อรูปสมเด็จองค์ปฐม

คราวหนึ่งเมื่อสร้างมหาวิหาร ๑๐๐ เมตรเสร็จ พ.ศ. ๒๕๓๒ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องจำกันว่าในวัดทั้งหมดนั้น หลวงพ่อท่านเป็นผู้ชี้แนะให้สร้างทำทั้งหมด พวกเราเป็นผู้ช่วยสนับสนุนท่าน สนับสนุนหมายความว่า เป็นผู้ดูแลช่างบ้าง เป็นผู้เช็คงานที่ท่านสั่งทำบ้าง เป็นผู้ช่วยงานที่เราทำได้บ้าง แต่คำสั่งนั้นหลวงพ่อท่านเป็นผู้สั่งแต่เพียงผู้เดียว

มีอยู่คราวหนึ่ง อยู่ตึกกลางน้ำกันก็จะไปทำบุญ หลวงพ่อท่านลงฉันแล้ว เราก็ต้องออกผ่านท่าน ไปถึงบอก “หลวงพ่อครับ เขานิมนต์ผมเปิดร้าน เขาเจิมกันยังไงครับ” เราไม่รู้เรื่องเลยนี่ ถามอีก “หลวงพ่อครับ เจิมกี่จุดครับ เห็นเขาเจิมกันหลายจุด ใช่ไหม...”

ท่านบอก “เออ...เจิม ๓ จุดเท่านั้นนะ นึกถึง พระรัตนตรัยมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” ถามอีก “แล้วไอ้ที่ขมวด ๆ ข้างบนน่ะอะไรครับ” ท่านก็บอก “พอจุด ๓ จุดแล้วเขียนอุณาโลม ก็ว่า อุณาโลมา ปะชานะเต แล้วว่าคาถา สัมปจิตฉามิ” จะถามอีกว่า แล้วจะม้วนข้างหน้า หรือม้วนข้างหลังครับ ก็กลัวโดนดุเลยไม่ถาม

“แล้วตอนที่แต้มจุด ให้ว่าคาถาอะไรครับ”

“นะโมพุทธายะ” ตอนครูบาอาจารย์อยู่ไม่เคยสนใจพวกนี้ เพราะไม่คิดจะเลียนแบบครูบาอาจารย์ ใช่ไหม...

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ถูกให้นับกระดาษห่อทองคำเปลว>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 16/9/09 at 08:30 [ QUOTE ]


ถูกให้นับกระดาษห่อทองคำเปลว


โอ...เรื่องเปลือกทองนี่โหดร้ายมาก หลวงพ่อสั่งให้นับ เวลาปิดทอง โบสถ์ต้องใช้ทองเป็นหมื่นเป็นแสนเหมือนกันนี่ ปิดแล้วเอาเปลือกทองมา ทีละห้าหมื่น ๆ เราก็ต้องมานั่งนับเปลือกทอง เวลาช่างมาส่งต้องนับต่อหน้าช่างด้วยนะ นับไปก็นึก เอ๋...หลวงพ่อให้นับทำไมนะ จะขายได้สักเท่าไรนะ

ไอ้เปลือกทองนี่ให้นับอยู่เรื่อย มารู้ตอนหลังว่าท่านกันไม่ให้ช่างปิดทองลักทอง สมัยก่อนทองแผ่นละบาท แรงงานวันละ ๒๐ บาท มันลักไปวันละ ๑๐ แผ่น ๑๐ วันก็ ๑๐๐ แผ่นแล้ว ที่ให้นับมันจะได้โกงไปไม่ได้ มารู้ตอนหลัง มีอยู่ที หัวใจจะวายตาย ไปยกเมฆท่าน

คิดว่าตัวเราฉลาดมาก ยกเมฆหลวงพ่อ หลวงพ่อสั่งบอกว่า เวลาเขาเบิกกลอนไปกี่ตัว แกทำบัญชีไว้นะ แล้วแกไปดูด้วยเขาใส่กลอน ตามหน้าต่างถูกไหม ตะปูเบิกไปเท่าไรจดไว้ ไอ้เราก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ถามบ้าง ไม่ถามบ้าง ขี้เกียจทำ ยกเมฆบ้าง

วันหนึ่งก็ไปกราบตอนเช้า ๆ หลวงพ่อถาม “นันต์ แกทำบัญชีเบิกหรือเปล่า” ทำครับ “แกทำไว้เรียบร้อยใช่ไหม” ครับ ท่านมองลอดแว่นมาหาเลย “เดี๋ยวข้าจะขอดูบัญชีแกสักหน่อย” โอ้โฮ... หัวใจจะวายให้ได้ เวลาท่านดุนี่ ด่า ๓ วัน ๓ คืน ถ้าลงเทปด้วยละก็ไม่ต้องแล้ว ประจานกันทุกวัน เทปเปิดตอนเย็นนี่ เปิดเทปทีก็แปล๊บ



ความคิดคำนึงและคำสั่งหลวงพ่อ


มีอยู่คราวหนึ่ง ปลายๆ ประมาณ พ.ศ. 2530 ได้ อาตมาเดินบิณฑบาตอยู่คิดในใจว่า ถ้าหลวงพ่อมรณภาพแล้วนี่ จะมีเงินบูรณะวัดหรือเปล่า แล้วจะอยู่กันอย่างไร คิดเสมอ คิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ของตัวเราเอง ก็คิดว่า ลูกศิษย์หลวงพ่อนี่มีเป็นร้อยเป็นพัน อาจจะถึงหมื่น อาจจะถึงแสน แม้อยู่ใกล้อยู่ไกลก็ดี

แต่ปกติ ถ้าเราบอกบุญกึ่งบังคับ เมื่อหลวงพ่อมรณภาพไปแล้วนี้ คิดในใจว่า อยากจะขอร้องญาติโยมที่เคารพรักนี่ ทำเป็นสมาชิกของวัดที่อุปการะวัดเลย เป็นผู้ที่บำรุงวัดว่า ปีหนึ่งจะขอเขาคนละ ๑๐๐ บาท ๑๐๐ คน ก็ได้หมื่นบาท ๓๐๐ คน ก็ได้ ๓๐,๐๐๐ บาท ต่อปี พันคนก็ได้แสนบาท หมื่นคนก็ได้ล้านบาทต่อปี แสนคนก็ได้ ๑๐ ล้านบาทต่อปี ให้เขาส่งเงินมาปีละ ๑๐๐ บาทต่อปี ต่อทุน เป็นสมาชิกจนกว่าจะตายจากกัน

ก็เราทำอย่างนี้ก็จะมีเงินมาบำรุงวัดโดยแน่นอน ถ้าปีละ ๑๐๐ ต่อคนเขาก็ไม่หนักใจ เมื่อคิดอย่างนี้ก็อยู่ในใจตลอด ก็คิดไปเรื่อยก็หมื่นคนก็ได้ปีละตั้ง ๑ ล้าน แสนคนก็อาจจะปีละ ๑๐ ล้าน สมาชิกอย่างนี้นะ ถ้ามีอย่างนี้ปีละ ๑๐ ล้าน เราก็ทราบว่ามีเงินพอจะดูแลวัดไม่ให้สลายตัวง่าย

เมื่อคิดอย่างนี้ก็อยู่ในใจ ไม่ได้บอกใคร อยู่ในใจเสมอ เวลาผ่านไปตั้งเป็นเดือน ท่านก็คุยมาลอย ๆ ว่า เฮ้ย! คนเราถ้าคิดจะทำอะไรที่คิดไว้น่ะ ไม่ต้องไปทำหรอกนะ รบกวนเขาเกินไป ท่านพูดลอย ๆ ไม่ได้พูดกับเรา พูดลอยๆ เราก็นึกว่า โอย! นี่ถูกต้องแล้ว ครูบาอาจารย์ก็รู้ว่าเราคิด ห้ามเราทำเป็นการรบกวนญาติโยมเกินไป เขาจะรำคาญ นี่การคิดในใจเฉย ๆ ไม่ได้บอกใครท่านยังไม่รู้เลย

ฉะนั้นเมื่อเราพบครูบาอาจารย์ คือหลวงพ่อของเราอย่างนี้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ภูมิใจเลยว่า สมแล้วไม่เสียชาติในการเกิดมาในชาตินี้ คือ พบพระแท้พระที่สามารถจะสอนให้เราพ้นทุกข์จากวัฏฏะได้ อันที่จริงพระในพุทธศาสนาในประเทศไทยเราก็มีมากเป็นผู้ที่ประเสริฐ สามารถจะให้เราพ้นทุกข์ได้เหมือนกัน แต่เราก็มีความศรัทธาเคารพในคำสอนที่ท่านสอนเรา เช่นหลวงพ่อได้แนะนะเราไว้ทุกอย่างโดยไม่ปิดบัง

การปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้ารู้ไม่ครบ รู้นะไม่ใช่ปฏิบัติได้ทั้งหมด ที่ปฏิบัติได้ทั้งหมดต้องพระพุทธเจ้า หรือผู้ที่มาจากพุทธภูมิ ถ้ารู้ไม่ครบหรือไม่เข้าใจ จะเถียงกันเหมือนตาบอดคลำช้าง ดังนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงลงมือสอน กรรมฐาน ๔๐ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร สลับกันในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๘

ท่านสอนที่ตึกเสริมศรีปัจจุบัน ตอนกลางวันนั้น บ่ายโมง ท่านสาธุชนคิดดูหลังบ่ายโมง เวลาที่ง่วงนอนดีที่สุด คือ พระฉันเพล ๕ โมง พัก ๒ ชั่วโมง ก็ลงมาฟังคำสอน หลวงพ่อสอนสนุก ท่านสอนทุกวันเสาร์อาทิตย์เว้นวันพระ

ที่ท่านกำหนดสอนตอนบ่ายวันเสาร์และอาทิตย์ ก็เพื่อให้ญาติโยมที่อยู่ทางกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสมารับคำสอนด้วย สอนพื้นฐาน เมื่อสอนเสร็จท่านก็สั่งให้ติดลำโพงขยายเสียงในห้องทุกห้องที่มีอยู่ ตอนเย็นๆ ก็เปิดเสียงตามสายออกมาให้ญาติโยมฟัง

ท่านบอกว่า ให้ผ่านหูผ่านตาไปเรื่อยๆ เมื่อฟังเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ก็ไม่เป็นไร จิตจะไปจดจำ เมื่อใครเขามาสอบมาถามก็ยังมีความเข้าใจบ้าง เป็นการยัดเยียดให้เกิดปัญญา กระทั่งปัจจุบันนี้ ๓๐ กว่าปีแล้วก็ยังทำอยู่ คือเปิดเสียงตามสายไปยังห้องทุกห้อง ตอน ๔ โมงเย็นครั้งหนึ่ง ตอน ๓ ทุ่มครั้งหนึ่ง ตอนตี ๔ ครั้งหนึ่ง

เพื่อให้ญาติโยมที่มาประจำอยู่ที่วัดนั้น รับทราบข้อวัตรปฏิบัติและธรรมะก่อนนอนก็เป็นบุญ ตื่นมาก็เป็นบุญ เอาไม้กวาดกวาดลานวัดก็เป็นบุญ อยู่ในวัดถ้าไม่ชั่วจริงๆ มันตกนรกไม่ได้ แต่ก็ยังมีผู้ที่ต้องการตกนรกยังอยู่อีกเยอะ

เมื่อท่านสอนกรรมฐาน ๔๐ และมหาสติปัฏฐานสูตร เสร็จภายในพรรษาออกพรรษานั้น ก็สอนพระธรรมวินัย พระวินัยอีก เพื่อให้พระอยู่ในศีลในธรรมกัน พระวินัยตอนนั้นมีประมาณ ๔ ม้วน คือม้วนละ ๙๐ นาที เมื่อสอนพระวินัยแล้ว มีตอนหนึ่งที่อาตมาจำไม่ลืมก็คือ คนในวัดก็ดี พระในวัดก็ดี ท่านบอกว่า

“แม้นข้าจะตายไปจากร่างกายแล้ว พวกที่อยู่เบื้องหลังนั้น ถ้ามันยังทำเลวกันอยู่ ข้าจะไม่ปล่อยให้พวกเดียรถีย์นี้อยู่ในวัดนี้ เมื่อข้าตายไปแล้ว ก็จะคอยดูมันทำความดีกันหรือเปล่า ถ้าไม่ทำความดี ข้าจะจัดการมันทุกคน” เป็นสิ่งที่อาตมาเองก็กลัวเหมือนกัน กลัวว่ามันจะเลวจนท่านจะไม่รับให้อยู่ในวัดนี้

ฉะนั้นท่านทั้งหลายเมื่อเข้ามาอยู่ในสถานที่นี้แล้ว ก็ขอให้ตั้งจิตตั้งสติ ตั้งความดีไว้ว่า จะประกอบแต่ความดี อันที่จริงนี้ไม่ใช่ขู่ แต่เล่าตามความเป็นจริงที่อาตมาอยู่มานาน

เรื่องห่มจีวรเหมือนกัน สมัยก่อนนี่ก็มีสีกรักมั่ง สีแก่นขนุน สีกรักดำ กรักแดง กรักแก่นขนุน สีเหลือง อะไรอย่างนี้ ใครพอใจอย่างไหนก็ไปห่มกันเอา มีจีวรอะไรก็ไปห่มกัน ก็มีอยู่วันหนึ่ง เราก็ไปช่วยหลวงพ่อห่มจีวร ก็ห่มจีวร จับจีวรให้ท่าน สำหรับผ้ารัดอกอะไร จะไปรับแขก เวลามีงานน่ะ ท่านก็บอกกับเรา ท่านก็ติงมา ท่านบอก

“เราเป็นพระอยู่ในบ้านในเมือง ไม่ต้องไปห่มสีกรักกับเขานะ ไม่ต้องแสดงตัวว่าเป็นพระกรรมฐาน อยู่ในเมืองให้ใช้สีนี้ มันกลืนกับพระในเมืองไป” แต่จริง ๆ คนเขามองก็มองกันแค่ภายนอก ตัวนี้มันเป็นมายาอีกตัวหนึ่ง เหมือนทำให้เขารู้ว่าเราเป็นพระกรรมฐาน มองละเอียดจะรู้ว่า นี่มันเป็นมายาอีกตัวหนึ่ง

มายาตัวนี้มันเป็นอุปกิเลส ถ้าเราเจตนาจะทำตัวนี้ มันเป็นอุปกิเลสเสียแล้ว ความดีจะเข้าไม่ถึง อย่างนั่งกรรมฐานโชว์อีกอย่าง หลวงพ่อท่านสอนมาเยอะเลยละ เห็นคนเขามานี่ เดินจงกรมเสียหน่อย เขาจะได้รู้ว่าเคร่ง พวกนี้ก็ไม่ได้ ถ้ารู้ปุ๊ปต้องหลบเลย ก็หลวงพ่อเองท่านก็เป็นถึงขนาดนั้นแล้ว

ฉันอยู่ห้องเทปตรงกัน เราก็เปิดไฟทำงาน พอเปิดไฟปั๊ป หลวงพ่อรูดม่านเลย ม่านตรงที่ท่านเดินจงกรมอยู่น่ะ ท่านรูด ท่านปิด ท่านเป็นพระขนาดนั้น ท่านยังปิดเราเลย เราอยากจะเปิด มันเป็นอย่างนั้นน่ะสิ กิเลสมันมี มันจะเป็นอย่างนั้น ท่านสอนในเรื่องอุปกิเลสเยอะ ท่านสอนแล้วก็ต้องระวัง

ทีนี้ถ้าเราเอาไปใช้ได้ก็ได้ประโยชน์กับเรา ใคร่ครวญติตัวเองอยู่เสมอ ไปถึงไหนแล้ว ขี้เกียจ ขยัน กิเลสตัวไหนมันงอก เราต้องเคาะเอง จิตเรานี่ ถ้าเราไม่เคาะเองเสร็จ มันเหมือนโกหกตัวเอง อยากจะเป็นพระอรหันต์โดยไม่ต้องออกแรง ส่วนมากคนเรามันจะอย่างนั้น อยากจะเป็นผู้หมดกิเลสโดยไม่ต้องออกแรง

นึกว่า วันหนึ่งมันจะพั๊วะอย่างสมัยพุทธกาล ที่จริงแล้วต้องทำ ต้องเคาะ ตรวจดูจิตเราเสมอ ต้องเคาะกิเลสเราอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่ากิเลสมันพอกมาแล้ว อีก ๗ วันถึงนึกได้มาเคาะมัน มันเกาะลงกระดูกแล้ว ถ้าเคาะได้ไวมันก็ละได้ไว

หลวงพ่อเคยปรารถเหมือนกันว่า “ เออ ถ้าข้าไม่อยู่ แกอย่าปล่อยให้วัดมันโทรมเศร้าหมองไปนะ พ่นสีให้มันใหม่ ข้ามีเวลาข้าจะทำ” จริง ๆ ท่านคุยกับเราว่าท่านจะอยู่ไปเรื่อย แต่ว่าเราไม่ได้เชื่อจริงๆ ไม่เฉลียว “เออ...นันต์ มันก็สร้างจนหมด ไม่มีอะไร ใหญ่ๆ ทำเสียก่อน”

ท่านก็คุยกับเราธรรมดา แต่เราก็ไม่เคยคิดเลย ไม่เฉลียวใจ ไม่เชื่อท่านเรื่องนี้ อย่างอื่นเชื่อนะ แต่ไอ้เรื่องตายนี่ไม่เชื่อ คือไอ้เรามันหลงเกินไป ท่านก็บอกตลอดนะ เรามาฟัง ๆ ท่าน ท่านไม่เคยพูดปดกับเรานี่ ท่านไม่เคยพูดอะไรที่ไม่จริงเลย พูดจริงทั้งนั้นนะ แต่เรามันชั่วเองที่ไม่เชื่อท่าน

ท่านพูดว่าจะไปเมื่อนั่นจะไปเมื่อนี่ ตอนหลังนี่ท่านสั่งให้พ่นสี ๒๕ ไร่ ใช่ไหม ท่านบอกงานที่ใช้เงินมาก ๆ ท่านจะรีบใช้ซะ กลัวเราจะลำบาก ปีนั้นพระก็เก่งเหลือเกิน โอ้โฮ คือพระมี ๕๐ องค์นี่ เราจะแบ่งเป็นสองผลัดเลย วันนี้ทำ หยุดวันหนึ่ง อีกชุดทำ เปลี่ยนกัน เปลี่ยนกันทำคนละชุดน่ะ ทำสองชุด พ่นกันทั้งวัน บางคนพ่นทั้งคืน

คือท่านเร่งมา เราก็เร่งพระ แบ่งกันเป็นสองชุด กลุ่มหนึ่งผสมสีคอยส่ง อีกกลุ่มหนึ่งพ่นอย่างเดียว ผสมนี่ก็มาเปลี่ยนสีให้มาเติมสีให้ ไอ้นี่ก็พ่นไปเหอะ คลุมกันเป็นไอ้โม่งอะไรอย่างนี้ พ่นกันจนเก่งเลยนะ พ่นกันเป็นเดือน

บางคนเข้ามาตกใจเหมือนกัน เอาหน้ากากใส่นี่ใช่ไหม แล้วก็เอาผ้ามาเคียนหัวอีก ถกเขมรขึ้นไปพ่นปู้ด ๆ เพราะว่าสีมันฟุ้งนี่ ไอ้รองพื้นก็รองไป ทับหน้าก็ทับไป ทับรอบสามก็ทับ ๒๕ ไร่นี่ ฝีมือพระทั้งนั้น โดยเฉพาะในห้องนี่ มันข้างนอกอีกตั้งเยอะใช่ไหมทำกัน บางคนทำกลางคืน มันเงียบ ทำกลางคืนทั้งคืน

พอเสร็จปุ๊ป ท่านก็ให้เราเอาชื่อพระมา พวกพระพ่นสี เอาชื่อมาให้หมดนะ เราก็อ้อยอิ่ง “ เอ๊ะ ไอ้นันต์มันอืดอาดช้าจริงเลย เอาชื่อพระมาเดี๋ยวจะไม่ทันการ” พอเอาชื่อพระมาให้ท่าน “ ท่านก็เอาเงินเข้าบัญชีให้ ให้เก็บดอกผลเอามาเลี้ยงพระ พวกที่มาพ่นสีนี่ นะให้เดือนละ ๒๖๐ บาท นี่เงินเดือนนะ

หลวงพ่อ สมัยก่อนท่านอยู่ที่วัด ก็มีลูกศิษย์นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ก็นั่งกรรมฐานทุกวัน ถึงท่านจะแก่ คนไปมากไปน้อยก็นั่งกรรมฐานทุกวัน พอนั่งไปตอนหลังนี่ท่านแก่มาก ก็สั่งกับฉันบอกว่า “นันต์ แกอย่าลืมนะว่าวัดนี่ ที่ข้าสร้างมาได้หลายร้อยล้านนี่ ข้าไม่ได้สร้างด้วยอะไรเลย สร้างด้วยกรรมฐาน แกอย่าทิ้งกรรมฐานนะ ถ้าแกทิ้งกรรมฐานเมื่อไรวัดจะพัง เพราะข้าสร้างมาข้าสร้างมาด้วยกรรมฐานนะ วัดนี้น่ะ”

ท่านบอกว่า ถ้าสร้างไปนี่ ถ้าเราทำจิตดีนี่ เทวดาท่านก็ช่วยเกื้อหนุน พระท่านก็ช่วย มีรุ่นก่อนๆ ที่ท่านสร้างเขาเรียกว่า ตึกริมน้ำ ท่านไม่มีลูกศิษย์มากนี่ พ.ศ. ๒๕๑๓ นี่ยังไม่มีลูกศิษย์ยังได้วันใช้วัน อะไรอย่างนี้ กฐินทีก็ใช้หนี้เขาทีหนึ่ง

ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อสร้างกุฏิหลังนี้ไม่มีเงินเลย พระอินทร์มาบอกว่า คุณ เทวดาน่ะร้อนไปทั้งดาวดึงส์แล้วนะ ท่านช่วยอย่างไรล่ะ ช่วยหาเงิน เพราะเป็นหนี้เขานี่ เป็นหนี้เขา กฐินทีก็ใช้เขาที กฐินทีก็จ่ายหนี้ทีหนึ่ง

แต่ช่างช่วงนั้นก็เรียกว่าไม่มีเงินก็เชื่อเครดิตพระ คือปล่อย ปล่อยทำไปเรื่อย ช่างแถวนั้นรวยทุกคน ที่ปล่อยเครดิตให้นะ รวยทุกคนเพราะหลวงพ่อนี่ท่านไม่ทิ้งคน ท่านไม่ทิ้งผู้มีบุญคุณกับท่าน อย่างโยมกิมกีอย่างนี้ ให้มาขายในร้านในวัดเลย เพราะว่าหลวงพ่อแต่ก่อนไปอยู่วัดใหม่ ๆ บิณฑบาตไม่ได้ก็ต้องผูกปิ่นโตเขา

วัดเรานี่เดือนหนึ่ง ค่าไฟฟ้าประมาณ ๒ แสนห้าหมื่นบาท คือสมัยก่อนเรื่องไฟฟ้า เคยมีความคิดว่า ถ้าหลวงพ่อไม่อยู่จะไม่เปิดไฟมาก เพราะเปลืองไฟ เพราะมีไฟสปอร์ตไล้ท์อยู่ ๑ ดวง บนตึกกลางน้ำ ใช้ไฟมากตั้ง ๓,๐๐๐ วัตต์ ขณะที่คิดอยู่อย่างนั้น หลวงพ่อบอกว่า “เออ...นันต์ ถ้าข้าตายไป ไฟทุกดวงอย่าปิดนะ ถ้าใครปิดไฟมันจะต้องดับตามไฟไปเลย”

ท่านบอกว่า “ ที่วัดนี้ถ้าเปิดไฟสว่าง คนมาวัดก็จะสบายใจ ไม่หดหู่ใจ มีความสว่าง มีความสดชื่น ไม่หวาดระแวง และปลอดภัยด้วย” ท่านจะเปิดไฟรอบวัด ใช้ไฟกลางคืนมากกว่ากลางวัน ไอ้เราจะประหยัด

ตอนหลังท่านไม่ได้ลงกรรมฐาน ตอนท่านป่วยมาก ๆ นี่ท่านลง เมื่อครั้งสุดท้ายนี้ก็มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อปี ๓๕ ทำบุญวันปิยมหาราชที่วิหาร ๑๐๐ เมตร เด็กนักเรียนก็นั่งเป็นแถว พระก็มาแล้วละ แต่ยังมาไม่ครบ หลวงพ่อมาก่อน “เออ...พระเอ้ย ยังมาไม่ครบกันเหรอ มาครบเหรอยัง” “ยังครับ” “เออ...เข้ามานั่งใกล้ ๆ” ใครมาไม่ครบ ท่านก็ดู เอาเทปวาง

“เออ...พระมาไม่ครบเหรอ...” เรานึกหลวงพ่อจะคุยอะไร ไม่ได้ด่ากันมานาน “เออ...นันต์ พระลงกรรมฐานครบไหมหว่า...” “ไม่ครบครับ” “เอ้า ไปไหนกันหมดล่ะ” “ไม่ทราบครับ” “เลี้ยงสัตว์เดรัจฉานไว้ที่นี่เหรอ มันไม่คุ้มค้าข้าวของชาวบ้านเขานะ”

ใครมีพระพุทธรูปอยู่ที่บ้าน จะเป็นพระอิฐ พระปูน พระทองเหลือง พระแก้วก็ดี อย่านึกว่าไหว้แล้วพระพุทธเจ้าไม่รู้ มันมีเรื่องๆ หนึ่งอยู่ที่วัด มีคนมาขอพระพุทธรูปข้างโบสถ์ที่วัด พอขอไปแล้วพระพุทธเจ้ามาบอกกับหลวงพ่อว่า “ต่อไปนี้ใครมาขอฉันไป คุณอย่าให้นะ ไอ้พวกนี้มันไม่ไหว้ฉันหรอก มันเอาไปหากิน”

พระพุทธเจ้าแม้จะปรินิพพานแล้ว ใครจะกราบท่าน ไหว้ท่าน ท่านรู้ สังเกตดู หลวงพ่อจะกราบพระอิฐพระปูนข้างวัดก็ช่างเถอะ เรางี้อาย ท่านกราบแบบนอบน้อม ยกมือแต่ละครั้งเหมือนกับว่าท่านไหว้พ่อไหว้แม่จริงๆ เห็นใครกราบพระไม่สวยเท่าหลวงพ่อเลย เราต้องอายเลยท่านกราบด้วยใจจริงๆ

พระที่วิหาร ๑๐๐ เมตร ที่เป็นพระประธานน่ะนะ เรียกว่า พระมหาลาภ เหมือนกัน เพราะว่าเวลาสร้าง หลวงพ่อเอาผงที่ทำพระคำข้าวที่พุทธาภิเษกแล้วเอาไปฉาบทา มีคราวหนึ่ง ช่างคะนองปาก ช่างเขากำลังโป๊สี เพราะหน้าท่านแตกยังไม่เรียบร้อย

ไอ้ช่างคะนองปากบอก “นี่ ช่างเสริฐ ทำไม่ไม่ใช้กวนอิมล่ะ” พอรุ่งขึ้นอีกวัน ช่างปากบอนปากบวม หาสาเหตุไม่ได้ ก็นึกไม่ออกว่าไปทำอะไรที่ไหนมา ลูกสะใภ้ช่างชิตพูดขึ้น เลยนึกได้ว่าเมื่อวานไปล้อพระที่วิหาร ๑๐๐ เมตร เลยจุดธูปเทียนไปขอขมาแล้วก็หาย หลวงพ่อสั่งไว้เหมือนกันว่า “ถ้าชาวบ้านแถวนี้เขาเดือดร้อนเรื่องฟ้าเรื่องฝน ทำมาหากินไม่ค่อยได้ ขอให้เอาดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา ขอด้วยความเคารพจะมีผล”

มีวันหนึ่ง หลวงพ่อเข้านิโรธสมาบัติ ตอนนั้นท่านป่วยมาก อาตมาไปนอนเฝ้ากับพระประทีป ตอนตีสองท่านก็ตื่นขึ้นมาจะประคองท่านเข้าห้องน้ำ ท่านก็บอกว่า “วันนี้ไม่ได้นอนเลย พระพุทธเจ้ามาบอกให้เข้านิโรธสมาบัติตั้งแต่ค่ำ ต่อไปจะสร้างปราสาททองไว้เก็บพระพุทธเจ้านะ” ก็ถามว่า “หลวงพ่อครับ สร้างที่ไหนครับ” “โรงอิฐ”

ต่อจากนั้นท่านก็มาสายลมอีก ๒ เที่ยว ก็ไม่เห็นท่านพูดเรื่องนี้ เราก็นึก เอ...ท่านจะสร้างจริงหรือเปล่าหนอ ปราสาททองนี่คงจะแพงนะ ก็เลยมาเล่าให้พระสุรจิตฟัง พระสุรจิตก็บอกว่าจริง ท่านเคยมาตรวจงานแล้วก็ชี้ไปที่โรงอิฐ บอกว่าจะสร้างที่เก็บพระพุทธรูป

ตอนนั้นก็ไม่คิดว่าจะทำหรอก เพราะมันหนัก แต่พอไปพูดกับผู้ใหญ่ ก็มีหลายคนบอกว่า ต้องทำๆ เขาบอกแล้วก็ไป แต่ทุกข์มันอยู่ที่เรา ไอ้เราก็แบกซิ ไอ้นี่ไม่เสร็จ ไอ้นั่นไม่เสร็จ ทุกข์จังเลย ก็ขอเก็บไว้ก่อน ขอทำงานที่มันด่วนเสียก่อน เอาไว้ท้าย ๆ ถึงจะทำ พูดไปก็จะทำให้คนแบกภาระไปด้วย

อย่างหลวงพ่อสร้างวิหาร ๑๐๐ เมตร พระก็บอกทีละหน่อย ๆ มันก็ไม่หนักก็มีงานชิ้นใหญ่ ๆ อยู่ ๒ ชิ้น คือ ปราสาททอง กับ โบสถ์ทองคำ โบสถ์ทองทำคือปิดทองคำเปลว เรื่องนี้เคยพูดกับหลวงพ่อเหมือนกัน

“หลวงพ่อครับ ใช้โมเสกสีทองซิครับ ทนครับ ฝนตกก็ไม่ลอก” เรานึกว่าดี หลวงพ่อบอก “ฉันรู้ แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่ยอม อานิสงส์ไม่เหมือนกันคุณ อานิสงส์บูชาด้วยทองคำ เกิดมากี่ชาติก็ไม่มีความยากจนเข็ญใจ”

ดูตัวอย่างท่านเมณฑกเศรษฐี เอาทองคำเปลวไปติดที่ฐานส้วม แล้วอธิษฐานเกิดมาอีกชาติหนึ่งมีความร่ำรวยมาก นั่นแผ่นเดียวนะ นี่เราปิดเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน แล้วก็ปิดที่โบสถ์ เป็นที่เกิดของพระ จะเป็นพระได้ต้องบวชในโบสถ์ ไปบวชกลางทุ่งนาไม่ได้ ฉะนั้นจึงมีอานิสงส์มาก สังเกตดูหลวงพ่อ พระพุทธรูปท่านจะปิดทองทุกองค์

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง งานประจำสมัยเป็นพระลูกวัด>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 24/9/09 at 08:26 [ QUOTE ]


งานประจำสมัยเป็นพระลูกวัด


...หลังจากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาส ท่านจะทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการวัด รับคำสั่งจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อมาแจกจ่าย ปรึกษาหารือ สั่งการมอบหมายหรือจัดการตามความเหมาะสม เมื่อพระเดชพระคุณท่านปรารภเรื่องอะไร ท่านก็จะนำเรื่องนั้นมาปรึกษาคณะสงฆ์

ตัวอย่างเช่น เรื่องการห่มผ้าสีเหลือง พระในวัดทุกองค์ก็ปฏิบัติตามด้วยความเรียบร้อยเป็นเอกภาพ หรืออย่างเรื่องคนปากเสียอาศัยอยู่ในวัด แล้วยังนินทาว่าร้ายพระและคนในวัด ท่านเล่าว่า เราก็บอกกับหลวงพ่อ หลวงพ่อครับ ผมไม่รู้เรื่องเลย ไอ้พวกนี้มันพูดไปไปอย่างนี้ หลวงพ่อบอก “นันต์ แกกวาดล้างให้หมดไปเลยนะ ไอ้พวกปากนรกทั้งนั้นพวกนี้”

ที่วัดนี่จึงไม่จำเป็นไม่ให้อยู่ ขับมาหลายชุดนะ พวกปากไม่ดีนี่ต้องกวาดล้างไปเรื่อยๆ น่ะให้อยู่ ๗ วัน ถ้าอยู่นานเขี้ยวงอก ไอ้พวกเขี้ยวงอกนี่ไม่เจริญศรัทธาหรอก ขับลูกเดียวแล้วไม่ต้องเข้าวัด ติดประกาศเลย ถ่ายรูปติดไว้เลยที่วัดน่ะ พูดภาษาหยาบ ๆ ไม่ต้องมาทั้งโคตร ไม่ต้องมาวัด คือพูดไม่อยู่ในศีลในธรรม คล้าย ๆ เราโหดร้ายน่ะ คนไม่ดีเราโหดร้ายเลย ขับเลยอย่างไรล่ะ แบบไม่ทำให้ตัวเองเจริญ ไม่ทำให้วัดเจริญ

สำหรับพระพวกฉันเองไม่ใช่ว่าปกป้องกันเอง คือเราไม่ต้องให้ใครขับหรอก เราขับกันเองอยู่แล้ว ที่วัดน่ะขับกันเองอยู่แล้ว ถ้ามีอะไรมานี่ ถ้ามันมีอะไรสุดวิสัยมา พระนี่ขับกันเอง ไม่ต้องรอให้ใครมาทำความสะอาด เราทำความสะอาดเอง วัดน่ะ

ฆราวาสฉันก็ขับไปเยอะ พระก็ให้ออกไปหลายองค์ เพราะปกติถ้าไม่ดีเสียหายจริง ๆ ก็ต้องออก ไม่ใช่เจ้าอาวาสขับเขาอย่างเดียวนะ เขาก็ขับเจ้าอาวาสได้เหมือนกัน คือให้เขาดูเราได้ ไม่ใช่ว่าเจ้าอาวาสจะทำอะไรดีทุกอย่าง คือให้คนอื่นเขาดูด้วย คนอื่นเขาก็ดูเราได้

มีอยู่ทีหนึ่ง พระบวชใหม่ เขาบวชได้พรรษาก็ตั้งวง ไอ้เราก็เตือน เตือนก็หาว่าเราอิจฉา เจ้าอาวาสก็อิจฉา พระท้ายแถวจะดังนี่อิจฉา มันเป็นอย่างนี้นะ เพราะอย่างนั้นต้องนิมนต์

ทีนี้ไอ้การที่มีลูกมีเต้าบวชในศาสนานี่ หนึ่ง บวชพาญาติโยมไปสวรรค์มี สองบวชพาญาติโยมไปนรกมี พาไปสวรรค์นี่เข้าใจง่าย แต่พาไปนรกนี่จะพาอย่างไร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง คือ พระทำผิด เจ้าอาวาส คณะกรรมการสงฆ์ตักเตือน จนถึงต้องขับออกจากวัด ก็มาบอกพ่อบอกแม่ บอกญาติโยมว่าฉันทำดี พระนี่กลั่นแกล้ง พระทั้งวัดเขากลั่นแกล้งขับออกจากวัด บอกพ่อแม่ พ่อแม่ก็เอาละ ต้องรักลูกอยู่แล้ว ธรรมชาตินี่ ไอ้พระอย่างนี้... ทั้งวัดเป็นอย่างนั้น ด่าไปเลย นี่เขาเรียกว่าบวชพระแล้วพาพ่อแม่ให้ลงนรกด้วย พ่อแม่ไม่เป็นธรรมก็อย่างนั้น

สมัยก่อนมีบวชเณรอยู่ เณรก็เล่นกันเป็นเด็กสิ หลวงพ่อก็ว่า ทีนี้ก็กลังไปฟ้องพ่อแม่ แหม...ลูกเราดีจังเลยไปบวชเณรมีศรัทธา พระผู้ใหญ่แกล้งเสียอีก หาว่าซน พ่อแม่มาอยู่ด้วยกันที่ไหนล่ะ มาอยู่กับเรา เราก็ต้องทำโทษ หลวงพ่อจึงเลิกรับเณรเลย เณรที่วัดจึงไม่รับ ไม่มี พระต้องช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องหาใครมาช่วย ไอ้พวกนี้อย่างกับลิง เด็กนี่ ก็เล่นแบบเด็กน่ะ ฉะนั้นบางอย่างจึงไม่รับ

แล้วมีคนมาพักนี่ ให้อยู่ได้ ๗ วัน ถ้าเกิน ๗ วันก็ต้องกรณีพิเศษ แต่กรณีพิเศษก็ต้องมีระเบียบว่า ถ้ามีเรื่องมาก็ต้องไปนะ เจ้าของห้องก็เหมือนกัน ที่สร้างห้องกรรมฐานน่ะไม่ใช่จะอยู่เป็นเจ้าโลกได้ ต้องอยู่ในระเบียบวินัยของวัด บางทีพออยู่แล้วทะเลาะกัน เป็นเจ้าโลกขึ้นมาละ เจ้าของห้องก็ต้องขับ ไม่เอาไว้หรอก ทำให้เดือดร้อนกันไปหมด

ฉะนั้น ที่วัดจึงถือระเบียบวินัยเป็นใหญ่ ถ้าบางทีอาจจะผิดพลาดไปแต่ว่ายังไม่มีเรื่อง ถ้ามีเรื่องเมื่อไรขับ เจ้าของห้องก็ไม่ให้อยู่ทั้งนั้น เสียการปกครอง เสียความร่มเย็นหมด เพราะมีมาตรการอย่างนี้ถึงไม่ค่อยมีเขี้ยวงอกเท่าไร มีเขี้ยวก็หุบไว้ก่อน

พอถึงวัดก็ถอดเขี้ยวถอดงาเสียก่อน ถ้าไปแสดงที่นั่นก็ต้องเอา ไม่มีญาติโกโหติกาทั้งนั้น ต้องถือระเบียบวินัยเป็นที่ตั้ง ไม่มีเส้นเล็กเส้นใหญ่ บางคนว่ามีคนนอกคนใน ไม่มี ถ้าผิดมาแม้แต่พระยังขับกันเอง โยมจะมีเส้นนอกเส้นในไม่มีหรอก ความดีก็มีส่วนความดี

ฉะนั้นบางครั้งจึงไม่หวานจ๋อยไปเลย ไม่ประจบประแจงจนเกินไป แต่เข้าเขตวัดเรา ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นโดยคนอื่นรังแก เราให้ความปลอดภัยเต็มที่นี่เข้ามาในวัดเรา เราอยากให้คนในวัดมีความสงบ คือเข้าไปอยู่วัดแล้วอยากให้คนเข้าไปวัดแล้วนอนหลับสบาย ไม่ต้องกังวลโจร ไม่กังวลคนจี้คนปล้นจากคนภายใน เพราะว่าเรามืดค่ำเราก็ปิดประตู เราต้องรับผิดชอบความปลอดภัยคนภายใน ถ้าใครจะมาเกเรเราก็ต้องจัดการ ข้างในข้างนอกทุกอย่าง ถ้าคนภายในแกก็ต้องเอามันจะได้อยู่ ทุกคนต้องเกรงใจระเบียบวินัยกันจะได้มีความสุข

ธุดงค์คราวที่แล้วจัดก็ต้องขับพระออกองค์หนึ่ง ต้องขับพระออกจากวัด ก็พวกไม่อยู่ในระเบียบวินัยก็ต้องเอา ต่อไปจะได้อยู่กันง่ายขึ้น ขับพระนอกวัดมาอาศัยธุดงค์ ประพฤติไม่ถูกต้อง เราให้มัดรัดไว้ดีกว่า ดีกว่าปล่อยให้เละไป อยากให้คนอยู่มีความสุขเท่านั้นเอง

หากว่ามีอะไรเกิดขึ้นอย่างนั้นอย่างที่เขามีกันน่ะ ข้างในขับไปแล้ว ขอให้รู้ว่าพระภายในเขาขับกันไปแล้ว อย่างที่เขามีข่าวอะไรอย่างนี้นะ คือวัดเราก็ไม่มีอะไรหนักใจนะ หมายความว่าอยู่ด้วยกันก็มีความสุขพอ ตามอัตภาพของพระไม่มีอะไร

งานประจำส่วนองค์ที่ท่านพระครูฯ ได้รับมอบหมายจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ คืองานอัดเทปธรรมะที่หลวงพ่อท่านทำต้นฉบับไว้เพื่อจำหน่าย ที่ต้องทำทุกวัน และงานคุมเครื่องสีข้าวที่ฝุ่นตลบ ท่านก็ทำอยู่องค์เดียว ส่วนงานที่ทำด้วยใจเกินร้อยคืองานดูแลรับใช้หลวงพ่อทุกวัน หลังจากท่านเลิกรับแขก

ในระหว่างเป็นพระลูกวัดนี้ ท่านพระครูฯ ได้ศึกษานักธรรมโทด้วยตนเองแล้วไปสอบที่สนามสอบวัดพิชัยปุรณาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ก็สอบผ่านได้นักธรรมโท แล้วท่านก็หยุด เพราะมีกฎหมายมหาเถรสมาคมอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า ผู้จะเป็นเจ้าอาวาสจะต้องได้นักธรรมเอกเป็นอย่างน้อย ความกลัวว่าจะต้องเป็นเจ้าอาวาสจึงหยุดเรียนเสีย

หลวงพ่อปลงสังขารและมรณภาพ


ท่านเล่าให้ฟังบอกว่า “เมื่อคืนนี้ได้คิด” การคิดของท่านไม่ได้บอกว่าคิดอย่างไร แต่บอกว่า “พอคิดอย่างนี้เท่านั้นแหละ เทวดาวุ่นกันทั้งดาวดึงส์เลย พอคิดอย่างนี้ท่านปู่พระอินทร์มาทันที มากันเต็มหมด” ท่านปู่พระอินทร์ก็บอกว่า “คุณ..อย่าคิอย่างนี้นะ”

คงจะตัดสินใจปลงสังขารนี่แหละ ตอนคืนทวารเปิดนั่นแหละ ตอนเช้าท่านก็เล่าให้เราฟังบอกว่า “เมื่อคืนนี้คุยกับพระ” พระถามหลวงพ่อว่า “คุณตัดสินใจแล้วหรือ” พูดอย่างนี้หมายความว่า หลวงพ่อตัดสินใจแล้ว

หลวงพ่อบอกว่า “ผมตัดสินใจแล้วครับ” พระพุทธเจ้าบอกว่า “มณฑปองค์ปฐมคุณยังสร้างไม่เสร็จนี่” ท่านถามอย่างนี้แสดงว่าพระพุทธเจ้าจะเอาหลวงพ่ออยู่นะ

หลวงพ่อบอกว่า “ผมจะหาเงินให้พระครับ” พระพุทธเจ้าถามว่า “พระจะทำได้หรือ” หลวงพ่อบอก “ผมจะหาเงินให้พระครับ”

มีอยู่คราวหนึ่งตอนเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งสุดท้าย ตอน ๖ โมงก็ขึ้นไปรับท่าน ท่านก็คุยดีทุกอย่างและคุยบอกว่า พระมหากัสสปเรียกท่านไปพบ พอไปถึงหลวงพ่อถามว่า “เรียกผมมาทำไมครับ” พระมหากัสสปบอกว่า “คุณนี่ดื้อจัง” บอกหลวงพ่อ ดื้อ “พระพุทธเจ้าจะเอาคุณอยู่ คุณก็จะตายท่าเดียว” หลวงพ่อบอกว่า “ถ้าร่างกายผมดี ผมไม่เกี่ยงหรอกครับ แต่นี่ร่างกายมันไม่ไหวจริงๆ” แสดงว่าหลวงพ่อท่านเตรียมตัวจะไปอยู่เสมอเลย

ตอนที่ท่านมรณภาพ อาตมาอยู่ที่สายลม กลัวคนจะมาสายลมแล้วไม่รู้ ก็มาดักอยู่ เวลาประมาณ ๓ โมงเย็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ให้คนโทรศัพท์มาบอกว่าให้ทางวัดทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาสบง จีวร หรือผ้าที่หลวงพ่อใช้เครื่องครบชุด ให้สวดมาติกาบังสุกุลก่อน ๔ โมง ๔ โมงเย็นให้เผาทันที

อาตมาก็โทรศัพท์ไปทางวัด ทางวัดก็จัดพิธีกัน พอ ๔ โมง พระสมุห์บัญชาโทรศัพท์มาบอกว่า “หลวงพี่ครับ ทางวัดจัดพิธีตามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์สั่งไว้เรียบร้อยแล้วครับ” เลยบอก “ขอบใจมากนะ”

พอ ๔ โมง ๑๐ นาที หมอที่โรงพยาบาลโทรศัพท์มาบอกจะพูดกับหลวงพี่นันต์ พอรับโทรศัพท์หมอบอกว่า “หลวงพ่อมรณภาพแล้ว เวลา ๔ โมง ๑๐ นาที” เราก็เข่าอ่อนเลย ที่เคยว่องไวก็ไม่ว่องไว ค่อย ๆ เก็บของ ถามพระวิรัช “วิรัช ถ้าไปโรงพยาบาล เราจะร้องไห้ไหมนี่...” ก็คุยกันไปในรถ

พอไปถึงโรงพยาบาลเข้าไปในห้อง ซี.ซี.ยู. พอเห็นหลวงพ่อเท่านั้นแหละ ชะโงกหน้าดู ท่านก็นอนอยู่ เห็นท่านยิ้มแก้มปริออกมา เราก็ตกใจ พระวิรัชบอก “หลวงพ่อยิ้มแล้ว ๆ” หมอก็รีบมาดูใหญ่ พยาบาลเห็นก็บอกว่า “เมื่อกี้ยังไม่เห็นยิ้มเลยนี่ ตอนนี้ยิ้มแล้ว” มาดูกันใหญ่

พอตอน ๖ โมงเย็นจะเคลื่อนศพ ก่อน ๖ โมง สัก ๑๐ นาทีได้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ให้คนโทรศัพท์มา สั่งให้ไปหาด่วน พอไปหาท่านก็กราบเรียนท่านว่า “ผมไม่เคยจัดงานแบบนี้ครับ งานของพระผู้ใหญ่ ถ้าจะจัดให้ดีผมไม่เป็นครับ” เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็บอก “ข้าจัดเป็นที่ไหน ข้าก็ใช้เขา นี่เรียกเจ้าคุณวัดพลับพลาชัยมา ให้มาช่วยแก”

ท่านสั่งงานให้ทุกอย่าง สั่งอย่างเรียบร้อยหมด ท่านเจ้าคุณวัดพลับพลาชัยก็ไม่เคย บอกให้เตรียมของไปเลย พอไปเห็นสถานที่ศาลา ๑๒ ไร่ โอ้โฮ ตกใจสถานที่กว้างขวางมาก ต้องใช้ผ้ามากจ่ายเงินไป ๑ แสนห้าหมื่นบาท ตัองจัดให้สมเกียรติ พิธีหลวงก็ไม่เคยจัด เป็นพระยังไม่รู้เลยเขาสวดพิธีหลวงกันอย่างไร

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง จัดงานศพหลวงพ่อและปกครองวัด>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 30/9/09 at 09:04 [ QUOTE ]


จัดงานศพหลวงพ่อและปกครองวัด


...เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อมรณภาพลงนั้น จะหาใครแบกความทุกข์ไว้มากกว่าท่านพระครูปลัดฯ เห็นจะไม่มี ด้วยเหตุผลหลัก ๒ ประการคือ

ในทางธรรม ท่านได้ตั้งใจมอบกายถวายชีวิตแก่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ มีความอบอุ่นใจเมื่อได้มาอยู่กับท่าน มีความสุขและเห็นทางพ้นทุกข์แล้ว เมื่อมาปฏิบัติธรรมภายใต้ร่มบารมีอันกว้างใหญ่ไพศาลและร่มรื่นชื่นใจ และกำลังเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างไม่ท้อถอย โดยมีความหวังอยู่ในใจตลอดเวลาว่า

เราจะตายก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ความกังวล ความห่วงใยทางโลกไม่มี ทางด้านการปกครอง ถึงแม้พระเดชพระคุณนั้น เป็นความสุขล้วน ๆ ว่าได้ทำงานบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ แต่แล้วฟ้าก็ผ่าเปรี้ยงลงมากลางใจ เมื่อพระเดชพระคุณท่านดับขันธ์นิพพานอย่างไม่คาดฝัน

ในประการที่สอง ภาระทั้งมวลภายในวัดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพิธีจัดงานศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อ การดูแลรักษาสมบัติวัด ซึ่งพอหลวงพ่อมรณภาพลง อลัชชีห่มผ้าเหลือง อาศัยสมณศักดิ์และอำนาจทางการปกครอง ก็จ้องตะครุบ

โดยเริ่มออกคำสั่งที่แม้แต่คนปกติยังไม่กล้าทำ ไหนจะเรื่องการปกครองภายในวัด ไหนจะเรื่องการต้องใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ในการจัดงานศพ แต่เงินในย่ามมีอยู่ไม่กี่ร้อยบาท และเงินวัดก็อยู่ในบัญชีที่เบิกไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาส อีกทั้งเรื่องการดูแลรักษาน้ำใจลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อทั่วประเทศ การแบกภาระงานทั้งหมดที่หลวงพ่อยังทำไม่เสร็จ ฯลฯ

ความเศร้าโศกเสียใจ ผนวกกับภาระงานที่หนักหนาสาหัสและปัจจุบันทันด่วน กอปรกับการที่ต้องเอาใจคนทั้งโลกวัดท่าซุง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในหมู่คณะ ว่า การเจริญรอยตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อ จะไม่สิ้นสุดหยุดลง

ท่านพระครูฯ แทบจะไม่ได้หลับได้นอนในช่วง ๗ คืนแรก นับแต่วันมรณภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านพระครูฯ ซาบซึ้งในบทพระธรรมที่ว่า “ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง น ลภติ ตัมปิ ทุกขัง ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาอยู่ไม่สมหวัง แม้อันใด แม้อันนั้นเป็นทุกข์” เป็นยิ่งนัก

ท่านเล่าว่า มีครั้งหนึ่งไปกราบหลวงพ่อ บอกว่า “หลวงพ่อครับ ผมอยากมาอยู่กับหลวงพ่อจังเลย ทุกข์เหลือเกิน มันหนัก” ได้ยินเสียงบอก “ก็ทำบารมี ๑๐ ให้มันเต็มซิ” เท่านั้นจบเลย ไม่ต้องถามต่อ

งานพระศพสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี อาศัยบารมีของ หลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา และหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ แผ่มาปกป้องคุ้มครองวัดและศิษยานุศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของบรรดาศิษย์พระและฆราวาส ที่เข้าแถวเดินตามหลังท่านพระครู การแก้ไขปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนเฉพาะหน้าในการซื้อเสื้อผ้า และดอกไม้ตกแต่งสถานที่ ในการซื้อโลงแก้ว และเครื่องไทยธรรมต่าง ๆ ฯลฯ

คณะกรรมการสงฆ์ที่หลวงพ่อได้แต่งตั้งไว้ ทำหน้าที่เพื่อนร่วมคิดร่วมปรึกษา และช่วยรักษาระเบียบวินัยของวัด ที่หลวงพ่อดำเนินการในทุก ๆ เรื่องที่ได้รับมอบหมาย คณะกรรมการสงฆ์ในช่วงนั้น ๆ ประกอบด้วย

พระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ เจ้าอาวาส
พระครูสังฆรักษ์สุรจิต สุรจิตโต รองเจ้าอาวาส
พระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูใบฎีกาสมพงษ์ สมจิตโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระปลัดวิรัช โอภาโส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระสมุห์บัญชา สุขปัญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระใบฎีกาประทีป อัตถทัสสี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

ท่านพระครูปลัดฯ ท่านเล่าว่า ที่เราทรงตัวอยู่ได้เพราะนึกถึงคุณของท่านว่า ให้เรานี่กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนมีศีลธรรม รู้จักอานิสงส์ของการรักษาศีล โทษของการไม่รักษาศีล รู้จักสมาธิ รู้จักพิจารณาว่าการเกิดเป็นทุกข์จริง การไปนิพพานนี่จะหมดทุกข์ ไม่ต้องมาเกิดอีก

ตัวนี้เมื่อคนเข้าถึงแล้วนี่ ความผูกพันหรือความรักหลวงพ่อ นึกถึงคุณของท่านนี่ จึงเข้ามาถึงจิตใจคน วัดเรา จึงรักษาทรงสภาพนี้อยู่ได้ถึงบัดนี้ แม้แต่หลวงพ่อมรณภาพแล้ว ก็จะมีผู้ใฝ่ฝันอยากจะเห็นวัดเราเจริญ เห็นวัดเราทรงตัว

มีคนมาพูดว่า หล่อพระศรีอาริย์ เดือนมีนาคม ๒๕๓๗ คนเยอะนี่ดีใจจริง ๆ เลย ทำไมถึงดีใจคนเยอะ เพราะว่าทุกคนที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเป็นห่วงวัด กลัววัดจะโทรมเหมือนที่อื่น หรืออะไรอย่างนี้ คือมีความลุ้นอยู่ในใจ

มีคนปรามาสลูกศิษย์หลวงพ่อว่า อาจารย์มึงตายไปแล้วนี่ คอยดูนะ วัดมึงจะต้องพังแน่ โทรมแน่ ไอ้คนลูกศิษย์หลวงพ่อ มันก็หวั่นอยู่แล้วใช่ไหม พอมีงานหล่อพระศรีอาริย์ คนมากทีนี้ ก็ยืดอก ไหนมึงว่าวัดกูจะโทรมไง ลูกศิษย์หลวงพ่อเราก็อดเบ่งไม่ได้

มึงไปดูซะ ให้ได้เชียว คนเต็มไปหมด คุยเบ่งได้ ทีนี้วัดเราก็ยังทำอะไรไปได้อีก โดยไม่ต้องหนักใจ ยังทำไปได้ทุกอย่าง งานที่หลวงพ่อทำค้างนี่ สามารถจะทำไปได้ตลอด ถ้าพระไม่โกงนะ ถ้าพระโกงก็วายวอดเหมือนกัน ถ้าไม่โกงก็จะสร้างไปได้ตลอด

มองดูแล้ว มองทั้งปัจจุบันนะ ไม่ได้มองอนาคตนะ เพราะว่าอนาคตเราไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร แต่ว่าปัจจุบันนี่จะเก็บงานของหลวงพ่อได้ทุกอย่างที่มีอยู่ในวัดทั้งหมดได้

ในช่วงระหว่างงานศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ผนวกกับการเป็นเจ้าอาวาสใหม่ ๆ ท่านต้องขัดใจคนและพระมาก ในสองเรื่องใหญ่ ๆ คือ การใช้จ่ายเงินของวัดในการจัดงาน ท่านเล่าว่า อยู่กับหลวงพ่อมานาน เห็นวิธีการใช้จ่ายเงินให้คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ของหลวงพ่อ

เรื่องนี้มันซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตใจ คำว่า “ข้าไม่เอานะ” มันแว่วมาในหูตลอด ดังนั้น เมื่อช่างจัดดอกไม้มาขอเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อซื้อดอกไม้ ท่านได้ยินเสียง “ข้าไม่เอานะ” ท่านก็ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ก็ขัดใจคนขอ

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ พระทุกองค์ ลูกศิษย์ฆราวาสทุกคน รักหลวงพ่อ อยากจะให้หลวงพี่ท่านพระครูฯ ทำนั่นทำนี่ ท่านไม่ทำเขาก็โกรธ บางคน บางองค์ถึงกับเขียนหนังสือประกาศโจมตีทั่ววัด ท่านก็ใช้ขันติธรรมลูกเดียว ท่านบอกว่า ท่านพิจารณาว่าตัวเราเองยังไม่ถูกใจตัวเราเอง คนอื่นเขาไม่ถูกใจเรา เนื่องจากเขารักหลวงพ่อ เขาอาจจะขาดสติปัญญาบ้างก็ต้องให้อภัย ก็เดินพิจารณาบ้าง ภาวนาบ้าง จนสงบไปเอง

แท้ที่จริงไปแล้ว ท่านมีใบแต่งตั้งเจ้าอาวาส ที่หลวงพ่อออกไว้ให้ก่อนมรณภาพ พร้อมทั้งให้อำนาจเบ็ดเสร็จจัดการได้เด็ดขาดในทุกเรื่อง แต่ท่านเก็บเอาไว้ ไม่ให้ใครได้รู้ได้เห็น อาศัยเมตตาบารมี และขันติบารมี บวกกับปัญญาบารมีและบารมีอื่น ๆ ช่วยเสริม ทำให้แก้ปัญหาต่างๆ ไปได้ลุล่วง และบังเกิดเป็นความรักความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของบรรดาศิษย์วัดท่าซุงตั้งแต่นั้นมา

ที่ปรารถเรื่องใบแต่งตั้งนั้น เพื่อให้ทุกท่านได้ระลึกเป็นอนุสติว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมองอนาคตไกลแค่ไหน จึงสร้างเกราะไว้ให้ท่านพระครูฯ และท่านพระครูฯ ท่านมี ปุพเพกตปุญญตาความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน และ อัตตสัมมาปณิธิ ความตั้งตนไว้ชอบ บริบูรณ์แค่ไหน ประกอบกับ ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในเขตที่เป็นมงคล และ สัปปุริสูปัสสยะ การมีคนดีเป็นบริวาร ทำให้ท่านมีแต่ความเจริญ ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม จึงชัดเจนเป็นประจักษ์ต่อทุกองค์ทุกคน

ในส่วนของการปกครองท่านเล่าว่า “ฉันไม่มีลูกหลาน มีแต่พี่แต่น้องเท่านั้นเอง มันเหมือนพี่น้องเพื่อนฝูงกัน พี่น้องกัน เพราะว่าทำงานทุกอย่าง แม้แต่เป็นพระในวัดก็จริง ถือว่าเป็นพี่เป็นเพื่อนเป็นพี่น้องกัน การอยู่ร่วมกันก็จริง ถือว่าอยู่เหมือนพี่เหมือนน้อง เหมือนเพื่อนฝูง ไม่ได้อยู่อย่างเป็นหัวหน้าอะไร แต่ทำงานแบ่งงานกัน คนนี้ถนัดทางนี้ ได้ทำงานนี้

ธัมมวิโมกข์ ท่านอาจินต์เขาทำ ก็มีกลุ่มของเขาทำ อย่างเรื่องวัตถุมงคลท่านวิรัชถนัดเรื่องนี้ ก็ไปคุมงานด้านนี้ อย่างพระสุรจิต พระสมพงษ์ ก็ไปคุมเรื่องโรงเรียน ก็แบ่งงานกันไป พระที่มีความถนัดเรื่องป่าก็ไปอยู่ป่า ชำนาญเรื่องก่อสร้างไปคุมงานก่อสร้าง เป็นช่าง ตอนนี้ทำแพอยู่ หลังสวยนี่พระท่านออกแบบเอง ทำเอง ใช้ลูกบวบเหล็กทำ ไปดูสิแพเริ่มออกแล้ว เริ่มสวย จะทำอย่างนี้สามหลังนี่ เพราะว่าได้เงินที่เลี้ยงปลามาประมาณล้านหนึ่งแสนบาท สำหรับปลาเลี้ยงพระ พระเลี้ยงปลา อะไรอย่างนี้ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

แต่ในเรื่องระเบียบวัดแล้ว ท่านพระครูฯ จะเข้มงวดมาก พระเดชพระคุณหลวงพ่อวางระเบียบไว้อย่างไร พระทุกองค์ ฆราวาสทุกคนต้องทำตามนั้นหมด ในงานวันเกิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ วัดสระเกศครั้งหนึ่ง สมเด็จท่านถามขึ้นมา เรื่องการปกครองพระ ท่านจึงเล่าถวายว่า

พระเมื่อออกจากวัดแล้ว ตามระเบียบของวัด ถ้าหากออกจากวัดเกิน ๑๐ วัน ต้องคัดชื่อออกเลย และทางวัดไม่มีนโยบายส่งพระไปอยู่ที่ไหน เพราะว่าเมื่อออกไปแล้ว ยากต่อการควบคุม ฉะนั้นเมื่อพระจะไปอยู่ที่ไหนต้องแทงบัญชีออกจากวัด เพราะไม่สามารถตามไปปกครองกัน พระที่ออกจากวัดไปอยู่ที่อื่น เราไม่ได้ส่งไป โยมเขานิมนต์กันออกไป จึงต้องแทงชื่อออกไปเลย

ทีนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์บอกว่า พวกท่านนี่ทำถูกแล้ว ขอให้รักษาระเบียบนี้ไว้ เราก็บอก หลวงพ่อครับ วัดที่ผมอยู่นี่คล้าย ๆ หยุมหยิม เมื่อพระจะมาพักครั้งหนึ่ง (มาฝึกกรรมฐาน) ก็ต้องมีใบรับรองจากเจ้าอาวาสมา จึงมาพักปฏิบัติได้ ๗ วัน ถ้ามาสะเปะสะปะก็ให้พักได้ ๑ คืน ชาวบ้านเขาอาจจะว่าหยุมหยิมเกินไป

สมเด็จวัดสระเกศบอก “คุณ อย่าถือว่าหยุมหยิมนะ เมื่อครูบาอาจารย์ไม่อยู่ ขอให้รัดตัวลงไปเรื่อย ระเบียบให้ตึงไว้เรื่อยๆ ถ้ากางระเบียบมาจะปกครองคนง่ายขึ้น อย่างของผมนี่มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อตอนครบ ๖๐ พรรษาพระราชินี เขาก็บวชกัน บวชวัดสระเกศ ของผมนี่ถ้าบวช ๓ วัน ๗ วัน ผมส่งไปอยู่เมืองกาญจน์เลย ที่ไหนก็ไม่รู้”

บอก “คุณ... เป็นไงรู้ไหม สึกหมด แต่วัดเบญจฯ ไม่อย่างนั้น ตอนบวชแล้วก็แบ่งให้อยู่วัดต่างๆ ใช่ไหม วัดละ ๒๐-๓๐ ของวัดเบญจฯ นะ บวชได้ ๗ วัน ตั้งป้ายดูหมอดูที่กุฏิเลย จะปล้ำให้สึกก็เล่นกันหลายเหนื่อยเหมือนกัน ตั้งเป็นอาจารย์เลย ดูหมอดู ดูฤกษ์ ดูยาม จะให้สึกก็ลำบาก” สมเด็จท่านก็แนะนำว่า ระเบียบที่ทำอยู่นะดีแล้วๆ ท่านบอกว่าให้รัดเข้าไปเรื่อยๆ

ทีนี้พอตอนเย็น ก็ไปกราบสมเด็จวัดสามพระยา กุฏิท่านเงียบ พระเดินผ่านไปผ่านมาก็ถามสมเด็จอยู่หรือเปล่า อยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ สักประเดี๋ยวหนึ่ง เจอท่านเจ้าคุณศรีบอกว่า อยู่เข้าไปเลยๆ เงียบ ไม่มีใครเข้ามารบกวนเลย เราพวกหมูไม่กลัวน้ำร้อน เพราะเราไม่ได้ไปรบกวนอะไร ใช่ไหม

คอยสักประเดี๋ยวท่านก็มา เข้ามากราบท่าน กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่ครับ พวกผมมากราบไม่มีอะไรมากราบหลวงปู่เลย ถวายเงินสำหรับหลวงปู่จะใช้ซื้ออะไร ๑ หมื่นบาท ท่านก็บอกเงินมันยังอยู่นี่ที่ให้ไว้นะ ยังไม่ได้ซื้ออะไรมากนี่ ทีนี่ก็คุยเรื่องวัด คนสายลมไปหาท่าน ท่านจะถามประจำ คนที่สายลมมามากไหม ดูแลเป็นอย่างไร วัดเป็นอย่างไร อะไรต่ออะไร

ท่านคุยกับคนอื่นบอก “วัดท่าซุงเดี๋ยวนี้ ฉันไม่เป็นห่วงแล้ว” อยู่กันได้แล้วนี้ สมัยก่อนท่านห่วงจริง ๆ กังวลว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สมัยนั้น ถ้าท่านไม่ไปงานทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ก็คงจะยุ่งอยู่พอสมควรเหมือนกัน ในวัดไม่ยุ่ง แต่ข้างนอกจะทำให้ยุ่ง ท่านก็ไปช่วยเพราะรู้สถานการณ์ดี

แต่เรื่องพระออกจากวัด ท่านพระครูฯ ก็บอกว่า กฎหมายเปิดช่องไว้ให้เจ้าอาวาสใช้อำนาจ ของเจ้าอาวาสยกเว้นให้ได้ โดยท่านชี้แจงดังนี้

ขอชี้แจงเรื่องพระสององค์ที่ออกไปจากวัด คือ พระปลัดวิรัช กับ พระยงยุทธ เพื่อว่าคนจะได้ไม่เข้าใจผิดกัน พระสององค์เป็นพระชั้นหนึ่งของวัด นี่ไม่เคยชมพระนะ วันนี้ขอชมต่อหน้าญาติโยม การงานทุกอย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ตั้งใจตัดกิเลสโดยตรง เพราะอยู่กันมานานรู้ใจกันดี

สำหรับ พระยงยุทธนี่ งานการทุกอย่าง โยมที่อยู่ตึกอำนวยการรู้ ทำทุกอย่างตั้งแต่ล้างส้วม จนถึงล้างศาลา เวลาจะมีงานที งานประจำปี งานกฐิน งานสะเดาะเคราะห์ พระยงยุทธเป็นหัวหน้าล้างศาลา ๑๒ ไร่ คุมน้ำประปา ๒ ไร่ ๔ ไร่ ๑๒ ไร่ วิ่งตะลอนไปหมดทั่ววัด

พระปลัดวิรัช คุมตึกรับแขกทั้งหมด ส่วนวัตถุมงคล เป็นเลขาหลวงพ่อ ทำงานติดต่อกันมาหลายปี เป็นผู้ที่หาตัวจับยาก ไม่มีใครจับ จับไม่ได้ อาบัติ

ที่ท่านไปนี่ ท่านมาขอไปเอง มาขอไปอยู่ที่วิเวก บอกว่าในวัดเรานี่ ที่ไหนมันที่วิเวกจะจัดให้ ท่านไม่ต้องพบปะผู้คนเป็นเดือนเป็นปีก็ได้ ขอให้บอก แต่...ก็จะไปตัดสินใจไว้นานแล้ว ก็บอก เออ...ไม่เป็นไร

ถ้าไป ก็ขอให้ระวังที่จิตนะ จิตตัวเดียวคุมไป ถ้าจะไปคุมข้างนอกจากจิตแล้ว ไม่ไหวหรอก แบกโลก คุมจิตที่เราตัวเดียว ถ้ามันไปไม่ไหว ไม่เป็นที่พอเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ก็ขอให้กลับ ตอนนี้จะขอใช้อำนาจของเจ้าอาวาสที่มีอยู่ ใช้กฎหมายเปิดช่องไว้ให้

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ริเริ่มจัดงานธุดงค์>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/10/09 at 09:15 [ QUOTE ]


ริเริ่มจัดงานธุดงค์


...ธุดงค์นี่อันที่จริงก็เป็นดำริของหลวงพ่อ ท่านเคยไปตรวจงานเหมือนกัน บอกว่าต่อไปสถานที่นี้เป็นที่ธุดงค์ พวกแกก็เปลี่ยนกันมาซี จะให้อยู่เป็นเดือนเลยด้วยซ้ำ ใครอยากจะอยู่ก็อยู่ไปเลย สักเดือนครึ่งเดือนก็เปลี่ยนกันไป เปลี่ยนกันทำงาน เปลี่ยนกันทำ

อันที่จริง ก็คงจะเป็นท่านคอยช่วยด้วย เพราะเราไม่เคยคิดเลยในใจ เพราะเราไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ พอตรวจงาน พระสุรจิตนี่จะรู้ ไปตรวจงานท่านจะดำริ พระสุรจิตท่านควบคุมงานก่อสร้างอยู่ ไปกับหลวงพ่อก็เล่าให้ฟังว่า ตรงนี้ต่อไปจะเป็นสถานที่ธุดงค์นะ พวกแกก็เปลี่ยนกันมา

พอท่านมรณภาพแล้วก็ เอ๋ จะคิดอะไรนะที่ทำให้คนที่มาวัดแล้วกลับไปได้บุญมากที่สุด เรื่องอะไรท่านก็ทำหมดแล้วใช่ไหม ก็มาเรื่องปฏิบัติธรรมนี่นะถึงจะตรง ต้องรักษาจิตใจของคน ถ้าจิตคนดี วัดก็ทรงตัวอยู่ได้ กิจกรรมอะไรถึงจะทำให้คนรวมตัวกัน เราก็คิดว่าคนจนไปวัดได้ ก็คิดได้เรื่องธุดงค์นี่แหละว่า หลวงพ่อท่านมีสัจจะบารมีดีมาก พูดคำไหนเป็นคำนั้น

เรื่องธุดงค์นี่ หลวงพ่อเคยมาสอนที่สายลม เรียกว่าธุดงค์ในวัด คือเมื่อหลวงพ่อมรณภาพแล้วนี่ ก็ไม่รู้ว่าจะทำงานอะไร เพื่อว่าให้คนที่ไปวัดได้ประโยชน์มากที่สุด ประโยชน์มากที่สุดก็คือการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมบางครั้ง เราอยู่บ้านเราก็ตามใจตัวเองมากไป จะตั้งใจนั่งสมาธิตอนเช้ามืด พอเช้ามืดตื่นไม่ไหว ขอเป็นพรุ่งนี้เถอะ บางคนก็สวดมนต์ อย่างวันนี้สวดอิติปิ โส กัน ก็ยังมีฉบับย่ออีก ฉบับย่อก็คือ จะจำไว้ก็ได้นะ ยกมือไหว้แล้วบอก “วันนี้สวดเหมือนเมื่อวานนะ” กะทัดรัดดีไหม

“หลวงพี่ระวังจะโดน หลวงพี่วันนี้หนูถวายเหมือนเมื่อวานนะคะ”

ไม่ใช่เราทำ ชาวบ้านเขามาเล่าให้ฟัง ธุดงค์นี้ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเป็นของดี เทวดาก็ว่าเป็นของดี ธุดงค์เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นตบะ ทำความเพียรเพื่อเผากิเลส ทีนี้เราอยู่บ้านเราก็ตามใจตัวเอง ถ้าไปอยู่สถานที่ธุดงค์ ต้องปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ไม่ถึงกับเครียดนะ

คือถือกรรมบถ ๑๐ โดยเคร่งครัด ถ้าใครถือกรรมบถ ๑๐ ไม่ได้ จะไม่ให้เข้าไปในเขตนั้น จะให้มาอยู่ข้างนอก ถ้าเขตธุดงค์ จะไม่ให้คนไปเจี๊ยวจ๊าวในเขตนั้นเลย แม้แต่ญาติที่ไปเยี่ยมก็ห้ามเข้าไปในเขตนั้น คือ จะให้คนไปตามให้คนที่อยู่ในนั้นออกมาข้างนอก พบกันข้างนอกก็ไม่มีอะไรมาก ไม่มีอะไรพิเศษหรอก ให้ถือกรรมบถ ๑๐ โดยเคร่งครัด

สำหรับพระให้ถือธุดงควัตร คงไม่ถึง ๑๓ ข้อหรอก เอาแค่ข้อที่เราปฏิบัติได้ จะให้ไปอยู่ริมกำแพงรั้วโน่น แถวนั้นผจญภัยหน่อย อาจจะมีญาติมาเยี่ยมกลางคืนบ้าง

“ญาติประเภทไหนครับ”

ประเภทไม่มีเท้า แถวนั้นกลางคืนมีงูเหลือมเหมือนกัน เพราะกำแพงวัดติดกับป่า คือป่าที่หลวงพ่อจะซื้อนั่นแหละ เป็นป่าไม้เก่า ไม่มีใครทำมาหากินเป็น ๒๐-๓๐ ปีมาแล้ว มีสัตว์พวกนี้อาศัยอยู่เหมือนกัน

ทีนี้ก็มาตรงกับหลวงพ่อที่ว่า ท่านชี้ให้ดู บอกพระสุรจิตที่ไปตรวจงานกับท่าน ท่านชี้ให้ดู ต่อไปแถวนี้นะเป็นสถานที่ธุดงค์ทั้งนั้น ก็ตรงกับใจของเราคิด ก็คงจะทำติดต่อกันไปได้ จะไปคัดลอกหนังสือที่หลวงพ่อสอนมาแล้ว คัดลอกลงในหนังสือธัมมวิโมกข์เรื่อย ๆ อานิสงส์การปฏิบัติธุดงค์เป็นอย่างไรบ้าง ข้อนี้มีอานิสงส์อย่างไร ระเบียบของวัดเป็นอย่างไร

“แต่ที่ปัญหาเขาถาม เขาถามธุดงค์ของหลวงพี่นะครับ ไม่ใช่ธุดงค์ของชาวบ้านนะครับ”

ยังไม่เคยเลย เพราะอยู่กับหลวงพ่อ ไม่ได้ออกไปไหนเลย ไปอยู่ครั้งเดียวตอนตรุษจีน ไปวัดโขงขาว ไปตอนนั้นก็โดนผีหลอก คือไม่ค่อยลาท่านไปไหนเลย เวลาเขาออกธุดงค์กัน หลวงพ่อท่านมีวิธีดัดพระ เวลางานมากท่านก็เบื่อใช่ไหม ไปธุดงค์ดีกว่า

หลวงพ่อถือว่า ไอ้พวกนี้ลาหนีงาน ท่านก็บอก แกไปได้นะ ๕ เดือนห้ามเข้าวัดเด็ดขาด พอไปได้สัก ๓ เดือน คงจะอดอยาก มาเดินเลาะอยู่ข้างวัด ได้ข่าวว่าอยู่วัดนั้น วัดนี้ เข้าวัดไม่ได้

มีอยู่องค์หนึ่งบวชไล่ ๆ กัน ชื่อพระประดิษฐ์ เป็นนักศึกษาอยู่ธรรมศาสตร์ ยังไม่ทันจบ ลาออกเลย แกก็อยู่วัดบ้าง เดี๋ยวไปธุดงค์บ้าง พอลาครั้งที่สองท่านเอาเลย “ประดิษฐ์ แกไม่เป็นพระอรหันต์อย่ามาวัดนะ” ปิดประตูเลย

ตอนนี้ได้ข่าวว่าอยู่ที่เกาะสีชัง พวกกัน บวชหลังฉัน ๓-๔ พรรษา พี่โอแก่กว่าพรรษาหนึ่ง แต่พี่โอเขาไปเรื่อย เราไม่ค่อยไปไหน ไม่ใช่ดีอะไร อยากอยู่ช่วยหลวงพ่อ คือ หลวงพ่อใหม่ ๆ มีศัตรูมาก เกี่ยวกับเรื่องวัดเรื่องวา ขนาดจะฝังลูกนิมิตอยู่แล้ว ยังฝังไม่ได้เลย

เจ้าอาวาสองค์เก่าน่าดู ขนาดจะขุดแท็งค์น้ำ เจ้าอาวาสเอาพวกมาขุดถังส้วมติดกับเรา เจาะประปา เจ้าอาวาสใหญ่โตน่าดู เดี๋ยวนี้ก็ยังมีหลักฐานอยู่ ตรงแท็งค์น้ำข้างโรงฉัน ยังมีถังส้วมอยู่ ตอนนั้นน่าหวาดเสียว

เจ้าอาวาสท่านคบพวกขี้เมาทั้งนั้น ตอนเย็นขุดถังส้วม หลวงพ่อก็เดินไป ฉันก็เดินตาม เดินไปทางต้นโพธิ์ ข้างวิหารพระองค์ที่ ๑๐ ปัจจุบันนี้ สักประเดี๋ยวหลวงพ่อเดินวกเข้าไปหาพวกมันเลย เราก็ตามท่านไป มันกำลังขุดส้วมอยู่

หลวงพ่อถามทำอะไรกันน่ะ มึงหยุดเดี๋ยวนี้นะ เดี๋ยวมีเรื่องแน่ หลวงพ่อองค์เดียว พวกมันตั้ง ๑๐ คน เงียบกริบ หลวงพ่อนี่มีอำนาจจริง ๆ มันไม่กล้ากระดุกกระดิกเลย รุ่งขึ้นก็ไม่หยุด เจ้าอาวาสให้ท้าย เลยให้จ่าตระกูลไปแจ้งสาธารณสุข เขาก็ระงับไม่ให้ขุดทำส้วม

เรื่องการสร้างวัดเรา หลวงพ่อสร้างมาด้วยความยากลำบาก หลวงพ่อทุกข์ยากมาก จะฝังลูกนิมิตยังฝังไม่ได้เลย

“เรียกว่าอุปสรรคขั้นต้นเริ่มไปอยู่ก็มีแล้ว ใช่ไหมครับ”

มีแล้ว กว่าหลวงพ่อจะปูพื้นฐานไม่ให้กินเหล้า ไม่ให้มีการพนันนี่ เพราะเจ้าอาวาสเขามีครบหมดแล้วนี่ ห ลวงพ่อกว่าจะเบรคพวกนี้ได้ก็นาน ตอนนี้เราก็สบายแล้ว ประเพณีเราไม่มี

จะเล่าถึงพระออกธุดงค์ พอมันเซ็งพระก็จะออกสิ ออกไปธุดงค์ บางองค์ก็ออกไปทางหลวงปู่วงศ์ พอไปสัก ๗ วัน เขียนจดหมายมาแล้ว อยู่ไม่ไหว กลับมาก็สึกกันรูดเลย ถ้ามันผ่านจุดนี้ไปได้ก็ดี มีอะไรก็เก็บไว้ในอก

พอระเบิดตูม สลัดผ้าเหลืองไปเลย เหมือนความร้อนอยู่ในอก ปล่อยให้มันระบายเสียบ้าง ถ้ามันอั้นเต็มที่ ถึงเวลามันระเบิดเลย ส่วนเรานี่ปากเปราะ มีอะไรก็คุยให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็ว่าอย่างโน้นอย่างนี้ คุยกันไปก็ช่วยได้เยอะ

“รุ่นธุดงค์ปลากระป๋องสึกกันหมดเลยหรือครับ”

สึกหมด หลวงพ่อทักตอนกลับมา “เฮ้ย... (ออกชื่อ) ไปธุดงค์มาเหรอ เห็นอะไรกะเหรี่ยงมาวะ” หลวงพ่อพูดตรงกว่านี้ น่าเสียดายทุกองค์ต่างก็ตั้งใจมาบวชตลอดชีวิต

“แล้วหลวงพี่อยู่อย่างไรครับ จนมาถึงบัดนี้”

อยู่มานี่ จะว่าเช้าชามเย็นชามก็พอใช้ได้นะ คือว่าตึงเกินไปก็ไม่ไหว หย่อนเกินไปก็ไม่ได้ดี จริงที่พระพุทธเจ้าว่า ต้องเดินสายกลางมัชฌิมาปฏิปทา

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ธุดงค์ในวัด>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 15/10/09 at 09:19 [ QUOTE ]


ธุดงค์ในวัด


...ธุดงค์ในวัดที่จะจัดให้มีขึ้นในเดือนธันวาคมปี ๒๕๓๖ นี้ จะแทรกสังคหวัตถุ ๔ และกรรมบถ ๑๐ ไปด้วย ถือว่าเข้าไปในเขตนี้แล้ว ต้องตั้งใจทำให้ดี ธุดงค์มีทั้งหมด ๑๓ ข้อ แต่มีบางข้อที่เราเอามาใช้ได้ ข้อที่ ๑ กินข้าวมื้อเดียว ข้อที่ ๒ นั่งเป็นวัตร ข้อที่ ๓ เขาจัดสถานที่ไหนก็ต้องอยู่ในสถานที่นั้น อานิสงส์คือผลที่จะได้กับเรา

๑. จัดสถานที่ให้อยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ติดในความสะดวกสบาย มีความเป็นอยู่สันโดษ

๒. นั่งเป็นวัตร ทำให้เรามีสัจจบารมี มีอธิษฐานบารมี

๓. ข้อที่กินมื้อเดียวนี่ทำให้คนไม่มักมากในการกิน จะทำให้การบำเพ็ญภาวนาได้ดี

อานิสงส์นี่ไม่ใช่หลวงพี่บอกเองนะ ในพระไตรปิฏกเขาจะบอกไว้เลย สมัยพุทธกาลเขาบอกไว้แล้ว

“นั่งเป็นวัตรทำอย่างไรค่ะ”

หลวงพ่อท่านสอนบอกว่าให้อธิษฐาน บอกว่านับตั้งแต่บัดนี้ถ้าเรานั่งลงไปจะไม่เอามือค้ำภายใน ๑๐ นาทีนี้ หรือ ๑๕ นาทีนี้ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ไม่ใช่อธิษฐานทั้งวันทั้งคืน เอาเวลาน้อย มันเป็นสัจจะ พอสมาทานธุดงค์ข้อนี้แล้ว เรายอมตาย ๑๐ นาที ต่อไปนี้เรายอมตาย มันก็มีกำลังใจที่จะภาวนาซิ คือบังคับตัวเอง คือสัจจะของเราบังคับตัวเราเอง

“ผู้หญิงจะให้อยู่ที่ไหนคะ”

ผู้หญิงจะให้อยู่ที่ ๒๕ ไร่ มีห้องพัก ๒๐๐ กว่าห้อง ถ้ามีคนน้อยจะให้อยู่ห้องละคน คนมากจะให้อยู่ห้องละสอง มากไปจะให้อยู่ห้องละสาม

“การแต่งตัวอย่างไรคะ”

ก็แต่งตัวธรรมดา สุดแล้วแต่จะสะดวกอย่างไร เขาไปฝึกใจกันนี่ เน้นที่จิตใจกับการปฏิบัติ เข้าไปเขาจะมีปฐมนิเทศก่อน ข้อปฏิบัติทำอย่างไร ข้อบกพร่องเป็นอย่างไรที่เขาจะเชิญออกมาจากที่ปฏิบัติ คือจะทำให้สถานที่มันศักดิ์สิทธิ์

“ญาติเยี่ยม ได้ไหมค่ะ”

ถ้ามีญาติเยี่ยมจะให้คนไปตามมาพบคุยกันที่ ๑๒ ไร่ ไปอยู่ด้วยกันร้อยพ่อพันแม่ ใครจะอึดหรือใครจะอัดกว่ากัน ๓ วัน ๗ วันนี้ใครจะตบะแตกก็รู้กันละ จะอยู่ ๓ วันก็ได้ ๗ วันก็ได้ ที่จัดทำธุดงค์ขึ้นนี้เพราะมันตรงกับที่หลวงพ่อสอนเรื่องธุดงค์ในวัด

ท่านบอกว่าไม่จำเป็นจะต้องออกป่าใหญ่ แต่เน้นในการปฏิบัติ เราจะอดอึดอัดได้ขนาดไหน มันเป็นประโยชน์แก่เรา อยู่ที่บ้านตั้งใจจะนอนภาวนาสักหน่อย เจอหมอนนิ่ม ๆ พุท-โธ ไม่ทันไรไปเสียแล้ว มาฝึกอย่างนี้ดี

“ตื่นเวลาเท่าไหร่ค่ะ”

บางคนจะให้ตื่นตีสี่ แต่ตื่นตีห้าก็ได้ จะเปิดเสียงตามสาย ตอนเช้าก็ใส่บาตรกัน ทำวัตรเช้าพร้อมกัน กินข้าวแล้วก็พักผ่อนไป พักไปถึงเที่ยง จะปรึกษากันดูว่า จะฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลังสัก ๒ วันดีไหม

จะลองดูเพราะไม่เคยฝึกเต็มกำลังมานานแล้ว หลังจากนั้นก็ฝึกแบบครึ่งกำลัง ไปฝึกที่ ๑๒ ไร่ ที่กว้างเต้นกันได้ดี

“คนที่ไม่อยู่ธุดงค์ฝึกได้ไหมค่ะ”

ฝึกได้ หากว่าทำดีแล้วเราจะถือให้เป็นระบบของวัดไป นาน ๆ ปีหนึ่งเราตั้งใจไปฝึกสักครั้งหนึ่งให้เป็นเรื่องเป็นราว หลวงพ่อเคยพูดเหมือนกัน แต่พูดลอย ๆ ไว้ ต่อไปเราก็คงจะทำเหมือนเขานี่ อย่างที่บวชชีพราหมณ์กันมาก ๆ เราก็นึก

เอ... หลวงพ่อเมื่อไรจะทำสักที ก็ไม่ได้ทำ พอหลวงพ่อมรณภาพแล้วก็มาคิดว่า จะทำอย่างไรให้มันเป็นกิจกรรม กับคนที่เขามาปฏิบัติธรรมธุดงค์ หลวงพ่อก็สอนดี เทปก็มีอยู่ แต่เรายังไม่เคยจัดสักที

เรื่องธุดงค์นี่แม้แต่เทวดาก็สรรเสริญ พระพุทธเจ้าก็สรรเสริญ เป็นตบะ ความเพียรอย่างหนึ่ง ที่จะเผากิเลสของตัวเอง แต่ไม่ใช่อยู่ธุดงค์แล้วจะวิเศษกว่าคนอื่นนะ อย่าไปถืออย่างนั้น ถือว่าเป็นการประพฤติความดีอย่างหนึ่งที่จะเร่งรัดตัวเอง

และงานธุดงค์ก็กลายมาเป็นงานนิยมยอดฮิตประจำปีของวัดท่าซุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง งานก่อสร้าง >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 21/10/09 at 08:44 [ QUOTE ]


งานก่อสร้าง


...ในงานกฐินปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อมรณภาพ ๑๒ วัน พระเดชพระคุณท่านได้ปรารถให้ญาติโยมที่มาร่วมงานกฐินฟัง ดังนี้

เดี๋ยวจะเล่าอะไรให้ฟังนะโยมนะ ตั้งแต่สร้างวัดนี้เป็นต้นมา คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ จ่ายไปแล้วทั้งหมดถึง ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๕ เป็นเงิน ๔๖๒,๘๒๗,๔๑๒.๙๔ บาท (สี่ร้อยหกสิบสองล้านแปดแสนสองหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยสิบสองบาทเก้าสิบสี่สตางค์)

และรับมาแล้วทั้งหมด ๓๒๔,๘๘๑,๖๔๗.๘๙ บาท (สามร้อยยี่สิบสี่ล้านแปดแสนแปดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสี่สิบเจ็ดบาทแปดสิบเก้าสตางค์) ยังเป็นหนี้อีก (เฉพาะเงินสงฆ์นะ) ๑๓๗,๙๔๕,๗๖๕.๐๕ (หนึ่งร้อยสามสิบเจ็ดล้านเก้าแสนสี่หมื่นห้าพันเจ็ดร้อยหกสิบห้าบาทห้าสตางค์)
พออ่านหนี้แล้วหน้ามืดเลยโยม...”

“แต่ว่าขอประกาศให้ทราบตามนี้นะ คำว่า “เป็นหนี้” นี่เฉพาะเงินสงฆ์ เงินที่ทำบุญส่วนสงฆ์เป็นหนี้ แต่หนี้จริง ๆ ไม่มีแล้ว เพราะว่าอาตมาเอาเงินที่ญาติโยมพุทธบริษัทถวายเป็นส่วนองค์ ถวายเป็นส่วนตัวนี่นะ บางเดือนก็ไม่ได้ใช้สักบาท เพราะว่าถ้าต้องการอะไรก็มีคนเขาให้หมด อยากจะกินกาแฟเขาก็ซื้อกาแฟให้ อยากจะกินน้ำพริกเขาก็ซื้อน้ำพริกให้

เลยเอาเงินจำนวนนั้นมาช่วยชำระหนี้สงฆ์ เป็นเงิน ๑๓๗,๙๔๕,๗๖๕.๐๕ บาท (หนึ่งร้อยสามสิบเจ็ดล้านเก้าแสนสี่หมื่นห้าพันเจ็ดร้อยหกสิบห้าบาทห้าสตางค์) เงินจำนวนนี้ทั้งหมดเป็นเงินที่ญาติโยมถวายเป็นส่วนตัวดีไหม...โยม แต่ว่ายังเป็นหนี้อีกมากนะ ของที่สั่งยังไม่มาอีกเยอะ สั่งเครื่องปั่นไฟฟ้าอีก ๒ เครื่องๆ ละ ๒๐๐ กิโลวัตต์ และของอย่างอื่นที่สั่งไปแล้วแต่ยังไม่มาอีกหลายล้านบาท


“สำหรับปีนี้ รับเงินตั้งแต่หลังกฐินปี ๒๕๓๔ เป็นต้นมา เป็นเงิน ๔๒,๗๖๑,๒๙๐.๖๔ บาท (สี่สิบสองล้านเจ็ดแสนหกหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบบาทหกสิบสี่สตางค์)

จ่ายไปแล้วทั้งหมด ๓๔,๒๘๕,๖๙๖.๙๘ บาท (สามสิบสี่ล้านสองแสนแปดหมื่นห้าพันหกร้อยเก้าสิบหกบาทเก้าสี่สิบหกบาทเก้าสิบแปดสตางค์)

เหลือเงินอยู่อีก ๘,๔๗๕,๕๙๓.๖๖ บาท (แปดล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยเก้าสิบสามบาทหกสิบหกสตางค์) ไอ้เงินที่เหลือนี่ไม่ใช่อะไรญาติโยมเป็นเงินที่ญาติโยมถวายไว้ใช้ส่วนตัว ช่วยชำระหนี้สงฆ์นะ ที่ยังเหลือมีดังนี้

๑. มณฑปองค์ปฐม ยังไม่เสร็จ

๒. สร้างมณฑปพระยืน ๘ ศอก ยังไม่เสร็จ

๓. ทางเดิน ๑๐๐ ไร่ ยังไม่เสร็จ

และยังมีอื่นอีกมาก โยมไม่ต้องกลัวเงินเหลือ อาตมาใช้สตางค์เป็น”

งานในส่วนนี้จึงเป็นมรดกตกทอดมาถึงท่านพระครูปลัดฯ ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา ๑๖ ปี อาจจำแนกออกได้เป็น ๔ ประเภทใหญ่ ๆ คือ

๑. งานก่อสร้างต่อจากที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อดำเนินการค้างอยู่ และการก่อสร้างที่หลวงพ่อปรารถไว้

๒. งานซ่อมแซมและปรับปรุงวัด (แกอย่าปล่อยให้วัดโทรมนะ)

๓. งานก่อสร้างและพัฒนาภายในวัด และ

๔. งานก่อสร้างและพัฒนานอกวัด

งานก่อสร้างในส่วนที่ ๑ ประกอบด้วย

๑.๑ เก็บงานมณฑปสมเด็จองค์ปฐม

๑.๒ เก็บงานมณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย และการหล่อพระรูปของท่าน

๑.๓ เก็บงานมณฑปพระยืน ๘ ศอก

๑.๔ สร้างทางเดิน ๑๐๐ ไร่

๑.๕ สร้างปราสาททองคำ

๑.๖ สร้างสมเด็จองค์ปฐมทองคำ

๑.๗ สร้างสมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพาน

๑.๘ สร้างบุษบกไว้สรีรศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

๑.๙ สร้างห้องปฏิบัติพระกรรมฐาน ๑๗ ห้อง (ต่อ)

๑.๑๐ สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ (ต่อ)

๑.๑๑ สร้างศาลพระภูมิวัด

๑.๑๒ การบูรณะและปิดทองพระอุโบสถ (ยังไม่ได้ทำ)

ถ้าจะเล่ารายละเอียดงานก่อสร้างทั้งหมด หนังสือเล่มนี้จะหนามาก และจะออกไม่ทันงานมงคล จึงขอเล่าแต่เพียงบางเรื่อง ว่าแต่ละงานนั้นท่านพระครูปลัดฯ ใช้บารมีของท่านอย่างไรบ้าง ถึงได้มีผลงานที่ยอดเยี่ยมประทับใจศิษย์วัดท่าซุง และท่านพุทธศาสนิกชนที่ได้มาเห็นทุกคน

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง การสร้างปราสาททองคำ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/10/09 at 08:44 [ QUOTE ]


การสร้างปราสาททองคำ


...ท่านพระครูฯ ท่านปรารถไว้ว่า “พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเคยปรารถไว้ก่อนมรณภาพว่าจะสร้างปราสาททองคำ เพื่อเป็นพุทธบูชา และเสริมบารมีศิษยานุศิษย์ให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น

และใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งหมดของวัดท่าซุง และชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ความสูงจากฐานถึงยอดปราสาท ๔๐ เมตร ผนังมีลวดลายปิดทองและปิดกระจกทั้งหลัง พระสามารถ ฐานิสสโร เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๑๖.๑๐ น.”

ท่านเล่าว่า “พอเริ่มลงมือปุ๊ปก็มีคนให้สตางค์มาเรื่อย จอดตรงโน้นตรงนี้ จองประตู จนยอด ๓๖ ยอดหมดไปแล้ว ยอดละ ๕๐,๐๐๐ บาทนะ จนไม่มียอดให้เขาแล้ว เหลือแต่ยอดรวมอยู่ยอดหนึ่ง

ถ้าเราไม่ลงมือ ก็ไม่มีใครเขาให้หรอก เพราะเรายังไม่ได้สร้างนี่ พอลงมือประตูก็จองรอบหมดแล้ว รอบวิหารชั้นล่างนี่นะ เหลือแต่ชั้นที่สอง ชั้นที่สาม ประตูละ ๒๐,๐๐๐ บาท ก็จองไป หมดแล้วก็ต้องลงมือกันก็ลองสร้างดู เอาแต่พอกำลังไปเรื่อยๆ”
(พ.ศ. ๒๕๓๗)

เดือนมีนาคม ๒๕๔๔ ท่านพระครูฯ ได้เดินทางไปประเทศพม่า และได้ไปเห็นอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม ท่านออกปากว่า “ถ้าได้มาเห็นพระเจดีย์อานันทะก่อน จะสร้างปราสาททองคำให้งดงามกว่านี้ จะได้มีเจดีย์บริวารลดหลั่นเสริมความสง่าของปราสาท” ท่านสาธุชนโปรดอดใจรอดูฝีมือท่านพระครูฯ ว่าท่านจะเสริมความสง่าของปราสาททองคำอย่างไร

การหล่อสมเด็จองค์ปฐมทองคำ


หลวงพี่อาจินต์ ธัมมจิตโต ได้สรุปความสำคัญงานเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมทองคำไว้ดังนี้

พระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ทำด้วยทองคำทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ได้หล่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

พระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ เจ้าอาวาส ได้ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตใจเพื่องานนี้เป็นอย่างมาก แวะเวียนไปดูสถานที่ที่จัดงานที่ปราสาททองคำอยู่เสมอ ทั้งก่อนสร้างปะรำพิธีและขณะสร้างปะรำพิธี แม้กระทั่งเลิกงานแล้ว

เป็นความสำเร็จอย่างไม่มีใครคิดคาดฝันว่าจะจัดปะรำพิธีได้อย่างสวยงาม ได้รับคำชมเชยจากผู้มาร่วมงานเป็นอย่างมาก และหลังเลิกงานก็ยังโทรศัพท์ไปหาเจ้าอาวาสเล่าถึงความปลื้มปิติอยู่ทุกวัน

ทั้งเจ้าอาวาสและพระสงฆ์วัดท่าซุง และฆราวาสที่ช่วยกันทำงาน ก็นึกไม่ถึงว่างานจะออกมาอย่างสำเร็จเรียบร้อยสวยงามอย่างนี้

จึงขอนำเบื้องหลังแห่งความสำเร็จรวบรวมมาเล่าสู่กันฟัง จะได้รู้ว่าความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีคนใด คณะใด ที่อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ

งานนี้แบ่งส่วนสำคัญเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. งานหล่อสมเด็จองค์ปฐมทองคำ ทั้งขั้นทดลองและของจริง

๒. งานสร้างปะรำพิธีให้สวยงาม สมพระเกียรติสมเด็จองค์ปฐม

ปะรำพิธีเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมที่หน้าปราสาททองคำ ที่หลายคนชมเป็นเสียงเดียวกันว่า สวยงามมาก ๆ ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ที่รับงานไปทำจากหลวงพี่พระครูปลัดอนันต์ เจ้าอาวาส มีดังต่อไปนี้

๑. สถาปนิกออกแบบปะรำพิธี, ออกแบบเต็นท์, ออกแบบฉัตร, ออกแบบตู้ใส่ทองและกระถางต้นไม้

คุณชุมนุมพร ชวนานท์ (ขนม)

๒. วิศวกรคำนวณโครงสร้างมณฑปที่เวทีและมณฑป ๔ ทิศ

คุณจินดารัตน์ มณีเจริญ (แต)

๓. งานสร้างเวทีและมณฑปใหญ่ ๒ มณฑป และมณฑป ๔ ทิศ

พระชาญณรงค์ สุธัมมปภัสสโร และลูกน้องของช่างชิต (ช่างไม้ประจำวัดท่าซุง)

๔. งานทำเต็นท์ ๔ เต็นท์, ผ้าใบคลุมเต็นท์ และงานโครงฉัตร เป็นเหล็ก

พระสมนึก สุธัมมถิรสัทโธ และลูกน้องของพระสมนึก ๘ คนเป็นช่างเหล็กของวัดท่าซุง

๕. งานทำกระถางต้นไม้

ช่างจำเนียร แก้วมณีและลูกน้อง ทำด้วยปูนเสร็จแล้วให้พระสงฆ์วัดท่าซุงเป็นผู้ยกวางประจำจุดต่าง ๆ

๖. งานประดับต้นไม้, ดอกไม้ใส่ในกระถาง

๖.๑ คุณวาสนา ตันสายเพชร (แต๋ว) คุณแต๋วช่วยออกค่าต้นไม้และปุ๋ย ๕๖,๐๐๐ บาท งานนี้เป็นงานช้าง เพราะคุณแต๋วเอาช้าง (ทำด้วยต้นไม้ดัด) มา ๒ ต้น วางอยู่ข้างเวที

๖.๒ คุณสุวัฒน์ ปรีดิพันธุ์ และคุณชูจิต อติอนุวัฒน์ ช่วยจัดต้นไม้ลงกระถาง และบริจาคต้นไม้และปุ๋ยคิดเป็นเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท

๖.๓ คุณชุมนุมพร ชวนานนท์ บริจาคเงินค่าต้นไม้และปุ๋ย เป็นเงิน ๕,๑๐๕ บาท

๗. จัดต้นไม้ จัดสถานที่ รดน้ำต้นไม้

คุณทุเรียน แสงงาม, คุณขวัญ, คุณแหม่ม, คุณนิพนธ์, คุณฉุย, คุณป้าเฉวียง และไม่ทราบชื่ออีกหลายคน ช่วยกันจัดต้นไม้

๘. งานเย็บผ้าคลุมเต็นท์ผ้าใบ, ฉัตร, ร้อยมุกและกุหลาบห้อยชายเต็นท์

๘.๑ ที่ปรึกษาเรื่องผ้าคลุมเต็นท์
คุณวิไล ภูมิธเนศ

๘.๒ ผู้ร่วมบริจาคเงิน
คุณจุฑาวรรณ โอฬารวัฒน์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
คุณอุมาภรณ์ อมรสันต์ ๓๐,๐๐๐ บาท
คุณวิจิตรา สาธุวัน ๒๐,๐๐๐ บาท
คุณศาสนีย์ เทพเจริญ ๒๐,๐๐๐ บาท
คุณหยกเพชร จันทวัน ๑๐,๐๐๐ บาท
คุณบงกช เกิดสมบูรณ์ ๗,๐๐๐ บาท
คุณกรรณิการ์ การเดช ๕,๐๐๐ บาท
คุณชุมนุมพร ชวนานนท์ ๕,๐๐๐ บาท

๘.๓ คณะจัดเย็บผ้าคลุมเต็นท์ ผ้าคลุมฉัตร
คณะบงกช เกิดสมบูรณ์ และศิษย์พุทธไชโย โดย คุณถาวะ มุ่งครอบกลาง, คุณบังเอิญ พลอยชื่น

๘.๔ ผู้จัดทำมุก
คือ “คณะปลาวาฬ” มีคุณกัญญา เบญจรัตนพรรณ, คุณวัชรธิดา ครองยุทธ์, คุณมณฑา โพธิพันธุ์, คุณวาสนา ทองขัน, คุณสุพรรษา ชัยชนะ, คุณเนตร, คุณน้อง, คุณอ๊อบ, คุณก้อย

เต็นท์ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตรา แต่ทำในห้องกว้าง ๔ เมตร ยาย ๔ เมตรเท่านั้น เสร็จมาอย่างปาฏิหาริย์

๘.๕ ผู้จัดทำฉัตรตัวอย่าง
คุณกัญญา, คุณชุมนุมพร, คุณจินดารัตน์ มณีเจริญ

๙. งานติดตั้งเต็นท์และฉัตรบนมณฑปทั้ง ๖ มณฑป
พระสมนึก และลูกน้อง ๘ คน

๑๐. งานประกอบผ้าคลุมเต็นท์, ฉัตร และร้อยมุกประดับชายเต็นท์
คณะปลาวาฬ, คณะคุณบงกช, คุณเก๊าะแก๊ะ, คุณแหง่ว, คุณโอ, คุณมานพ, คุณพูนศรี, และคณะศิษย์พุทธไชโย, พระวัดท่าซุง

๑๑. งานตัดเย็บผ้าม่านและงานติดตั้งปูพรมดูราฟลอร์
คุณสาธิต ตันติจันทโรจน์ (โกโบ้) และคณะร้านภูเก็ตเจมินี จ.ภูเก็ต คุณวิ ร้านวิชัยสโตร์ และลูกน้อง จ. อุทัยธานี

๑๑.๑ จัดซื้อดูราฟลอร์
คุณปทุมพร ศิริรังคมานนท์ ออกเงินซื้อให้ ๑,๗๐๐ บาท

๑๒. งานจัดทำสัปทน ๕ คัน ยอดฉัตรปิดทอง ๑๖ ยอด และทำฉัตรชุดเล็กบนตู้ใส่ทอง ๓ ชุด
คุณรัตนา ชินบุตรานนท์, คุณสุกิจ วัฒนพรพรหม, คุณวีรชัย ชินบุตรานนท์ และคณะคนงานบริษัทไทยโอเชียน จังหวัดสมุทรปราการ

๑๓. งานจัดทำโต๊ะบายศรี ๑๐ โต๊ะ
คุณสุชัย ชินบุตรานนท์, คุณหนูเล็ก, คุณนนท์, คุณจุก, คุณวิเชียร, คุณบังอร, คุณสปัน แห่งบริษัทไทยโอเชียน สมุทรปราการ

๑๔. ตู้ใส่ทอง:ผู้บริจาค
คุณกิตติชัย – คุณเยาวลักษณ์ มิตรศรัทธา
คุณกิตติวัชร – คุณสุกัญญา เกษมใส
คุณแม่ฮุ้น แซ่หรือ
คุณประพัฒน์ – คุณนพวรรณ ทีปะนาถ
คุณวิมาลี ศิรประภาชัย
คุณจิตต์อารีย์ ทีปะนาถ

๑๕. พานใส่ทอง
คุณวิชชุดา ชัยกูล (แอน) และคณะเพื่อน ๆ น้องๆ บริจาคเงินและตัดเย็บ

๑๖. งานตกแต่งมณฑป ๔ ทิศ
พระอาจินต์ ธัมมจิตโต
คุณอุบล-คุณยุบล นวรัตน์รุ่งโรจน์ จัดทำแท่นรองรับหลวงปู่, หลวงพ่อ ๔ ชุด

๑๖.๑ เจ้าภาพจัดทำดอกไม้
บูชาพระพุทธรูป
คุณวิมาลี ศิรประภาชัย
คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ (โอ๋)

บูชาหลวงปู่ปาน
คุณมิตรดา เลิศสุมิตรกุล (มิดดี้)

บูชาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
คุณเยาวลักษณ์ มิตรศรัทธา (ขวัญ)

บูชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณวิมาลี ศิรประภาชัย และเพื่อน

๑๖.๒ จัดทำผ้าปูโต๊ะ และผ้าระบายรอบแท่น
คณะปลาวาฬ มีคุณหมวย, เจ๊จู, คุณถาวร, คุณสาว, คุณเอิญ, คุณก๊อกแก๊ก, คุณวาสนา, คุณบงกช, คุณวัชรธิดา, คุณมณฑา, คุณพูนศรี, คุณประไพ, คุณก้อย, คุณอ๊อฟ, คุณพรรณี, แม่ชีมด, คุณวิว, คุณมิ้น, คุณน้อย และคุณลุงแหง่ว

๑๗. จัดสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก ๓๐ นิ้ว เป็นองค์ประธานในพิธีประดิษฐานที่ปราสาททองคำ
พระอาจินต์ ธัมมจิตโต
อาจารย์สมพงษ์ หลุนประยูร และลูกศิษย์ที่บ้านก๋ง จ.ฉะเชิงเทรา
คุณอุบล-คุณยุบล นวรัตน์รุ่งโรจน์
คุณแหม่ม และคณะ อยู่สามแยกไฟฉาย กรุงเทพฯ

๑๘. แจกันดอกไม้บูชาสมเด็จองค์ปฐม ๓๐ นิ้ว, โต๊ะหมู่ท่านปู่-ท่านย่า, หลวงปู่, หลวงพ่อ และโต๊ะหมู่จุดธูปเทียนเจริญพุทธมนต์
คุณวิชชุดา ชัยกูล และคณะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ร่วมบริจาคเงินและจัดแจกัน

๑๙. จัดสถานที่รับรองหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์
พระสำเภา สุธัมมปวโร
คุณวิโรจน์ วัฒนสุนทร และน้องสาว

๒๐. ผูกผ้ารอบเวที และมณฑป ทั้ง ๖ มณฑป
พระมหาปรีชา สามัตถิโก และพระสงฆ์ ๓ รูป วัดอุทุมพรทาราม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

๒๑. ประดับไฟที่ปราสาททองคำ ที่เวที และมณฑป ๔ ทิศ
พระละออง ธัมมจาโร, พระไพบูลย์ สุธัมมฐิติญาโณ, คุณวีรยุทธ, คุณประสงค์ จินตพันธุ์ จ.ภูเก็ต และพระวัดท่าซุง

๒๒. ติดตั้งเครื่องขยายเสียง, วี.ดี.โอ วงจรปิด
พระบุญชู สุธัมมอาภากโร
พระทะนงศักดิ์ สุธัมมสิริสาโร
พระมงคลเวทย์ สุธัมมฐานวโร
คุณปรีชา พึ่งแสง, คุณสุพัฒน์, คุณลือชัย และหลานชาย

๒๓. ดนตรีไทยบรรเลงในงาน (คณะสุพจน์ โตสง่า) มีครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ เป็นผู้ขับร้อง
ดร. ปริญญา นุตาลัย เป็นเจ้าภาพจัดหามาบรรเลง และประพันธ์บทขับร้องประกอบปี่พาทย์ เพลงตับเทิดพระเกียรติคุณสมเด็จองค์ปฐม

๒๔. ฝ่ายเครื่องดื่มและจัดหาผ้าเย็น ถวายพระเถระ, พระอาคันตุกะ, และเลี้ยงผู้มาในงาน
พระอนุชิต สุธัมมอชิโต
คณะสาวจันท์
คณะคุณวิชชุดา ชัยกูล (แอน)
คณะคุณระวิวรรณ ชาญพิทยกิจ (เตือน) , นักเรียน ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา, เจ้าหน้าที่ร้านเครื่องดื่ม พสธ.

๒๕. จัดทำบายศรีของวัด
คุณสุภาพร ปุษยนาวิน และคณะลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ (ฝ่ายบายศรี)

๒๖. จัดทำบายศรี ๖ ภาค ๒ คณะ
แต่ละภาคและคณะจัดทำกันมาเอง

๒๗. จัดทำกระบวยสำหรับเททอง
พระครูปลัดนิภัทร อัคคธัมโม และลูกศิษย์วัดพุทธไชโย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

๒๘. จัดทำบายศรี ที่มณฑป ๔ ทิศ
พระครูเกษมสุวรรณโพธิ์ และคณะศิษย์วัดขุยโพธิ์ จ.สิงห์บุรี

๒๙. จัดหาเก้าอี้และจัดเก้าอี้ในเต็นท์
อาจารย์บุปผาชาติ พงษ์ประดิษฐ์ (โอ๋)
พระสงฆ์วัดท่าซุง

๓๐. การจัดขบวนอัญเชิญบายศรี และเครื่องบูชาสักการะสมเด็จองค์ปฐม
พระชัยวัฒน์ อชิโต
คณะรวมใจภักดิ์
คณะพุดตาน
วงโยธวาทิตของนักเรียน ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา

๓๑. การจัดงานสมโภช
พระชัยวัฒน์ อชิโต
คณะศิษย์และลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้ง ๖ ภาค

๓๑.๑ พลุและดอกไม้ไฟ
อาจารย์จาก ร.ร. สุโขทัยวิทยาคม

๓๒. งานหล่อสมเด็จองค์ปฐม
พระนิคม สุธัมมสุตธัมโม
คุณประเสริฐ-คุณจำเนียร แก้วมณี
คุณวิเศษ วงษ์จันทร์ ร้านทองสุภาภรณ์ ต.ท่าชัย อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
อาจารย์ฉลอง อาชวากร

๓๓. จัดหาสถานที่
คุณชุมนุมพร ชวนานนท์
พระสงฆ์วัดท่าซุง และพระอาคันตุกะ
คณะพุดตาน มีคุณพิรุณ, จเร ๒ ฯลฯ

๓๓.๑ วงด้ายสายสิญจน์รอบบริเวณปะรำพิธี, พระประธานบนปราสาททองคำ และที่พระชำระหนี้สงฆ์รอบวัด
พระสุรเชษฐ์ สีลเตโช และพระสงฆ์วัดท่าซุง

๓๓.๒ ปูตัวหนอนที่ลานเททอง, หลอมทอง
ช่างแป๊ะ และลูกน้อง
คณะคุณส้ม อ.เมือง จ.สงขลา

๓๔. ทำความสะอาดสถานที่
พระสงฆ์วัดท่าซุง
คุณบังอร และญาติโยมวัดท่าซุง
คณะอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๓๐ คน
นักเรียน ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา

๓๕. ฝ่ายรักษาความปลอดภัย
พ.อ. พงษ์เทพ พุ่มนิคม และลูกน้องจำนวน ๓๗ คน
จ.ส.อ. ศุภชัย เลิศมงคง (ตุ๋ย)
คุณนภดล นาควิเชตร์ (เอี้ยง)

๓๖. ฝ่ายจราจร และการจัดรถพระเถระ
นายดาบตำรวจพเยาว์ อินทร์ชู (ดาบ ส.) และตำรวจจราจร สภอ. เมือง จ.อุทัยธานี

๓๗. จัดหาสถานที่พัก
พระมหาถวัลย์ ฐิติโก
พระนิติ สุธัมมสุนทโร และคณะ
พระบุญชู สุธัมมอาภากโร
พระบัญชา สุธัมมภัททปัญโญ
พระทนงศักดิ์ สุธัมมสิริสาโร
พระจำเนียร สุธัมมกาโม

จะเห็นได้ว่างานที่ท่านเห็นว่าสวยงามและเรียบร้อย ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันหลายฝ่ายหลายคณะ เพื่อจุดหมายอันเดียวกัน คือ บูชาพระคุณขององค์สมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามองดูด้วยตาเปล่าก็จะเห็นคณะผู้ทำงานเพียงเท่านี้ แต่ถ้าดูกันให้ดีจะรู้ว่าไม่ใช่แต่พระและฆราวาสเท่านั้นที่ช่วยกันจัดงาน แม้ท่านที่อยู่ข้างบนตั้งแต่สวรรค์ เป็นต้น ท่านก็มาช่วยจัดงานกันอย่างเต็มที่ เพื่อต้อนรับสมเด็จองค์ปฐม ในวันทำพิธีเททอง

บางอย่างที่เราคิดทำก็ทำไม่ได้ แม้แต่ผูกผ้าสีชมพูที่หน้าเวทีเพียงสีเดียวก็ยังทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นสีทอง อะไร ๆ จะเป็นพวกเงินทอง และแก้วหมด ของทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นของที่ถวายมาด้วยความประณีต และสวยงามจริง ๆ เป็นเพราะพระบารมีแห่งองค์สมเด็จองค์ปฐมแท้ทีเดียว

เป็นความโชคดีแล้วที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักสมเด็จองค์ปฐม และได้บูชาพระองค์ท่านอย่างจริงใจ ขอจงนึกไว้ตั้งแต่บัดนี้จนวันตาย แล้วจะได้ไปนิพพาน

งานนี้ถ้าไม่มีหลวงพี่ท่านพระครูปลัดฯ ใครจะหลอมใจศิษย์วัดท่าซุงให้เป็นหนึ่งเดียวได้อย่างนี้

งานก่อสร้างในส่วนที่ ๒ คืองานซ่อมแซมและปรับปรุงวัด ประกอบด้วย

๒.๑ ซ่อมกุฏิ ๑๐ หลัง หลังโบสถ์

๒.๒ ซ่อมห้องพักหลังโบสถ์

๒.๓ ปรับปรุงใต้ถุนอาคารเก็บพระพุทธรูปหลังโบสถ์ เป็นสำนักงานธัมมวิโมกข์

๒.๔ ซ่อมศาลาธรรมสถิต

๒.๕ ซ่อมหลังคาศาลา ๔ ไร่ และ ๑๒ ไร่

๒.๖ ซ่อมหลังคาศาลาเก่า

๒.๗ ซ่อมและปิดทองหอไตร

๒.๘ ซ่อมแพปลาหน้าวัด

๒.๙ บูรณะพระจุฬามณี

๒.๑๐ บูรณะหลังคามหาวิหาร ๑๐๐ เมตร

๒.๑๑ สร้างถนนจากวิหารพระศรีอาริยเมตไตรยมาวิหาร ๑๐๐ เมตร

๒.๑๒ สร้างพื้นคอนกรีตรอบปราสาททองคำ

๒.๑๓ ซ่อมวัดหลังน้ำท่วม รั้วพัง (ปี ’๓๘ ‘๔๕ และ ‘๔๙) และทาสีใหม่ทุกครั้ง

๒.๑๔ เทพื้นคอนกรีตและทำระบบระบายน้ำมาตรฐานหน้าวิหาร ๑๐๐ เมตร

๒.๑๕ บูรณะและปรับปรุงศาลาพระนอน

๒.๑๖ ปรับปรุงพระราชานุสาวรีย์ ๕ รัชกาล

๒.๑๗ ซ่อมห้องพักพระเวรหน้าโบสถ์

๒.๑๘ ติดเครื่องปรับอากาศวิหาร ๑๐๐ เมตร

๒.๑๙ ปรับปรุงพื้นที่ป่าธุดงค์ ทำระบบระบายน้ำ และทำถนนกันน้ำท่วมรอบวัด (ทำ ๒ รอบ คือ (ปี ’๔๖ และ ‘๕๐) ปลูกป่า

๒.๒๐ ขยายระบบไฟฟ้าหลวงในวัด (ปี ’๔๗)

๒.๒๑ ซ่อมโรงเรียนและทำหลังคาใหม่ และซ่อมรั้วโรงเรียน

๒.๒๒ ปลูกไม้ดอกและไม้ยืนต้นในวัด และในป่าธุดงค์

๒.๒๓ ซ่อมศาลาจัตุรมุข

๒.๒๔ กั้นฝากระจกมณฑปหน้าวิหาร ๑๐๐ เมตร และมณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า และหลวงปู่ปาน

ท่านเล่าว่า “วิหารพระศรีอาริยเมตไตรยก็ว่าจะทำกระจก เพราะว่ามณฑปหน้าวิหาร ๑๐๐ เมตร ๒ หลังนี่ มันติดอะไรไม่ได้ บ่าย ๆ นี่จะขึ้นไปกราบไม่ได้ ร้อน เดินกระย่องกระแย่ง ๆ อย่างนี้ ยืนอยู่ไม่เป็นสุข พาให้คนไม่กล้าขึ้นไปกราบพระข้างบน”

“จะลองทำที่พระศรีอาริยเมตไตรยก่อน ที่นั่นนกเข้าไปขี้เลอะเทอะไปหมด จะกั้นกระจก จะต้องให้คนเขาออกแบบ กระจกอย่างหนา ๆ ที่ใช้กั้นที่ศพหลวงพ่อนี่ แล้วก็ทำหน้าต่างแบบให้เปิดประตูใหญ่ ๆ รอบ ๆ ได้ ปิดก็ได้แล้วจะใส่ม่านมู่ลี่กันแสง ให้คนขึ้นไปกราบได้ ไม่อย่างนั้นคนขึ้นไปกราบไม่ได้ ร้อน ยิ่งแกรนิตเกลี้ยง ๆ อย่างเป็นเงา ๆ นะ อย่างนั้นละแตะไม่ได้เลย ยิ่งเงา ๆ อย่านึกว่าดี เพราะมันสะท้อนความร้อน เดินนี้อย่างกับเดินบนนรกเลย เพราะต้องถอดรองเท้าใช่ไหม”

๒.๒๕ ปูพื้นกระเบื้อง ๒๕ ไร่

๒.๒๖ ซ่อมพระเจดีย์พุดตานและปิดทองใหม่

๒.๒๗ ปิดทองหลวงพ่อพระยืน ๓๐ ศอก

๒.๒๘ ปิดทองพระพุทธชินราชในวิหาร ๑๐๐ เมตร

๒.๒๙ รื้อครัวใต้ต้นโพธิ์ สร้างเป็นตึก

ท่านพระครูเล่าว่า เรื่องการซ่อมแซมนั้น มีเรื่องหนักใจมากที่สุดอยู่ ๒ เรื่องคือ การซ่อมศาลา ๓ ไร่ เพราะเหล็กเสางอแล้ว กลัวว่าจะพังลงมา ต้องตอกเข็มแผงและทำคานคอดินใหม่ แล้วหล่อเสาเสริมขึ้นไปรับ ให้วิศวกรโครงสร้างเขาคำนวณ และออกแบบทั้งหมด ใช้เงิน ๑๐ ล้านบาท

อีกเรื่องคือ การผจญน้ำท่วมปี ๒๕๔๙ ตอนแรกก็ติดตามระดับน้ำมาตลอด โทรศัพท์ถามการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตต์ และเขื่อนเจ้าพระยา ติดตามการพยากรณ์ฝนตก พระก็พยายามจะสู้น้ำท่วม จนเห็นว่าสู้ไม่ไหว ก็ให้เลื่อนงานกฐิน และงานทำบุญทักษิณานุประทานถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อออกไป แต่งานกฐิน เลื่อนได้ถึงแค่ลอยกระทง เพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

วันที่ ๓๑ ตุลาคม น้ำยังท่วมถนนอยู่เลย พอวันที่ ๑ พฤศจิกายน บ่าย ๆ ถนนเริ่มโผล่จากน้ำก็ให้ระดมช่วยกัน ถมที่ต่ำบนถนน กันน้ำรอบวัด และระดมเครื่องสูบน้ำทั้งหมดเท่าที่หาได้ เครื่องใหญ่ขนาด ๑๖ นิ้ว ได้มา ๑๐ เครื่อง มีเครื่องเล็ก ๆ อีกมาก พื้นที่วัดทั้งหมดเกือบ ๖๐๐ ไร่ ต่ำมากบ้างน้อยบ้าง คิดเป็นปริมาณน้ำประมาณ ๒ ล้านลูกบาศก์เมตร

ในฐานะผู้บัญชาการเสนาธิการ และหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงต้องคิดทุกอย่าง ต้องทำให้วัดแห้งได้ภายใน ๓ วัน วันที่ ๓ ตุลาคม ศาลา ๑๒ ไร่ โคลนยังเต็มอยู่ แล้วทำความสะอาด เพราะพอน้ำลด ดินโอชะ (โคลน) ความหนาเฉลี่ย ๓ นิ้ว เต็มวัดเครื่องสูบน้ำ ไม้กวาด เครื่องล้าง เครื่องเช็ด เครื่องสูบน้ำ จะเอาที่ไหนได้บ้าง

มาเอาจนถึงบางเลน นครปฐม คนของวัดรวมทั้งนักเรียนราวๆ ๓๐๐ คน พวกป่าละอูมาช่วยอีก ๑๐๐ คน ใครทำอะไรได้ก็ทำ ไม่ได้หลับได้นอนกัน พระสมนึก อดนอนจนเป็นลมไปเลย เฉพาะค่าน้ำมันสูบน้ำทิ้งหมดไป ๕๐๐,๒๘๘ บาท นึกดูก็แล้วกัน เรื่องอาหารการกิน น้ำท่า ยาบำรุง ต้องพร้อม อาหารต้องถูกปาก กองทัพถึงจะเดินได้ พระน้องๆ ยิ่งทำงานหนัก เรายิ่งต้องคิดมาก

เมื่อหลวงพ่อท่านไว้ใจให้ทำงาน ตัวนี้มันเต็มเอง มันทนได้สำหรับส่วนรวม แต่บางทีน้ำตาร่วงเหมือนกัน เขาสบายแล้ว แต่เรายังลำบากอยู่ ต้องทำทุกอย่างเพื่อเซฟพระ คนมาทอดกฐินวันที่ ๕ พฤศจิกายน ไม่รู้เลยว่า คนทั้งวัดผจญอะไรมา เห็นแต่ความสวยงาม ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส

งานก่อสร้างในส่วนที่ ๓ คืองานก่อสร้างและพัฒนาภายในวัด ประกอบด้วย

๓.๑ ซื้อที่ดินเพิ่ม (เมื่อหลวงพ่อมรณภาพ วัดและมูลนิธิมีที่ดิน ๒๘๙ ไร่ ขณะนี้มีที่ดินเพิ่มเป็นเกือบ ๖๐๐ ไร่) และขุดสระน้ำในที่ลุ่ม เพื่อเป็นแก้มลิงที่พักน้ำ

๓.๒ หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อเพื่อประดิษฐานที่โรงเรียน และที่ปราสาททองคำ หล่อรูปหลวงปู่ใหญ่ไว้หน้าวิหารเก่า หล่อพระยืน ๘ ศอก ยอดปราสาททองคำ หล่อพระประธานวิหาร ๕ พระองค์หน้าตัก ๗ ศอก ปางชมพูปติ หรือชมพูบดี (ทรมานท้าวมหาชมพู) เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย แต่ทรงเครื่องพระเจ้าจักรพรรดิ และรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สำหรับวิหารพระ ๕ พระองค์

๓.๓ สร้างวิหารหลวงพ่อพระ ๕ พระองค์

๓.๔ สร้างกำแพงและพระชำระหนี้สงฆ์ ล้อมซื้อที่ดินใหม่ ๒๐๐ ไร่

๓.๕ สร้างห้องน้ำในป่าใหม่

๓.๖ สร้างเตาเผาขยะ

๓.๗ สร้างมณฑปหลวงพ่อ ท่านปู่ ท่านย่า ในโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา

๓.๘ เทพื้นคอนกรีตลานธรรม

๓.๙ สร้างหอฉันใหม่

๓.๑๐ สร้างตึกขาว

๓.๑๑ สร้างร้านสวัสดิการของวัด

๓.๑๒ สร้างศาลามิตรศรัทธา และร้านกาแฟ

๓.๑๓ สร้างอาคารพระเถระ

๓.๑๔ ขุดสระอโนดาต

๓.๑๕ ทำสวนสมเด็จ

๓.๑๖ ถมดินสวนไผ่ และสร้างอาคารเก็บของหนีท่วม

๓.๑๗ สร้างอาคารสมบัติพ่อให้

๓.๑๘ ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ดอกทั่วบริเวณวัดและโรงเรียน (ต้องปลูกหบายรอบเพราะถูกน้ำท่วมตาย ๔ หน)

งานก่อสร้างในส่วนที่ ๔ คืองานก่อสร้างและพัฒนานอกวัด ประกอบด้วย

๔.๑ สร้างสำนักสงฆ์ศิษย์พระราชพรหมยาน ป่าละอู อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้ดำเนินการสร้างศาลาอเนกประสงค์ และอาคารโรงครัวทำถนนคอนกรีต ถังเก็บน้ำ และเจาะบ่อบาดาลแล้ว

๔.๒ สร้างวิหารน้ำน้อยใหม่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

๔.๓ สร้างวิหารหลวงพ่อพระโพธิปัญญา วัดปากคลองปลากดนอก อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์

๔.๔ ขุดบ่อน้ำในพื้นที่ ๑๑ ไร่ ลึก ๗ เมตร ที่อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสาธารณประโยชน์

๔.๕ ทำฝายกั้นแม่น้ำปราณบุรีที่หุบเสือดำ หมู่ ๙ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสาธารณประโยชน์

๔.๖ บูรณะพระธาตุจอมกิตติและสร้างฉัตรถวาย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๔.๗ หุ้มทองจังโก และปิดทองพระธาตุดอยตุงทั้งสององค์ พร้อมสร้างฉัตรถวาย และสร้างกำแพงแก้วรอบพระธาตุและสร้างที่บูชาและพระธาตุที่จำลองสำหรับปิดทอง อ.แม่สาย จ.เชียงราย

๔.๘ สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง ในตัวจังหวัดนครราชสีมา

๔.๙ ซื้อที่ดินและสร้างอาคารมูลนิธิเพื่อพระกรรมฐานในซอยสายลม ๑/๑ เขตสามเสน กทม.

๔.๑๐ สร้างพระพุทธไสยาสน์ ๕๐ เมตร ที่วัดสุขุมาราม ต.วังตะกู อ.สะพานหิน จ.พิจิตร

๔.๑๑ นอกจากนี้ท่านพระครูฯ ยังได้ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยานในที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

๔.๑๒ สำนักสงฆ์คลองพลู อ.เขาชะเมา จ.จันทบุรี

๔.๑๓ สำนักสงฆ์พุทธปฐม ศูนย์ปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

๔.๑๔ สถานปฏิบัติพระกรรมฐานบ้านก๋ง ต.เทพราช อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

๔.๑๕ วัดไทยพุทธ เมืองเนิร์นแบร์ก ประเทศเยอรมัน
Wat Thai Buddhistisches
Zentrum Nurnberger Land e.V.
Siemensstrasees
90459 Nurnberg
Germany

๔.๑๖ สมาคมพุทธไทย วีสบาเดน ประเทศเยอรมัน
Thai Buddhistischen Gesellschaft, Wiesbaden Germany

๔.๑๗ งานส่งเสริมการปลูกข้างเกษตรอินทรีย์ของราษฏร จังหวัดอุทัยธานี เมื่อข้าวหอมเกษตรอินทรีย์ที่ราษฏรชาวอุทัยธานีปลูกแล้วหาตลาดไม่ได้ ท่านก็รับภาระซื้อมาใส่ถุงขายให้ แต่เมื่อทำไปแล้วปรากฏว่าการตลาดมีปัญหา ท่านจึงติดต่อ บริษัท โดล (ประเทศไทย) จำกัด ให้มาช่วยรับซื้อ จนในที่สุด บริษัท โดล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลิตข้างหอมอินทรีย์ใส่ถุงออกจำหน่ายทั่วประเทศได้เป็นผลสำเร็จ

ในส่วนของการก่อสร้างทั้งหมดนี้ ท่านพระครูเล่าว่าใช้เงินปีละตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๘๐ ล้านบาท รวมการใช้เงินก่อสร้างในระยะเวลา ๑๖ ปี ที่ดูแลวัดท่าซุงไปแล้วมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท ท่านสรุปว่า

“เรื่องนี้มันเรื่องของพระพุทธเจ้า เรื่องของเทวดา เราจะไปว่าเรานี่เป็นผู้วิเศษมา ทีนี้คนจะเข้าใจว่าเป็นผู้วิเศษ นี่มันเรื่องของพระพุทธเจ้า ของพระของเทวดาท่าน เป็นเรื่องของท่าน

แต่ก่อนหลวงพ่อพูดไม่เชื่อท่าน ไม่ใช่ไม่เชื่อทั้งหมดนะ ไม่เชื่อเป็นบางอย่าง คือไม่เชื่อหลวงพ่อเป็นบางอย่าง คือหนึ่ง ท่านบอกคนที่มาวัด ที่สร้างอะไรได้ทุกอย่างนี่ไม่ใช่ข้าหรอก พระพุทธเจ้าทั้งนั้น นี่พระพุทธเจ้าสั่งให้ทำ พระพุทธเจ้าท่านหาเงินของท่านทำ เราก็โอ้โห หลวงพ่อเก่งแล้ว หลวงพ่อหมดกิเลสแล้ว หลวงพ่อก็ต้องสร้างได้อยู่แล้ว หลวงพ่อถ่อมตัวเอง หลวงพ่อเก่งอยู่แล้ว อู้หู พูดไม่มีติดเลย สอนใครก็เข้าใจหมด สอนใครก็เก่งอยู่แล้ว

แล้วถึงตาเรา มันจริงๆ อย่างนั้น มองเห็นแล้ว โอ... หลวงพ่อที่บอกว่า พระพุทธเจ้าท่านทำน่ะ จริงๆ บอกว่าเทวดาช่วยน่ะจริงๆ เราไม่มีน้ำยาอะไรเลย มองเห็นแล้วไม่มีน้ำยา เอ้อ... หลวงพ่อนี่พูดไม่เคยผิดเลย คำพูดที่ไม่จริงไม่มีเลย พูดจริงทั้งนั้น กิเลสเราหนาเราก็ไม่เชื่อท่าน

ตอนท่านอยู่ก็ไม่กล้าพูดกับท่านอย่างนั้นหรอกนะ ตอนนี้ท่านมรณภาพแล้ว คือไม่เชื่อในจิต จิตมันค้านอยู่นะ หลวงพ่อเก่งอยู่แล้ว หลวงพ่อถ่อมตัวเอง มาถึงตัวเรานี่ โธ่เอ๊ย ส้วมนี่ยังสร้างไม่ได้จริง ๆ อย่างท่านว่า มันจริงๆ นะ มันเกินวิสัย มันเกินความสามารถของเรา หลวงพ่อนี่ไม่เคยพูดอย่างนี้ แต่ให้คนเขาเข้าใจว่าอย่างนั้น พูดตรงไปตรงมา หลวงพ่อนี่ท่านจะพูดตรงทุกอย่าง ทีนี้มาถึงตาเราถึงรู้ โอ้... หลวงพ่อพูดถูกแล้ว หลวงพ่อพูดถูกทุกอย่าง”

ผู้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสั่งงาน คือผู้ที่เห็นและรับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าได้ “โย ธัมมัง ปัสสติ โส มัง ปัสสติ” ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

ท่านเจ้าคุณพระศรีวิสุทธิโมลี (ชุบ) ได้เคยกราบเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อสร้างวัดมาเป็นร้อยวัด จะสร้างวัดท่าซุงให้สวยสักวัดไม่ได้หรือครับ” หลวงพ่อตอบว่า “ข้ามีหน้าที่สร้างชั่วคราว สร้างวัดสวยเป็นหน้าที่เจ้าอาวาสองค์ต่อไป”

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ภารกิจเผยแพร่พระพุทธศาสนา >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/11/09 at 09:02 [ QUOTE ]


ภารกิจเผยแพร่พระพุทธศาสนา
และงานสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร


...ภารกิจของสมภารเจ้าอาวาสนั้น นอกจากจะต้องดูแลปกครองพระและคนที่อยู่ในวัด รักษาศาสนสมบัติ และเจริญสมณธรรมแล้ว ยังต้องรักษาศรัทธาของญาติโยมพุทธบริษัท และเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย

ถ้าดูกิจนิมนต์ประจำปีของท่านพระครูฯ แล้ว จะพบว่าท่านแทบจะไม่มีเวลาว่างเลยวันเสาร์ วันอาทิตย์ ญาติโยมไปหาที่วัดก็ไม่พบ เพราะท่านติดกิจนิมนต์ จนกระทั่งในที่สุดท่านต้องออกประกาศ งดกิจนิมนต์นอกวัดวันเสาร์ และวันอาทิตย์ภารกิจของท่านพระครูปลัดฯ ในส่วนนี้ สรุปได้ดังนี้

๑. การนำคณะมาสอนกรรมฐานที่บ้านซอยสายลม วันศุกร์ถึงวันจันทร์ของทุกต้นเดือน

๒. การนำคณะไปสอนพระกรรมฐานที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมฯ โคราช ทุกวันศุกร์ถึงอาทิตย์ ของทุก ๒ เดือน

๓. การเวียนสอนพระกรรมฐานตามภาคต่าง ๆ และต่างประเทศประจำปี อาทิ

◙ สำนักปฏิบัติธรรม บ้านคุณยุพาเจริญผล จ.ระยอง

◙ บ้านสาวจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

◙ โรงงานไทยโอเดียน พระประแดง จ.สมุทรปราการ

◙ บ้านคุณทิพยา วิลาวัลย์ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

◙ บ้าน อ.สันต์ อ.เกศริน ภู่กร จ.พิษณุโลก

◙ บ้าน จ่าปัญญา-คุณบังเอิญ อ่องคล้าย จ.ปทุมธานี

◙ บ้าน พล.อ.อ.อาทร โรจนวิภาต ดอนเมือง กทม.

◙ บ้านคุณทองมาก จันทะลือ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

◙ โรงเรียนบ้านเสาธงไชย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ

◙ บ้านคุณประสงค์ จินตนพันธุ์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

◙ โรงเรียนสงเคราะห์ประชา อ.เมือง จ.ภูเก็ต

◙ สำนักสงฆ์ถ้ำแก้วบันดาล และบ้านคุณเตี้ยน คงทอง จ.สุราษฎร์ธานี

ส่งคณะสงฆ์ไปสอนพระกรรมฐานประจำที่เมืองเนิร์นแบร์ก และเมืองวีสบาเดน ประเทศเยอรมันทุกปี โดยองค์ท่านได้เดินทางไปให้กำลังใจเองด้วย ๑ ครั้ง

ไปสอนพระกรรมฐานที่เมืองชิคาโก และเมืองลอสแอนเจลีส สหรัฐอเมริกาทุก ๆ ๒ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ และเริ่มไปทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐

ระยะหลังท่านต้องบอกงดเดินทางไปบางแห่ง เนื่องจากภารกิจมากจนไม่มีเวลาเดินทาง

๔. งานพิธีประจำปีในวัด

๔.๑ วันมาฆบูชา

๔.๒ งานทำบุญประจำปีเดือนมีนาคม และงานบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ ๕ พระองค์

๔.๓ วันสงกรานต์ และสะเดาะเคราะห์

๔.๔ วันวิสาขบูชา ไหว้ครูและสะเดาะเคราะห์

๔.๕ วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และงานฉลองชัยชนะพระเจ้าพรหมมหาราช และพิธีขอขมาพระพุทธรูป พระเจดีย์ และท่านผู้มีพระคุณในวัด

๔.๖ งานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานถวายหลวงปู่ปาน

๔.๗ งานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

๔.๘ งานกฐิน

๔.๙ งานธุดงค์ และพิธีขอขมาพระพุทธรูป พระเจดีย์ และท่านผู้มีพระคุณในวัด

๔.๑๐ พิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ

๔.๑๑ บำเพ็ญกุศลถวายในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

๕. งานพิธีนอกวัด

๕.๑ งานบวงสรวงพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๕.๒ งานบวงสรวงพระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงใหม่

๕.๓ งานทอดกฐิน สำนักสงฆ์ศิษย์พระราชพรหมยาน ป่าละอู อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

๖. งานศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร

พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยปรารถไว้ว่า “ขอลูกรักทุกคนจงคิดว่า ศูนย์ฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบพ่อมานี่ เป็นของลูกนะลูกรัก ถ้าเวลาพ่อแก่ลงไปทำไม่ไหว หรือพ่อตายแล้วก็ตาม ขอลูกจงทำกันต่อไป ได้ของมามากเราก็ทำมาก ได้ของมาน้อยเราก็ทำน้อย ทำตามกำลัง อย่าทำอะไรอย่างพ่อ เพราะพ่อถือว่าพ่อไม่มีความวิตกกังวล ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าพ่อเป็นคนประเภทนี้มานาน ไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว”

ท่านพระครูฯ ได้ดำเนินการสงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มอบหมายมา โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

☺ต้นปี ๒๕๓๗ ไปแจกสิ่งของให้แก่ราษฎรที่ยากจนและทหาร ที่บ้านแก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ของที่แจก คือ ข้าว เกลือ อาหารแห้ง เสื้อผ้า ยาสามัญประจำบ้าน และชุดนักเรียน

☺๑๕-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ไปแจกสิ่งของให้แก่ราษฎรที่ยากจนและทหาร และปลูกต้นไม้ที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ของที่แจก คือ เสื้อผ้า เกลือ ข้าวสาร อาหารแห้ง มุ้ง รองเท้าผ้าใบ ชุดกีฬา มีผู้มารับแจกทั้งสิ้น ๒,๗๓๑ คน

☺๒๑ มีนาคม ๒๕๔๒ แจกของให้แก่ราษฎรที่ยากจน ที่ ต.บ้านดง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ของที่แจกได้แก่ อาหาร ข้าวสาร เกลือและน้ำปลา อาหารแห้ง ขนมแห้ง เสื้อผ้า จักรเย็บผ้าและอุปกรณ์ ผ้าขาวม้า ผ้าขนหนู รองเท้านักเรียน และรองเท้าฟองน้ำ ผงซักฟอก สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสามัญประจำบ้านพร้อมตู้เครื่องกีฬาและอุปกรณ์ เครื่องตัดผม อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตู้เหล็ก ของเล่นเด็ก ราษฎร ต.บ้านดง

ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่เห็นมีใครมาแจกของมากมายอย่างนี้ เห็นแล้วตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่างานมหกรรมอีก” รวมมูลค่าของที่แจกทั้งหมดมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท

☺๒๕-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ แจกข้าวสาร เสื้อผ้าและสิ่งของแก่ราษฎรที่ยากจน บ้านแม่ศึก ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จำนวน ๔๘๓ คน นอกจากนั้นยังแจก เกลือ ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว เสื้อผ้านักเรียน อุปกรณ์เครื่องเขียน ขนม และยาประจำบ้าน

☺สำหรับโรงเรียนบ้านแม่ศึก ได้สร้างอาคารหอสมุดศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน พร้อมหนังสือต่างๆ และข้าวสาร อาหารแห้ง ผ้าห่ม ผ้าขนหนู ยาสามัญประจำบ้าน ให้แก่ครู และรองเท้านักเรียนให้แก่นักเรียนทุกคน รวมมูลค่าสิ่งของที่แจก ๑,๙๖๔,๕๘๐ บาท

☺๒๓ กันยายน ๒๕๔๓ แจกของแก่ราษฎรยากจน ๗ หมู่บ้านใน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง จ.อุทัยธานี รวมมูลค่าของที่แจก ๑๖๙,๘๑๗ บาท สิ่งของที่แจกมี เสื้อผ้า ข้าวสาร เกลือ ผ้าห่ม อาหารแห้ง รองเท้า และขนมแห้ง มีผู้รับแจกทั้งสิ้น ๘๒๔ คน นอกจากนี้ยังมอบอุปกรณ์กีฬา หนังสือประกอบการเรียน ยาตำราหลวง เกลือ และข้าวสาร ให้แก่ทุกโรงเรียนในแต่ละหมู่บ้านรวม ๗ โรงเรียน

☺๑๓ มกราคม ๒๕๔๔ แจกของแก่ราษฎรยากจนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวนราษฎรที่มารับสิ่งของ ๑,๐๘๓ คน ของที่แจกประกอบด้วย ข้าว เกลือ อาหารแห้ง ขนมแห้ง เสื้อผ้า ผ้าห่ม รองเท้าฟองน้ำ รองเท้าผ้าใบ อุปกรณ์กีฬา (มอบให้ ๘ โรงเรียน และ ๑๙ ศูนย์) ยารักษาโรค ตู้ยา อุปกรณ์การเรียน กระเป๋านักเรียน ผ้าขาวม้า ผ้านุ่ง ร่ม หมวก รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๔๗,๕๘๖ บาท

☺วันที่ ๘ ๙ และ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ แจกของให้แก่ราษฎรที่ยากจน ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแพรกตะคร้อ ต.บึงนคร และที่สำนักสงฆ์ ศูนย์ศิษย์พระราชพรหมยาน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่บ้านแพรกตะคร้อ มีราษฎรมารับสิ่งของ ๗๘๕ คน (๓ หมู่บ้าน) และที่ศูนย์ศิษย์พระราชพรหมยาน ๙๓๗ คน (๕ หมู่บ้าน)

ของที่แจกประกอบด้วย ข้าวสาร เกลือ น้ำตาลทราย อาหาร น้ำปลา หนังสือ อุปกรณ์กีฬา และยาประจำโรงเรียน/หน่วย ให้แก่โรงเรียน ตชด. ๓ โรงเรียน (นเรศวรห้วยผึ้ง บ้านคลองน้อย และบ้านแพรกตะคร้อ) และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ของตชด. รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๒๓,๙๙๘ บาท

☺๑ เมษายน ๒๕๔๕ แจกสิ่งของแก่ผู้ยากจนสูงอายุ ที่อยู่ใกล้วัดท่าซุง ๑๘ ครอบครัว สิ่งของที่แจกมี ข้าวสาร น้ำปลา น้ำมันพืช น้ำตาล อาหารแห้ง เสื้อผ้า ยา และแปรงสีฟัน ยารักษาโรค

☺๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๖ เป็นประธานมอบอาคารเรียนพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ให้แก่โรงเรียน ตชด. บ้านย่านซื่อ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมอบเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท ให้แก่โรงเรียนเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และมอบหนังสือเรียน

นอกจากนั้นยังมอบสิ่งของให้แก่ราษฎรที่ยากจนที่บ้านย่านซื่อ ๑๔๒ คน มีข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำมันพืช น้ำปลา เสื้อผ้า และมอบสิ่งของให้เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านย่านซื่อ ๕๐ คน และนักเรียนโรงเรียน ตชด. บ้านย่านซื่อ ๑๑๕ คน สิ่งของที่แจกมี ชุดนักเรียน กระเป๋านักเรียน สมุด ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด กบเหลาดินสอ กล่องใส่ดินสอ กางเกงพละ

☺๑๔-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ แจกสิ่งของแก่ราษฎรยากจน เด็ก นักเรียน และทหารที่บ้านสบเมย และบ้านซิวาเดอ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีราษฎรมารับของ ๓,๐๔๖ คน และนักเรียนจาก ๑๔ โรงเรียน ๑,๖๓๙ คน และมอบสิ่งของเพื่องาน ปจว. (ปฏิบัติการจิตวิทยา) ในอีก ๓ หมู่บ้าน รวมสิ่งของในส่วนนี้ ๑๖ รายการ และยังได้มอบสิ่งของ ๕ รายการ (ข้าว เกลือ อาหารแห้ง เสื้อผ้า ยาสามัญประจำบ้าน) แก่หน่วยทหารพม่า ๔ ฐาน จำนวน ๘๐ คน

ของที่แจกให้แก่ราษฎรกลุ่มเป้าหมายใน ๒ หมู่บ้าน มีข้าวสาร น้ำตาล เกลือ อาหารแห้ง เสื้อผ้า ผ้าห่ม ยาสามัญประจำบ้าน ภาชนะหุงต้ม เมล็ดพันธุ์ผัก อุปกรณ์การเรียน ธงชาติและธงธรรมจักร พระพุทธรูป โดยของทั้งหมดต้องใช้รถ ๑๐ ล้อ ขนถึง ๓ คัน รวมมูลค่าสิ่งของที่นำไปแจก ๘๕๖,๐๗๐ บาท

☺๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ แจกของแก่ผู้ยากจนสูงอายุที่อยู่ใกล้วัดท่าซุง ๓๑ ครอบครัว สิ่งของทั้งหมด ๒๐ รายการ รวมมูลค่าประมาณ ๖๒,๐๐๐ บาท

☺๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แจกสิ่งของแก่ราษฎรยากจนและเด็กนักเรียนใน ๔ หมู่บ้าน ทหาร ๔๐๐ นาย และพระสงฆ์สามเณรวัดฟ้าเวียงอินทร์ ต.เวียงแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีราษฎรมารับของ ๒,๖๒๓ คน นักเรียน ๒๖๕ คน ครูและภารโรง ๑๗ คน

ของที่แจกมี ข้าวสาร เกลือ น้ำตาลทราย อาหารแห้ง เสื้อผ้า ผงซักฟอก เสื้อกันหนาว เสื้อนักเรียน หมวกไหมพรม ยาสามัญประจำบ้าน รองเท้าฟองน้ำ ผ้าห่ม ของเล่นเด็ก และได้ทำระบบประปาหมู่บ้าน โดยผันน้ำมาจากเขา ระยะทาง ๖ กิโลเมตร และยังได้มีคณะแพทย์อาสา และช่างตัดผม ได้ทำการรักษาพยาบาลและตัดผมให้ด้วย รวมมูลค่าสิ่งของทั้งหมด ๑,๗๑๖,๗๓๙ บาท

☺ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม จนถึงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ น้ำท่วมวัดสูงมาก ถนนใช้การไม่ได้ ต้องใช้เรืออย่างเดียว ท่านพระครูฯ ได้ให้พระในวัดและศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร แจ้งข่าวแก่ราษฎรที่อยู่รอบวัด ให้มารับ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำปลา น้ำมันพืช ไข่ไก่ หอม กระเทียม และยารักษาโรคจากวัด มีผู้มารับของแจก จำนวน ๑,๗๐๐ ครอบครัว

น้ำท่วมครั้งนี้สร้างความเสียหายให้แก่วัดและโรงเรียนเป็นอย่างมาก เฉพาะค่าน้ำมันเพื่อสูบน้ำออกจากวัดคิดเป็นเงินกว่า ๕ แสนบาท น้ำพาเอาโคลนมาทับถมความหนาเฉลี่ย ๓ นิ้ว ทั่วบริเวณวัดและโรงเรียน ไม้ยืนต้น ไม้ดอก และไม้ประดับเสียหายเกือบทั้งหมด

วัดต้องเตรียมการรับกฐินในวันสุดท้ายที่จะถวายผ้ากฐินได้ ทำให้ต้องระดมสรรพกำลังทั้งหมดที่มี สูบน้ำออกจากวัด (เครื่องสูบน้ำขนาด ๑๖ นิ้ว ๑๐ เครื่อง เครื่องเล็ก ๆ อีกนับไม่ถ้วน) และทำความสะอาดวัด พระเจ้าทำงานกันโดยไม่ได้หลับได้นอน

งานนี้ต้องใช้ความสามัคคีของพระสงฆ์ คณะศิษย์และนักเรียนวัดท่าซุงทั้งหมดมากกว่า ๔๐๐ ชีวิต กำลังใจที่เข้มแข็งและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยมีท่านพระครูฯ เป็นผู้บัญชาการ เมื่อเสร็จงานกฐินแล้วยังต้องเริ่มการซ่อมแซมวัดและโรงเรียนที่เสียหายอีกเป็นเงินนับล้านบาท

☺๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แจกสิ่งของแก่ราษฎรยากจน ๑,๘๒๔ คน ใน ๗ หมู่บ้าน ของ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก นักเรียน ๘ โรงเรียน จำนวน ๘๓๓ คน ครู ๒๓ คน หมอตำแย ๙ คน เจ้าหน้าที่ อบต. ๑๕ คน ทหาร ๑๕ นาย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร อนามัย รวม ๙๐ คน

สิ่งของที่นำไปมอบให้มีข้าวสาร ๑๐ ตัน เกลือ ๑๑ ตัน น้ำปลา ๔๔ แกลลอน น้ำมันพืช ๑๕ กล่อง เสื้อผ้า ๑,๘๒๔ ชุด เสื้อกันหนาว ๓,๗๓๘ ตัว หมวกไหมพรม ๓,๗๓๘ ใบ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ๑,๑๘๖ ชุด มาม่า ๑๐,๕๕๕ ซอง ปลากระป๋อง ๔,๑๙๐ กระป๋อง ยารักษาโรคสำหรับเจ้าหน้าที่อนามัย ๙ ชุด ยาสามัญประจำบ้านสำหรับหน่วยต่างๆ ๕๕ กล่อง อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ๗ โรงเรียน อุปกรณ์กีฬา มุ้ง ของเด็กเล่น รองเท้า เครื่องกรองน้ำ เครื่องครัว ผ้าห่ม นมกล่อง

จัดตั้งธนาคารข้าว ระบบประปาภูเขา สร้างห้องน้ำ ๘ ห้อง และมอบกล้องจุลทรรศน์และอุปกรณ์ตรวจเชื้อมาลาเรีย และยารักษาโรคมาลาเรียอีก ๓ ชุด เฉพาะของที่นำไปแจกต้องใช้รถ ๑๐ ล้อ ๔ คัน ขนเข้าไป นายก อบต. แม่จัน

สรุปว่า “มีคนเข้ามาแจกของบ่อย แต่ไม่มีคณะใดแจกของมากมายอย่างนี้” รวมมูลค่าสิ่งของที่แจก การก่อสร้างห้องน้ำและการตั้งธนาคารข้าว ระบบประปาภูเขา เครื่องมือและอุปกรณ์วิเคราะห์มาลาเรียและยารักษา เป็นเงินประมาณ ๔ ล้านบาท

☺๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แจกสิ่งของแก่ราษฎรยากจน ๓ หมู่บ้าน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๒๕๐ ครอบครัว มีข้าวสาร น้ำมันพืช และน้ำปลา ขนมเด็ก เสื้อผ้า รวมมูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง งานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/11/09 at 08:54 [ QUOTE ]


งานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา


...ท่านพระครูฯ ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไว้จำนวนหนึ่ง และได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชอุทัยกวี ท่านเจ้าคณะจังหวัด และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุทัยธานี ดังนี้

☺ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุทัยธานี จำทำโครงการการการจัดการและการพัฒนาวัด ได้พาพระอธิการ ๑๕๐ รูป ไปดูงานวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดภาคเหนือและภาคกลาง รับฟังวิธีการแก้ปัญหาและการพัฒนาวัด จนกระทั่งวัดสวยงาม รักษาศรัทธาญาติโยมพุทธบริษัทได้เป็นอย่างดี ๒ ครั้ง

☺สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดหนองขุนชาติ ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระอุทัยธรรมานุวัตร รองเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน โดยถวายปัจจัยสนับสนุนปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลา ๔ ปี

☺เป็นเจ้าภาพบูรณะพระธาตุจอมกิตติ ปิดทองและจัดทำฉัตรใหม่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๒๗๐,๐๐๐ บาท

☺เป็นเจ้าภาพหุ้มทองจังโก และปิดทองพระธาตุดอยตุงทั้ง ๒ องค์ จัดทำฉัตรใหม่ สร้างกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ สร้างพระธาตุจำลองเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทอง และทำสถานที่บูชาใหม่

รวมงานส่วนองค์พระธาตุเป็นเงิน ๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท งานที่เหลือ คุณชุมนุมพร ชวนานนท์ สถาปนิกผู้ควบคุมและประสานงานกับกรมศิลปากร กำลังดำเนินการอยู่

☺เป็นเจ้าภาพสร้างพระนอนยาว ๕๐ เมตร ที่วัดสุขุมาราม จ.พิจิตร กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง การพัฒนาโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 23/11/09 at 09:18 [ QUOTE ]


การพัฒนาโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา


...ท่านพระครูฯ ได้พัฒนาโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา สืบต่อจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ โดยเปลี่ยนสถานะจากโรงเรียนในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน มาเป็นโรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้พัฒนาการสอนและการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรียน จนกระทั่งได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนดีที่สุดในจังหวัดอุทัยธานี

นักเรียนของโรงเรียนได้รับวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร ชนะการประกวดในโครงการต่างๆ หลาย ๆ ครั้ง ในแต่ละปีตลอดมา และในปีการศึกษา ๒๕๔๘ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (รุ่น ๑๗) จำนวนทั้งสิ้น ๕๔ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกคน

ทั้งนี้ต้องชื่นชมคณะครูอาจารย์ที่บริหารจัดการ และทำการสอนให้เด็กยากจนได้มีการศึกษาที่ดี สมกับเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ (ปี ๕๐ ยังไม่มีนักเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เนื่องจากโรงเรียนในสังกัด กศน. เรียน ๔ ปี แต่โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียน ๖ ปี)

งานเจริญความจงรักภักดี


ธันวาคม ๒๕๓๘ ท่านพระครูฯ ได้รวบรวมเงินที่บรรดาศิฒยานุศิษย์บริจาคมา เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยท่านประกาศว่า

เงินที่ญาติโยมทำโดยเสด็จพระราชกุศลน่ะ ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่รวมจนถึงบัดนี้ จะถวายในหลวงเดือนนี้ (ธันวาคม ๒๕๓๘) ๒ ล้านบาท ที่สะสมกันมาคนละร้อย คนละพัน คนละเล็กละน้อย ให้คุณต้อย (เดือนฉาย คอมันตร์) ฝากผ่านไปทางท่านราชเลขาฯ ไปถึงในหลวงโดยตรงเลย

ถ้าเราไปเดี๋ยวยุ่งยากกันอีก แล้วบอกให้คุณต้อยทำหนังสือว่า ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจน หลวงพ่อท่านแก่แล้ว ตอนหลังนี่ท่านออกพื้นที่ไม่ค่อยไหว ท่านสร้างโรงเรียนแทนศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจน ในการส่งเด็กมาเรียนหนังสือให้ทุนการศึกษาถึงปริญญาตรีอะไรอย่างนี้แหละ ทำถวายท่าน

ท่านจะได้รู้ว่าศูนย์สงเคราะห์ให้ตั้ง มีป้ายแต่ไม่ได้ทำงาน คือทำงานเป็นบางครั้งบางคราว เป็นงานส่วนย่อย งานจริง ๆ เอาเงินสงเคราะห์ไปทำโรงเรียน รู้สึกจะจ่ายมากกว่าศูนย์สงเคราะห์อีกมั้ง เดือนหนึ่งค่าเงินเดือนครู ค่าใช้จ่ายเดือนหนึ่งก็เป็นแสนแล้วน่ะ แสนกว่า ทั้งค่าหนังสืออะไรต่ออะไรอีก

วันที่ ๓ ถึง ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ วัดท่าซุงร่วมกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระภิกษุจำนวน ๒๙๙ รูป เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาศที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา

ในงานนี้พระนวกะทั้งหมด สมาทานธุดงค์ ๗ วัน ในธุดงคสถานวัดท่าซุง ร่วมฝึกมโนมยิทธิถวายเป็นพระราชกุศลทุกวัน วันละ ๓ เวลา จนครบ ๗ วัน และอุบาสก อุบาสิกาที่มาร่วมงานธุดงค์ ได้ร่วมกันไถ่ชีวิตกระบือ ๓๒ ตัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลด้วย

วันเสาร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๓ ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง(๕) ท่านพระครูฯ ได้จัดให้มีพิธีบวงสรวง เฉลิมพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ โดยท่านพระครูฯ ได้ขอให้ทุกคนที่มาร่วมงาน น้อมจิตระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหมด พระสยามเทวาธิราช และเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้ปกปักรักษาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทุกองค์ และขอให้ทุกคนร่วมใจอธิษฐานจิต โดยท่านเป็นผู้กล่าวนำ

“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออธิษฐานบารมี อ้างคุณสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย พระสยามเทวาธิราชและเทพเจ้าทั้งหลาย ขอได้ปกป้องคุ้มครองให้ชนในชาติผู้ประพฤติดีงาม ให้เจริญรุ่งเรือง ผู้ใดไม่มีความสุจริต ขอให้แพ้ภัย

บุญกุศลของพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศแด่บรรพชนผู้รับใช้แผ่นดิน ขอถวายกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี”

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง โครงเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 1/12/09 at 08:44 [ QUOTE ]


โครงเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์


องค์ปฐมบรมกษัตริย์เจ้า จักรี วงศ์เอย
พุทธยอดฟ้าอธิบดี ชื่ออ้าง
ปราบดาภิเษกศรี เถลิงราชย์
กรุงเทพมหานครสร้าง อร่ามล้ำเมืองอมร

อาทรทวยราษฏร์ด้วย การุณย์
อารักษ์พุทธศาสนาหนุน แน่นแฟ้น
อาณาเขตวิบูล ป้องปก
อาเทศธรรมิกแม้น เทพไท้มาครอง

ครรลองธรรมราชล้วน สืบพงศ์
ถ้วนทุกรัชกาลทรง เช่นนี้
ประเทศจึงมั่นคง ไทยสุข เสมอมา
พุทธศาสน์รุ่งเรืองชี้ ช่วยให้ชนงาม

เฉลิมพระนามบรมราชเจ้า จักรี
เฉลิมพระยศสยามบดี ทุกผู้
เฉลิมพระคุณอุ่นเกศี ทั้งชาติ
เฉลิมพระเดชอริราชรู้ ปลาสเร้นหลีกหนี

มีธูปเทียนพุ่มพร้อม อัญชลี
ด้วยนมัสกตเวที ทั่วหน้า
สำนึกราชธรรมวิถี ปฏิบัติ
ประเทศประเทืองเลื่องหล้า ทุกด้าวแดนไกล

บุญใดข้าบาทได้ บำเพ็ญ
สมาธิศีลเป็น พละแท้
ตั้งจิตมอบถวายเวน อุทิศ
ทุกหยาดโลหิตแม้ ชีพนี้น้อมถวาย

บายศรีเก้าชั้นเทิด บวงสรวง
กระยาบวชธูปเทียนพวง ดอกไม้
นอบบูชิตสังเวยปวง วิสุท ธิเทพ
พรหมเมศเทวินทร์ไท้ ทั่วทั้งจักรวาล

บนบานไตรรัตน์คุ้ม ภูมิพล พระเอย
จตุรพิธพรดล ผ่านเกล้า
สรรพุปัทว์อวมงคล ไกลห่าง
เสวยสุขทุกค่ำเช้า ไป่เว้นสักวัน

อัญเชิญเทพเจ้าทั่ว ทุกวิมาน
ขอจุ่งโปรดบริบาล ประเทศนี้
เหตุพิบัติภัยพาล พินาศหมด
ทุกข์โศกโรคภัยลี้ ราษฏร์ปลื้มเปรมใจ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ



☺สิงหาคม ๒๕๔๗ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา จำนวน ๒ ล้านบาท โดยให้ ม.ล. เอื้อมศุขย์ กิติยากร นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

☺วันที่ ๗ ถึง ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ วัดท่าซุงร่วมกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระภิกษุ จำนวน ๓๘๕ รูป และบรรพชาสามเณร จำนวน ๙๐ รูป เพื่อถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา พระภิกษุและสามเณรนวกะทุกองค์เจริญพระกรรมฐานนั่งสมาธิภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศลทุกวัน วันละ ๓ เวลา จนครบ ๗ วัน และฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลังทุกวัน

☺ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้ง ๒ พระองค์ทุกปี ท่านพระครูปลัดฯ ได้จัดพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาถวายอย่างเต็มกำลัง พระสงฆ์ทั้งวัดเจริญชัยมงคลคาถา และนั่งสมาธิภาวนา ๑๐ นาที หลังจากนั้นท่านพระครูฯ ได้นำกล่าวถวายพระพรดังนี้

“ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าศิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ จงทรงดำรงมั่นอยู่ในสิริราชสมบัติ ทรงพระเกษมสำราญ ทรงพระชนมายุยั่งยืนนาน ทรงปราศจากพระโรคาพาธภัยพิบัติ อุปัทวันตรายทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจเทอญ”

☺วันศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ จัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยในงานมีพิธีดังนี้

◙ การแสดงชุดร่วมใจทำความดี ถวาย ๖๐ ปีพ่อหลวง โดยกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงคราม ลพบุรี

◙ รำถวายพระพร

◙ บวงสรวง

◙ พระสงฆ์ ๙๙ รูป มีท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์

◙ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ ขับเสภาเทิดพระเกียรติ และอ่านโคลงสดุดีเฉลิมพระเกียรติ

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง โคลงสดุดีเฉลิมพระเกียรติ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 21/12/09 at 09:27 [ QUOTE ]


โคลงสดุดีเฉลิมพระเกียรติ


พระปรมินทร์มหาราชเจ้า ภูมิพล
อดุลยเดชเรืองสกล ทั่วหล้า
ครองราชย์ปกภูวดล หกสิบ ปีนา
ทวยราษฏร์สุขถ้วนหน้า ใต้ร่มพระบารมี

วารนี้ข้าพระบาทน้อม สดุดี
พระกรุณาธิคุณมี อุ่นเกล้า
ทศพิธราชธรรมวิถี ปฏิบัติ
ทั่วประเทศทรงเดชเฝ้า เร่งให้พัฒนา

บรมราชาภิเษกแล้ว ตรัสคำ
เราจักครองโดยธรรม ครบถ้วน
เพื่อประโยชน์ชาวสยามจำ นวนมาก
ประจักษ์น้ำพระทัยล้วน ทุกด้วยโองการ

งานพัฒนาเริ่มด้วย ศึกษา
สรรพกิจพิจารณา ถ่องแท้
แล้วจึ่งถ่ายทอดมา สู่ราษ ฎรนา
ทุกถิ่นกันดารแก้ กลับร้าย กลายดี

พระปรีชาหยั่งรู้ การณ์ไกล
กำหนดทฤษฏีใหม่ เกษตรฟื้น
เศรษฐกิจพอเพียงไทย นำโลก
น้ำอุดมดินชุ่มชื้น ด้วยพระปัญญา

งามมหาพิริยภาพพร้อม กีฬา
ศิลปศาสตร์สรรพวิชา รอบรู้
วิกฤตชาติหนักหนา แก้ลุ ล่วงนา
น้ำท่วมน้ำแล้งกู้ ไป่เว้นน้ำเสีย

เฉลิมพระเกียรตินี้เพื่อ บูชา
พระภูมิพลมหา ราชแก้ว
สุดหาพจน์พรรณา พระเดช
นับพระคุณฤาแล้ว ยิ่งพ้นประมาณ

ประสานกรจรดเกล้า อัญชลี
พระไตรรัตน์รักษ์ชีวี ผ่านฟ้า
พระเดชอดีตกษัตรีย์ ปกเกศ พระเอย
พรหมเทพทุกแหล่งหล้า โปรดคุ้มพระองค์

อายุยงร้อยยี่ สิบพรร ษาเอย
วรรณะดั่งเพ็ญจันทร์ ผ่องแผ้ว
สุขกายจิตเกษมสันต์ สงบยิ่ง เย็นนา
พละกำลังกล้าแกล้ว ดุจท้าวมัฆวาน

◙ พุทธศาสนิกชนผู้ร่วมมงานกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นคนดีของแผ่นดิน

◙ จุดเทียนชัยถวายพระพร

◙ การแสดงโขน ชุดพระรามราชสุริยวงศ์ โดยวิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณบุรี กรมศิลปากร

☺๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ ฉลองตึกพระเถระที่สร้างขึ้น เพื่อน้อมเกล้าถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี แล้วฆราวาสชาย-หญิง จำนวน ๒๑๓ คน สมาทานศีล ๘ (ปิดวาจา) อยู่ธุดงค์ ๒ วัน เพื่อร่วมถวายพระราชกุศล

☺๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ จัดงานพิธีฉลองพระชำระหนี้สงฆ์ ๑,๐๕๘ องค์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พิธีการมีดังนี้

◙ บวงสรวง

◙ พระสงฆ์ ๕๕๐ องค์ เจริญพระพุทธมนต์ บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร

◙ ถวายภัตตาหารเพล และถวายไทยธรรม

◙ ถวายพระราชกุศล

☺๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าถวาย พระพุทธรูปทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ นิ้ว และเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเงินจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี

☺ในงานประจำปีของวัดเดือนมีนาคมทุกปี จะมีพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า ๕ พระองค์ ที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้ามหาวิหาร ๑๐๐ เมตร

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/1/10 at 08:53 [ QUOTE ]


การบำเพ็ญสมณธรรม[


...ท่านพระครูปลัดฯ เป็นพระเถระที่อยู่สำราญในทุกที่ทุกสถาน เพราะท่านทรงเถรธรรมเป็นปกติ เถรธรรมของท่านประกอบด้วย

๑. เป็นผู้ใหญ่บวชนาน รู้เห็นกิจการ จำเรื่องราวที่พระเดชพระคุณหลวงพ่ออบรมสั่งสอนไว้ได้มาก และยึดถือปฏิบัติตลอดมา

๒. เป็นผู้เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย ท่านยึดถือบทพระบาลีที่ว่า สีลัง อาภรณัง เสฏฐัง ศีลคืออาภรณ์ที่ประเสริฐสุดเป็นสรณะ

๓. เป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งเห็นผลคือ วิมุตติสุข

๔. เป็นผู้รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้อง

๕. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดมีความสมัครสมานสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟัง และรู้จักพูด ทำให้เป็นที่เคารพบูชา รักใคร่ชื่นชม สนิทสนมสบายใจ แก่ศิษยานุศิษย์วัดท่าซุงทุกผู้ทุกคน สามารถเจริญศรัทธาญาติโยมที่มาวัดมาพบท่าน มาแล้วก็ติดใจอยากมาอีก

ธรรมที่ทำให้ท่านพระครูฯ โดดเด่นงดงามกว่าผู้อื่น คือ ความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีสูง เรื่องนี้เป็นส่วนของสุขุมาลชาติ ที่ฝังอยู่ในจิตในใจมานับชาติไม่ถ้วน สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์พยานชัดเจนที่สุด คือ ความรัก ความเคารพ ความตื้นตันใจในพระคุณของบูรพาจารย์ของท่าน ท่านได้ทำทุกอย่างที่ลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี จะพึงทำถวายพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของท่าน

นับตั้งแต่วันแรกที่ได้อ่านหนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรับใช้ ปกป้องชีวิตและชื่อเสียงครูบาอาจารย์ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ท่านทำถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมายานมหาเถระท่านทำสุดชีวิต ทุกครั้งที่ท่านปรารถถึงพระคุณของหลวงพ่อ ท่านจะน้ำตาคลอเบ้าจนเล่าต่อไม่ได้ เนื่องจากความตื้นตันในพระคุณ

การประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ท่านทำด้วยอิทธิบาทบริบูรณ์ จนเกิดเป็นสามัญผล

การสืบทอดงานพระศาสนา งานสาธารณประโยชน์ งานดูแลวัดท่าซุง งานเจริญศรัทธาญาติโยมพุทธบริษัท และงานเจริญความจงรักภักดีในสถาบัน ท่านทำโดยเต็มกำลังในทุกเรื่อง ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง ไม่เคยเกี่ยงงาน ท่านทำโดยเต็มกำลังในทุกเรื่อง ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง ไม่เคยเกี่ยงงาน ไม่เคยผลักภาระไปให้ผู้อื่น แม้ไม่มีใครช่วยเหลือ

เช่น งานรับแขกในมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร ในปัจจุบัน เนื่องจากท่านพระครูสมุห์พิชิตไปจำพรรษาที่ จ.ระยอง และท่านพระใบฏีกาประทีปไปผ่าตัด ต้องรักษาตัว ท่านก็ทำหน้าที่องค์เดียว จนแทบจะไม่มีเวลาทำอย่างอื่น วัดท่าซุงเจริญขึ้น เพราะธรรมะข้อนี้ อยู่ในเลือดเนื้อ ในจิตใจของท่านเป็นสำคัญ

เมื่อมองให้ลึกกว่านั้น จะเห็นเรื่องความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาสูง ปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อหลายปีมาแล้ว ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ท่านบวช เป็นพระที่วัดปากคลองปลากดนอกใกล้พังเต็มที เนื่องจากทางวัดได้สร้างโบสถ์ใหม่ โบสถ์เก่าจึงถูกทิ้งให้โดนแดดโดนฝน

ท่านจึงต้องขอร้องทุก ๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดนี้ หรือเมตตาจะสงเคราะห์ท่านเป็นส่วนองค์ ช่วยกันสร้างวิหารใหม่ถวายหลวงพ่อพระประธาน วิหารพระโพธิปัญญา จึงเกิดขึ้นที่วัดปากคลองปลากดนอก

เมื่อท่านพระครูวิจารณ์วิหารกิจ (ท่านพระครูสุรินทร์) ปรารถนาจะลาพุทธภูมิ และจะต้องทำสัจจวาจาที่เคยอธิษฐานไว้ คือสร้างพระ ๘๔,๐๐๐ องค์ หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยานเคยแนะนำไว้ว่า “แกก็สร้างพระใหญ่สักองค์แทนสิ” ท่านจึงดำริสร้างพระนอนยาว ๕๐ เมตรแทน

ท่านพระครูปลัดฯ สบโอกาสตอบสนองอุปการคุณของท่านพระครูสุรินทร์ ที่นำท่านมาฝากตัวกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ จึงรีบรับเป็นภาระให้ การสร้างพระนอนใหญ่ที่วัดสุขุมาราม จึงดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วทันใจนึก แม้ว่าค่าเหล็ก ค่าปูน จะแพงขึ้นอีกมากก็ตาม ความงดงามในธรรม ความเป็นผู้มากด้วยกตัญญูของท่านพระครูฯ หาผู้ทัดเทียมได้ยากจริง ๆ



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/1/10 at 08:20 [ QUOTE ]


๗. เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามีตามได้ ท่านปรารถให้ญาติโยมฟังว่า

“อันที่จริงถ้าบวชได้อยากให้บวชกัน มีกินไม่มีกินไม่ต้องกังวล การแต่งตัวไม่กังวล ที่อยู่อาศัยไม่กังวล ยศถาบรรดาศักดิ์ไม่กังวล ศักดิ์ศรีไม่กังวล แต่ฆราวาสตรงข้ามกันเลย จะต้องหาให้ได้มากเพื่อตัวเอง แล้วต้องเผื่อพี่น้องเพื่อนพ้องอีก

ถ้าแต่งงานมีลูกมีเต้าก็ต้องลูกหลานเหลนอีก ต้องเตรียมหมดทุกอย่าง ไม่ใช่คิดเฉพาะวันนี้พรุ่งนี้ ทั้งชีวิตต้องคิดล่วงหน้าไว้เลย พระพรุ่งนี้ยังไม่คิดเลย ความกังวลเหล่านี้มันไม่มี มันจึงเบาจิต จิตไม่มีทุกข์เรื่องพวกนี้ คนเราไม่ใช่ทำวันเดียวบรรลุเลยหรอก มันเหมือนตัวเราเท่านี้ กินข้าวมา ๒๐ กระสอบ ไม่ได้กินวันเดียวนี่ กินทีละหน่อย ๆ มันถึงตัวเท่านี้ได้

หลวงพ่อเคยสอนว่า เรารักษาศีลเจริญภาวนานั่งกรรมฐาน บางครั้งมันก็มีความโกรธ ความโลภ ความหลง มันก็มีมีอยู่ แต่ท่านบอกให้ไปวัดกำลังใจก่อนที่เรามาปฏิบัติธรรม เขาด่าเรามาคำหนึ่งเราไปสิบ แถมให้ดอกไปเลย แต่เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมแล้ว เขาด่าเรามาคำเราไปคำ แสดงว่าลดไปตั้ง ๙ แล้ว บางทีเขาด่าเราคำเราไปครึ่ง บางทีเขาด่ามาคำเราอดได้

หลวงพ่อบอกให้ดูความดีตรงนี้ ดูจิตของเราตรงนี้ ความดีมันจะสะสมให้ดูตัวเอง ไม่ต้องให้ใครเขามายอเราหรอก สมัยก่อนหลวงพ่อบอกให้ดูความผิดของตัวเราเองอยู่เสมอ ก็เหมือนเก็บของ ถ้าไปเก็บแต่ความดีออก ความชั่วมันก็พอกพูน ถ้าเก็บความชั่วออก มันก็เหลือแต่ความดี”

๘. มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้านก็สำรวมเป็นอันดี กิริยาที่น่าเลื่อมใสนี้ทำให้ศิษยานุศิษย์มีความประทับใจมากทุกครั้งที่ได้พบท่าน

๙. แคล่วคล่องในฌานสมาบัติ มีมโนมยิทธิเป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน ท่านเล่าว่า

“ตอนประมาณสักสามสี่เดือนก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพ ท่านเคยคุยให้ฟังบอกว่า ถ้าใครสายสุกขวิปัสสโก ก็ไม่มีทิพจักขุญาณ ไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดชอะไรให้พิจารณาไปเรื่อย ๆ จะมีปัญญาแก้ไปเอง พอบารมีมันเต็มมันจะคิดเองตัดเองไปหมด โดยจิตไม่ต้องเตือน ก็ค่อยๆ ทำไป ถึงรวมตัวมันจะไม่ต้องเตือนจิต

แต่จริง ๆ ธรรมะนี่ หลวงพ่อเคยพูดว่าไม่ได้สอนอะไร สอนแค่ปลายผม ยันปลายเท้าเท่านั้นเอง ทำอย่างไรให้จิตมันยอมรับ ใช่ไหม ไอ้ร่างกายหรือขันธ์ ๕ นี่ปลายผมยันปลายเท้านี่ วิจัยไม่ต้องวิจัยข้างนอก วิจัยในตัวเรานี่ จิตกับกาย เรานี่ มโนมยิทธิที่หลวงพ่อสอนเรานี่มันง่ายที่สุด เรื่องการปฏิบัติธรรมนี่ มันแยกหรือมันเห็นจริงง่าย มันเป็นภาพที่มันเห็นจริงง่าย

อย่างเวลาที่เราปวดจริงๆ นี่มันคิดไม่ออกหรอกนะ มันคิดอะไรก็คิดไม่ออก ไอ้เราก็ดิ้นรนให้มันหายปวด จิตของคนเรามันจะดิ้นรนให้หายปวด ไอ้ร่างกายไม่ใช่ของเรามันคิดไม่ออก มันก็ปวดอยู่นั่นแหละ

เวลาเราทำได้ มโนมยิทธินี่ ก็ให้ถอดไปหน่อยหนึ่ง หลุดจากนี้สักหน่อยหนึ่ง ไม่ต้องขึ้นไปสูงถึงอะไร ให้มันหลุดไปสักหน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ว่ามันจะหายปวด แต่จิตมันจะเห็นเลยว่ามันปวดเองนี่หว่า กูไม่อยากให้มึงปวด มึงปวดของมึงเองนี่ มึงแก่เองอยู่เรื่อย จิตพอละวางสักกายทิฏฐิจะเห็นเองว่า อ้อ...ไม่ใช่ของเรานี่

คือมโนมยิทธิจะมาใช้ตรงนี้ มันจะไวกว่าถ้าเราพิจารณามันปวดอยู่ว่าไม่ใช่ของเรา มันก็ไม่ยอมรับมันปวดอยู่นั่นแหละ จิตมันมาเคล้าอยู่กับตัวมันนี่ พอขยับเคลื่อนมันจะเห็นชัด ทั้งๆ ที่ร่างกายมันปวดแต่จิตมันเห็นชัด จิตมันวาง จิตมันเป็นสุข ไอ้กายปวดมันก็ปวดของมันไป เพราะมันยอมรับความเป็นจริง”

๑๐. เป็นผู้สิ้นอาสวะ ท่านขึ้นไปบนพระนิพพานทุกวัน ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อสอนเป็นปกติ

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง การสอนพระกรรมฐาน >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 19/1/10 at 10:36 [ QUOTE ]


การสอนพระกรรมฐาน
และการสนทนาธรรมหลังพระกรรมฐาน


...การสอนพระกรรมฐานในวัดท่าซุงและนอกวัด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยปฏิบัติอยู่ ท่านพระครูได้ดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง และขยายจุดสอนออกไปอีกทั้งในและต่างประเทศ จนกระทั่งในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า มีผู้เคยฝึกมโนมยิทธิ และเคยได้สัมผัสความสุขในพระนิพพานมาแล้วหลายแสนคน

หลังจากการสอนพระกรรมฐาน ท่านจะอยู่รับสังฆทานและสนทนากับญาติโยมในทุกแห่ง ซึ่งที่สม่ำเสมอมากที่สุดคือ ที่บ้านเลขที่ ๙ ซอยสายลม ๑/๑

จะขอยกตัวอย่างการสนทนาธรรมหลังพระกรรมฐานของท่านมาให้อ่านเป็นตัวอย่าง ถึงพระธรรมที่ผ่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาแล้ว พอท่านนำมาอธิบาย ความชัดเจนจะปรากฏแก่จิตของผู้ฟัง เหมือนหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องไฟในที่มืด หวังให้คนตาดีมองเห็น

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง วิธีเจริญอิทธิบาท ๔ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/1/10 at 07:52 [ QUOTE ]


เรื่อง วิธีเจริญอิทธิบาท ๔


“...มีผู้ถามว่า จะฝึกจิตอย่างไรให้นิ่ง มีสมาธิได้อยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง เพราะส่วนใหญ่ทำได้แล้วหยุด จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ”

อ๋อ... ไม่ยากนี่ ทำอิทธิบาท ๔ ให้ครบแล้วก็ได้

“อ๋อ ต้องอิทธิบาท ๔ แล้วอิทธิบาท ๔ นี่ต้องอิทธิบาท ๔ ของสมาธิหรืออย่างไรครับ”

ใช่ ทีนี้ทำสมาธิก็ตั้งใจไว้เลย มีความพอใจในการจะทำสมาธิ เมื่อทำสมาธิก็มีความเพียรพอ และใคร่ครวญ และพิจารณาว่าทำถูกหรือเปล่า ๔ อย่างนี่ ไปฟังดูเถอะ ถ้าอีตรงนี้ครบละ มันจะเต็ม มันจะสำเร็จ

บางทีเราทำไป พุท... เอ๊ะ... โธหรือเปล่า ก็ไม่ได้ใคร่ครวญนะ ไปไหนก็ไม่รู้ พอเลิกแล้วก็เลิกกันไป กูจะไม่เอาอีกเลย ไปไหนต่อไหนแล้วก็ไม่รู้ ไม่ได้ใคร่ครวญ ไม่ได้มีความขยันอะไรอย่างนี้ นี่ถามตัวเองนะ ดูตัวเอง ไม่ได้ดูใคร โอ้... เราไม่ได้มรรคผลก็เพราะไอ้ตัวนี้มันไม่ครบ พอตั้งใจเข้มแข็งบังคับตัวให้มันครบ ๔ ตัวนี้ มันก็จะได้มรรคได้ผลได้

“แล้วทีนี้ได้ ๔ ตัว ทำอย่างไรถึงจะครบ ถ้าอย่างนั้น”

มันก็ต้องใช้ทุกตัวเลยน่ะ ถ้าความพอใจมี เริ่มแล้ว ต้องตั้งต้นที่พอใจก่อน ไอ้ตัวแรกบางทียังไม่พอใจ ดูอย่างอื่นดีกว่า นี่ความพอใจไม่มีแล้วนี่ ตัวสามตัวสี่เลยไม่ต้องใช้กันเลย

“เอาตัวหนึ่งให้ได้ก่อน พอตัวหนึ่งได้แล้ว ความขยันมาเอง”

ใช่ ขยันเริ่มมา เริ่มมาแล้วก็ต้องบังคับให้มันขยันน่ะ ขยัน ๆ ถูกหรือเปล่าต้องใคร่ครวญอีก

“เอาใจไปจดจ่อแล้วก็ใคร่ครวญพิจารณาไป”

เอ้อ ธรรมะตัวนี้คือว่า ทำอะไรก็จะสำเร็จ สังเกตดูตัวเอง เอ๊... ความเพียรบางทีก็ไม่พอ ความพอใจมี อยากจะได้มาโดยไม่ต้องลงมือ อย่างนี้นะ คนเรานี่อยากจะได้อะไรง่าย ๆ จะเป็นพระอรหันต์ก็อยากจะเป็นง่าย ง่ายโดยไม่ต้องออกแรงอะไรอย่างนี้

“อ้าว ก็หลายคนเขาเป็นกันอย่างนั้นไม่ใช่หรือหลวงพี่”

ไอ้จริงๆ เราออกแรงโดยไม่รู้ตัว สายสุกขวิปัสสโก นี่เราจะคิดพิจารณามาเก็บเล็กเก็บน้อย สมาธิมันเก็บได้ ๕ นาที ๓ นาที

เออ... คุยเรื่องนี้ก็ดีเหมือนกัน บางคนนี่ได้ข่าวว่าบรรลุง่าย ๆ แต่จริงๆ แล้วเขาสะสมมา อย่างเราฟังเทศน์นี่มันก็สะสมระงับนิวรณ์มาหน่อยหนึ่งแล้ว ปัญญาพิจารณาตามคำสอนก็ได้ปัญญามาหน่อยหนึ่งแล้ว มันจะเก็บเหมือนคอมพิวเตอร์ เหมือนคนเรานี่ มันจะเก็บไปเรื่อย เก็บไปเรื่อย มากขึ้น ๆ โดยเราไม่รู้ตัวว่าในจิตของเรามันมีอะไรบ้าง แต่เมื่อถึงเวลานั้นสมาธิมันเต็ม คือสติเต็ม ปัญญาพร้อมด้วยที่เราสะสมแล้ว มันก็พาให้บรรลุมรรคผล เอ๊ะ... มันง่ายขึ้นมาเลย

หลวงพ่อบอก เก็บเล็กเก็บน้อยไปนี่ ถึงเวลาแล้วมันจะออโตเมติกของมันเอง เราต้องเก็บวันละเล็กวันละน้อยอย่างนี้ จริงๆ ไม่ใช่เราไม่สะสม มันสะสมแล้ว โดยเราไม่รู้ตัว

“เพราะฉะนั้น ก็ถ้ายังไม่ถึงเวลา ก็สะสมกันไปก่อนก็แล้วกัน”

แต่พวกที่เขาทรงฌานเขากำหนดเวลาได้นี่ ถ้าเราไม่ทรงฌานนี่มันกำหนดเวลาไม่ได้ใช่ไหม พวกทรงฌานอิทธิบาท ๔ เต็มนี่ ภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี นี่มันถึงจะบรรลุได้ แต่พวกอิทธิบาท ๔ ไม่เต็มมันก็ต้องรอไปจนกว่ามันจะเต็ม

“เรียกว่าถ้าจะเข้ามหาสติปัฏฐานที่เรียกว่า ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันนี่ต้องเป็นอธิจิตสิกขาแล้ว”

ใช่ อิทธิบาท ๔ เต็มแล้ว ท่านบอกว่าบางทีตัวเราก็ไม่รู้ว่า ตัวเรานี่มีดีมาบ้างหรือเปล่า นั่งกรรมฐานมาตั้งเป็น ๑๐ ปี เอ๊ะ... เคยโกรธก็ยังมาโกรธอยู่นี่

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง สมเด็จองค์ปฐมปางนิพพาน >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/2/10 at 08:19 [ QUOTE ]


เรื่อง สมเด็จองค์ปฐมปางนิพพาน


...ตอนแรกกะจะปั้นเอา เอาปูนปั้นเพราะอยู่บนวิหารสมเด็จองค์ปฐม ที่ปรึกษากันที่บ้านสายลม ลูกศิษย์หลวงพ่อมี ดร. ปริญญาด้วย ดร. ปริญญาบอก หลวงพี่องค์ปฐมยิ่งใหญ่อยู่แล้ว หล่อกันไปเลย ไม่ต้องไปปั้นหรอก คนอื่นเขาจะได้ร่วมบุญด้วย หล่อก็หล่อกัน

“ถ้าไปปั้น คนมีทองจะไปหล่อก็หล่อไม่ได้นะ ต้องหล่อถึงจะมีสิทธิร่วมกันได้” บอกให้ปั้นปางพระนิพพาน เอาพระนิพพานเลย อย่างกับพระวิสุทธิเทพอย่างนั้นแหละ

“นั่งห้อยพระบาทใช่ไหมครับ”

ใช่ นั่งห้อยพระบาท คนเขาว่าปางนิพพานนี่ คือปางนอนนี่ ปางนิพพาน ปางพระวิสุทธิเทพใช่ไหม เขาปั้นสวยพอสมควรนี่ ปั้นสวย พระพักตร์ดี พระโอษฐ์ก็ยิ้มด้วย

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง วิธีดูพระ>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/2/10 at 08:19 [ QUOTE ]


เรื่อง วิธีดูพระ


..พระที่เสียๆ นี่ ๑. เกี่ยวกับลาภ พระเสียเพราะลาภ ลาภมากอย่างหนึ่ง ๒. เสียเพราะว่า สมาธิ สมมุติว่าเคยได้ฌาน แต่ไอ้ฌานโลกีย์นี่น่ะ มันได้แล้วก็หายได้ แล้วไอ้คนสรรเสริญนี่น่ะ พาให้เราลอยขึ้นไป แล้วเราก็ไม่วิเคราะห์ตัวเราเอง ไม่โจทย์ความผิดตัวเราเอง เมื่อลอยขึ้นไปแล้วนี่มันก็ลงไม่ได้ ไอ้ลอยขึ้นไปติดเพดานเงิน เงินก็พาไปให้กิเลสเราฟูขึ้นไปอีก

พระนี่ดูยาก พระนี่ก็มีหลายระดับเหมือนกัน เขาเรียกว่าบารมีไม่เท่ากัน อย่างหลวงพ่อเคยบอกพระที่วัด ไม่ต้องให้ใครเขาไปยอเรา เราถามตัวเราเอง เขามีแบบวัดอยู่ บางคนนี่มีความพอใจแค่ทำทาน นี่ก็พอใจ แต่ชวนไปรักษาศีลนี่ไม่เอาหรอก...มาก โอ้โฮ ศีลตั้ง ๕ ข้อ กระดุกกระดิกไปไหนไม่ได้เลย

บางคนทำทานเอา ชวนรักษาศีล ทำ แต่ชวนนั่งสมาธิ ไม่ไหว ไม่ได้เดี๋ยวบ้า บางคนทำทาน ทำ รักษาศีล ทำ ภาวนาเอา แต่ชวนไปนิพพานไม่เอา ยัง กลัวไม่มีก๋วยเตี๋ยวกินอีก หากปรมัตถบารมีนี่ ชวนทำทาน ทำ รักษาศีล พอใจ มีความสุข เจริญภาวนา

โอ๊ย ชอบมากเลย มีความสุขใจเหลือเกิน เห็นทางบรรลุมรรคผล ชวนไปนิพพาน ชาตินี้ทนไม่ไหว ต้องไป นี่เขาเรียกปรมัตถบารมี สามารถจะบรรลุได้มรรคได้ผลได้ ทีนี้กำลังใจของคนมันไม่เท่ากัน การปฏิบัติก็หยาบละเอียดต่างกันไป

คือเราจะไปวัดนี่มันต้องมีความรู้ อย่างหลวงพ่ออย่างนี้น่ะ ต้องมีเจโตฯ ต้องมีทิพจักขุญาณ มันถึงจะดูคนรู้ ถ้าเรามาเดาจริยากันภายนอกหรือการเห็นกันอย่างนี้ บางทีมันไม่ออก แต่กริยาที่มันทำฉาวโฉ่ออกไปนี่ มันก็น่ากลัวน่าเกลียด

ที่นี้ พระที่สนทนาธรรมก็สังเกตดู คุยกับพระคุยไม่ได้ถึง ๔ อย่างนี่หรอก แค่ศีลบางทีท่านก็ร่อแร่แล้ว คุยกันนี่ร่อแร่ จุดประสงค์ของการบวชมันไม่เหมือนกันนี่ ไม่เหมือนกัน บางคนบวชเป็นประเพณี บวชเพื่อเป็นนิสัยปัจจัย ตรงนี้มันก็สำคัญ

บางคนบวชแล้วนี่ ไปอ่านที่เทวทัตท่านลงเอวจี ท่านมีสมาธิอยู่ก่อน ที่คนยกย่องท่าน พอยกท่านมันก็มีพวกมาก ทีนี้มันลอดตัว มันเหลิงเลย พอมีพวกมาก เหลิงปุ๊บ ก็จะแยกนิกายขึ้นมา พระพุทธเจ้าปกครองนี่...ไม่ไหวเลย บางทีทำไม่รู้ไม่ชี้

พระพุทธเจ้านี่ท่านรู้กฎของกรรม ท่านก็ไม่ติง ใช่ไหม เทวทัตว่าอย่างนี้ไม่ถูก อย่างนั้นไม่ถูก ให้คนกินเนื้อสัตว์ เอ๊ะ... ห้ามฆ่าสัตว์ แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นห้ามคนกินเนื้อสัตว์เลย เขาว่าปากว่าตาขยิบ พระเทวทัตท่านบอกอย่างนั้น จริงๆ มันต้องไม่กินเนื้อสัตว์สิ ห้ามเขาแล้วนี่

ที่นี้ไอ้คนที่เป็นสาวกก็ยกย่องสรรเสริญมันก็ลอยล่ะสิ ก็แน่เหมือนกันโว้ย ต้องปกครองสงฆ์แข่งพระพุทธเจ้า อีตรงนี้น่ะมันเข้าขั้น ลอยขึ้นแล้วมันลงไม่ค่อยได้ บริวารมันค้ำอยู่นี่ เอาละวะ จิตก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ อีตอนนี้ฌานจะเสื่อม อกุศลกรรมจะให้ผล ใครติงไม่ได้ มันลอยเสียแล้วนี่ มันเป็นอย่างนั้น อ่านหนังสือที่หลวงพ่อเขียนไว้นี่ เราก็วิเคราะห์ เออ... มันก็จริงตามนั้น

“เรื่องพระนี่มีคนเขาเสนอมา เขาบอกว่าได้โสดาบันแล้วให้มีเครื่องหมายอย่างนี้ สกิทาคามีมีเครื่องหมายอย่างนี้ พอถามหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านก็บอกว่า ถ้าไอ้อย่างนี้มันก็โกงกันได้น่ะสิ”

ท่านบอกว่าอย่าไปห่วงกังวลตัวนี้ ท่านพูดไว้นะ คนที่มันเกิดมานี่ มันจะมีมรรค มีผลนี่มันมีกำลังใจมาแล้ว มันจะพอใจสิ่งที่ว่ามีมรรคมีผลเท่านั้น จิตของเราเองมันจะพอใจเฉพาะพระที่มีมรรคมีผล ถ้าไม่มีมรรคผลมันก็รู้ มันก็ไม่เข้าไปปักในใจ

ถ้าเราจะได้มรรคได้ผลนี่มันจะพอใจ เอ้อ...องค์นี้สอนอย่างนี้มันถูกใจ มันถูกจริต จะต้องคุย จะต้องปฏิบัติ เชื่อท่าน อะไรอย่างนี้ ถ้าเราจะไม่มีมรรคผลมันก็เกาะไอ้พวกนี้ไป เกาะที่เปลือกไปอะไรไป ก็ว่าอย่างนี้ดีแล้ว มันจะเป็นอย่างนั้น

อย่างท่านเองนี่เจอ หลวงปู่ปาน ครูบาอาจารย์เป็นพระอรหันต์แนะนำ อย่างหลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อเนียมนี่ มันจะพอใจกัน พระในประเทศไทยตั้งเยอะแยะ ทำไมไม่พอใจ ไปพอใจเฉพาะองค์อย่างนี้ เขาบอกองค์ที่จะได้มรรคได้ผล มันจะพอใจแต่พระที่มีมรรคมีผล จะคบแต่พระจำพวกนั้น คนเปลือกก็ชอบเปลือก คบพระเฉพาะเปลือก ก็จะพอใจกันอย่างนั้น

ฟังท่านเล่าประวัติหลวงปู่ปานนะ ที่ไม่มีจำหน่ายน่ะ แต่ว่าเก่าๆ ท่านจะเล่าให้ฟังหมด จะดูยาก แต่พระเองจะดูรู้ มันมีอุปกิเลสอยู่ในนั้นเยอะน่ะ จะไปอ่านในอุทุมพริกสูตร แสดงตัวเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ อุปกิเลสมันอยู่ในตัวละก็ มันไม่ถึงความดีหรอก มันไม่เข้าถึงความดีเลย

อย่างอะไรล่ะ สมมุติห่มจีวร พูดถึงห่มจีวรกัน สมัยก่อนวัดเรานี่ ไม่ใช่ว่าวัดเรามันจะดีกว่าคนอื่นนะ อย่าไปคิด ดีไม่ดีมันอยู่ที่การงดเว้น ไม่ใช่ว่าอยู่วัดท่าซุงจะดี ครูบาอาจารย์สอนเป็นพระอรหันต์แล้วจะดีไปหมด อย่าไปคิดอย่างนั้น อยู่ที่การงดเว้นของตัวและบุคคลที่ปฏิบัติ ไม่ใช่เขาไปอยู่วัดท่าซุง โอ้โฮ...แจ๋วไปหมด อย่างนั้นไม่ใช่ ไม่รับรองว่าจะแจ๋วทุกองค์ หรือเจ้าอาวาสจะแจ๋ว ใครจะแจ๋ว ไม่รับรองใคร แต่ว่าอยู่ที่การปฏิบัติของตัวคนนั้นเอง

คนเรานี่มันจะอยู่ที่อุปาทาน รวมๆ ครูบาอาจารย์องค์นี้ดี ถ้าอย่างนี้ต้องดีหมด อะไรอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้ว แม้แต่ตัวพระเองก็ต้องคิดว่า เรานี่มันงดเว้นอะไรได้บ้าง มันต้องเตือนอยู่เสมอ มันต้องว่าตัวเองอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าตีคลุมไปอย่างนั้น

ส่วนมากคนจะตีคลุมไป อยู่สำนักนี้แล้วจะต้องแจ๋ว จะอยู่ที่ไหนก็ช่างเถอะ แต่มันก็ดีอยู่อย่าง คืออยู่ในสิ่งแวดล้อมดี สุขภาพจิตไม่ค่อยเสีย อย่างเราพอใจนิพพาน จะไปอยู่ไอ้ที่เขาพอใจทางโลกกันนี่ อารมณ์ก็หงุดหงิด แต่อยู่ในสังคมอย่างนี้มันก็คุยกันรู้เรื่องง่าย

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง บวชตลอดชีวิต >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 17/2/10 at 08:11 [ QUOTE ]


เรื่อง บวชตลอดชีวิต


...มีคนปรารภ เรื่องตั้งใจบวชตลอดชีวิต พระครูปลัดอนันต์ แนะนำว่า

การบวชตลอดชีวิต มารมันเอาเราเหมือนกัน มารก็คือกิเลสของตัวเราเองนี่แหละ ก็มีพวกกันตั้งหลายคน รุ่นนายทหาร รุ่นท่านอาจินต์นี่แหละ บวชหลายองค์ ตอนหลังสึกหมด อย่างยกทรงพวกกันน่ะรู้ดี

คือว่า พ่อแม่ต้องการให้ลูกบวช ลูกบวชแล้วสบายใจ คือไม่มีกังวล เพราะอยู่ในขอบวัด หลวงพ่อบอกว่า แม้นว่าพระเป็นคนเลว บวชแล้วก็ยังทำตัวเลวอยู่ พ่อแม่เขาก็ไม่รู้ แต่พ่อแม่รู้ว่าลูกชายบวชในพระพุทธศาสนา มีความชื่นใจ เท่านี้พ่อแม่ตายแล้วไปสวรรค์ อย่างน้อยนะ

เมื่อเราบวชแล้ว มันไม่มีอะไรหนักหรอก มันรบกับนิวรณ์ เรื่องที่อยู่อาศัย ยศถาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศ ชื่อเสียง เสื้อผ้าอาภรณ์ ไม่ได้คิดจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ความกังวลเรื่องนั้นไม่มี มันกังวลอยู่กับนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านของจิตเท่านั้นเอง ปัญหาอยู่ตรงนี้เท่านั้นเอง

จะตั้งใจแข็งเกินไป ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็เอาเรื่อง คือว่า มัชฌิมาปฏิปทา มันต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาว บางทีอกุศลกรรมมันให้ผล ทำให้เร่าร้อนใจ เราก็ต้องรู้เท่าทัน เมื่อมันให้ผล จะเอาบารมีตัวใดมาใช้

อย่างฉันนี่เป็น ๑๐ ปี ฟังเทปไม่ได้ ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาก็ยังดี มันไม่เข้าหูเลย คือมันไม่เข้าไปในที่จิตเราเลย พอได้ยินเสียงมันเบื่อขึ้นมาเลย ตัวเองนะ โอ้ย...ทำยังไงโว้ย กลุ้มเหลือเกิน ภาวนามันก็ไม่ภาวนา ไม่มีกำลังใจภาวนา

แต่ไม่คิดสึกเท่านั้นเอง เอาขันติบารมีมาใช้ได้ ๑ ตัว ตัวอื่นใช้ไม่ได้แล้ว มันไม่มีกำลังสู้กับมัน นี่ทนๆๆๆ แต่ไม่ได้ทำความชั่วอะไร พอมันคลายปุ๊บก็ภาวนา พอสู้กับมันได้ ถ้ามันเหนือกว่าเราๆ ก็สู้ไม่ไหว เดี๋ยวประสาทเครียดไปใหญ่เลย

ฉะนั้น ถ้าพระมีปัญหาหนักใจจะต้องคุยกัน อย่าไปเก็บความร้อนไว้ในใจ พวกที่เคร่งมีอะไรเก็บไว้เงียบๆ ระเบิดตูม ถอดผ้าเหลืองออกไปเลย อย่างนี้ทุกคน ฉะนั้นเรื่องบวช จะไม่ชวนใครบวชตลอดชีวิต ไอ้ความพอดีของคนไปบอกกันไม่ได้

มัชฌิมาปฏิปทานะ มันกลางของเราซิ ไม่กลางของคนอื่น ถ้าใครจะบวชตลอดชีวิต มันต้องมีลูกยืดหยุ่นเยอะ ยืดหยุ่นกับไอ้กิเลสนี่นะ แรงเกินไปก็ไปแล้ว อยู่ไม่ได้ หย่อนเกินไปก็ไม่ไหวอีก ต้องใช้ปัญญาประกอบไปตลอดเลย

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ปฏิบัติธรรม >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 24/2/10 at 08:18 [ QUOTE ]


เรื่อง ปฏิบัติธรรม


...เรื่องปฏิบัติธรรม อะไรๆ ก็คิดเป็นธรรมะได้ มีอยู่คราวหนึ่ง ออกจากกุฏิ กำลังจะไปฉันเพล มีกะละมัง เขาเรียกกะละมังอาหารหมา จะเอาน้ำให้หมากิน

พอจะออกไปข้างนอก เราก็รินน้ำให้หมา ก็ปล่อยน้ำแรง มันก็ซ่าออกไปนอกกะละมังมั่ง อะไรมั่ง เราก็มอง เอ๊ะ... เมื่อไรมันจะเต็มวะนี่ เพราะเราจะรีบไป ก็เอ๊ะ...ปล่อยซ่า มันก็กระเซ็นออกไปนอกกะละมังมั่ง ลงกะละมังมั่ง อะไรมั่ง ก็คิด

เออ..การปฏิบัติธรรมของคนนี่กว่าจะบรรลุมรรคผล กว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้นี่ มันก็ต้องมีออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง แต่น้ำนี่ส่วนมากมันจะอยู่ในกะละมัง บางส่วนจะกระเซ็นออกไปนอกกะละมังบ้าง

“ไอ้ที่เหลืออยู่ มันจะมากกว่า”

ใช่ ถ้าเราทำใจอดทนได้เดี๋ยวมันก็เต็มเอง ถ้าเราอดทนได้ น้ำมันก็เต็มฉันใด นึกถึงการปฏิบัติธรรมของคนเรานี่อาจจะเขวไปบ้าง แชไปบ้าง อะไรไปบ้าง แต่ส่วนมากจะเกาะหลักไว้ มันก็สามารถจะทำกำลังใจเต็มได้ฉันนั้นเหมือนกัน

“ไอ้คิดอย่างนี้มันก็ดีอย่าง เป็นกำลังใจของคนที่ปฏิบัติทุกวันนี้ มันมีขาดๆ เกินๆ เสียๆ หายๆ หกตกหล่น”

แต่ทีนี้ถ้าเราไม่เชเลย มุ่งอยู่จุดเดียวเหมือนปล่อยน้ำให้มันเต็ม ไม่มีกระเซ็นเลย ประเดี๋ยวมันก็จะเต็มไว

“แหม...นี่เวลานี้นี่ เรียกว่าทรงธัมมานุสสติกรรมฐานแล้วนะ”

อันที่จริงธรรมะทุกอย่างนี่หลวงพ่อท่านเฉลยไว้หมดแล้วนะ คำตอบทุกอย่างนี่มันอยู่ที่เรากระทำเท่านั้นเอง ทั้งโจทย์ ทั้งวิธีทำ บอกหมดทั้งคำตอบนี่ เรียนคณิตศาสตร์นี่ เขาไม่ได้บอกคำตอบเราก่อนหรอกนะ เขาตั้งโจทย์มาเราก็ทำไปเลย คำตอบอะไรก็ไม่รู้ ทีนี้หลวงพ่อตั้งโจทย์วิธีทำคำตอบไว้ให้เสร็จเลย มีเสร็จทุกอย่างนี่ อยู่ที่เราทำตามที่ท่านบอกเท่านั้นเอง ใช่ไหม

สังเกตดูสิ ท่านตั้งโจทย์แนะวิธีทำคำตอบให้เสร็จแล้ว อยู่ที่เรานี่กระทำตามที่ท่านว่าเท่านั้นเอง

“วันนี้มาเล่าหลายคน บอกว่ามันมีปัญหาทางใจ ไปถามก็ไม่ถูกใจ ก็พอดีไปเปิดตอบปัญหา เดี๋ยวนี้ออกถึงเล่ม ๙ นะ เปิดโดยไม่ได้ตั้งใจนะว่าจะหน้าไหน เปิดแพล็บ...ตรงกับไอ้ที่ตัวเองกำลังข้องใจอยู่พอดีเลย คำตอบก็มีอยู่ในนั้นเสร็จเลย”

หนังสือของท่าน ของหลวงพ่อนี่เขียนด้วยสติและปัญญาสมบูรณ์ คือไม่มีคำที่โมเม ไม่พูดโมเม เพราะสติและปัญญานี่มันอยู่ในสมองสมบูรณ์อยู่ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง อย่างเรานี่มีสมาธิดีก็พูดธรรมะเข้าใจดี

ถ้าฟุ้งซ่านก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ของท่านนี่ทรงอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง และพระพุทธเจ้าท่านก็คุม อย่างจะมาสายลมนี่ พระพุทธเจ้าคุมสามองค์สี่องค์ แต่องค์ไหนจะเป็นหัวหน้าเท่านั้นเอง

สติก็สมบูรณ์อยู่แล้ว พระพุทธเจ้าก็คุมอีกชั้นหนึ่ง ทีนี้การเป็นหนังสือท่านก็ดี เป็นคำถามคำตอบท่านก็ดี อาจจะมีตลกบ้างอะไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นธรรมะบันเทิง แต่ว่าเป็นธรรมะที่ถูกต้องที่สุด ที่ว่าหายากนะ

“หาไม่ได้แล้ว หาไม่ได้”

เราไปฟังที่อื่นทำไมถึงจืด บางทีอ้อมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง ไม่รู้ว่าเอาตรงไหนวะ ไอ้สรุปบางทีเราต้องมาสรุปเอง จะเอาตรงไหนอะไรอย่างนี้ หลวงพ่อนี่ท่านตั้งต้นเนื้อน้ำสรุปให้เอง ไปฟังคนอื่น เออ กูจะสรุปตรงไหนวะ จะเอาตรงไหนวะ เราต้องมาสรุปเองแทนพระ

“อันนี้หลวงพ่อเคยบอกว่า เคยเตรียมตัวมาจะพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้ พอเวลานั่งพูดจริงของเราไม่มีเลย นั่นก็แสดงว่าหลวงพ่อก็ไม่ได้พูดน่ะสิ”

ท่านจะบอกว่าวันนี้พระองค์นั้นมา พระองค์นี้มา สมัยก่อนท่านจะเทศน์สอนกรรมฐานนะ เทศน์ด้วยตัวของท่านนะ เทศน์ปุ๊บก็อัดเลย เทศน์เสร็จก็มาเปิดฟังพูดอะไรบ้าง ก็มาทวนวันนี้เทศน์อะไรบ้าง

มีอยู่เล่มที่ด็อกเตอร์พิมพ์ เล่มไหนก็ไม่รู้ คือสอนกลางวัน สอนมหาสติปัฏฐาน กับกรรมฐาน ๔๐ กลางวันไปถึงก็สอนกันเลย ไม่ได้เตรียม ไปถึงก็นั่งกันอย่างนี้ เราก็ไม่มีเทปไปอัดนอกสถานที่

ท่านบอก...นันต์ ข้าไม่ได้เตรียมตัวเลย เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าท่าน สักประเดี๋ยวก็ให้ช่างมาติดลำโพงลงทุกห้อง บอก เราจะเปิดเสียงตามสายออกไป นี่แกผ่านหูบ้าง ฟังหูซ้ายละลุหูขวาบ้าง

ต่อไปนี่จะเป็นตำรา พวกแกอยู่ต่อไปจะได้ไม่ทะเลาะกับคนอื่นเขา เขาสอนอย่างนั้นมา แกจะได้รู้ว่าเขาสอนกรรมฐานกองไหน ไม่ใช่ว่าของเรา พุทโธ ใคร สัมมาอรหัง ผิดหมด ใคร นะมะพะธะ ผิดหมด ไม่ใช่อย่างนั้น การภาวนาเป็นการโยงจิตเท่านั้น การโยงจิตให้สงบเป็นอุบาย ในการโยงจิตให้สงบ ไม่ใช่ว่าเก่งอวดดีกันแค่องค์ภาวนา”

ท่านก็สอนกรรมฐาน ๔๐ มาครบ มหาสติปัฏฐานอีก สอนกลางวันนี่หลวงพ่อสอน คิดดูบ่ายโมงนี่ ถ้าสอนไม่ดีจริงนี่ตาปรือตาลอย กลัวท่านบ้างก็ตาแป๋วแต่หลับในไปแล้ว ฉันเพลใหม่ๆ นี่กำลังดีแล แต่ท่านก็สอนดีนะ สอนอสุภกรรมฐาน ก็ถาม

“อาจารย์ วันนี้กินข้าวกับอะไร”

“กินข้าวกับแกงส้มครับ”

“แกงกับอะไร”

“ปลาครับ”

“อ้าว...แกกินศพไปนี่หว่า”

“ไม่ใช่ครับ ปลาครับ”

“ก็ศพปลาไงเล่า”

ท่านก็หยอกไปเรื่อย เวลาใครนั่งง่วงท่านก็หยอกเสียที ตาก็สว่างขึ้นมา แต่ห้ามจดนะ ท่านไม่ให้จด จะมาจดนี่ไม่ได้ ต้องฟังก่อน เทปอัดไว้แล้ว ให้มันได้เดี๋ยวนั้นสักรอบหนึ่งก่อน ท่านก็อุตส่าห์สอนกลางวันมาสักร่วมพรรษาหนึ่งมั้ง ตอนนั้นน่ะ

“สอนเสาร์ – อาทิตย์ เพราะว่าญาติโยมจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปฟังด้วย”

“ในระยะต้นๆ นี่ค่อนข้างเข้มหรือว่า”

โอ้โฮ ตนไปฟังนี่ เอ๊... หลวงพ่อทำไมอยู่วัดถึงดุจังเลย ถ้ามาสายลมกรรมฐานสายลมง่ายจัง อู้หู...ที่วัดทำไมถึงยากจังเลยที่วัดนี่ ที่วัดนี่อะไรก็ผิดไปหมด ไปนั่งกรรมฐานที่สายลมดีกว่า สบายใจจังเลย

เขามาพูดให้ฟังใช่ไหม ทำนิดก็เป็นบุญ ทำหน่อยก็เป็นบุญ พอมาวัดนี่ทำผิดนิดก็บาป ทำผิดหน่อยก็บาป ก้าวขาไม่ออกอะไรอย่างนี้ ตรงกันข้ามเลย

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ทำไมหลวงพ่อไม่ใช้อภินิหาร >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/3/10 at 08:00 [ QUOTE ]


เรื่อง ทำไมหลวงพ่อไม่ใช้อภินิหาร


...นั่งคิดอยู่เหมือนกัน ทำไมหลวงพ่อถึงไม่ใช้อภินิหาร แล้วมาดูคนตอนหลังนี่เป็นอย่างไร วิเคราะห์แล้ว เออ... หลวงพ่อท่านทำถูกแล้ว

“เป็นอย่างไรครับ ไหนลองเล่าที่ว่า”

คือมานึกถึงหลวงพ่อว่าทำไมไม่ใช้อภินิหาร จะให้ดังคับประเทศ หลวงพ่อนี่ก็ทำได้

“ได้แน่นอนครับ”

ทำได้แน่นอน แต่ว่าท่านเลือกทางสายนี้เพราะว่าอะไร เพราะตั้งแต่หล่อพระศรีอาริยเมตไตรยปุ๊ป พอมองดูคน คิดว่าทำไมคนยังมามากอย่างนี้ คนมาอย่างไร มาอย่างนี้เพราะอะไร ทำไมเราคิดว่าหลวงพ่อท่านเลือกเอาสายธรรมะ ปูพื้นฐานธรรมะของท่าน ลูกศิษย์ของท่านนี่เปอร์เซ็นต์สูงด้านคุณธรรมแล้ว เรื่องทาน วิหารทานอะไรนี่ คือหนึ่งธรรมะเข้าถึงใจ

เมื่อหลวงพ่อมรณภาพไปแล้วนี่ คนของท่านผูกพันกับท่านแล้ว ผูกพันกับธรรมะที่ท่านสอน ไม่ใช่ผูกพันตรงที่มีฤทธิ์มีเดชของท่าน คือทางธรรมะของท่านนี่ เมื่อเวลาทำบุญก็ดี อะไรก็ดี ทำด้วยศรัทธาแท้ เพราะว่าเข้าถึงใจแล้ว

ถ้าท่านดังเฉพาะฤทธิ์นะ ดังเฉพาะวัตถุมงคลเฉยๆ นะ พอหลวงพ่อมรณภาพแล้ว คนก็ไม่ไปหาฤทธิ์แล้ว ไม่มีฤทธิ์แล้วนี่ ก็จะเงียบหายไป อย่างวัดดอยแม่ปั๋ง เขาว่าวัดหลวงปู่แหวนเดี๋ยวนี้ มีอาจารย์หนูกวาดวัดอยู่องค์เดียวแล้ว เขาว่านะ เราไม่ได้ไปเห็น

“เอ้อ...จริงๆ ครับ ออกทีวีครับ มีอาจารย์หนูเฝ้าวัดอยู่องค์เดียวจริงๆ”

แล้วมาดูของหลวงพ่อสิ คนของท่านนี่ หนึ่ง นึกถึงคุณหลวงพ่อ หลวงพ่อให้ธรรมะ ให้เรามีชีวิตใหม่ ให้เราเป็นผู้ถึงซึ่งพระนิพพานนี่ ความกตัญญูรู้คุณมันอยู่ในจิต ไอ้การดูแลวัดหรือการไปวัดนี่มันเหมือนไปบ้านของตัวเอง

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง พระคุณของหลวงพ่อ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/3/10 at 08:14 [ QUOTE ]


เรื่อง พระคุณของหลวงพ่อ


...เรื่องของหลวงพ่อนี่ พูดถึงพระคุณของท่านทีไรเราทนไม่ไหว เพราะว่าเราเป็นหนี้บุญคุณท่านมาก ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรทดแทน แค่ดูแลให้ดีที่สุดตามภูมิปัญญาที่เราจะทำได้ ถือว่านิดหน่อยเท่านั้นเอง ได้คุยกับคนอยู่คนหนึ่งเมื่อตอนจะมานี่บอกว่า

“เวลาเห็นธรรมจิตเป็นสมาธิแล้วนี่ เขาจะเห็นคุณที่หลวงพ่อสอน ตรงทุกอย่าง เวลาขึ้นไปบนดาวดึงส์ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ กราบพ่อแม่ทุกๆ ชาติ แกก็จะรู้ว่าคุณว่าพ่อแม่เราทุกชาติสอนให้เราเป็นคนดี ให้เรามีทาน ที่เรามีของกินทุกวันนี้เพราะพ่อแม่ สอนไว้ให้ไปทำบุญกับพระ ทำให้เรามีกินอยู่ทุกวันนี้”

โอ้โฮ... จิตต้องมีสมาธิยิ่งจริงๆ จึงจะเห็นตรงนี้ ได้ยินแล้วก็ชื่นใจ ที่เขาบอกว่า พุทโธ อัปปมาโณ ธัม
โม อัปปมาโณ สังโฆ อัปปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระอริยสงฆ์ประมาณมิได้ ถ้าเราพูดอย่างนี้ คนที่ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ก็เอ๊...ไม่น่าจะถึงขนาดนั้น

แต่เมื่อมีสมาธิ มีปัญญาแล้วนี่ มันทำอะไรทดแทนไม่ได้จริงๆ คนที่ฝึกมโนมยิทธิแล้ว รองไห้บอก “ไม่มีอีกแล้วๆ” นี่จิตมันรวมหมดเลยนะ สมาธิ ปัญญา ปีติ มันเกิดรวมกันทีเดียว ทนไม่ไหวหรอก พอถึงตอนนี้มันรวมกันหมด โอ...ทำไมหลวงพ่อจึงเมตตาอย่างนี้ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเมตตาอย่างนี้ มันรวมกันทีเดียวกันเลย

“พูดถึงพระคุณ แหม...หลวงพ่อกว่าจะลงรากปักโคนมาได้...”

ตามภาษาก็บอกว่า ค่อยๆ สอน นิดก็เอา หน่อยก็เอา ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บจะสอนเรื่องนิพพานเลย อันไหนที่เป็นบุญ ท่านสะสมทุกอย่าง ให้กำลังใจในการทำความดีทุกอย่าง ถ้าเราเชื่อหลวงพ่อ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีอะไรมีปัญหา เพราะว่าเราเหมือนเกิดทันพระพุทธเจ้า

หลวงพ่อเทศน์แต่ละครั้ง ท่านมักจะบอกวันนี้องค์ปฐมมานะ มาเทศน์อย่างนี้ๆ วันนี้องค์ปัจจุบันมา วันนี้พระพุทธกัสสปมา ท่านมีประวัติ มีหลักฐานทุกอย่าง เหมือนเราได้ฟังคำสอนจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เราโชคดีที่สุด

หมายความว่าไม่เสียชาติเกิดแล้ว เจอพระก็รู้จักพระ เจอพระอรหันต์ก็รู้จักพระอรหันต์ ฟังธรรมทุกอย่างด้วยความพอใจ ด้วยศรัทธา ด้วยปัญญา ไม่มีเบื่อ ทำงานกับท่านไม่มีเบื่อเลย

ยกทรงบอกว่า “ขนาดคนขอยืมเงินทำบุญ อยู่ห้องโน้นที่หน้าห้องส้วม ทำบุญจนหมดตัวแล้ว หลวงพ่อพูดอะไรไม่รู้ เอาไม่อยู่ ขอยืมเงินเพื่อน ให้กูร้อยหนึ่งน่า เดี๋ยวกูมาใช้มึง หลวงพ่อก็แซวเลย ให้กูร้อยเถอะจะรีบไปใช้มึง แล้วแกก็กลับไปนินทาหลวงพ่อ อะไรวะ กำแพงขวางยังมองเห็นอีก โอโฮ... ทำไมถึงตายาวขนาดนั้น

แล้วอีกคนหนึ่ง ก็เร่งรีบเช่าสามล้อเข้าปากทางถนนใหญ่ ความจริงวันนั้นหมดเวลาแล้ว เราก็บอก หลวงพ่อนิมนต์เถอะครับ หลวงพ่อบอก เดี๋ยวรออีกคนหนึ่ง ไอ้เราก็ไม่กล้าขัดใจ ก็คุยโน่นคุยนี่ถ่วงไปประมาณสัก ๒๐ นาที ก็มาถวายเยอะ เจ้าคนนั้นศรัทธาแรงเต็มที่ ๒๐ บาท เราก็เลยกระซิบถาม หลวงพ่อ ๒๐ บาทก็ยังคอยเหรอ หลวงพ่อบอกเขามาไกล เขาลำบาก เราอยู่ใกล้ ลุกเมื่อไหร่ก็ไปได้”

ตรงนี้ท่านเคยสอนพระไว้ ไม่ให้เสียพระง่ายๆ เขาทำบุญ ๑๐ บาท ๒๐ บาท มากบ้าง น้อยบ้าง อย่าไปดูถูกเขา ท่านให้ดูกำลังใจคน ถ้าแกคิดอย่างนี้ แกจะตกนรกง่ายที่สุด เขาทำบุญมากทำบุญน้อย ต่อไปแกจะโลภ หลวงพ่อบอกต้องดูกำลังใจของคนซิ เขาเอาเงินมาให้เรา เขามีกำลังเงินไม่เท่ากัน กำลังใจคนแกจะวัดด้วยเงินหรืออะไรไม่ได้ ท่านสอนเรานะ

ท่านถือว่ากำลังใจสำคัญยิ่ง อย่างโยมคนเมื่อกี้นี้มาจากชลบุรี เป็นคนมีอายุแล้ว การเดินทางไกลก็ย่อมไม่สะดวก อย่างหลวงพ่อดาบส เทศน์ คนที่ขึ้นรถลงเรือมาไกลอย่างนี้ ถือว่าเอาชีวิตมาทำบุญ เพราะว่าการขึ้นรถออกจากบ้านมาแล้ว มันสามารถจะตายได้ทุกเวลาเช่นกัน ชีวิตเรายังไม่ห่วง เรียกว่า ปรมัตถบารมี จริงๆ

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง พิธีปลุกเสก>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 19/3/10 at 08:04 [ QUOTE ]


เรื่อง พิธีปลุกเสก


...ก่อนจะปลุกเสกคราวใด ตอน ๖ โมง หลวงพี่จะไปรับท่านเสมอ ตอนเย็นมาส่งท่านที่กุฏิแล้ว ท่านก็นัดบอกว่า วันนี้ลงพุทธาภิเษก ๖ โมงเย็นนะ ๕ โมงครึ่งเราก็ขึ้นไป

วันจะปลุกเสกท่านจะสบาย ท่านไม่กังวลอะไร ไม่เหมือนเรา จะทำพิธีอะไรใจเต้นตุ้บๆ หลวงพ่อท่านใจสบาย คราวพุทธาภิเษกครั้งก่อนสุดท้าย ท่านบอกว่า นันต์ ของนี่เต็มหมดแล้วนะ พระท่านมาทำเต็มหมดแล้ว แต่ต้องไปเดี๋ยวไอ้พวกนั้นหาว่าเราโกหก

พอเดินผ่านจะไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์รออยู่เยอะแล้ว พระมหากัสสปก็เรียกท่านเข้าไปบอก “คุณ คุณเข้ามานี้สิ” หลวงพ่อก็เข้าไปถามว่า “ทำไมครับ”

พระมหากัสสปก็บอกว่า “คุณนี่จะตายท่าเดียวนี่ พระพุทธเจ้าจะเอาคุณอยู่ คุณก็ไม่ยอม เอะอะก็จะตายท่าเดียว” หลวงพ่อก็บอก “ร่างกายไม่ดีครับ ถ้าร่างกายดีผมไม่เกี่ยง”

ตอนหลังท่านก็มาอบกว่า “นันต์ ของนี่พระท่านมาบอกว่า ของที่คุณทำนี่มีทำเหมือนกับคุณมี ๒ องค์เท่านั้น อีกองค์หนึ่งคือ สมเด็จโตฯ ของนี่มีคุณภาพเหมือนของสมเด็จโตฯ”

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง หลวงปู่ชุ่มให้องค์แก้วมณีรัตนะแก่หลวงพ่อ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/3/10 at 07:54 [ QUOTE ]


เรื่อง หลวงปู่ชุ่มให้องค์แก้วมณีรัตนะแก่หลวงพ่อ


...สมัยก่อนนี้หลวงพ่อจะนิมนต์พระสุปฏิปันโนมาที่วัดเรา ท่านรู้ว่าองค์ไหนเป็นพระดี ท่านก็นิมนต์มาเป็น ๕ องค์ ๑๐ องค์ มีหลวงปู่สิม หลวงปู่ชุ่ม หลวงปู่วงศ์ หลวงปู่คำแสนใหญ่ หลวงปู่คำแสนเล็ก ฯลฯ ท่านนิมนต์มาเข้านั่งเป็นพระอันดับเลย แล้วให้พวกเราได้ทำบุญกับพระสุปฏิปันโนกัน

มีอยู่องค์หนึ่งคือ หลวงปู่ชุ่ม หลวงปู่ชุ่มขึ้นไปห้องที่หลวงพ่อพักธรรมดา ยังไม่ได้นิมนต์ท่านไป ท่านจะไปเยี่ยมหลวงพ่อเอง เดินไปที่ตึกริมน้ำ หลวงปู่บอกกับหลวงพ่อว่า “เขาว่าห้องนอนน้องนี่สวยมาก อยากจะดู” เดินไปโดยไม่ต้องนิมนต์หรอก ขึ้นไปถึงห้องนอน

ท่านก็บอกว่า “พี่คงจะอยู่ไม่นาน (หลวงปู่เคยเป็นพี่หลวงพ่อมาก่อน) ต่อไปน้องจะช่วยเหลือพระพุทธศาสนาและญาติโยมได้มาก ขอมอบลูกแก้วนี้ ซึ่งเป็นลูกแก้วต้นตระกูล เขาเรียกว่าแก้วจักรพรรดิ ถ้ามีลูกแก้วนี้แล้ว จะสร้างวัดได้คล่องตัวขึ้น ความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้นทุกอย่าง ขอให้เก็บแก้วลูกนี้ไว้”

พอหลวงพ่อได้มาสักปีท่านก็สั่งลุยเลย ตอนนั้นท่านสร้างแค่โบสถ์ก็จะเลิกแล้ว ให้กระเบื้องโมเสกที่ปูห้องน้ำ ไปให้ที่วัดรู้จักกันตั้งรถบรรทุกหนึ่งแน่ะ ท่านจะเลิกสร้างแล้วพักผ่อน แก่แล้ว ไปช่วยที่อื่นเขาเล็กๆ น้อยๆ ก็พอแล้ว ได้พักผ่อนด้วย ก็บอกกับหลวงพี่ว่าเอากระเบื้องไปให้พวกๆ กันนะ

พอหลังปี ๒๐ ไปแล้ว ตั้งแต่ได้แก้วจักรพรรดิหรือพระท่านสั่งก็ไม่รู้ สั่งซื้อที่ เกรดทั้งวันทั้งคืน สั่งลุยงาน ช่างตั้ง ๓ – ๔๐๐ คน ทำกันตกใจเลย ตอนนั้นเงินก็มา คนก็ทำบุญเยอะ

ธรรมดาหลวงพ่อนี่ กฐินทีถึงจะจ่ายเงินกันที จะจ่ายเงินตอนกฐินนั่นแหละ พอได้แก้วจักรพรรดิไปสัก ๒ – ๓ ปี ท่านถึงสั่งให้ทำองค์แก้ว (ปลุกเสก) ท่านบอกว่าจะมีผล ๗๐ – ๘๐ เปอร์เซ็นต์ขององค์ต้น

ท่านก็ให้ภาวนาคาถา ให้มองลูกแก้วอยู่ในอกไว้นะ ให้อยู่ตรงไหนก็ได้ ให้เห็นไว้ มีผลคือใจเป็นสมาธิ ใจดี ทิพจักขุญาณก็ได้ ระงับนิวรณ์ ๕ ปัญญาเกิด ให้แก้วองค์เดียวครบสูตร

เมื่อมองแก้วแล้วจิตก็เป็นสมาธิ สมาธิก็เป็นพื้นฐานของทิพจักขุญาณ เมื่อมีสมาธิดีแล้วปัญญาก็เกิด เห็นว่าร่างกายไม่เที่ยง ร่างกายจะต้องตายแน่ หลวงพ่อให้ชิ้นเดียวได้หมดเกือบทุกอย่าง ท่านให้ครบ

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ทำไมลูกศิษย์หลวงพ่อจึงมารวมกันมาก >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 2/4/10 at 12:41 [ QUOTE ]


เรื่อง ทำไมลูกศิษย์หลวงพ่อจึงมารวมกันมาก


...ที่วัดท่าซุงอันที่จริงลูกศิษย์หลวงพ่อมารวมกันอยู่ที่นี่ ธรรมดานี่มายากเหมือนกัน เพราะหลวงพ่อท่านอธิษฐานไว้จุดหนึ่งว่า ไม่ให้คนนอกเข้ามา คนนอกไม่ใช่หมายความว่าเขาเป็นคนเลว แต่เป็นคนที่ไม่เคยทำบุญร่วมกันมา สอนกันไม่ค่อยรู้เรื่อง พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง

ท่านจึงอธิษฐานไว้เลย ขอพรท่านปู่พระอินทร์ก็ดี ขอพรท่านท้าวมหาราชก็ดี ขอให้กันคนที่ไม่เคยทำบุญร่วมกันมาไม่ให้เข้ามา แต่เขาไม่ใช่คนเลวนะ ท่านจะกันเฉพาะคนของท่านเท่านั้น จะพูดเรื่องศีลก็ดี ทิพจักขุญาณก็ดี คุยกันได้ ถ้าไปคุยกับคนนอกคุยไม่ได้ เขาหาว่าเล่นอะไรไปหลายๆ อย่าง

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง หลวงพ่อไม่อยู่วัด พระลูกวัดอวดเก่ง>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/4/10 at 14:38 [ QUOTE ]


เรื่อง หลวงพ่อไม่อยู่วัด พระลูกวัดอวดเก่ง


...มันมีอยู่คราวหนึ่ง หลวงพ่อไม่ค่อยอยู่วัด หลวงพ่อมากรุงเทพฯ พระเก่าๆ หลวงพ่อไม่อยู่ก็ทำ ทำเหมือนหลวงพ่ออยู่ แสดงเหมือนหลวงพ่อ ก็บวงสรวงเองบ้าง

คงคิดว่าหลวงพ่อไม่อยู่ เราก็ทำพิธีบวงสรวงเองได้ ที่ขึ้นต้นว่า ปุริมัญจะทิสัง ราชา..อัญเชิญท้าวมหาราชทั้งสี่ ท่านเป็นพระอนาคามีนี่ เราเป็นพระปุถุชน จะไปสะเออะว่า เราก็แน่เหมือนกัน คิดอย่างนี้อันตรายเหมือนกัน

พระองค์นี้ก็ทำพิธีเชิญแบบหลวงพ่อ หลวงพ่อกลับวัดก็บอกว่า ท้าวมหาราชจะสั่งสอน ทำอย่างไรล่ะ หลวงพ่อขอร้องว่า อย่าเอาให้ถึงตายนะ มันแก่แล้ว อายุตั้ง ๘๐ แล้ว โอโฮ...ปาฏิหาริย์จริงๆ ถ้าเป็นธรรมดาต้องตายแน่

พอตอนเพล พระองค์นั้นจะลุกมาฉันเพล พอลุกโยงโย่..หน้าประตูเท่านั้นแหละ..ถีบเลย หล่นลงมาตั้ง ๕ – ๖ เมตร ธรรมดาตรงบันไดท่านเป็นคอนกรีต ไม่ลงตรงคอนกรีต ลงโป๊ะข้างๆ

แหม...น่าตายจัง ถ้าลงตรงคอนกรีตละก็ตายเลย แต่วันนั้นไม่เป็นไร ลงไปนั่งขัดสมาธิแต้..อยู่ตรงนั้น เรื่องบวงสรวงนี่สำคัญมากนะ อย่าไปคิดว่าเราแน่ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นแหละ สำคัญมาก !!

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง เทวดาวัดท่าซุง >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/4/10 at 16:23 [ QUOTE ]


เรื่อง เทวดาวัดท่าซุง


...เคยถามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อครับ หลวงพ่อน่าจะเขียนเรื่องเทวดาที่วัดท่าซุงบ้าง ผีตรงนั้นตรงนี้บ้าง หลวงพ่อบอกเขียนไม่ได้ เดี๋ยวคนมาวัดมันกลัวกัน จะเล่าให้ฟัง

มีอยู่คราวหนึ่งเขาเขียนจดหมายไปบอกว่า พระสังฆาธิการที่ประชุมในกรุงเทพฯ จะไปพักวัดท่าซุง ๑๕๐ องค์ ๑ คืน หลวงพี่อยู่เวรครัวพอดีเลย พระตั้ง ๑๘๐ องค์ ก็ต้องเลี้ยงมาก โอ้โฮ...ก็เลยสั่งขนมถั่วดำต้มน้ำตาล เป็นถังเลย ซื้อไก่มาหมักไว้ แม่ครัวทำอย่างหนัก ที่แท้ไปสัก ๕๐ องค์ได้

เราก็สงสัยเป็นยังไง หัวหน้าพิธีกรบอก หลวงพี่ ฆราวาสยังมาวัดง่าย พระดึงมายากจริงๆ เราก็จัดให้พักห้องแถวหลังอาคารพระพินิจอักษร พระอยู่กันเป็นตับ ห้องมันเดินถึงกันตลอด หัวกะทิมาทั้งนั้นนี่

พอตกกลางคืนก็ตั้งวงคุยกัน ตั้งแต่เช้าเราก็จัดเลี้ยงอาหาร พระองค์หนึ่งมาถามว่า ท่านๆ ครับ ผีดุหรือเปล่าครับ หลวงพี่บอกว่า ถ้าทำไม่ดีก็ดุเหมือนกัน

ทีนี่เราก็ไม่รู้เรื่องอะไร ท่านก็บอกว่า เมื่อคืนครับ แหม...คุยกันประมาณสัก ๕ ทุ่มได้ มาเขย่าประตู ปึง ปึง ปึง พระอีกองค์ก็บอกว่า

เอ๊ะ...เจ้าของที่เขาจะให้นอนมั้ง แต่เอ๊ะ... เรามาพักคงไม่เป็นไร นอนคุยกันไปเถอะ ก็คุยต่อ เที่ยงคืนก็ยังไม่หลับ น้ำลายคงจะแตกคอแล้วล่ะ ได้ยินเสียงถีบประตู เปรี้ยง เปรี้ยง เปรี้ยง ถีบเลยนะ

เท่านี้เอง พระก็พระเถอะ เจ้าอาวาสก็เจ้าอาวาสเถอะ รวมกันเหมือนกัน ก็เลยไปเล่าให้หลวงพ่อฟัง หลวงพ่อบอก ตัวร้ายมันมีอยู่ ท่านก็เลยจัดการ

เทวดาที่วัดดุเหมือนกัน ท่านบอก ตั้ง ๑ พันองค์นี่ มีท่านท้าวเวหนเป็นหัวหน้า มีบางครั้งหมาจะหอนเป็นช่วงๆ หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องกลัว เทวดาเปลี่ยนเวร ที่ประชุมของท่านอยู่ตรงต้นโพธิ์ ตรงข้างหอพักนักเรียนหญิง

มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงพ่อมากรุงเทพฯ ตรงตึกเสริมศรีติดชายน้ำ ได้ยินเสียงหมาร้องในตึกเสริมศรี เหมือนกับหมาติดอยู่ในห้อง เสียงโหยหวนไปหมด พระกำลังฉันข้าว ฉันตรงหน้าตึกเสริมศรี เข้าไปดูก็ไม่มีหรอก ประตูก็เข้าทางเดียว ทางออกทางเดียว

พอหลวงพ่อกลับก็เล่าให้หลวงพ่อฟัง หลวงพ่อบอก หมาเหมอ..อะไร เปรตมันมาร้องบอกว่า พระนี่จะติดในสุขเกินไป จึงมาเตือนพระ มาเตือนสติพระ มันจะติดในรสอาหารเกินไป เสียวสันหลังเหมือนกัน อันที่จริงวัดเรานี่พูดไม่ให้กลัวนะ เทวดาแรงเหมือนกัน ถ้าร้ายจริงๆ ท่านก็จัดการขับเอง

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง บวงสรวง>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 24/4/10 at 15:35 [ QUOTE ]


เรื่อง บวงสรวง


...จะพูดเรื่องบวงสรวงเสียหน่อย ตอนหลังจะแปลงๆ กันเยอะ ไอ้ชุดเล็กนี่ต้องจำไว้เลย ชุดใหญ่ก็ต้องมีหัวหมู ๓ หัว ไก่ ๑ ตัว คนจะเข้าใจผิดว่า ชุดเล็กนี่หัวหมูหนึ่งหัว ไก่ตัวหนึ่ง

ชุดเล็กนี่หมายความว่าหมูชิ้นละสักกิโลนะ อย่างน้อยต้องครึ่งกิโลขึ้นไป หมูต้มนี่ ๓ ชิ้น ไก่ตัวหนึ่ง หากไหว้พระภูมิก็ต้องมีปลาแป๊ะซะตัวหนึ่ง แล้วก็ไอ้เครื่องบวงสรวงมันต้องมีทั้ง ๔ ทิศ บวงสรวงท้าวมหาราช

ทีนี้ก็เอ๊...มันก็ชักจะกลายกันไป ย่อกันไป หากว่าชุดใหญ่ก็ หัวหมู ๓ หัว ไก่ตัวหนึ่ง ไก่วางทิศเหนือ หัวหมูนี่เหลืออีก ๓ ทิศน่ะ เครื่องนี่ก็ต้องมีครบทั้ง ๔ ทิศ ก็มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังนะ

ไอ้คนนี้ก็มักง่าย เอากล้วยดิบไปบวงสรวง ท้าวมหาราชท่านมาต่อว่า หลวงพ่อบอก “โคตรพ่อโคตรแม่มึงกินได้ไหมวะ กล้วยดิบน่ะ เอามาบวงสรวง” เจตนาของเราก็สำคัญเหมือนกัน เทวดาท่านเป็นทิพย์ใหญ่นี่ ท่านรู้ ทำด้วยความเคารพหรือไม่

บางคนถือว่าเราเป็นพระแล้วนี่ เทวดายังต้องไหว้ ที่แท้เทวดาที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าก็เยอะนี่ อย่างท้าวมหาราชทั้ง ๔ นี่ จะไปนิมนต์พระอริยเจ้าจะไปเบ่งไม่ได้ ไอ้ตัวนี้น่ะสำคัญ ทำด้วยความเคารพก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก ไปไหว้ท่าน ท่านจะมีความเมตตา จะช่วยสงเคราะห์อะไรก็ขอให้ท่านช่วย ไม่เกินวิสัย

บางคนตั้งศาลพระภูมิก็บอกว่า เอาไว้ทิศไหนก็ได้ ขอให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่ใช่หันหน้านี่ มันเกี่ยวกับการวางศาลพระภูมิ วางตัวศาลนี่ จะหันหน้าไปทางทิศไหนก็ได้ทั้งนั้น แต่ว่าศาลต้องวางทิศเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออก

แต่ต้องระวัง อย่างตอนบวงสรวง จิตของตัวเองอย่าไปเบ่งนะ เจ้าของบ้านหรือคนทำให้ระวังตัวไว้ อย่าไปอวดเชียว อวดละ..ท่านจัดการมาหลายรายแล้วเหมือนกัน เห็นแต่พระโดนนะ คนอื่นยังไม่เห็น หกคะเมนตีลังกา หัวร้างข้างแตกก็มี

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง สมาธิ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/4/10 at 07:51 [ QUOTE ]


เรื่อง สมาธิ


...มีคำถามว่า สมาธิแบ่งออกได้หลายแบบ หลายวิธีการ แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าให้ถือกำหนดลมหายใจ บ้างก็ว่าให้คิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บ้างก็ว่าคือการมองเข้าไปในสิ่งที่เป็นอยู่จริง อยากทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว สมาธิคืออะไร และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร และจะถือหลักใดในการปฏิบัติ

เอ้อ สมาธิยกไปก่อน คุยถึงเรื่องกินก่อน คือคนกินข้าวนี่ กินข้าวก็อิ่มใช่ไหม กินก๋วยเตี๋ยวก็อิ่ม กินขนมปังก็อิ่ม กินกาแฟก็อิ่ม กินให้อิ่มเพื่อต้องการไม่ให้ร่างกายหิว ร่างกายมันหิวถึงกินใช่ไหม สมาธิก็เหมือนกัน ทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ

เพราะฉะนั้นจะจับภาพพระก็ดี จะภาวนา นะมะ พะธะ ก็ดี จะรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี เป็นอุบายอย่างหนึ่งให้จิตสงบ ฉะนั้น คนทุกคนนี่จริตไม่เหมือนกัน คือนิสัยของคนไม่เหมือนกัน บางคนก็ชอบสีเขียว บางคนก็ชอบสีแดง ใครพอใจสีไหนก็เอาสีนั้น ทีนี้การภาวนา ใครชอบอย่างใดก็เอาอย่างนั้น

พระพุทธเจ้าจึงสอนกับคนทุกคนที่มีจริตทุกจริตได้หมด ฉะนั้นถึงแยกแยะการภาวนาให้ตรงกับนิสัยกับจริตของคน ภาวนาแบบไหนก็ไม่ผิด ขอให้จิตเป็นสมาธิก็แล้วกัน ถ้าภาวนาแบบไหนถ้าไม่มีสมาธิก็แสดงว่าผิดแล้ว

ผิดทางเพราะสมาธินี่มีแค่ขณิกสมาธิ นี่จิตก็เริ่มสุขแล้ว ถ้าภาวนาไปจิตฟุ้งซ่านต้องหยุดหรือเครียดต้องหยุด แสดงว่าผิดทาง แค่เข้าไปถึงประตูนี่มันยังไม่เข้าทาง เข้าไปชิมหน่อยเดียวมันยังไม่สุข นี่แสดงว่าผิดแล้ว ผิดทาง ต้องหยุด กลับมาตั้งหลักใหม่

อย่างอานาปานุสสติ อย่างนี้เป็นต้น อานาปาฯ คือรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ลมหายใจนะ แต่เรากลัวมันจะไม่รู้ เอ๊ะ มันไม่รู้สักทีวะ สูดซะแรงๆ บางทีก็เกร็งลม คือรินลมน่ะ กลัวลมจะออกไม่เป็นธรรมชาติ รินออกรินเข้า เหนักเข้าเหนื่อย เหนื่อยก็เครียด แสดงว่าผิดแล้ว พระพุทธเจ้าให้รู้ลมหายใจเข้าออกเฉยๆ หรือภาวนาควบไปด้วย

แต่คนเราถ้าฝึกใหม่ๆ คล้ายกับมันจะแน่นหน้าอกไปหมด ตึงประสาทไปหมด แสดงว่าผิด ค่อยๆ รู้เข้ารู้ออกก่อน หยาบสุดต้องรู้เข้ารู้ออกเฉยๆ ก่อน ถ้าต่อไปถึงจะรู้อ้อ มันเข้าไปถึงไหนแล้ว มันออกไปถึงไหนแล้ว ต่อไปมันจะรู้ มันเข้าไปถึงนั่นมันละเอียด อ้อ เห็นสายลมแล้ว จิตก็จะเริ่มเบา จิตก็จะสุขขึ้น สุขแสดงว่าถูกทางแล้ว ถ้าเครียดต้องหยุด

การปฏิบัติธรรมนี่จะยากอยู่ช่วงสมาธิต้นๆ เท่านั้นเอง ฉะนั้นที่ถามว่า ภาวนาอย่างไร อะไรอย่างไร คือว่าให้พอกับจริตของคน ใครชอบอย่างไรให้เอาอย่างนั้นนะ หลวงพ่อสอนนะ แต่สำนักบางสำนักอื่นเขาสอนให้ภาวนาพุทโธก็ดี หรือภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ก็ภาวนาก็ไม่ผิด

แต่ว่ามันเหมือนกับอะไรล่ะ อย่างวัดท่าซุง หรือหลวงพ่อของเรานี่มีแกง ๔๐ หม้อ เลือกกินเอา แต่วัดอื่นมีแกงหม้อเดียว เราจะเลือกกินเอาร้านไหนก็แล้วแต่ กินอิ่มเหมือนกันนี่ แต่เราไปเลือกเอา กรรมฐานคือกรรมฐาน ๔๐ ข้อ ชอบใจตัวไหนก็เอา

“เอาเป็นว่าตอบข้อหนึ่ง ก็คือ สมาธิคืออุบาย เครื่องสงบใจ ทำให้ให้สงบ ควรจะปฏิบัติอย่างไร ก็บอกว่ากรรมฐาน ๔๐ น่ะ ไปเลือกเอาเถอะ ทีนี้เขาถามว่า แล้วจะยึดหลักใดในการปฏิบัติ หรือว่าต้องให้ไปอ่านกรรมฐาน ๔๐ เสียก่อน แล้วค่อยมาคุยกันใหม่”

คือพื้นฐานจริงๆ แล้วนี่ท่านให้เอาอานาปาฯ เป็นหลักไว้ อานาปาฯ นี่เป็นต้น ตัวนี้ทำให้สงบง่ายขึ้น ถ้าได้ตัวนี้แล้วตัวอื่นจะง่ายขึ้น อานาปาฯ นี่เป็นกรรมฐานที่ละเอียด แล้วก็เป็นหลักใหญ่ ถ้าจับกสิณแล้วอานาปาฯ ไม่ทรง ก็จะทรงตัวยาก ถ้าได้อานาปาฯ เสียแล้ว ตัวอื่นจะง่ายหมด

ไอ้ตัวอานาปาฯ มันตัวลบคลื่น จะจับกสิณสีแดงก็ต้องมาลงที่ศูนย์อานาปาฯ นี่ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว สีอะไรได้ อานาปาฯ คล่องเสียมันก็เปลี่ยนง่าย อานาปาฯ คือลบอารมณ์ฟุ้งซ่าน

“ทีนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยปรารภว่า ในกรรมฐาน ๔๐ หรือว่า ถ้ารวมมหาสติปัฏฐานสูตรเป็น ๔๑ นี่ เป็นกรรมฐานพิจารณาเสียตั้ง ๒๙ เป็นกรรมฐานภาวนาแค่ ๑๑ คือ อานาปาฯ กับกสิณ ๑๐ เป็นกรรมฐานภาวนา

ในขณะที่อื่นๆ นี่ ไม่ว่าจะเป็นอนุสสติก็ดี จะเป็นพรหมวิหาร ๔ จะเป็นอะไรก็ตามแต่เถิด เป็นกรรมฐานพิจารณา ทีนี้แม้แต่กรรมฐานพิจารณาก็ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯ ใช่ไหมครับ หรือว่าอย่างไรครับ”

ใช่ๆ ท่านบอกว่าถ้าไม่มีอานาปาฯ อย่างอื่นไม่ทรงตัว

“อย่างเช่นว่าจะเอาตัวเมตตาเป็นบทกรรมฐานอย่างนี้ จะพิจารณาเมตตาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯ เสียก่อน พอกำลังใจนิ่งดีแล้ว ทีนี้ก็จะพิจารณาได้ทะลุปรุโปร่งใช่ไหมครับ”

แต่บางอย่างท่านก็ให้คิดพิจารณาเสียก่อน พิจารณาจนจิตเย็นแล้ว อ่อนดีแล้ว อย่างเช่นหลวงปู่ปานสอนให้หลวงพ่อใช่ไหม หลวงพ่อชอบอิทธิฤทธิ์นี่ ชอบฤทธิ์ชอบเดช โอ๊ย...แกจะให้มีอภิญญาทรงตัวแกต้องพิจารณาเสียก่อนว่า

เออ...ร่างกายนี่มันไม่เที่ยงนะ มันต้องตายนะ พิจารณาให้จิตยอมรับ หลวงพ่อก็เออ... จะให้มีฤทธิ์มีเดชใช่ไหม ก็ต้องพิจารณาตรงนี้ ที่แท้หลวงปู่ปานสอนวิปัสสนาญาณให้เสียจนชุ่มหมดแล้ว พอสมาธิทรงตัวมันก็ง่าย หลวงปู่ปานฉลาดกว่าหลวงพ่อ

“เอ๊ะ แต่ได้ข่าวว่าท่านพระครูปลัดฯ ท่านเจ้าอาวาสนี่ท่านก็ชอบฤทธิ์ชอบเดชอยู่ไม่ใช่หรือครับ”

ชอบ...โอ้โห ชอบจังเลย ชอบจนเขี้ยวเหี้ยนหมดเลย ไม่ได้สักอย่าง มันเป็นบุพกรรมต้องชอบสุกขวิปัสสโก คือตัวเองมันเกี่ยวกับกลัวจะตายเสียก่อน กลัวจะไม่ได้อะไรสักอย่างเลย

คือมันเป็นคนคิดมากอยู่อย่างว่า ไอ้ที่เรารู้มันจริงหรือเปล่า บางทีมันก็จริงมั่ง บางทีก็ไม่จริงมั่ง เราก็ เอ๊..มันจะเสียเวลาเสียแล้ว

“ชักจะมีมรณานุสสติ ว่าอย่างนั้นเถอะ”

ใช่ กลัวจะเสียเวลาเกินไป สอง กลัวเราจะเสียพระเสียก่อน เลยต้องตัดออกไปให้หมด

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง คนไม่ดี >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/5/10 at 11:12 [ QUOTE ]


เรื่อง คนไม่ดี


...มันมีอยู่ข้อหนึ่งที่อ่านแล้วยังไม่เชื่อหลวงพ่อ มาตีตั้งนาน หลวงพ่อบอกว่าถ้าเราดีเสียแล้วนี่ ไม่เห็นคนอื่นชั่ว ไอ้เราก็นึกในใจค้าน ไอ้คนนี้มันปล้นเขามา มันโกงเขามา มันก็ชั่วอยู่แล้วนี่ แล้วทำไมหลวงพ่อว่า

ถ้าเราดีเสียอย่างไม่เห็นคนอื่นชั่ว ก็มันชั่วเห็นๆ อยู่แล้วนี่ เราก็เห็นๆ มันโกงเขานี่ ศีลก็ไม่มี ลักขโมยก็เป็น มันไม่เห็นดีเลย จะว่าดียังไง ก็มาเถียงหลวงพ่อในใจว่า เอ๊ มันเป็นยังไง เราก็มาอ่านด้วย แล้วก็ทำสมาธิไปด้วยว่า ไอ้ที่ท่านพูดน่ะมันเป็นยังไง ต้องอ่านทีละตัวเลยนะ ต้องให้มันรู้เลย

ท่านก็สรุปบอกว่า ถ้าเราดีเสียแล้วนี่ สมมุติว่าเราดีนี่ เราก็รู้ว่าไอ้นี้ที่มันทำชั่วนี่มันกรรมอะไรของมันมาให้ผล ถ้าเราดีก็มีฌาน มีญาณใช่ไหม มีสมาธิ เอ้อ ไอ้นี่มันกรรมของมัน มันทำชั่วเพราะอกุศลกรรมในชาติก่อนมา จะไปโกรธมันไม่ได้หรอก มันไม่อยากจะทำชั่วหรอก

อกุศลกรรมมันให้ผล อภัยทานมันก็ปรากฏ มันก็ไม่โกรธ แต่เราไม่ถึงนั่นนี่ เราไม่ถึงดีมันถึงโกรธ ไอ้ตัวนี้กว่าจะยอมรับได้ โอ้โฮ เถียงในใจกับหลวงพ่อเสียนาน พอปัญญามันไม่ยอมรับ มันก็ฟุ้งปรุงแต่งไปเรื่อยนะ ทีนี้ต้องผิดแน่หลวงพ่อ หลวงพ่อต้องผิด เราต้องถูก ทำไม มันโกงเขาไปว่ามันดี เราต้องรู้บุพกรรม

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง พระวินัย >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/5/10 at 07:27 [ QUOTE ]


เรื่อง พระวินัย


...ท่านพูดอยู่ตอน ท่านบอกว่า “ถึงแม้ว่าข้าตายไปแล้วนี่ ไอ้พวกอยู่เบื้องหลังนี่ ถ้าทำความเลวอย่านึกว่าลอยนวลอยู่ได้นะ ข้าจะต้องจัดการมันทุกคนที่มันทำความชั่วอยู่ในวัด”

โอ้..เอาจริง ท่านพูดไว้นี่ในพระวินัยปี ๒๕๑๗ เพราะว่าสร้างวัดมาด้วยความเหนื่อยยาก เขาบอกคนเรานี่ ถ้าอยู่วัดนี่ต้องให้วัดอาศัยบ้าง ไม่ใช่อาศัยวัดอย่างเดียว ไม่ใช่ว่าไอ้นู่นจะพัง ไอ้นี่จะผุ ก็ไม่ได้ดูไม่ได้กวาดอะไรอย่างนี้ เพราะวัดต้องอาศัยพระเหมือนกัน

“ที่ท่านพระครูพูดเมื่อกี้นี้ หมายถึงว่าท่านพูดในหมวดพระวินัยหรือครับ”

พระวินัย ท่านสอนพระวินัยตอนเย็นๆ ท่านอัดเทปน่ะ โอ้โฮ...ที่นั่นเปิดไม่ได้ เปิดแล้วสั่นไปหมดนะ ฉันข้าวกันดังจ้วบๆๆ มีเสียงดังหน่อยนะ ฉันข้าวเสียงดังอย่างนี้เขาเรียกว่าสัตว์เดรัจฉานมันกิน ดังซวบๆๆ พระเขาต้องมีพระวินัยดูแล ไม่ซูดไม่ซวบอะไรอย่างนี้

ท่านพูดเปรียบสัตว์เดรัจฉานเลย คนได้ยินตกใจ โอ้โฮ...หลวงพ่อทำไมเอารุนแรงจังเลย เทปชุดนั้นเปิดไม่ได้หรอก เปิดแล้วสั่นไปหมดละ แต่ถ้าหนังด้านก็ไม่เป็นไรนะ ถ้าหนังบางๆ ก็สั่น

เขาบอกว่า ทำอะไรอย่าให้ลงเทปได้ ถ้าลงเทปละเปิดวันละ ๑ เวลาใช่ไหม พอถึงเปิดประจาน แปล๊บ...เอากูอีกแล้ว ถ้าลงบันทึกเทปเมื่อไรละเอาแล้ว

เกี่ยวกับพระวินัยระเบียบของวัดนี่ เราไม่อยากจะเปิดฟังให้แทงใจเราบ่อยๆ

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ปวารณาออกพรรษา>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 14/5/10 at 09:09 [ QUOTE ]


เรื่อง ปวารณาออกพรรษา


...บางคนก็ยังไม่รู้ว่า พระนี่เขาออกพรรษากันอย่างไร เพราะถ้าไม่บวช บางทีก็ไม่รู้ใช่ไหม พระท่านออกพรรษานี่เขาเรียกว่า ปวารณาออกพรรษา แต่จริงๆ แล้วนี่ การออกพรรษาพระเขาปวารณาตัวกัน ตามสมัยพุทธกาล พระนี่เข้าพรรษาจะอยู่รวมกัน ออกพรรษาแล้วจะแยกกันไป

ก็บอกว่า ถ้าเห็นผมอยู่ที่ไหน อาวุโสมากกว่าก็ดี อ่อนอาวุโสก็ดี ถ้าเห็นผมอยู่ที่ไหนทำตัวไม่เหมาะสมแล้ว ขอให้ท่านช่วยตักเตือนผมด้วย เพราะเราต่างคนต่างจากครูบาอาจารย์ไปหาที่วิเวก หาที่สงบสงัด ถ้าทำตัวไม่เหมาะสมขอให้ช่วยตักเตือนซึ่งกันและกัน เขาเรียกว่าปวารณา ปวารณาตัวกัน ตักเตือนกันได้

ความจริงพระวินัยท่านละเอียดอ่อน อันที่จริงพระเขาปกครองกันด้วยพระวินัย ไม่ใช่ปกครองกันด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ถือพรรษา ถือระเบียบวินัยเป็นที่ตั้ง

ถ้าอย่างพระผู้ใหญ่นั่งอยู่ เข้าไปถึงก็ไปปิดพัดลมเป๊ะๆๆ ไม่ได้ ต้องขออนุญาตก่อน ตามจริงๆนะ ตามพระวินัยเขาจริงๆ แต่บางทีก็รูดพระวินัยเสียก็เยอะ

มีพระท่านมาเล่าให้ฟัง บอกว่า สมัยหลวงพ่อยังอยู่ก็ไปกราบเรียนถามท่านว่า บางทีนี่มันคิดอกุศล คิดด่าครูบาอาจารย์ในใจ อยู่ใกล้ก็เร่าร้อน ก็ไปถามหลวงพ่อ พอจะกราบพระก็ด่าพระพุทธเจ้า ด่าในจิต ห้ามก็ไม่อยู่ เจอครูบาอาจารย์ก็ด่าในจิตอยู่เรื่อย

ไปกราบเรียนถามกลัวจะเป็นบาป เป็นโทษหนัก หลวงพ่อก็บอกว่า กิเลสมารน่ะ ทีแรกมันเอากายก่อน ถ้ากายจะให้ด่ามันไม่ด่า กายให้ฆ่า มันไม่ฆ่า เพราะว่าจิตมันแข็งอยู่ ทีนี้กายมันเอาไม่ไหวก็เอาใจละไปคุมใจ มันสอนใจ บังคับจิต ทีนี้เราก็ดิ้นสิ จิตเราไม่อยากจะทำชั่ว มันดิ้น อึดอัด กลัวจะบาป ท่านบอกถ้ามันละเอียดขึ้นมันจะไม่เอาตัวนี้ ไปเอาจิต จิตมันละเอียดขึ้น

เพราะก่อนนี้ถ้าบังคับให้กายฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมันก็เอาแล้วใช่ไหม ทำ แต่ตอนนี้มันไม่ทำแล้ว มันก็ไปเอาจิต ตัวนี้ต้องถือว่ามันเป็นกิเลสมาร ก็ต้องภาวนาไปเรื่อย เดี๋ยวมันก็หาย ต้องมีความอดทนพอ

เราอย่าไปทำตามมันเท่านั้นเอง ถ้าจิตละเอียดมันจะเอา พระนี่ถ้าถึงจุดนี้ละต้องระวัง ต้องคุยกัน ถ้ามันเอาจริงมันกลุ้มนี่ สึกแล้วมันก็หาย เพราะกิเลสทางโลกเข้ามาคุมเต็มที่แล้วนี่ ไปอยู่เป็นพวกกันเสียแล้ว

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง ผ้ายันต์กันเพลี้ยกระโดด>>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 19/5/10 at 14:32 [ QUOTE ]


เรื่อง ผ้ายันต์กันเพลี้ยกระโดด


...มีเรื่องอยู่เรื่องคือ ที่พิเศษออกมาก็คือ "ยันต์" จริงๆ นี่สมัยหลวงพ่อท่านมีชีวิตอยู่นี่เกิดเรียกว่า เพลี้ย เพลี้ยกระโดด เคยได้ยินไหม เพลี้ยสีน้ำตาลมันกินข้าวเป็นแสนๆ ล้านๆ ไร่เลย ชาวนาจนช่วงนั้นนี่ คือหลวงพ่อก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร

ท่านบอกว่า “นันต์ แกลองบอกกับชาวบ้านเขาซิ (ให้ว่าคาถาตัวไหนก็ไม่รู้) ให้เขียนเป็นแถวแล้วไปปักที่กลางนา” เราก็จำไม่ได้ ไม่ค่อยได้สนใจมาก พอคุยปุ๊บท่านก็เข้าห้องน้ำ ท่านอยู่ในห้องน้ำท่านก็บอก

“เฮ้ย...นันต์ ที่พูดนั่นท่านเจ้าของคาถาเขามาเลย ท้าวมหาพรหมมาบอก เขียนแค่นั้นไม่พอนะ ต้องเต็มตัวเลย เขียนว่า พรหมมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ”

ตอนนั้นท่านก็ยังไม่ได้ทำนี่ เราก็ให้พระที่อื่นทำ พระที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อที่เคารพกันอยู่ ทำแล้วก็เกิดมีผลเข้า มีผลชาวบ้านเขาบอก เออ... ดี ไปปักที่นาแล้ว เพลี้ยทีนี้ไม่เข้าก็จริง แต่เรามาดูคาถาที่แปลแล้วเป็น คาถาปัดอุปสรรค

เราก็เอ๊ะ... มาถึงตาเรานี่มาถาม ปรึกษากับพระบอก เอ๊ะ ตัวนี้นี่หลวงพ่อให้ทำแต่เราไม่ได้ทำสมัยแต่ก่อน ท่านไม่ได้บอกให้เราทำ แต่ให้คนอื่นทำดู ไปเขียนคาถา คาถาปัดอุปสรรคอะไรอย่างนี้

เราก็ เอ๊ะ... ลองปรึกษากับพระ ไปปั๊มทีซิจะทำเสาร์ห้าด้วย ทีนี้ก็เกิดทำเข้ามาแล้วก็ เราไม่รู้ผลจะเป็นอย่างไรนะ ใช่ไหม

พระชัยวัฒน์นี่พอทำ "วันเสาร์ห้า" เสร็จก็ไปอะไรนะ ไปเขาคิชฌกูฏ ที่จันทบุรีเลย เราก็ไม่รู้ผลว่าเป็นอย่างไร เพิ่งทำมาได้ไม่กี่วันนี่

ท่านชัยวัฒน์เขามาเล่าให้ฟัง บอกไอ้ปั๊มน้ำมันนี่ เขาเอายันต์นี่ไปให้ เขาก็บอก เอ๊ะ...แปลกใจจังเลย คนเข้าปั๊มเต็มเลย เราบอกค่อยๆ พูดนะ เดี๋ยวจะหาโฆษณานี่ เดี๋ยวจะไปกันใหญ่

แต่เป็นคาถากันอุปสรรค กันเสนียดจัญไร อะไรอย่างนี้ กันอุปสรรค แต่ที่แปลดูคาถามมหาลาภนี่ จะเป็นกันอุปสรรค กันอุปสรรคทั้งหลาย

“หรือจะเป็นอุปสรรคหมดไปแล้ว ลาภก็เลยเข้ามา”

คงจะเป็นอย่างนั้น อุปสรรคคือสิ่งที่ไม่ถูกใจ ใช่ไหม

“นี่จะเอาสักผืนแล้ว มีมาหรือยังครับ”

มีอยู่ ๓ พัน เขาทำไว้ ๓ หรือ ๔ พันเท่านั้น ปั๊มไม่ทัน จะมีหรือเปล่า มีมั้ง ท่านบอกปักกลางนา ทำเป็นธงนะ เป็นธงไปปัก ก่อนปักนั้นให้ชุมนุมเทวดาด้วย "สัคเค" ใคร "สัคเค" ไม่เป็นก็ไปหัดท่องให้ได้

"สัคเค" อธิษฐานขอให้ธงนี้ป้องกันอุปสรรคทั้งหลายอะไรนี่ คือไปปักที่กลางนาก็มีผลนี่ มีผลมาแล้วพวกลองดูน่ะ เราไม่มีนาก็ปักที่บ้านได้ กันอุปสรรคได้

“หรือไม่ก็เอาไว้ในกระเป๋าสตางค์”

เอาไว้กระเป๋าสตางค์ได้

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง เห็นหลวงพ่อในโบสถ์ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 31/5/10 at 08:27 [ QUOTE ]


เรื่อง เห็นหลวงพ่อในโบสถ์


“...วันที่หลวงพี่เห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อในโบสถ์ ตอนที่ทำพิธีพุทธาภิเษกน่ะ จิตหลวงพี่เป็นอย่างไรครับ”

เรื่องนี้มันเรื่องพุทธานุภาพนะ หรือสังฆานุภาพ ไม่ใช่ว่าจิตเราดี เรื่องท่านจะให้เห็นน่ะ เรื่องของพระท่าน ท่านจะให้เห็น ถ้าจะเห็นเองมันเกินวิสัยของเรา มันอยู่ที่ท่าน อย่างเรามองดูตัวเองแล้วไม่เห็นความดีสักที ถ้าท่านจะให้เห็นก็เห็น

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง สร้างพระแจกผู้มาทำบุญ >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/6/10 at 08:11 [ QUOTE ]


เรื่อง สร้างพระแจกผู้มาทำบุญ


...ขณะนี้หลวงพ่อได้มรณภาพลง วัตถุมงคลที่หลวงพ่อได้สร้างไว้นั้น ก็มีจำนวนเหลือน้อยลง และหลวงพ่อก็ได้สั่งให้ขึ้นราคาตามที่เราทราบกันแล้วว่า เมื่อทำบุญ ๑๐๐ วันแล้ว จะมีราคาถึง ๑๖ เท่าตัว

ที่ขึ้นราคาวัตถุมงคลนั้น พวกเราทำตามหลวงพ่อสั่งเมื่อครั้งท่านมีชีวิตอยู่ พวกเราที่เป็นลูกศิษย์จึงต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด แต่พวกเราก็มาวิตกกันว่า เราไม่มีของแจกผู้ที่มีศรัทธามาทำบุญเลย ฉะนั้นเราจึงมาดำริว่า เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกของแล้ว ท่านจะพูดว่า

“แม้ อิฐ หิน ดิน ทราย เมื่อนำมาเข้าพิธีแล้ว จะมีผล พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ และสังฆานุภาพ เหมือนกันหมด”

ฉะนั้น คณะกรรมการสงฆ์จึงตกลงกันว่า เราจะเองผงทั้งหมดที่มีอยู่ คือ

๑. ผงดินสอพองปลุกเสกครบ ๓ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ผงนี้ปลุกครบไตรมาส ท่านพูดว่า “ตอ่ไปจะไม่มีเวลาทำครบไตรมาสอีกแล้ว (เราเข้าใจว่าจะพิเศษสุด)”

๒. ผงที่ปลุกเสกในพระอุโบสถทุกครั้ง
๓. ผงปลุกเสกพระคำข้าว รุ่น ๑, รุ่น ๒, รุ่น ๓ รวมกัน
๔.น้ำมันชาตรี
๕.เกศาหลวงพ่อ

ฉะนั้นอาตมาจะนำวัตถุมงคลที่แจ้งนี้มาทำพระแจกญาติโยม เพราะหลวงพ่อของเราได้ทำไว้แล้วจะมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว

ฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ญาติโยมทราบว่า อาตมาไม่ได้ทำของแข่งกับหลวงพ่อของเรา แต่อาตมาเอาของที่ท่านทำแล้ว มาทำเป็นองค์พระแจกผู้มาทำบุญ

ที่อาตมาทำขึ้นมานี้ เพราะอาตมาไม่กล้าเอาของที่หลวงพ่อตั้งราคาไว้สูง คือหลัง ๑๐๐ วันไปแล้ว ของที่ราคาเดิมองค์ละ ๑๐๐ บาท จะขึ้นมีราคาถึง ๑,๖๐๐ บาท อาตมาจึงจำเป็นต้องสร้างพระรุ่นนี้มาแจกผู้มาทำบุญ

จึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

เรื่องผงปลุกเสกนี้มีเรื่องที่ท่านเล่าอีกเรื่องหนึ่ง คือ พระอธิการรูปหนึ่งซึ่งเคารพหลวงพ่อมาก มาขอผลปลุกเสกของท่านไปสร้างพระ หลวงพ่อก็อนุญาต หลวงพี่วิรัชก็เตรียมผงที่จะให้ไปประมาณ ๑ บาตรพระ

แต่ก่อนจะให้ไป ท่านเข้าไปถามหลวงพ่อว่า จะให้มากน้อยแค่ไหน หลวงพ่อทำมือให้ดู โดยรวบนิ้วทั้ง ๕ เข้ามาหากัน เหลือขนาดเท่าลูกมะนาวเท่านั้นเอง

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง การขึ้นราคาวัตถุมงคลของวัดท่าซุง >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 14/6/10 at 11:56 [ QUOTE ]


เรื่อง การขึ้นราคาวัตถุมงคลของวัดท่าซุง


...การขึ้นราคาวัตถุมงคลของทางวัด ได้ทำไปตามวัตถุประสงค์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีคำสั่งไว้กับ พระสมุห์บัญชา พระปลัดวิรัช และ พระใบฎีกาประทีป (และพระปลัดวิรัชได้นำคำสั่งนี้แจ้งไว้ให้พระกรรมการสงฆ์ฝ่ายการเงินรับทราบไว้แล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว) หลวงพ่อมีคำสั่งว่า

“เรื่องวัตถุมงคลนั้น ถ้าข้าตายไปนะ ให้แกเอาอย่างหลวงปู่จง ตอนท่านอยู่ ของก็ดูไม่มีราคา พอท่านมรณภาพ ของจาก ๑๐ บาทขึ้นเป็น ๑๐๐ บาท พอทำบุญครบ ๗, ๕๐, ๑๐๐ วัน ก็ขึ้นทีละเท่าตัว อย่างหลวงพ่อปาน ตอนมีชีวิตอยู่แจกพระฟรีๆ บางคนได้เป็นกระปุกเก็บไว้เยอะแยะ พอท่านมรณภาพมากันเป็นแถว ข้าบอกคราวนี้ไม่ฟรีแล้ว ต้องเสียเงินจึงจะได้”

หลวงพ่อจึงสั่งพระปลัดวิรัชว่า

“แป๊ะ..ถ้าข้าตายไป เอาอย่างหลวงพ่อจง พอข้าตาย ของ ๑๐๐ บาทขึ้นเป็น ๒๐๐ บาททันที พอทำบุญครบรอบ ๗ วันขึ้นอีกเท่าตัว พอทำบุญครบ ๕๐ วันขึ้นอีกเท่าตัว พอทำบุญครบ ๑๐๐ วันขึ้นอีกเท่าตัว และให้ทรงราคาไว้แค่นั้น จำไว้นะ ถ้าข้าตายแกต้องทำอย่างนี้”

หลวงพ่อพูดย้ำเช่นนี้กับพระปลัดวิรัชอีกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๓

ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อมรณภาพลง เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ อาตมาและคณะกรรมการสงฆ์ ได้มีความเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามคำสั่งหลวงพ่อ

การที่หลวงพ่อมีคำสั่งให้กระทำเช่นนี้เพราะ

๑.ประการแรก ป้องกันไม่ให้คนเช่าไปกักตุนไว้คนละมากๆ

๒.ประการที่สอง วัตถุมงคลเหล่านี้มีคุณค่ามาก จำนวนก็เหลือน้อยลงเรื่อยๆ ต่อไปเราจะไม่สามารถหามาได้อีกแล้ว อย่างเช่น “น้ำมันชาตรี” หลวงพ่อเคยพูดว่า “ในชีวิตของข้า อาจมีโอกาสทำได้แค่หนเดียวเท่านั้น เพราะเป็นของทำได้ยาก”

เมื่อหลวงพ่อได้จากพวกเราไปแล้ว วัตถุมงคลที่เหลืออยู่ ก็นำออกมา และกำหนดราคาตามคำสั่งหลวงพ่อ เมื่อญาติโยมพุทธบริษัทได้บูชากันไป

ทางวัดก็จะนำปัจจัยเหล่านี้ไปใช้จ่ายในการก่อสร้างที่หลวงพ่อทำค้างไว้ทั้งหมด รวมทั้งซ่อมแซมจุดต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมลง ตลอดจนใช้ในการทำนุบำรุงวัดและใช้จ่ายในกิจการต่างๆ ของวัดตามความเหมาะสม

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ตอนพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเริ่มแจกพระคำข้าวนั้น ท่านบอกไว้ด้วยว่า ให้รักษาไว้ให้ดี ต่อไปพระนี้จะมีราคาเป็นแสน สมเด็จองค์ปฐมรุ่นที่ ๑ ขณะนี้ราคาที่มีคนมาบูชาจากผู้ที่มีพระแต่อยากได้เงินมาทำบุญกับวัด ในราคาองค์ละ ๑๖๐,๐๐๐ บาท

<<< โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง คำสั่งฝังใจ (ตอนจบ) >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 22/6/10 at 09:46 [ QUOTE ]


เรื่อง คำสั่งฝังใจ


“...พ่อมีความรื่นเริง มีกำลังกายกำลังใจทำได้ทุกอย่าง ก็เพราะลูกทุกคนของพ่อเป็นคนดี อยู่ในโอวาทขององค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นลูกทุกคนจึงเป็นที่รักของพ่อ ใครเขาจะเกลียด ใครเขาจะชังลูก เป็นเรื่องของเขา

แต่ว่าพ่อรักลูกทุกคนเสมอกัน ต้องการอย่างเดียวคือ จะนำทางให้ลูกพ้นทุกข์ เข้าไปหาแดนความสุขที่ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่มีความหนักใจแม้แต่นิดเดียว นั่นคือ พระนิพพาน ความสุขรื่นเริงใจจริงๆ ของพ่อก็คือ

๑.ถ้าเห็นลูกรักทั้งหมดของพ่อมีจิตเมตตาปรานี ปรารถนาสงเคราะห์คนและสัตว์ให้มีความสุข

๒.เห็นลูกบริบูรณ์ไปด้วยศีลาจารวัตร

๓.ลูกของพ่อรู้จักตัดนิวรณ์ ๕ ประการ

๔.ลูกมีกำลังจิตเข้าประหัตประหาร สร้างสังขารุเปกขาญาณให้เกิด

เพราะความดีของลูกของพ่อทุกคน ทั้งลูกหญิงลูกชาย ตลอดจนกระทั่งลูกที่เป็นพระและเณร เป็นคนดีทั้งหมด ภาระทุกอย่างที่พ่อหนักอยู่ เป็นอันว่าทุกคนก็ช่วยกันแบกและแบกจนกระทั่งพ่อคาดไม่ถึง

เป็นอันว่า ความดีของลูกมันเกินกว่าที่พ่อจะพรรณนาถึงความดี คำว่า เหนื่อยเพื่อลูกจึงไม่มีสำหรับพ่อ มันเหนือความเหนื่อย และเหนือความเบื่อหน่ายของพ่อ ถึงแม้พ่อจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็ตาม ไม่มีความสำคัญ

เพราะว่าพ่อเห็นว่าชีวิตของพ่อไม่มีความสำคัญไปกว่าความดีของลูก ลูกของพ่อทุกคนมีความดีเกินไปกว่าที่พ่อจะห่วงใยในชีวิตของพ่อ ทั้งนี้เพราะว่าลูกของพ่อดีกว่าที่พ่อคิดไว้ว่าลูกจะพึงดี

ลูกทุกคนรักพ่อ ลูกทุกคนยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อพ่อ ลูกทุกคนพยายามสละผลประโยชน์ทุกอย่างเพื่อพ่อ พ่อเห็นใจลูกที่ทิ้งการงานทุกอย่าง ยอมเสียสละทุกอย่าง มาทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ และมีน้ำใจเสมอด้วยน้ำใจของพ่อ ความดีของลูกอย่างนี้ เป็นปัจจัยให้พ่อรักลูกทุกคนยิ่งกว่าชีวิตของพ่อ

ฉะนั้น ขอบรรดาลูกทุกคน จงรักษาความดีของลูกไว้ เหมือนเกลือรักษาความเค็ม ชีวิตและร่างการของพ่อไม่มีความสำคัญ ถ้าห่วงมันมากเท่าไร ประโยชน์ที่ลูกจะพึงได้ก็จะน้อยไปเท่านั้น เพราะวันเวลาที่เราพึงจะต้องตายเราห้ามมันไม่ได้ มันมีเวลาแน่นอน พ่อไม่อยากจะจากลูกไป พ่อรักลูกทุกคนมาก พ่อสงสารลูกทุกคน เห็นน้ำใจของลูก แต่ลูกรัก ขันธ์ ๕ พ่อห้ามไม่ได้

ฉะนั้น สิ่งใดก็ตามถ้าเป็นประโยชน์แก่ลูก พ่อจะทำทุกอย่างเพื่อลูกของพ่อ และพ่อจะไม่ห่วงใยอาลัยในชีวิตของพ่อ ถึงแม้ว่าเลือดและเนื้อของพ่อจะเหือดแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์ของพ่อจะสลายไปก็ตาม พ่อทำทุกอย่างได้เพื่อลูก

ชีวิตของพ่อ พ่อไม่แน่ใจนักว่าจะอยู่ไปนานหรือไม่นาน สังขารมันแย่อยู่แล้ว มันคอยจะตายอยู่แล้ว พ่อไม่มั่นใจว่าชีวิตของพ่อจะอยู่นานสักเท่าใด

ฉะนั้นขอลูกรักของพ่อทุกคน คำสอนอันใดที่พ่อให้ไว้กับลูก ลูกจงถือคำสอนนั้นนั่นแหละคือพ่อของเจ้า สำหรับร่างกายของพ่อนี้เล่า ลูกอย่าถือมากเกินไป เพราะชีวิตและร่างกายเกิดแล้วก็ตาย

พ่อเห็นว่าชีวิตไม่สำคัญ ความสำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือว่าทำอย่างไรเราจะทำให้ไทยเป็นไทตลอดไป การลงทุนทำงานสาธารณประโยชน์และงานด้านธรรมะ พ่อทำด้วยมือเปล่า พ่อไม่ได้สะสมเงินทองอย่างเขาทั้งหลาย ที่เขาลือกันว่าพระมีเงิน ๑๐ ล้าน ๒๐ ล้าน นั่นไม่ใช่พ่อ พ่อมีแต่หนี้

และลูกของพ่อก็เป็นคนดี ส่งเสริมสงเคราะห์พ่อทั้งๆ ที่เงินทองของลูกก็ไม่ค่อยจะมีกันนัก เราไม่ใช่คนรวย ไม่ใช่มหาเศรษฐี แต่เพราะอาศัยกำลังดีของลูก พ่อชื่นใจ พ่อสบายใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกชายลูกหญิงของพ่อ เวลานี้ได้อภิญญาสมาบัติกันหมดแล้ว พ่อต้องถือว่าหมด เพราะคนที่อยู่ในช่วงใกล้ไม่มีใครไม่ได้ ลูกต้องถือว่าอภิญญาสมาบัติที่พ่อให้ลูกไว้ เป็นสมบัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานมา

ถ้าพ่อตายลงเมื่อไร ขอลูกจงถือว่าอภิญญาสมาบัตินี่แหละ คือชีวิตของพ่อ ที่อยู่กับกายกับใจของลูกตลอดเวลา คิดถึงพ่อคราวไร จงคิดถึงอภิญญาสมาบัติที่ลูกได้ และลูกก็จงภูมิใจว่าลูกอยู่กับพ่อตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก

ฉะนั้น ขอบรรดาลูกรักทั้งหลาย จงรักษาความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ งานใดที่พ่อนำลูกทั้งหลายทำ งานทั้งหลายเหล่านั้น ขอลูกรักทั้งหมดจงรักษางานนั้นไว้ด้วยหัวใจของลูกเอง คือรักษาไว้ด้วยชีวิต เพราะงานสาธารณประโยชน์เป็นกิจอันหนึ่งที่ทำให้คนไทยรวมตัวกัน มีความรัก มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน และทุกคนก็จะมีความสุข

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พ่อไว้ พ่อถ่ายทอดให้แก่ลูก ทรัพย์สมบัติทั้งหมดนี้ขอลูกจงถือว่านั่นคือตัวแทนของพ่อ

ขอลูกรักของพ่อทุกคน จงทรงธรรมนั้นไว้จนกว่าจะเข้านิพพานในชาตินี้ เพราะว่าชีวิตของพ่อนี่ พ่อไม่แน่ใจนักว่าจะมีอายุยืนยาวอีกสักกี่ปี ขอลูกทั้งหลายจงอย่าถือขันธ์ ๕ ของพ่อนี้เป็นสำคัญ

ปฏิปทาใดที่เป็นที่ชอบใจไม่เกินวิสัยลูก ขอลูกจงทำ และจงรักษาอภิญญาสมาบัติไว้ ขณะใดที่ใจของลูกยังรักษาอภิญญาสมาบัติไว้ รักษาสาธารณประโยชน์

ขณะนั้นลูกจงภูมิใจว่าพ่ออยู่กับลูกตลอดเวลา ถึงแม้ว่าร่างกายกายาของพ่อจะสลายไป แต่ใจของพ่อยังอยู่กับใจของลูก ลูกจะไปไหนก็ชื่อว่าพ่อไปด้วย ช่วยลูกทุกประการ”

คำสั่งนี้ท่านพระครูฯ ท่านปฏิบัติตามได้บริบูรณ์ทุกประการ และใจของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านก็อยู่กับใจของท่านพระครูฯ ตลอดเวลา ตามคำมั่นที่ให้ไว้

<<< *** จบเล่ม *** >>>



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top